ประเทศซาอุดีอาระเบีย

(เปลี่ยนทางจาก ประเทศซาอุดิอาระเบีย)

24°N 45°E / 24°N 45°E / 24; 45

ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

ٱلْمَمْلَكَة ٱلْعَرَبِيَّة ٱلسُّعُوْدِيَّة (อาหรับ)
คำขวัญ"ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์"
(อาหรับ: لَا إِلٰهَ إِلَّا ٱلله، مُحَمَّدٌ رَسُوْلُ ٱلله;[1] ชะฮาดะฮ์)
ที่ตั้งของซาอุดีอาระเบีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
รียาด
24°39′N 46°46′E / 24.650°N 46.767°E / 24.650; 46.767
ภาษาราชการอาหรับ[2][3]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2014[4])
90% ชาวอาหรับ
10% แอฟริกา-อาหรับ
ศาสนา
(ค.ศ. 2010)[6]
เดมะนิม
การปกครองรัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์อิสลาม
สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ
มุฮัมมัด บิน ซัลมาน
สภานิติบัญญัติไม่มี [a]
ก่อตั้ง
ค.ศ. 1727
ค.ศ. 1824
13 มกราคม ค.ศ. 1902
23 กันยายน ค.ศ. 1932
24 ตุลาคม ค.ศ. 1945
31 มกราคม ค.ศ. 1992
พื้นที่
• รวม
2,149,690[2] ตารางกิโลเมตร (830,000 ตารางไมล์) (อันดับที่ 12)
0.7
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
เพิ่มขึ้น38,401,000[9] (อันดับที่ 40)
15 ต่อตารางกิโลเมตร (38.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 174)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 2.00 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 17)
เพิ่มขึ้น 55,800 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 27)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.01 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 18)
เพิ่มขึ้น 27,900 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 43)
จีนี (ค.ศ. 2013)45.9[11]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)เพิ่มขึ้น 0.875[12]
สูงมาก · อันดับที่ 40
สกุลเงินริยาลซาอุดีอาระเบีย (SR) (SAR)
เขตเวลาUTC+3 (เวลามาตรฐานซาอุดีอาระเบีย)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป (ฮ.ศ.)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+966
โดเมนบนสุด

ซาอุดีอาระเบีย (อังกฤษ: Saudi Arabia; อาหรับ: ٱلسُّعُوْدِيَّة) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (อังกฤษ: Kingdom of Saudi Arabia; อาหรับ: ٱلْمَمْلَكَة ٱلْعَرَبِيَّة ٱلسُّعُوْدِيَّة) เป็นรัฐอาหรับในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กินอาณาบริเวณกว้างขวางในคาบสมุทรอาหรับ มีพื้นที่ประมาณ 2,150,000 ตารางกิโลเมตร ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลกอาหรับรองจากประเทศแอลจีเรีย ใหญ่เป็นอันดับห้าในทวีปเอเชีย และใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันตก มีพรมแดนติดประเทศจอร์แดนและอิรักทางเหนือ ติดประเทศคูเวตทางตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศกาตาร์ บาห์เรน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทางตะวันออก ติดประเทศโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้ และติดประเทศเยเมนทางใต้ และแยกกับประเทศอียิปต์ด้วยบริเวณตอนเหนือของอ่าวอัลอะเกาะบะฮ์ ซาอุดีอาระเบียถือเป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งติดทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย ภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยทะเลทราย ภูเขา และพื้นที่แห้งแล้งซึ่งไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดคือรียาด ซาอุดีอาระเบียยังเป็นที่ตั้งของนครมักกะฮ์และอัลมะดีนะฮ์ สองนครสำคัญทางศาสนาอิสลาม

ก่อนการถือกำเนิดของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ดินแดนของซาอุดีอาระเบียเป็นที่ตั้งของวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณมากมาย บริเวณนี้แสดงให้เห็นร่องรอยจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ศาสนาอิสลามซึ่งถือเป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกถือกำเนิดขึ้นในดินแดนปัจจุบัน ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 มุฮัมมัด ได้รวบรวมประชากรทั้งหมดในคาบสมุทรอาหรับเข้าด้วยกัน และถือเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาอิสลาม[13] หลังการเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 ผู้ติดตามของเขาได้ขยายอาณาเขตอย่างรวดเร็วภายใต้การปกครองของชาวมุสลิม ตามมาด้วยการพิชิตดินแดนครั้งใหญ่โดยมุสลิม (ตั้งแต่บริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรียไปยังบางส่วนของเอเชียกลางและภูมิภาคตะวันออกของเอเชียใต้) ในเวลาไม่กี่ทศวรรษ ราชวงศ์อาหรับที่มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนซาอุดีอาระเบียปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน (ค.ศ. 632–661) รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ (ค.ศ. 661–750) รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (ค.ศ. 750–1517) และรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ (ค.ศ. 909–1171) เช่นเดียวกับราชวงศ์อื่น ๆ ในเอเชีย แอฟริกา และยุโรป

พื้นที่บริเวณคาบสมุทรและพื้นที่ในภูมิภาคตอนเหนืออันอุดมสมบูรณ์เคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง ในขณะที่พื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ซึ่งมีความแห้งแล้งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเล็ก ๆ และเป็นถิ่นอาศัยของชนเผ่าเร่ร่อน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อออตโมมันอาระเบีย พื้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมัยใหม่ประกอบด้วยสี่ภูมิภาคสำคัญ ได้แก่ ฮิญาซ นัจญด์ และบางส่วนของอาระเบียตะวันออกและอาระเบียใต้[14] ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียก่อตั้งใน ค.ศ. 1932 โดย สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด ทรงรวบรวมสี่ภูมิภาคเข้าเป็นรัฐเดี่ยวผ่านการพิชิตหลายครั้งเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1902 ด้วยการยึดรียาด บ้านบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ซะอูดของพระองค์ นับแต่นั้น ซาอุดีอาระเบียปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยการตัดสินใจทางการเมืองตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือระหว่างพระมหากษัตริย์ คณะรัฐมนตรี และชนชั้นสูง จนอาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบเผด็จการ[15][16] กลุ่มเคลื่อนไหวทางศาสนาในชื่อ วะฮาบีย์ ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งนิกายซุนนี ถูกมองว่าสะท้อนลักษณะเด่นของวัฒนธรรมซาอุดีอาระเบีย[17] แต่อิทธิพลจากสถาบันศาสนาก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในคริสต์ทศวรรษ 2010[18] กฎหมายพื้นฐานของซาอุดีอาระเบียยังคงนิยามตนเองว่าเป็นรัฐอิสลามอาหรับที่มีอำนาจอธิปไตย โดยมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ และกรุงรียาดมีสถานะเป็นเมืองหลวง

มีการค้นพบปิโตรเลียมในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1938 และตามมาด้วยการค้นพบอื่น ๆ อีกหลายแห่งในแคว้นตะวันออก[19][20] และนับแต่นั้น ซาอุดีอาระเบียได้กลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก และควบคุมปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐ และมีปริมาณก๊าซสำรองมากเป็นอันดับสี่ของโลก[21] ราชอาณาจักรจัดอยู่ในเศรษฐกิจรายได้สูงของธนาคารโลก และเป็นประเทศอาหรับประเทศเดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม 20[22][23] ซาอุดีอาระเบียได้รับการวิจารณ์ในหลายด้าน เช่น บทบาทในสงครามกลางเมืองเยเมน การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายอิสลาม และประวัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ย่ำแย่ โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตที่รุนแรง ตลอดจนความล้มเหลวในการดำเนินการเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ การเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยทางศาสนา และผู้ที่ไม่ศรัทธาในพระเจ้า การต่อต้านชาวยิว และการตีความกฎหมายชารีอะฮ์ที่เคร่งครัด[24] นับตั้งแต่ ค.ศ. 2016 เป็นต้นมา รัฐบาลซาอุดีอาระเบียมุ่งพัฒนาประเทศภายใต้โครงการวิชัน 2030 โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน

ซาอุดีอาระเบียถือเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคและมหาอำนาจระดับกลางของโลก[25] มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง และเป็นอันดับที่ 18 ของโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอันดับ 17 ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง พลเมืองมีสิทธิเข้าถึงการศึกษาโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน ไม่มีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา[26] และมีบริการสุขภาพที่ทันสมัย ซาอุดีอาระเบียยังเป็นถิ่นอาศัยของผู้พลัดถิ่นที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเป็นสังคมผู้สูงอายุน้อยที่สุดของโลก โดยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรจำนวน 32.2 ล้านคนมีอายุต่ำกว่า 25 ปี[27] นอกจากการเป็นสมาชิกของสภาความร่วมมืออ่าวแล้ว ซาอุดีอาระเบียยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ องค์การความร่วมมืออิสลาม สันนิบาตอาหรับ องค์การผู้ให้บริการการขนส่งทางอากาศอาหรับ โอเปก และยังเป็นคู่ค้าที่สำคัญขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้

ศัพทมูลวิทยา

แก้

การควบรวมราชอาณาจักรฮิญาซและภูมิภาคนัจญด์เข้าด้วยกันนำไปสู่การก่อตั้งรัฐใหม่ในชื่อ อัลมัมละกะตุลอะเราะบียะตุสซุอูดียะฮ์ (المملكة العربية السعودية) ตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1932 โดยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด วลีดังกล่าวมีความหมายตามตัวอักษรว่า "ราชอาณาจักรอาหรับแห่งราชวงศ์ซะอูด"[28] หรือ "ราชอาณาจักรแห่งราชวงศ์ซะอูดอาหรับ"[29] แต่ในภาษาอังกฤษโดยทั่วไปนิยมแปลว่า "ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย" (the Kingdom of Saudi Arabia)[30]

