22 มีนาคม
วันที่สร้างสรรค์
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันที่ 81 ของปี (วันที่ 82 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 284 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
แก้คริสต์ศตวรรษที่ 3
แก้- พ.ศ. 778 (ค.ศ. 235) – จักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิแซเวรุส อาแล็กซันแดร์ ถูกปลงพระชนม์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3[1]
คริสต์ศตวรรษที่ 9
แก้- พ.ศ. 1414 (ค.ศ. 871) – พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์พ่ายแพ้ต่อกองทัพไวกิ้งในยุทธการที่เมเรตุน[2]
คริสต์ศตวรรษที่ 12
แก้- พ.ศ. 1728 (ค.ศ. 1185) – ยุทธการที่ยาชิมะ: กองกำลังของตระกูลไทระ พ่ายแพ้ให้กับกองกำลังของตระกูลมินาโมโตะ[3]
คริสต์ศตวรรษที่ 14
แก้- พ.ศ. 1855 (ค.ศ. 1312) – สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 5 ออกสารตราพระสันตะปาปาชื่อ "Vox in excelso" สลายอัศวินเทมพลาร์[4]
คริสต์ศตวรรษที่ 16
แก้- พ.ศ. 2051 (ค.ศ. 1508) – พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอนแต่งตั้งให้อเมริโก เวสปุชชีเป็นหัวหน้านักเดินเรือของจักรวรรดิสเปน[5]
คริสต์ศตวรรษที่ 18
แก้- พ.ศ. 2282 (ค.ศ. 1739) – ชาห์นาเดอร์ยึดครองและปล้นเมืองเดลีโดยขโมยอัญมณีแห่งบัลลังก์นกยูง
- พ.ศ. 2308 (ค.ศ. 1765) – รัฐสภาอังกฤษผ่านพระราชบัญญัติแสตมป์ที่กำหนดภาษีที่ต้องเรียกเก็บโดยตรงจากอาณานิคมของอเมริกา
- พ.ศ. 2327 (ค.ศ. 1784) - พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทำพิธีอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[6]
- พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) – กลุ่มกบฏทาสผิวดำได้รับชัยชนะในการสู้รบครั้งใหญ่ครั้งแรกของการปฏิวัติเฮติ[7]
- พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794) – พระราชบัญญัติการค้าทาส ค.ศ. 1794 ห้ามการส่งออกทาสจากสหรัฐ และห้ามมิให้พลเมืองอเมริกันแต่งเรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำเข้าทาส[8]
คริสต์ศตวรรษที่ 19
แก้- พ.ศ. 2372 (ค.ศ. 1829) – ในพิธีสารลอนดอน มหาอำนาจทั้ง 3 (สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และรัสเซีย) ได้กำหนดเขตแดนของกรีซ
- พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) – ออสเตรียเอาชนะพีดมอนต์ในยุทธการที่โนวารา
- พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) – ในนอร์ทแคโรไลนา วิลเลียม วูดส์ โฮลเดนกลายเป็นผู้ว่าการรัฐคนแรกของสหรัฐที่ถูกถอดออกจากตำแหน่งโดยการฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง
- พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) – รัฐสภาสเปนเลิกทาสในปวยร์โตรีโก[9]
- พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) - สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก
คริสต์ศตวรรษที่ 20
แก้- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - สันนิบาตอาหรับ ก่อตั้งขึ้น ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - ศาลฎีกามีคำพิพากษาใน "คดีระหว่างพนักงานอัยการ กับพิมล กาฬสีห์ และนภาพันธ์ กาฬสีห์" หรือที่รู้จักกันว่า "คดีตุ๊กตา" ซึ่ง พิมล กาฬสีห์ นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง นามปากกว่า "ตุ๊กตา" เป็นจำเลยที่ 1 และภริยาของเขา เป็นจำเลยที่ 2 โดยวินิจฉัยว่า หญิงก็เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานข่มขืนหญิงได้
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ : ประเทศไทยจัดการเลือกตั้งทั่วไป ผลปรากฏว่าพรรคการเมือง 5 พรรค ซึ่งมีพรรคสามัคคีธรรมของณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นแกนนำ ได้คะแนนเสียงเพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาล แต่ณรงค์มีข้อกล่าวหาพัวพันค้ายาเสพติดที่ทำให้สหรัฐงดออกหนังสือเดินทาง พลเอก สุจินดา คราประยูร จึงเป็นนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - อินเทลวางจำหน่ายเพนเทียม (80586) ซึ่งเป็นไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกในตระกูลนี้
คริสต์ศตวรรษที่ 21
แก้- พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลให้ จังหวัดบึงกาฬ ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันรุ่งขึ้น (23 มีนาคม 2554) [10]
- พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - แอ็งกรีเบิดส์สเปซ ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
วันเกิด
แก้- พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1732) - สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สวรรคต 6 เมษายน พ.ศ. 2325)
- พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) - วิลเลียม แชตเนอร์ นักแสดงชาวแคนาดา ผู้แสดงเป็น Captain James T. Kirk แห่งยาน USS Enterprise ใน Star Trek, The Original Series
- พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - ท่านหญิงภุมรีภิรมย์ เชลล์ พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (ถึงแก่กรรม 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)
- พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - จอร์จ เบนสัน นักกีตาร์แจ๊สชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - จอห์น ทอแช็ก อดีตนักฟุตบอลชาวเวลส์
- พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - พิมพ์แข กุญชร ณ อยุธยา นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - แกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซาแห่งลักเซมเบิร์ก แกรนด์ดัชเชสแห่งประเทศลักเซมเบิร์ก
- พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - รีส วิเธอร์สปูน นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - ปองศักดิ์ รัตนพงษ์ นักร้อง นักแสดง
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - บรูโน คอร์เรีย นักฟุตบอลชาวบราซิล
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ชัชชวิศ เตชะรักษ์พงศ์ นักร้อง นักแสดง พิธีกรชาวไทย
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ฮา ซองอุน นักร้องชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - นิก รอบินสัน นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - แอแวร์ตง ซูวาริส นักฟุตบอลชาวบราซิล
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - แฮร์รี่ วิลสัน (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2540) นักฟุตบอลอาชีพชาวเวลส์
- พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - ภวัต จิตต์สว่างดี นักแสดงชายชาวไทย
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - ฑิชากร บุญเลิศ นักวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - เมอร์ริค ฮันนา นักร้องชาวอเมริกัน
วันถึงแก่กรรม มรณภาพ
แก้- พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) - โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเท นักเขียน นักสิทธิมนุษยชน นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา จิตรกรชาวเยอรมัน (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2292)
- พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - ครูบาศรีวิชัย (เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421)
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรี (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2432)
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม อตฺตสนฺโต) เจ้าอาวาสวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา (เกิด10 มีนาคม พ.ศ. 2456)
- พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022 ) - วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนชาวไทย (เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2498)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Monumenta Graeca et Romana: Mutilation and transformation : damnatio memoriae and Roman imperial portraiture. Brill Publishers. 1 January 2004. p. 157. ISBN 90-04-13577-4.
- ↑ Mandell Creighton; Justin Winsor; Samuel Rawson Gardiner; Reginald Lane Poole; Sir John Goronwy Edwards (1918). The English Historical Review. Longman. p. 334.
- ↑ Turnbull, Stephen (2013). The Samurai: A Military History. Routledge. pp. 66–70. ISBN 9781134243693.
- ↑ Haag, Michael (235). Templars: History and Myth. Profile Books. p. 235. ISBN 9781847652515.
- ↑ Frederick A. Ober (1907). Amerigo Vespucci. Harper & Brothers. p. 122. ISBN 9783732684342.
- ↑ Subhadradis Diskul (M.C.) (1982). History of the Temple of the Emerald Buddha. Bureau of the Royal Household. p. 19.
- ↑ Madiou, Thomas (1847). Histoire d'Haïti, Tome I (ภาษาFrench). p. 102.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Slave Trade Act of 1794". DOCSTeach. National Archives. สืบค้นเมื่อ 30 December 2020.
- ↑ Arbeláez, María Andrea (22 March 2018). "La abolición de la esclavitud en Puerto Rico cumple 145 años" [The abolition of slavery in Puerto Rico turns 145 years old]. dialogo.upr.edu (ภาษาSpanish). สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. 2011-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-22.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- BBC: On This Day เก็บถาวร 2007-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- NY Times: On This Day (อังกฤษ)