ต่วน สุวรรณศาสน์
ต่วน สุวรรณศาสน์ (1 เมษายน พ.ศ.2432 - 22 มีนาคม พ.ศ.2524) อดีตจุฬาราชมนตรี คนที่ 15 แห่งราชอาณาจักรไทย มีชื่อทางศาสนาว่าฮัจญีอิสมาแอล ยะห์ยาวี เกิดที่กรุงเทพฯ ได้ไปศึกษาวิชาการทางศาสนาอิสลามจากกรุงมักกะหฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นอาจารย์สอนศาสนาอิสลามที่มีชื่อเสียงและมีลูกศิษย์มาก
ฮัจญี ต่วน สุวรรณศาสน์ | |
---|---|
จุฬาราชมนตรี คนที่ 15 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2492[1] – 22 มีนาคม พ.ศ. 2524 (32 ปี 81 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | แช่ม พรหมยงค์ |
ถัดไป | ประเสริฐ มะหะหมัด |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2432 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 22 มีนาคม พ.ศ. 2524 (91 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ที่ไว้ศพ | มัสยิดฮารูน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร |
เชื้อชาติ | ไทย |
ศาสนา | อิสลาม |
ชื่อทางศาสนาอิสลาม | ฮัจญีอิสมาแอล ยะห์ยาวี |
เป็นที่รู้จักในฐานะ | จุฬาราชมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง |
เมื่อตำแหน่งจุฬาราชมนตรีว่างลงด้วยนายแช่ม พรหมยงค์ลาออกและลี้ภัยไปต่างประเทศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงเชิญประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมาประชุมเพื่อเลือกจุฬาราชมนตรีคนใหม่ ที่ประชุมลงมติเลือก นายต่วน สุวรรณศาสน์ อาจารย์โรงเรียนอันยูมันอิสลามและประธานกรรมการอิสลามจังหวัดพระนครในขณะนั้น เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง
ผลงานที่สำคัญของอาจารย์ต่วน สุวรรณศาสน์คือการสนับสนุนการแปลคัมภีร์อัลกุรอ่านเป็นภาษาไทย ผลงานแปลของท่านได้รับพระราชทานสนับสนุนจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และต่อมาได้มีผู้แปลอัลกุรอ่านเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน เช่น สำนวนของครูอิสมาอีล อะหมัด ปากพะยูน และสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ
นายต่วนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ สิริอายุได้ 91 ปี ศพของท่านฝังอยู่ที่มัสยิดฮารูน เขตบางรัก โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มาร่วมพิธีฝังศพของท่านด้วย
อ้างอิง
แก้- เอกราช มูเก็ม. จุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิมจากสมัยอยุธยาถึงยุคทักษิณ. กทม. ร่วมด้วยช่วยกัน. 2549. หน้า 44 - 46.
ก่อนหน้า | ต่วน สุวรรณศาสน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
แช่ม พรหมยงค์ | จุฬาราชมนตรี คนที่ 15 (1 มกราคม พ.ศ. 2492 — 22 มีนาคม พ.ศ. 2524) |
ประเสริฐ มะหะหมัด |