คำว่า ซาอุดี (Saudi) ในภาษาอังกฤษแผลงมาจากวลี อัสซุอูดียะฮ์ (السعودية) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อประเทศในภาษาอาหรับ วลีดังกล่าวเป็นคุณศัพท์วลีที่ได้จากการเติมหน่วยคำแสดงความเกี่ยวข้องที่เรียกว่า นิสบะฮ์ (نسبة) ต่อท้ายชื่อราชวงศ์ซะอูดหรือ อาลซุอูด (آل سعود) การใช้วลี อัสซุอูดียะฮ์ ในชื่อประเทศสะท้อนให้เห็นถึงทัศนะที่ว่าประเทศนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของราชวงศ์[31][32] ชื่อ อาลซุอูด เป็นชื่อในภาษาอาหรับที่ได้จากการเติมคำว่า อาล (آل) ซึ่งหมายถึง "ตระกูลของ..." หรือ "ราชวงศ์ของ..."[33] ไว้ข้างหน้าชื่อบุคคลที่เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล ซึ่งในกรณีของชื่อ อาลซุอูด นี้ก็คือ ซะอูด อิบน์ มุฮัมมัด อาล มุกริน พระราชบิดาของมุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด อาล มุกริน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 18[34]

ภูมิศาสตร์

แก้
 
ทะเลทรายในซาอุดีอาระเบีย

ดินแดนของซาอุดีอาระเบียครอบครองพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 บริเวณคาบสมุทรอาหรับ (คาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก)[35] ซึ่งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 16° ถึง 33° เหนือ และลองจิจูด 34° ถึง 56° เนื่องจากทางใต้ของประเทศมีพรมแดนติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน ขนาดที่แน่นอนของประเทศจึงไม่ได้กำหนดไว้ กองสถิติแห่งสหประชาชาติประมาณการตัวเลขที่ 2,149,690 ตารางกิโลเมตร (830,000 ตารางไมล์) และระบุว่าซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลก เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางและแผ่นอาหรับ[36]

ลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายของซาอุดีอาระเบียถูกปกคลุมโดยทะเลทรายอาหรับ สเตปป์ เทือกเขาหลายแห่ง ทุ่งลาวาภูเขาไฟ และที่ราบสูง รุบอุลคอลี ครอบคลุมถึงสามส่วนในภาคใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเป็นทะเลทรายทรายที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกันที่ใหญ่ที่สุดในโลก[37] แม้จะมีทะเลสาบในประเทศ ทว่าซาอุดีอาระเบียถือเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามขนาดพื้นที่ที่ไม่มีแม่น้ำถาวร บริเวณที่อุดมสมบูรณ์จะพบได้ในลุ่มน้ำในลุ่มน้ำ แอ่ง และโอเอซิส[38] จังหวัดทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Asir เป็นภูเขาและมีภูเขา Sawda สูง 3,133 ม. (10,279 ฟุต) ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดในประเทศ ซาอุดีอาระเบียเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟกว่า 2,000 ลูก[39]

ซาอุดีอาระเบียมีสภาพอากาศแบบทะเลทรายซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึงสูงมากในตอนกลางวันโดยเฉพาะในฤดูร้อน และอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็วในตอนกลางคืน อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ที่ประมาณ 45 °ซ (113 °ฟ) แต่สูงสุดอาจสูงถึง 54 °ซ (129 °ฟ) ในฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงต่ำกว่า 0 °ซ (32 °ฟ) ยกเว้นพื้นที่ส่วนใหญ่ทางเหนือของประเทศที่มีหิมะตกเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภูเขาของแคว้นตะบูก อุณหภูมิต่ำสุดที่บันทึกไว้จนถึงปัจจุบันคือ -12.0 °ซ (10.4 °ฟ)

ความหลากหลายทางชีวภาพ

แก้

ซาอุดีอาระเบียเป็นถิ่นอาศัยของระบบนิเวศภาคพื้นดิน 5 แห่ง ได้แก่ ทะเลทรายที่มีหมอกริมชายฝั่งคาบสมุทรอาหรับ ทุ่งหญ้าบริเวณเชิงเขาอาหรับทางตะวันตกเฉียงใต้ ป่าดิบเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของอาหรับ ทะเลทรายอาหรับ และทะเลแดง ทะเลทรายเขตร้อนนูโบ-ซินเดียน และพื้นที่กึ่งทะเลทราย[40] เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ เสือดาวอาระเบีย หมาป่าอาระเบีย ไฮยีนา วงศ์พังพอน ลิงบาบูน แมวทราย สัตว์ต่าง ๆ เช่น ละมั่ง ออริกซ์ เสือดาว และเสือชีตาห์ มีจำนวนมากจนถึงศตวรรษที่ 19 เมื่อการล่าอย่างกว้างขวางทำให้สัตว์เหล่านี้เกือบจะสูญพันธุ์ สิงโตอินเดีย สัตว์ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมอาศัยในซาอุดีอาระเบียจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ก่อนถูกล่าจนสูญพันธุ์จากธรรมชาติ นกพบได้ทุกภูมิภาค ได้แก่ นกอินทรี เหยี่ยว แร้ง นกทราย และนกปรอด ซาอุดีระเบียยังเป็นของงูหลายชนิด รวมถึงงูพิษหลายสายพันธุ์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทะเลแดงเป็นหนึ่งในแหล่งระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลายที่สุดของโลก เป็นที่อยู่อาศัยของปลามากกว่า 1,000 ชนิด[41]

ความหลากหลายอันอุดมสมบูรณ์ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแนวปะการังความยาวกว่า 2,000 กม. (1,240 ไมล์) ที่ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่ง แนวประการังเหล่านี้มีอายุ 5,000–7000 ปี และส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินปะการังหินปะการังและปะการังพอไรต์ ทะเลแดงยังมีแนวปะการังนอกชายฝั่งหลายแห่ง การก่อตัวของแนวปะการังนอกชายฝั่งที่ผิดปกติจำนวนมากขัดต่อรูปแบบการจำแนกแนวปะการังแบบคลาสสิก และโดยทั่วไปมีสาเหตุมาจากกิจกรรมการแปรสัณฐานในระดับสูงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่

ประวัติศาสตร์

แก้

ยุคก่อนการสถาปนาซาอุดีอาระเบีย

แก้
 
คาบสมุทรอาระเบีย ค.ศ. 1914
 
มุฮัมมัด บินซะอูด

ประวัติศาสตร์ประเทศซาอุดีอาระเบียเริ่มขึ้นประมาณปี 1850 ในใจกลางคาบสมุทรอาหรับ เมื่อ มุฮัมมัด บินซะอูด ผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมมือกันกับ มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีแรก โดยแยกออกจากอาณาจักรออตโตมัน แต่ประเทศที่เป็นซาอุดีอาระเบียในปัจจุบันนั้นสถาปนาขึ้นเป็นครั้งที่สองโดยกษัตริย์อับดุลอะซีซ อาลซะอูด (หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ อิบนุซะอูด) ในปี 1902 อิบนุซะอูดได้ยึดรียาดซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของราชวงศ์ซะอูด คืนมาจากตระกูลอัลรอชีด ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของราชวงศ์ซะอูด ต่อจากนั้น ก็ได้กรีฑาทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ มาได้ ได้แก่ อัลฮะสาอ์, นะญัด และฮิญาซ อันเป็นที่ตั้งของนครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์ ในปี 1932 อิบนุซะอูดได้ทำการรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

สมัยการรวมชาติ

แก้
 
แผนที่การเมืองของซาอุดีอาระเบีย
 
แผนที่ของซาอุดีอาระเบียภายหลังการรวมประเทศในปี ค.ส. 1932

การเจรจาทำสนธิสัญญาแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับจอร์แดน อิรัก และคูเวต มีขึ้นช่วงทศวรรษ 1920 และได้มีการจัดตั้ง "เขตเป็นกลาง" ขึ้นด้วยกัน 2 แห่ง คือระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรัก และซาอุดีอาระเบียกับคูเวต ในปี 1971 ได้มีการแบ่งเขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับคูเวต โดยให้แต่ละฝ่ายแบ่งทรัพยากรน้ำมันกันอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการแบ่งขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรักได้เสร็จสิ้นลงในปี 1983 ทางด้านเขตแดนตอนใต้ที่ติดกับเยเมนนั้น มีการเจรจาแบ่งเขตแดนโดยสนธิสัญญาฏออิฟ ในปี 1934 (พ.ศ. 2477) แต่ก็สิ้นสุดลงด้วยการสู้รบระหว่างสองประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับเยเมนในบางพื้นที่ก็ยังมิได้แบ่งลงไปอย่างแน่ชัด ส่วนเขตแดนที่ติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นสามารถตกลงกันได้ในปี 1974 สำหรับเขตแดนกับกาตาร์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่

อิบนุซะอูด สิ้นพระชนม์ในปี 1953 และพระราชโอรสองค์โตคือเจ้าชายซะอูด ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก 11 ปี ในปี 1964 กษัตริย์ซะอูดได้สละราชสมบัติให้กับเจ้าชายฟัยศ็อล ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาและดำรงตำแหน่ง รมว.กต.อยู่ด้วย กษัตริย์ฟัยศ็อล เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียพัฒนาไปสู่ระบบที่ทันสมัย

ซาอุดีอาระเบียมิได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบในสงครามหกวันระหว่างอาหรับกับอิสราเอล แต่ได้ให้เงินช่วยเหลือรายปีแก่อียิปต์ จอร์แยเหลือเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 1973 ซาอุดีอาระเบียได้เข้าร่วมการคว่ำบาตรทางน้ำมันต่อสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ในฐานะสมาชิกของโอเปก (OPEC) ซาอุดีอาระเบียได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ขึ้นราคาน้ำมันในปี 1971 ภายหลังสงครามปี 1973 ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากนำความมั่งคั่งและอิทธิพลทางการเมืองมาสู่ซาอุดีอาระเบีย

ในปี 1975 กษัตริย์ฟัยศ็อล ถูกลอบสังหารโดยหลานชายของพระองค์เอง เจ้าชายคอลิด พระอนุชาต่างมารดาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อมาและยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย กษัตริย์คอลิด ได้แต่งตั้งเจ้าชายฟะฮัด น้องชายต่างมารดาของพระองค์เป็นมกุฎราชกุมาร และมอบหมายให้มีอำนาจให้ดูแลกิจการภายในประเทศและต่างประเทศ ในรัชสมัยของกษัตริย์คอลิด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและซาอุดีอาระเบียได้มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีการเมืองในภูมิภาคและในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในปี 1982 กษัติรย์ฟะฮัดได้ขึ้นครองราชย์และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนกษัตริย์คอลิด ซึ่งสิ้นพระชนม์ลง กษัตริย์ฟะฮัดได้แต่งตั้งเจ้าชายอับดุลลอฮ์ น้องชายต่างมารดาซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการของซาอุดีอาระเบียขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร ส่วนเจ้าชายสุลต่านรัฐมนตรีกลาโหมซึ่งเป็นน้องชายแท้ ๆ ของกษัตริย์ฟะฮัด ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่สอง

ภายใต้รัชสมัยของพระราชาธิบดีฟะฮัด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียได้ปรับสภาพให้เข้ากับรายได้จากน้ำมันซึ่งมีราคาตกต่ำลงอย่างมากอันสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งตกต่ำลงในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้มีการหยุดยิงระหว่างอิรัก-อิหร่านในปี 1988 และในการก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศรัฐริมอ่าว 6 ประเทศ

ในระหว่างปี 1990 - 1991 พระราชาธิบดี ฯ มีบทบาทสำคัญทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) โดยพระองค์ได้ช่วยเป็นจุดศูนย์กลางในการระดมความสนับสนุนความช่วยเหลือ และได้ใช้อิทธิพลของพระองค์ในฐานะผู้พิทักษ์มัสญิดต้องห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง ชักชวนให้ประเทศอาหรับและอิสลามเข้าร่วมในกองกำลังผสม

การเมืองการปกครอง

แก้
 
สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน

ก่อนหน้าปี 2534 ซาอุดีอาระเบียใช้กฎหมายอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศโดยพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดในการบริหารประเทศ ต่อมาหลังจากวิกฤตการณ์อิรัก-คูเวต ได้มีความเคลื่อนไหวจากประชาชนบางส่วนให้มีการพัฒนารูปแบบการปกครองให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย พระราชาธิบดีฯ จึงได้วางรูปแบบการปกครองอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก โดยประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา 3 ฉบับ เมื่อเดือนมีนาคม 2534 กฎหมายดังกล่าวระบุว่า การปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้แต่งตั้งและเพิกถอนครม. และสภาที่ปรึกษา (Shura) สภาที่ปรึกษานี้ถือเป็นพัฒนาการใหม่ของซาอุดีอาระเบีย ทีเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ก็เป็นเพียงในฐานะที่ปรึกษาเท่านั้น มิใช่สภานิติบัญญัติเช่นประเทศอื่น ๆ แม้ว่าในทางกฎหมายพระราชาธิบดีฯ มีอำนาจสิทธิขาดในปกครองประเทศ แต่ในทางปฏิบัติ พระราชาธิบดี ฯ จะใช้วิธีดำเนินนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน (consensus) จากกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศ อาทิ ประชาชน ฝ่ายศาสนา ทหาร ราชวงศ์ และนักธุรกิจ

สิทธิมนุษยชน

แก้
 
ป้ายถนนบนทางหลวงเข้าสู่นครมักกะฮ์ โดยทางซ้ายมือระบุว่าเป็นเส้นทางเฉพาะสำหรับ "ชาวมุสลิม" เท่านั้น ในขณะที่ป้ายขวามือสำหรับ "ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม"

รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ซึ่งกำหนดให้ชาวมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมปฏิบัติตามกฎหมายชะรีอะห์ ล้วนอยู่ภายใต้การปกครองโดยเด็ดขาดของราชวงศ์ซะอูดซึ่งได้รับการวิจารร์จากองค์กรและรัฐบาลระหว่างประเทศจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ[42] ลัทธิอำนาจนิยม ที่ครอบงำพลเมืองซาอุดีอาระเบียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มที่ "เลวร้ายที่สุด" ในการสำรวจประจำปีโดย องค์กรวิจัยและสนับสนุนประชาธิปไตย เสรีภาพทางการเมือง และสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล วิจารณ์ว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงและความยุติธรรมใช้วิธีทรมานผู้ต้องขัง เพื่อดึงคำสารภาพเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี[43] ซาอุดีอาระเบียงดเว้นจากการลงคะแนนเสียงของสหประชาชาติที่รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยกล่าวว่าขัดต่อกฎหมายอิสลาม[44] ตัวเลขการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการประหารชีวิตในปี 2016 2019 และ 2022 ถูกประณามจากกลุ่มสิทธิระหว่างประเทศ[45]

กฎหมายของซาอุดีอาระเบียไม่ให้การรับรองความหลากหลายทางเพศ หรือเสรีภาพทางศาสนา รวมถึงข้อห้ามในการปฏิบัติของพลเมืองที่มิใช่มุสลิม[46] ระบบยุติธรรมของประเทศสนับสนุนการลงโทษประหารชีวิตเป็นประจำ รวมถึงการประหารชีวิตในที่สาธารณะด้วยการตัดศีรษะ[47] โทษประหารชีวิตบังคับใช้ได้สำหรับความผิดที่หลากหลาย[48] รวมถึงการฆาตกรรม, ข่มขืน, การโจรกรรมด้วยอาวุธ, การใช้ยาเสพติด, การละทิ้งความเชื่อทางศาสนา, การล่วงประเวณี, การใช้เวทมนตร์คาถาอย่างงมงาย และสามารถทำได้โดยการตัดศีรษะด้วยดาบ การขว้างปาหิน หรือการยิง ตามด้วยตรึงกางเขน[49] ในเดือนเมษายน 2020 ศาลฎีกาซาอุดีอาระเบียได้ออกคำสั่งให้ยกเลิกการลงโทษการเฆี่ยนตีออกจากกฎหมายของซาอุดีอาระเบีย และให้แทนที่ด้วยโทษจำคุกหรือปรับ[50][51]

ประชากรสตรีในซาอุดีอาระเบียต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และอยู่ภายใต้ระบบการปกครองซึ่งถือว่าประชากรหญิงเปรียบเสมมือนผู้เยาว์[52] แม้จะมีประชากรหญิงกว่า 70% ได้สิทธิลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัย ทว่าด้วยเหตุผลทางสังคม แรงงานสตรียังคิดเป็นกว่า 5% ของแรงงานทั้งหมดในประเทศ[53] การปฏิบัติต่อสตรีในประเทศได้รับการขนานนามว่าเป็น "การแบ่งแยกเพศ" อย่างชัดเจน[54] ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศปลายทางที่มีชื่อเสียงสำหรับชายและหญิงที่ถูกค้ามนุษย์เพื่อการใช้แรงงานทาส และการแสวงประโยชน์ทางเพศในเชิงพาณิชย์ ชายและหญิงจากเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอื่น ๆ อีกมากมายสมัครใจเดินทางไปซาอุดีอาระเบียในฐานะคนรับใช้ในบ้านหรือแรงงานที่มีทักษะต่ำ ทว่ามีบางรายที่ถูกบังคับไปโดยไม่สมัครใจ

กองทัพ

แก้
 
ยูโรไฟเตอร์ ไทฟูน ของกองทัพอากาศซาอุดีอาระเบีย

กองกำลังทหารของซาอุดีอาระเบียประกอบด้วยกองกำลังย่อยสาขาต่าง ๆ ได้แก่ กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ, การป้องกันทางอากาศของราชวงศ์, กองกำลังขีปนาวุธยุทธศาสตร์, กองกำลังป้องกันดินแดนแห่งชาติ, กองทหารรักษาการณ์, กองกำลังรักษาชายแดน, กองกำลังฉุกเฉิน, กองกำลังรักษาความปลอดภัยพิเศษ และหน่วยรักษาความปลอดภัยพิเศษ รวมจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำการทุกสาขาเกือบ 480,700 ราย นอกจากนี้ยังมีหน่วยสืบราชการลับ รับผิดชอบการในเรื่องการแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับราชการ

ซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์ทางการทหารกับปากีสถานมาอย่างยาวนาน มีการสันนิษฐานว่าซาอุดีอาระเบียได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการระเบิดปรมาณูของปากีสถานอย่างลับ ๆ และมีความพยายามซื้ออาวุธปรมาณูจากปากีสถานในอนาคตอันใกล้นี้[55][56] ซาอุดีอาระเบียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้จ่ายทางทหารสูงที่สุดในโลก โดยประมาณการใช้จ่ายกว่า 8% ของจีดีพีประเทศในการทหาร ตามการประมาณการของ SIPRI ในปี 2020 ซึ่งกำหนดให้ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่ใช้จ่ายด้านการทหารมากเป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐ และจีน[57] และยังเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกระหว่างปี 2015 ถึง 2019 โดยเป็นผู้รับอาวุธกว่าครึ่งหนึ่งที่สหรัฐส่งออกมายังตะวันออกกลาง[58] การใช้จ่ายด้านการป้องกันและความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 และมีมูลค่าประมาณ 78.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ปี 2019

จากข้อมูลของบีไอซีซี ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีกำลังทหารมากเป็นอันดับที่ 28 ของโลก และมีอุปกรณ์ทางทหารที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากอิสราเอล ซาอุดีอาระเบียยังพัฒนาคลังแสงเทคโนโลยีชั้นสูงที่ทันสมัย ทำให้เป็นประเทศติดอาวุธที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยอุปกรณ์ทางทหารของประเทศส่วนใหญ่ได้รับการส่งมอบจากสหรัฐ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร[59] โดยสหรัฐทำการค้าอาวุธ และอุปกรณ์ทางการทหารด้วยมูลค่าสูงถึง 80 พันล้านดอลลาร์ระหว่าง ค.ศ. 1951 ถึง 2006 ให้แก่กองทัพซาอุดีอาระเบีย[60] เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2010 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ได้แจ้งเจตนารมย์ต่อสภาคองเกรสถึงความตั้งใจที่จะขายอาวุธที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ซึ่งจะเป็นมูลค่าการซื้อขายกว่า 60.5 พันล้านดอลลาร์ แผนการนี้แสดงถึงการพัฒนาความสามารถในการพัฒนากองทัพซาอุดีอาระเบียอย่างมาก[61] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 บีเออี บริษัทชั้นนำด้านการป้องกันของอังกฤษได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า 1.9 พันล้านปอนด์ (3 พันล้านดอลลาร์) เพื่อจัดหาเครื่อง บีเออี ฮ็อค ให้แก่ซาอุดีอาระเบีย[62] ตามรายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม ระหว่างปี 2010–2018 ซาอุดีอาระเบียกลายเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โดยได้รับอาวุธหลักมากกว่าใน ค.ศ. 2005–2009 ถึงสี่เท่า การนำเข้าที่สำคัญประกอบด้วยเครื่องบินรบ 45 ลำจากสหราชอาณาจักร เฮลิคอปเตอร์ต่อสู้ 38 ลำจากสหรัฐอเมริกา เครื่องบินบรรทุกน้ำมัน 4 ลำจากสเปน และยานเกราะมากกว่า 600 คันจากแคนาดา

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้
 
ประธานาธิบดี บารัก โอบามา และ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด ถ่ายเมื่อ ค.ศ. 2014

ซาอุดีอาระเบียเข้าร่วมสหประชาชาติในปี 1945 และยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ องค์การความร่วมมืออิสลาม สันนิบาตอาหรับ องค์กรผู้ให้บริการการขนส่งทางอากาศแห่งอาหรับ และ โอเปก ซาอุดีอาระเบียสนับสนุนการก่อตั้งสหภาพศุลกากรอาหรับในปี 2015 และตลาดร่วมอาหรับตามที่ประกาศในการประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 2009[63] ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้งโอเปก ราชอาณาจักรมีบาทบาทนำในการนโยบายการกำหนดราคาน้ำมันโดยทั่วไป ทำให้ตลาดน้ำมันโลกมีเสถียรภาพและพยายามลดการผันผวนของราคาเพื่อไม่ให้กระทบต่อเศรษฐกิจตะวันตก[64] ใน ค.ศ. 1973 ซาอุดีอาระเบียและประเทศอาหรับอื่น ๆ ได้กำหนดห้ามขนส่งน้ำมันกับสหรัฐ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ที่สนับสนุนอิสราเอลในสงครามยมคิปปูร์[65] การคว่ำบาตรทำให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันที่มีผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวมากมายต่อการเมืองและเศรษฐกิจโลก

ระหว่างกลางทศวรรษ 1970 ถึง 2002 ซาอุดีอาระเบียใช้เงินกว่า 70 พันล้านดอลลาร์ใน "ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในต่างประเทศ" ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ และตั้งแต่ประธานาธิบดี บารัก โอบามา เข้ารับตำแหน่งในปี 2009 สหรัฐได้ค้าอาวุธให้กับซาอุดีอาระเบียคิดเป็นมูลค่ากว่า 110,000 ล้านดอลลาร์[66] อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เริ่มตึงเครียดในช่วงปีสุดท้ายของการบริหารของโอบามา[67][68] แม้ว่าโอบามาจะอนุญาตให้กองกำลังสหรัฐให้การสนับสนุนด้านโลจิสติกส์และข่าวกรองแก่ซาอุดีอาระเบียในการแทรกแซงทางทหารในเยเมน[69] ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ซาอุดีอาระเบียจ่ายเงิน 100 ล้านดอลลาร์ให้แก่บริษัทอเมริกันเพื่อล็อบบี้รัฐบาลสหรัฐ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ และกษัตริย์ซัลมานได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงสำหรับซาอุดีอาระเบียเพื่อซื้ออาวุธจากสหรัฐมูลค่า 110 พันล้านดอลลาร์ทันที และ 350 พันล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปี[70] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021 วุฒิสภาสหรัฐ ลงมติคัดค้านข้อเสนอให้หยุดการขายขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางขั้นสูงมูลค่า 650 ล้านดอลลาร์ไปยังซาอุดีอาระเบีย เพื่อไม่ให้มีการแทรกแซงทางทหารในเยเมน

 
สงครามอ่าว

ความสัมพันธ์กับชาติตะวันออกกลางหลายชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิหร่านและอิรักเต็มไปด้วยความตึงเครียด จากการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ[71] และบทบาทของซาอุดีอาระเบียในสงครามอ่าวปี 1991 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่กองทหารสหรัฐประจำการบนซาอุดีอาระเบียตั้งแต่ปี 1991 กระตุ้นให้เกิดการตอบโต้ของอิสลามิสต์ และขยายเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงสืบถึงปัจจุบัน จีนถือเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรที่สำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ชาวซาอุดีอาระเบียจำนวนมากได้แสดงมุมมองเชิงบวกต่อจีนเช่นกัน[72] ใน ค.ศ. 2019 มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ออกมาปกป้องกลุ่มค่ายปรับทัศนคติซินเจียง โดยกล่าวว่า "จีนมีสิทธิ์ดำเนินการต่อต้านการก่อการร้ายและขจัดความรุนแรงเพื่อความมั่นคงของชาติ"[73] ในเดือนกรกฎาคม 2019 เอกอัครราชทูตสหประชาชาติใน 37 ประเทศ รวมทั้งซาอุดีอาระเบีย ได้ลงนามในจดหมายร่วมถึงคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อปกป้องการปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ของจีนและชนกลุ่มน้อยมุสลิมอื่น ๆ ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

เพื่อปกป้องราชวงศ์คาลิฟาแห่งบาห์เรน ซาอุดีอาระเบียได้ส่งกองทหารไปปราบปรามการประท้วงของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2011[74] รัฐบาลซาอุดีอาระเบียถือว่าการลุกฮือในระยะเวลา 2 เดือนเป็น "ภัยคุกคามด้านความปลอดภัย" ที่เกิดจากชาวชีอะห์ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรส่วนใหญ่ของบาห์เรน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2015 ซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มรัฐมุสลิมซุนนี ได้เริ่มการแทรกแซงทางทหารในเยเมนเพื่อต่อต้านกลุ่มชีอะห์ และกองกำลังที่จงรักภักดีต่ออดีตประธานาธิบดี อาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ซึ่งถูกปลดออกจากการลุกฮือของชาวอาหรับสปริง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 56,000 คนจากเหตุรุนแรงในเยเมนระหว่างเดือนมกราคม 2016 ถึงเดือนตุลาคม 2018[75] ซาอุดีอาระเบีย ร่วมกับกาตาร์และตุรกี สนับสนุนกองทัพแห่งชัยชนะอย่างเปิดเผย[76][77] กลุ่มกองกำลังต่อต้านรัฐบาลที่ต่อสู้ในสงครามกลางเมืองซีเรีย

ในเดือนมีนาคม 2015 สวีเดนยกเลิกข้อตกลงด้านอาวุธกับซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นการยุติข้อตกลงด้านการป้องกันประเทศที่มีมายาวนานกว่าทศวรรษกับราชอาณาจักร การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้นหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศสวีเดนถูกซาอุดีอาระเบียขัดขวางขณะพูดเกี่ยวกับประชาธิปไตยและสิทธิสตรีที่สันนิบาตอาหรับในกรุงไคโร[78] ซาอุดีอาระเบียถูกมองว่าเป็นอิทธิพลปานกลางในความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล ในช่วงต้นปี 2014 ความสัมพันธ์กับกาตาร์เริ่มตึงเครียดจากการสนับสนุนกลุ่มอิควานมุสลิมีน และความเชื่อของซาอุดีอาระเบียว่ากาตาร์กำลังแทรกแซงกิจการของตน ซาอุดีอาระเบียและพันธมิตรได้วิพากษ์วิจารณ์ช่องทีวีอัลญะซีเราะฮ์ในกาตาร์ และความสัมพันธ์ของกาตาร์กับอิหร่าน ใน ค.ศ. 2017 ซาอุดีอาระเบียได้เริ่มต้นการปิดล้อมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศในกาตาร์[79]

ใน ค.ศ. 2017 ซาอุดีอาระเบียวางแผนที่จะสกัดยูเรเนียมภายในประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อก้าวไปสู่ความพอเพียงในการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2017 รัฐบาลได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับจีนเพื่อสำรวจและประเมินยูเรเนียม เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2020 มีรายงานว่าซาอุดีอาระเบียได้สร้างโรงงานในทะเลทรายในภูมิภาคเมดินาสำหรับการสกัดยูเรเนียมด้วยความช่วยเหลือของประเทศจีน[80] เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2020 เดอะการ์เดียนได้เผยแพร่รายงานพิเศษที่เปิดเผยว่าซาอุดีอาระเบียกำลังปูทางสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในประเทศ รายงานลับที่ได้รับจากสื่อระบุว่า ราชอาณาจักรได้รับความช่วยเหลือจากนักธรณีวิทยาจีนในการผลิตยูเรเนียมมากกว่า 90,000 ตันจากแหล่งสะสมหลักสามแห่งในใจกลาง และทางตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดีอาระเบีย ใกล้กับบริเวณการพัฒนาเมืองใหม่ที่จะเป็นศูนย์กลางทางการค้าอย่างนีอุม

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
แคว้นของประเทศซาอุดีอาระเบีย

ซาอุดีอาระเบียแบ่งการปกครองเป็น 13 แคว้น ได้แก่

เศรษฐกิจ

แก้

โครงสร้าง

แก้
 
กรุงรียาด เมืองหลวงของประเทศ

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 ซาอุดีอาระเบียมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางและเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[81] มีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก ประมาณ 260 พันล้านบาร์เรล หรือประมาณหนึ่งในสี่ของปริมาณน้ำมันสำรองโลก รายรับประมาณ 2 ใน 3 มาจากการส่งออกน้ำมัน เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียจึงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันโลก ในช่วงหลังสงครามอิรัก-คูเวต ภาระค่าใช้จ่ายในระหว่างวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียประกอบกับรายได้ที่ลดลงจากการตกต่ำของราคาน้ำมัน และรายจ่ายภาครัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้ออาวุธ ทำให้ซาอุดีอาระเบียเผชิญปัญหาขาดดุลงบประมาณติดต่อกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในสภาพที่มั่นคง การลงทุนภาคเอกชนมีมากขึ้น ความพยายามในการกระจายรายรับโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่น้ำมันเริ่มประสบผลสำเร็จ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในต่อหัว (Per Capita Gross Domestic Product GDP Per Capita) ของซาอุดีอาระเบีย มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาเนื่องจากอัตราเพิ่มของประชากรมีมากกว่าอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรมน้ำมันคิดเป็น 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของซาอุดีอาระเบีย เทียบกับ 40% ของภาคเอกชน ซาอุดีอาระเบียมีน้ำมันสำรองอย่างเป็นทางการประมาณ 260 พันล้านบาร์เรล (4.1×1010 m3) ซึ่งประกอบด้วยประมาณหนึ่งในห้าของปริมาณสำรองปิโตรเลียมทั้งหมดที่ถูกค้นพบแล้วของโลก[82] โอเปก จำกัดการผลิตน้ำมันของสมาชิกโดยพิจารณาจาก "ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว" ปริมาณสำรองที่เผยแพร่ของซาอุดีอาระเบียมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 1980 คือเพิ่มขึ้นประมาณ 100 พันล้านบาร์เรล (1.6×1010 m3) ระหว่างปี 1987 ถึง 1988[83] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ถึง 2013 "บริการสาธารณูประโภคหลักหลายประการ" ได้รับการปฏิรูป เช่น ประปาเทศบาล ไฟฟ้า โทรคมนาคม และบางส่วนของการศึกษาและการดูแลสุขภาพ การควบคุมการจราจร และการรายงานอุบัติเหตุทางรถยนต์ ดัชนี TASI ของตลาดหลักทรัพย์ซาอุดีอาระเบียพุ่งขึ้นสูงสุดที่ 16,712.64 ในปี 2005 และปิดที่ 8,535.60 ณ สิ้นปี 2013 ในเดือนพฤศจิกายน 2005 ซาอุดีอาระเบียได้รับการอนุมัติให้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานการลงทุนทั่วไปของซาอุดีอาระเบียเพื่อส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบียมีรายชื่อภาคอุตสาหกรรมที่ห้ามการลงทุนจากต่างประเทศ แต่รัฐบาลมีแผนที่จะเปิดการลงทุนในบางส่วน เช่น โทรคมนาคม การประกันภัย และการส่ง/จำหน่ายไฟฟ้าในอนาคต

นอกจากปิโตรเลียมและก๊าซแล้ว ซาอุดีอาระเบียยังมีภาคการทำเหมืองทองคำที่สำคัญ และอุตสาหกรรมแร่ที่สำคัญอื่น ๆ ภาคเกษตรกรรม (โดยเฉพาะในตะวันตกเฉียงใต้) เป็นที่ตั้งหลักของผลิตผลจากผัก ผลไม้ อินทผลัม ฯลฯ และปศุสัตว์และงานชั่วคราวจำนวนมากที่สร้างขึ้นโดยผู้แสวงบุญฮัจญ์ประจำปีประมาณสองล้านคน ซาอุดีอาระเบียกำลังเปิดใช้งานท่าเรือของตนมากขึ้นเพื่อมีส่วนร่วมในการค้าระหว่างยุโรปและจีนนอกเหนือจากการขนส่งน้ำมัน ด้วยเหตุนี้ ท่าเรือต่าง ๆ กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีการลงทุนด้านโลจิสติกส์ ประเทศนี้ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเลที่วิ่งจากชายฝั่งจีนไปทางทิศใต้ผ่านปลายด้านใต้ของอินเดียไปยังมอมบาซา ผ่านทะเลแดงและคลองสุเอซไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปจนถึงภูมิภาคเอเดรียติกตอนบน สู่ศูนย์กลางเมือง ตรีเยสเต ทางตอนเหนือของอิตาลี พร้อมเส้นทางรถไฟไปยังยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และทะเลเหนือ[84][85][86][87]

ตัวเลขและสถิติด้านความยากจนในราชอาณาจักรไม่สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลของสหประชาชาติ เนื่องจากรัฐบาลซาอุดีอาระเบียไม่ได้ออกเอกสารใด ๆ ในเรื่องนี้[88] ในเดือนธันวาคม 2011 กระทรวงมหาดไทยของซาอุดีอาระเบียได้จับกุมนักข่าวสามคน และกักขังเป็นเวลาเกือบสองสัปดาห์เพื่อสอบปากคำหลังจากที่พวกเขาอัปโหลดวิดีโอในหัวข้อดังกล่าวบนยูทูบ[89] โดยเจ้าของวิดีโอได้ให้ข้อมูลว่าประชากรกว่า 22% ของประเทศอาจประสบความยากจน[90]

เกษตรกรรม

แก้
 
ภูมิภาคอัล-อะซาห์ ได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก ขึ้นชื่อเรื่องต้นปาล์มและอินทผลัม มีต้นปาล์มมากกว่า 30 ล้านต้น ซึ่งผลิตอินทผลัมมากกว่า 100,000 ตันทุกปี

การพัฒนาการเกษตรอย่างจริงจังเริ่มขึ้นในทศวรรษ 1970 รัฐบาลได้เปิดตัวโครงการสำคัญเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อสร้างถนนในชนบท เครือข่ายชลประทาน โรงเก็บและส่งออก และส่งเสริมสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตร เป็นผลให้มีการเติบโตอย่างมหัศจรรย์ในการผลิตอาหารพื้นฐานทั้งหมด ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียมีทรัพยากรอาหารหลายอย่างในประเทศอย่างพอเพียง รวมทั้งเนื้อสัตว์ นม และไข่ ประเทศเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลี อินทผลัม ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ปลา สัตว์ปีก ผลไม้ ผัก และดอกไม้ไปยังตลาดทั่วโลก นอกจากนี้ ชาวนาซาอุดีอาระเบียยังปลูกธัญพืชอื่นๆ จำนวนมาก เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ในปี ค.ศ. 2016 รัฐบาลประกาศยุติการผลิตข้าวสาลีเพื่อรักษาทรัพยากรน้ำ[91]

ซาอุดีอาระเบียมีฟาร์มโคนมที่ทันสมัย และใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง อัตราการผลิตนมต่อปีอยู่ที่ 6,800 ลิตร (1,800 แกลลอนสหรัฐ) ซึ่งเป็นหนึ่งในปริมาณที่สูงที่สุดในโลก บริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมในท้องถิ่น Almarai เป็นบริษัทนมครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง[92] ความสำเร็จทางการเกษตรที่น่าทึ่งที่สุดของราชอาณาจักรซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการเป็นผู้นำเข้ามาเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีใน ค.ศ. 1978 ประเทศได้สร้างโรงเก็บเมล็ดพืชแห่งแรกขึ้น หลังจากนั้นไม่นาน ซาอุดีอาระเบียเริ่มส่งออกข้าวสาลีไปยัง 30 ประเทศ รวมทั้งจีนและอดีตสหภาพโซเวียต และในพื้นที่การผลิตหลักอย่างตะบูก ลูกเห็บ และกอซิม ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 8.1 ตันต่อเฮกตาร์ (3.6 ตันสั้น/เอเคอร์) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เพิ่มการผลิตผักและผลไม้ด้วยการปรับปรุงทั้งเทคนิคทางการเกษตรและถนนที่เชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้บริโภคในเมือง ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้รายใหญ่ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน พืชผลส่วนใหญ่ได้แก่ แตงโม องุ่น ผลไม้รสเปรี้ยว หอมใหญ่ สควอช และมะเขือเทศ ปลูกในบริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ของประเทศ[93]

การท่องเที่ยว

แก้

แม้ว่าการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในซาอุดีอาระเบียยังคงเกี่ยวข้องกับการแสวงบุญทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีการเติบโตในภาคการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน และนันทนาการ จากข้อมูลของธนาคารโลก มีผู้เดินทางมาซาอุดีอาระเบียประมาณ 14.3 ล้านคนในปี 2012 ทำให้เป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากเป็นอันดับ 19 ของโลก[94] การท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญของวิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบียปี 2030 และจากรายงานของ BMI Research ในปี 2018 พบว่าการท่องเที่ยวทั้งเชิงศาสนาและนันทนาการมีศักยภาพในการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ

นับตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 รัฐบาลเสนอการตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาและคอนเสิร์ต ในเดือนกันยายน 2019 รัฐบาลได้ประกาศแผนการที่จะเปิดการยื่นขอการตรวจลงตราสำหรับผู้มาเยือน ซึ่งผู้คนจากประมาณ 50 ประเทศจะสามารถขอกาตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวไปยังซาอุดีอาระเบียได้

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

การศึกษา

แก้
 
อัตราการรู้หนังสือของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ระหว่าง ค.ศ. 1990–2015

การศึกษาในทุกระดับไม่มีค่าใช้จ่าย แม้ว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะจำกัดเฉพาะพลเมืองเท่านั้น[95] ระบบการศึกษาประกอบด้วยโรงเรียนประถม และมัธยมศึกษา ชั้นเรียนมีการแยกตามเพศชัดเจน ในระดับมัธยมศึกษา สามารถเลือกโรงเรียนได้ 3 แบบ คือ ศึกษาทั่วไป เทคนิค หรือ การศึกษาเพื่อศาสนา[96] อัตราการรู้หนังสือของประเทศอยู่ที่ 99% ในเพศชายและ 96% ในเพศหญิงในปี 2020[97][98] สำหรับเยาวชน อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 99.5% สำหรับทั้งสองเพศ[99][100]

ตามแผนการศึกษาสำหรับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 1435–1438 ปฏิทินฮิจเราะห์ นักเรียนที่ลงทะเบียนในสาขา "วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ" จะต้องศึกษาวิชาศาสนาห้าวิชา ได้แก่ เตาฮีด ฟิกฮฺ ตัฟซีร หะดีษ และการศึกษาอิสลามและคัมภีร์กุรอาน อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2021 กระทรวงศึกษาธิการของซาอุดีอาระเบียได้ควบรวมวิชาทางศาสนาอิสลามหลายวิชาเข้าบรรุในตำราเล่มเดียว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา นอกจากนี้ นักศึกษายังต้องลงทะเบียนในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ 6 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ธรณีวิทยา และคอมพิวเตอร์ การศึกษาระดับอุดมศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยจำนวนมากก่อตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะตั้งแต่ทศวรรษ 2000 สถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วยมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ มหาวิทยาลัยซาอูด ก่อตั้งขึ้นในปี 1957 มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งอัลมะดีนะฮ์ ก่อตั้งในปี 1961 และมหาวิทยาลัยคิงอับดุลอาซิซ ในญิดดะฮ์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1967 มหาวิทยาลัยปรินเซสโนรา บินท อับดุลารามัน เป็นมหาวิทยาลัยสำหรับสตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งใน ค.ศ. 1970

อันดับทางวิชาการของมหาวิทยาลัยโลก จัดอันดับสถาบันซาอุดีอาระเบีย 4 แห่งรวมอยู่ในรายชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำ 500 แห่งในปี 2021[101] การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS แสดงรายการมหาวิทยาลัยซาอุดีอาระเบีย 14 แห่งจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกปี 2022 และมหาวิทยาลัย 23 แห่งรวมอยู่ใน 100 อันดับแรกในโลกอาหรับ[102]

ใน ค.ศ. 2018 ซาอุดีอาระเบียอยู่ในอันดับที่ 28 ของโลกในด้านผลงานวิจัยคุณภาพสูงตามวารสาร Nature ทำให้เป็นประเทศตะวันออกกลาง ประเทศอาหรับ และประเทศมุสลิมที่มีผลงานดีที่สุด ซาอุดีอาระเบียใช้จ่าย 8.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพื่อการศึกษา เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 4.6%[103] ซาอุดีอาระเบียอยู่ในอันดับที่ 66 ในดัชนีนวัตกรรมโลกในปี 2021 เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 68 ในปี 2019[104][105] การท่องจำโดยท่องส่วนใหญ่ของอัลกุรอาน การตีความและความเข้าใจ (ตัฟซีร) และการนำประเพณีอิสลามมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหัวใจสำคัญของ ศาสนาที่สอนในลักษณะนี้ยังเป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคนหลักสูตร[106] อย่างไรก็ตาม ซีไอเอรายงานถึงผลที่ตามมาก็คือ เยาวชนซาอุดีอาระเบีย "โดยทั่วไปขาดการศึกษาและทักษะทางเทคนิคที่ภาคเอกชนต้องการ"

ภาคศาสนาของหลักสูตรระดับชาติของซาอุดีอาระเบียได้รับการตรวจสอบในรายงานปี 2006 โดย Freedom House ซึ่งสรุปว่า "หลักสูตรศาสนาของโรงเรียนรัฐบาลของซาอุดีอาระเบียยังคงเผยแพร่อุดมการณ์แห่งความเกลียดชังต่อ "ผู้ไม่ศรัทธา" นั่นคือ คริสเตียน ยิว ชีอะต์ และศูฟี ,ชาวมุสลิมซุนนีย์ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักคำสอนของวะฮาบี, ชาวฮินดู, ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า และอื่น ๆ"[107]

สาธารณสุข

แก้

การดูแลสุขภาพในซาอุดีอาระเบียเป็นระบบการดูแลสุขภาพระดับชาติผ่านหน่วยงานรัฐ ซาอุดีอาระเบียได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 26 ประเทศที่ดีที่สุดในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพสูง[108] กระทรวงสาธารณสุขของซาอุดีอาระเบีย (MOH) เป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลที่ดูแลด้านการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพประชากร ต้นกำเนิดของกระทรวงสามารถสืบย้อนไปถึง ค.ศ. 1925 เมื่อมีการจัดตั้งหน่วยงานด้านสุขภาพในภูมิภาคหลายแห่ง โดยแห่งแรกในเมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย สถาบันสุขภาพต่าง ๆ ถูกควบรวมกันใน ค.ศ. 1950 อับดุลลาห์ บิน ไฟซาล อัล ซาอุด เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนแรกดำรงตำแหน่งเป็นเวลาสามปี โดยมีบทบาทหลักในการจัดตั้งกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นใหม่[109]

กระทรวงสาธารณสุขจัดการแข่งขันระหว่างแต่ละอำเภอ และระหว่างบริการทางการแพทย์และโรงพยาบาลต่าง ๆ แนวคิดนี้ส่งผลให้มีการสร้างโครงการ "Ada'a" ซึ่งเปิดตัวในปี 2016 ระบบใหม่นี้เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพระดับประเทศสำหรับบริการและโรงพยาบาล หลังจากการนำตาราง KPI ใหม่ไปใช้ เวลาในการรอการรับบริการ และการวัดผลที่สำคัญอื่น ๆ ก็ดีขึ้นอย่างมากทั่วทั้งราชอาณาจักร[110] กระทรวงได้พัฒนายุทธศาสตร์ใหม่ หรือที่เรียกว่ากลยุทธ์การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย หรือเรียกสั้นๆ ว่า DPAS[111] การดูแลตนเองที่ไม่ดีในบรรดาประชากรบางกลุ่มในประเทศ ทำให้เกิดการเลือกวิถีชีวิตที่ไม่ดี ส่งผลให้กระทรวงแนะนำว่าควรขึ้นภาษีสำหรับอาหาร เครื่องดื่ม และบุหรี่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพในภูมิภาค

ซาอุดีอาระเบียมีความคาดหมายคงชีพเฉลี่ยที่ 75 ปี (73.79 สำหรับเพศชาย และ 76.61 สำหรับเพศหญิง) อัตราการเสียชีวิตของทารกในปี 2019 เท่ากับ 5.7 ต่อ 1,000 ราย[112] ในปี 2016 ประชากรผู้ใหญ่ 69.7% มีน้ำหนักเกิน และ 35.5% เป็นโรคอ้วน[113] การสูบบุหรี่ในซาอุดีอาระเบียในทุกกลุ่มอายุเป็นที่แพร่หลาย ในปี 2009 เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของผู้สูบบุหรี่ต่ำสุดคือนักศึกษามหาวิทยาลัย (~13.5%) ในขณะที่ผู้สูงอายุมีอัตราสูงสุด (~25%) การศึกษายังพบว่าร้อยละของผู้สูบบุหรี่ชายนั้นสูงกว่าเพศหญิงมาก (~26.5% สำหรับผู้ชาย, ~9% สำหรับผู้หญิง) ก่อนปี 2010 ซาอุดีอาระเบียไม่มีนโยบายห้ามหรือจำกัดการสูบบุหรี่

ประชากรศาสตร์

แก้

ประชากรของซาอุดีอาระเบีย ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 คาดว่าจะอยู่ที่ 26.9 ล้านคน แม้ว่าประชากรซาอุดีอาระเบียได้รับการพิสูจน์แล้วว่ายากต่อการประมาณการอย่างแม่นยำมาเป็นเวลานานเนื่องจากแนวโน้มของผู้นำซาอุดีอาระเบียที่จะขยายผลการสำรวจสำมะโนประชากร[114] ประชากรซาอุดีอาระเบียเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 1950 และหลายปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตของประชากรสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี[115] องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของพลเมืองซาอุดีอาระเบียประกอบไปด้วยชาวอาหรับคิดเป็น 90% และแอฟโฟร-อาหรับอีก 10%

ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ชาวซาอุดีอาระเบียส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบยังชีพในจังหวัดชนบท แต่ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ดินแดนทั้งหมดได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปี 2012 ชาวซาอุดีอาระเบียประมาณ 80% อาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่ โดยเฉพาะรียาด ญิดดะห์ หรือ อัดดัมมาม

วัฒนธรรม

แก้

ซาอุดีอาระเบียมีทัศนคติและขนบธรรมเนียมเก่าแก่หลายศตวรรษ ซึ่งมักมาจากอารยธรรมอาหรับ ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของซาอุดีอาระเบียคือมรดกอิสลามและประเพณีของชาวเบดูอินตลอดจนบทบาททางประวัติศาสตร์ในฐานะศูนย์กลางการค้าโบราณ[126]

อาหาร

แก้
 
กับซะฮ์ ข้าวหมกรับประทานกับเนื้อสัตว์เช่น ไก่ แกะ แพะ หรืออูฐ

อาหารซาอุดีอาระเบีย คล้ายกับประเทศโดยรอบในคาบสมุทรอาหรับและโลกอาหรับในวงกว้าง และได้รับอิทธิพลจากอาหารตุรกี อินเดีย เปอร์เซีย และแอฟริกา เนื้อหมูเป็นสิ่งต้องห้ามโดยชาวมุสลิม การรับประทานเนื้อปศุสัตว์ต้องได้รับการเชือดอย่างถูกต้องภายใต้ข้อกำหนดของ ฮาลาล กะบาบ และ ฟาลาฟล เป็นที่นิยมเช่นเดียวกับชาวัรมา (เนื้อแกะย่างเนื้อแกะหรือไก่หมัก) เช่นเดียวกับในประเทศอาหรับอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ มัคบู (กับซะฮ์) ข้าวพร้อมเนื้อแกะ ไก่ ปลา หรือกุ้ง เป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติ เช่นเดียวกับมานดิ ขนมปังทาบูนเป็นอาหารหลักในแทบทุกมื้อ เช่นเดียวกับอินทผลัม ผลไม้สด โยเกิร์ต และครีม กาแฟอาหรับเป็นเครื่องดื่มแบบดั้งเดิมในอาหารอาหรับ หลักฐานยืนยันที่เก่าแก่ที่สุดของการดื่มกาแฟหรือความรู้เกี่ยวกับต้นกาแฟมีประวัติสืบไปถึงศตวรรษที่ 15 โดยลัทธิศูฟี

การแต่งกาย

แก้
 
การแต่งกายของผู้ชายในซาอุดีอาระเบีย

เนื่องจากซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง อีกทั้งประชาชนยังนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตัวไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ชาวซาอุดีอาระเบียแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แต่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียความชุ่มชื้น ผู้ชายจะใส่ชุดสีขาว เรียกว่า โต๊ป (Thobe) ส่วนผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อคลุมสีดำที่เรียกว่า อาบายะห์ (Abaya)

กีฬา

แก้

ฟุตบอลเป็นกีฬาประจำชาติของชาวซาอุดีอาระเบีย ฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบีย เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปเอเชีย โดยชนะเลิศการแข่งขันเอเชียนคัพ 3 สมัย (ค.ศ. 1984, 1988 และ 1996) และเป็นหนึ่งในสองทีมที่เข้าชิงชนะเลิศรายการนี้มากที่สุด 6 ครั้ง ซาอุดีอาระเบียเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 6 ครั้ง และยังเป็นชาติแรกในเอเชียที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันของฟีฟ่าในนามทีมชาติชุดใหญ่

การดำน้ำสกูบา วินด์เซิร์ฟ เรือใบ และบาสเกตบอล (ซึ่งเล่นโดยทั้งชายและหญิง) ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน ทีมบาสเกตบอลแห่งชาติซาอุดีอาระเบียที่คว้าเหรียญทองแดงในการแข่งขันชิงแชมป์เอเชียปี 1999[127][128][129] กีฬาแบบดั้งเดิมเช่น การแข่งม้าและอูฐก็เป็นที่นิยมเช่นกัน สนามกีฬาในริยาดจัดการแข่งขันในฤดูหนาวประจำปีซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1974 เป็นหนึ่งในการแข่งขันที่สำคัญที่สุดของกีฬาและดึงดูดสัตว์และผู้ขับขี่จากทั่วทั้งภูมิภาค การล่าสัตว์ป่าในสภาพธรรมชาติและที่อยู่อาศัยโดยใช้นกล่าเหยื่อที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ได้รับความนิยม

กีฬาของสตรีเป็นที่ถกเถียงกันเนื่องจากการปราบปรามการมีส่วนร่วมของสตรีโดยเจ้าหน้าที่กลุ่มอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดนี้ผ่อนคลายลงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา[130][131] จนถึงปี 2018 สตรีไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชมกีฬาในสนาม ที่นั่งแบบแยกส่วนซึ่งอนุญาตให้ประชากรสตรีเข้าได้ ได้รับการพัฒนาในสนามกีฬาสามแห่งทั่วเมืองใหญ่ในประเทศ[132]

สื่อมวลชน

แก้

โทรทัศน์ได้รับการเผยแพร่เข้าสู่ซาอุดีอาระเบียใน ค.ศ. 1954 ซาอุดีอาระเบียเป็นตลาดหลักสำหรับดาวเทียมและเพย์ทีวีในภูมิภาค โดยครอบครองส่วนแบ่งที่ใหญ่ที่สุดของตลาดกระจายเสียงในกลุ่มสันนิบาตอาหรับ บริษัทกระจายเสียงรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย ได้แก่ เอ็ม บี ซี กรุ๊ป, โรตานา กรุ๊ป และ Saudi Broadcasting Authority[133]

รัฐบาลซาอุดีอาระเบียติดตามสื่ออย่างใกล้ชิด และจำกัดสื่อดังกล่าวภายใต้กฎหมายของรัฐที่เป็นทางการ มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดข้อจำกัดเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ความพยายามบางอย่างที่นำโดยรัฐบาลในการควบคุมข้อมูลได้ดึงดูดความสนใจจากนานาชาติด้วยเช่นกัน ใน ค.ศ. 2022 ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนประเมินสถานการณ์สื่อมวลชนของราชอาณาจักรว่า "ตึงเครียดมาก"[134] หนังสือพิมพ์ยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียกำเนิดขึ้นในซาอุดีอาระเบีย หนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศและในบริเวณอ่าวเปอร์เซียคือ อัล ฟะลาฮ์ ซึ่งเปิดตัวในปี 1920 หนังสือพิมพ์ทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในซาอุดีอาระเบียดำเนินงานโดยเอกชน[135]

ประชากรของซาอุดีอาระเบียได้รับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในปี 1994[136] จากข้อมูลของธนาคารโลก ณ ปี 2020 ประชากร 98% ของซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งจัดอยู่ในอันดับที่ 8 ของประเทศที่มีเปอร์เซ็นต์ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด[137] ซาอุดีอาระเบียมีความเร็วอินเทอร์เน็ต 5G ที่เร็วที่สุดชาติหนึ่งในโลก[138][139] และยังเป็นตลาดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 27 ด้วยรายได้ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2021 โดยนำหน้าเบลเยียมและหลังนอร์เวย์

หมายเหตุ

แก้
  1. มีสภาที่ปรึกษาหรือสภาชูรอ ซึ่งไม่มีอำนาจทางนิติบัญญัติ[7] เพราะบทบาทของสภานี้มีแค่เฉพาะเป็นที่ปรึกษา จึงไม่ถือเป็นนิติบัญญัติ[8]

อ้างอิง

แก้
  1. "About Saudi Arabia: Facts and figures". The Royal Embassy of Saudi Arabia, Washington, DC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2012.
  2. 2.0 2.1 Saudi Arabia. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
  3. "Basic Law of Governance". Ministry of Education. Ministry of Education – Kingdom of Saudi Arabia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  4. "The World Factbook". 2 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02.
  5. "Saudi Arabia - The World Factbook". CIA. CIA. สืบค้นเมื่อ 30 May 2021.
  6. "Religious Composition by Country" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2021.
  7. Hefner, Robert W. (2009). Remaking Muslim Politics: Pluralism, Contestation, Democratization. Princeton University Press. p. 202. ISBN 978-1-4008-2639-1.
  8. "Analysts: Saudi Arabia Nervous About Domestic Discontent". www.voanews.com. VoA News - English. สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
  9. "The total population – General Authority for Statistics". stats.gov.sa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "World Economic Outlook Database, October 2022". IMF.org. International Monetary Fund. October 2022. สืบค้นเมื่อ October 11, 2022.
  11. "The World Factbook". CIA.gov. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 28 May 2019.
  12. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
  13. James E. Lindsay (2005-06-30). Daily Life in the Medieval Islamic World. Internet Archive. Greenwood Press. ISBN 978-0-313-32270-9.
  14. Al-Rasheed, Madawi (2013-03-15). A Most Masculine State: Gender, Politics and Religion in Saudi Arabia (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-76104-8.
  15. "Council of Ministers System | The Embassy of The Kingdom of Saudi Arabia". www.saudiembassy.net.
  16. Wehrey, Frederic; Wehrey, Frederic. "The Authoritarian Resurgence: Saudi Arabia's Anxious Autocrats". Carnegie Endowment for International Peace (ภาษาอังกฤษ).
  17. Malbouisson, Cofie D. (2007). Focus on Islamic issues. ISBN 978-1-6002
  18. "Saudi Crown Prince Mohammed seeks to reduce influential clerics' power". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  19. Learsy, Raymond (2011). Oil and Finance: The Epic Corruption. p. 89.
  20. "Oil Discovered in Saudi Arabia - National Geographic Society". web.archive.org. 2016-12-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-12. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  21. "International - U.S. Energy Information Administration (EIA)". www.eia.gov.
  22. "Saudi Arabia to overtake Russia as top oil producer-IEA". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  23. Wynbrandt, James (2014-05-14). A Brief History of Saudi Arabia (ภาษาอังกฤษ). Infobase Publishing. ISBN 978-1-4381-0830-8.
  24. Byman, Daniel L. (-001-11-30T00:00:00+00:00). "Confronting Passive Sponsors of Terrorism". Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  25. Buzan, Barry (2004). The United States and the Great Powers. Cambridge: Polity Press. p. 71. ISBN 978-0-7456-3375-6.
  26. "Tax in Saudi Arabia | Saudi Arabia Tax Guide - HSBC Expat". www.expat.hsbc.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  27. "สำเนาที่เก็บถาวร". web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  28. Lewis, Bernard (2003). The crisis of Islam : holy war and unholy terror. Internet Archive. New York : Modern Library. ISBN 978-0-679-64281-7.
  29. Safran, Nadav (1988). Saudi Arabia: The Ceaseless Quest for Security (ภาษาอังกฤษ). Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-9484-0.
  30. "Saudi Arabia". U.S. Department of State.
  31. Wilson, Peter W. (1994-07-20). Saudi Arabia: The Coming Storm (ภาษาอังกฤษ). M.E. Sharpe. ISBN 978-0-7656-3347-7.
  32. Kamrava, Mehran (2011-01-03). The Modern Middle East: A Political History since the First World War (ภาษาอังกฤษ). University of California Press. ISBN 978-0-520-94753-5.
  33. Wynbrandt, James (2010). A brief history of Saudi Arabia. Internet Archive. New York, NY : Facts On File. ISBN 978-0-8160-7876-9.
  34. Hariri-Rifai, Wahbi; Hariri-Rifai, Mokhless (1990). The heritage of the Kingdom of Saudi Arabia. p. 26. ISBN 978-0-9624483-0-0.
  35. Stokes, Jamie (2009). Encyclopedia of the Peoples of Africa and the Middle East, Volume 1. p. 605. ISBN 978-0-8160-7158-6.
  36. University Microfilms (2004). Dissertation Abstracts International: The sciences and engineering. p. 23.
  37. Vincent, Peter (2008-01-17). Saudi Arabia: An Environmental Overview (ภาษาอังกฤษ). CRC Press. ISBN 978-0-203-03088-2.
  38. "Saudi Arabia | History, Map, Flag, Capital, Population, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  39. Francis, Mohammed. "The Tourists Guide To The 10 Amazing Volcanoes in Saudi Arabia". For Lovers Of The Magic Kingdom (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  40. Dinerstein, Eric; Olson, David; Joshi, Anup; Vynne, Carly; Burgess, Neil D.; Wikramanayake, Eric; Hahn, Nathan; Palminteri, Suzanne; Hedao, Prashant; Noss, Reed; Hansen, Matt (2017-06-01). "An Ecoregion-Based Approach to Protecting Half the Terrestrial Realm". Bioscience. 67 (6): 534–545. doi:10.1093/biosci/bix014. ISSN 0006-3568. PMC 5451287. PMID 28608869.
  41. "Species in theRed Sea". www.fishbase.se.
  42. Department Of State. The Office of Electronic Information, Bureau of Public Affairs. "Saudi Arabia". 2001-2009.state.gov (ภาษาอังกฤษ).
  43. "Saudi Arabia Archives". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ).
  44. Abiad, Nisrine (2008). Sharia, Muslim States and International Human Rights Treaty Obligations: A Comparative Study (ภาษาอังกฤษ). BIICL. ISBN 978-1-905221-41-7.
  45. Anishchenkova, Valerie (2020-06-01). Modern Saudi Arabia (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. ISBN 978-1-4408-5705-8.
  46. "2009 Human Rights Report: Saudi Arabia". web.archive.org. 2010-03-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-15. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  47. "Rights group condemns Saudi beheadings". NBC News (ภาษาอังกฤษ).
  48. "Saudi system condemned". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2003-08-09.
  49. "Saudi executioner tells all" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2003-06-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  50. "Saudi Arabia to abolish flogging - supreme court". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-04-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  51. "In landmark decision, Saudi Arabia to eliminate flogging punishment". Al Arabiya English (ภาษาอังกฤษ). 2020-04-24.
  52. "Women and Saudi Arabia's Male Guardianship System | HRW". web.archive.org. 2016-08-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  53. "Public Debate in Saudi Arabia on Employment Opportunities for Women". MEMRI (ภาษาอังกฤษ).
  54. "The Australian who has become a prisoner of gender apartheid". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2009-11-13.
  55. Venter, Al J. (2007). Allah's bomb : the Islamic quest for nuclear weapons. Internet Archive. Guilford, CT : Lyons. ISBN 978-1-59921-205-0.
  56. "Asia Times - Asia's most trusted news source for the Middle East". web.archive.org. 2003-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  57. "Global defence spending: the United States widens the gap". IISS (ภาษาอังกฤษ).
  58. "USA and France dramatically increase major arms exports; Saudi Arabia is largest arms importer, says SIPRI | SIPRI". www.sipri.org.
  59. "About this Collection | Country Studies | Digital Collections | Library of Congress". Library of Congress, Washington, D.C. 20540 USA.
  60. "U.S. Arms Clients Profiles--SAUDI ARABIA". web.archive.org. 2010-11-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  61. "U.S. Middle East Policy-Arms for the King and His Family: The U.S. Arms Sale to Saudi Arabia". web.archive.org. 2010-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  62. "Reuters | Breaking International News & Views". Reuters (ภาษาอังกฤษ).
  63. "KUNA : Arab leaders issue resolutions, emphasize Gaza reconstruction efforts - - 20/01/2009". www.kuna.net.kw.
  64. "OPEC : Brief History". www.opec.org.
  65. "The Arab Oil Threat". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1973-11-23. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  66. Norton, Ben (2016-08-30). "Rights group blasts U.S. "hypocrisy" in "vast flood of weapons" to Saudi Arabia, despite war crimes". Salon (ภาษาอังกฤษ).
  67. "Obama: Congress veto override of 9/11 lawsuits bill 'a mistake'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-09-29. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  68. "We finally know what Hillary Clinton knew all along – Saudi Arabia is funding Isis". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2016-10-15.
  69. "How strained are US-Saudi relations?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  70. News, A. B. C. "The truth about President Trump's $110 billion Saudi arms deal". ABC News (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  71. "Iraq's foreign militants 'come from US allies'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2007-11-22.
  72. "Saudi Poll: China Leads U.S.; Majority Back Curbs on Extremism, Coronavirus". The Washington Institute (ภาษาอังกฤษ).
  73. Ma, Alexandra. "Saudi crown prince defended China's imprisonment of a million Muslims in internment camps, giving Xi Jinping a reason to continue his 'precursors to genocide'". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  74. "Saudi Arabian troops enter Bahrain as regime asks for help to quell uprising". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2011-03-14.
  75. "'The Yemen war death toll is five times higher than we think – we can't shrug off our responsibilities any longer'". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-26.
  76. "Gulf-allies-and-'Army-of-Conquest' - Al-Ahram Weekly". web.archive.org. 2015-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-15. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  77. "'Army of Conquest' rebel alliance pressures Syria regime". news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  78. "At last, a Western country stands up to Saudi Arabia on human rights". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2015-03-13.
  79. "Qatar-Gulf crisis: Your questions answered". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ).
  80. "Saudi Arabia signs cooperation deals with China on nuclear energy". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2017-08-25. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  81. "Report for Selected Countries and Subjects". IMF (ภาษาอังกฤษ).
  82. "International - U.S. Energy Information Administration (EIA)". www.eia.gov.
  83. "Wayback Machine". web.archive.org. 2010-11-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  84. Network, WANG KAIHAO China Daily Asia News (2018-03-24). "Ancient silk road port found in Saudi Arabia". nationthailand (ภาษาอังกฤษ).
  85. "How Saudi Arabia revived the ancient Silk Road". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2016-09-03.
  86. "China to Boost Belt and Road Links with Saudi Arabia". The Maritime Executive (ภาษาอังกฤษ).
  87. "Insights". www.business.hsbc.ae (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  88. "Poverty Hides Amid Saudi Arabia's Oil Wealth". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  89. "Saudi film-makers enter second week of detention". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2011-10-23.
  90. "A foreign Saudi plot to expose foreign poverty in foreign Saudi « Lebanon Spring". web.archive.org. 2012-01-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-03. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  91. "Saudi Arabia ends domestic wheat production | World-grain.com | March 18, 2016 14:23 | World Grain". www.world-grain.com (ภาษาอังกฤษ).
  92. "Elopak". web.archive.org. 2008-11-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  93. "Agriculture & Water | The Embassy of The Kingdom of Saudi Arabia". www.saudiembassy.net.
  94. "Wish you were here". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  95. "Saudi Education System". www.ukessays.com (ภาษาอังกฤษ).
  96. "K 12 Education System of Saudi Arabia Classes 1 to 12". www.saudiarabiaeducation.info.
  97. "Literacy rate, adult female (% of females ages 15 and above) | Data". data.worldbank.org.
  98. "Literacy rate, adult male (% of males ages 15 and above) | Data". data.worldbank.org.
  99. "Literacy rate, youth male (% of males ages 15-24) - Saudi Arabia | Data". data.worldbank.org.
  100. "Literacy rate, youth female (% of females ages 15-24) - Saudi Arabia | Data". data.worldbank.org.
  101. "ShanghaiRanking's Academic Ranking of World Universities". www.shanghairanking.com.
  102. "QS Arab Region University Rankings 2022". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).
  103. "Saudi Arabia most improved economy for business". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-28.
  104. "Global Innovation Index 2019". www.wipo.int (ภาษาอังกฤษ).
  105. "RTD - Global Innovation Index 2020 (Cornell/Insead/WIPO)". ec.europa.eu.
  106. "Education in Saudi Arabia". WENR (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2001-11-01.
  107. "freedomhouse.org: Press Release". web.archive.org. 2008-12-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-11. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  108. Al-Hanawi, Mohammed Khaled; Khan, Sami A.; Al-Borie, Hussein Mohammed (2019-02-27). "Healthcare human resource development in Saudi Arabia: emerging challenges and opportunities—a critical review". Public Health Reviews. 40 (1): 1. doi:10.1186/s40985-019-0112-4. ISSN 2107-6952. PMC 6391748. PMID 30858991.{{cite journal}}: CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  109. "Abdullah Al-Faisal Passes Away". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2007-05-09.
  110. "Saudi Arabia's 937 Service Center received 80,007 calls last week". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-15.
  111. "It's time to tip the scale against Saudi Arabia's obesity problem". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2018-08-01.
  112. "Life expectancy at birth, total (years) - Saudi Arabia | Data". data.worldbank.org.
  113. "Noncommunicable diseases: Risk factors". www.who.int (ภาษาอังกฤษ).
  114. "Saudi Arabia on the dole". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  115. Long, David E. (2005). Culture and customs of Saudi Arabia. Internet Archive. Greeenwood Press. ISBN 978-0-313-32021-7.
  116. "About ArRiyadh". High Commission for the Development of Ar-Riyadh. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
  117. 117.0 117.1 117.2 117.3 117.4 117.5 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Eastern Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
  118. 118.0 118.1 118.2 118.3 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Makkah Al-Mokarramah Region, 2014 A.D." Stats.gov.sa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
  119. 119.0 119.1 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Aseer Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
  120. "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Hail Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
  121. 121.0 121.1 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Al-Madinah Al-Monawarah Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
  122. "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Al-Riyad Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
  123. "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Al-Qaseem Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
  124. "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Najran Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
  125. "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Tabouk Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
  126. "Culture, Traditions and Art". Saudi Arabian Cultural Mission | (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
  127. https://web.archive.org/web/20111028000423/http://saudiembassy.net/files/PDF/Publications/Magazine/1998-Winter/slamdunk.htm
  128. "Saudi women show greater interest in sports and games - Arab News". web.archive.org. 2012-01-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-20. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  129. "Men Basketball Asia Championship 1999 Fukuoka (JPN)- 28.08-05.09 Winner China". web.archive.org. 2012-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  130. Elwazer, Schams (2013-05-05). "Saudi government sanctions sports in girls' private schools". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  131. "Saudi Arabia: No Women on Asian Games Team". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2014-09-17.
  132. Hallam, Emanuella Grinberg,Jonny (2017-10-30). "Saudi Arabia to let women into sports stadiums". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  133. The Report: Saudi Arabia 2008 (ภาษาอังกฤษ). Oxford Business Group. 2008. ISBN 978-1-902339-00-9.
  134. "Index | RSF". rsf.org (ภาษาอังกฤษ).
  135. "Wayback Machine". web.archive.org. 2014-09-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
  136. "Internet in Saudi Arabia | Internet.sa | انترنت السعودية". internet.sa.
  137. "Individuals using the Internet (% of population) - Saudi Arabia | Data". data.worldbank.org.
  138. "Saudi Arabia has fastest 5G download speed, S Korea second --Full list of 15 countries". Zee News (ภาษาอังกฤษ).
  139. "Saudi 5G Is Fast, and New Spectrum Allocations Should Make it Faster". Ookla - Providing network intelligence to enable modern connectivity (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-19.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้