เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (อุยกูร์: شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى-; จีน: 新疆维吾尔自治区) เป็นเขตปกครองตนเองของจีนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรและเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ มีดินแดนพิพาทอักไสชินที่จีนบริหารอยู่ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์และเป็นภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
การถอดเสียงภาษาต่าง ๆ
 • ภาษาจีน新疆维吾尔自治区
(Xīnjiāng Wéiwú'ěr Zìzhìqū)
 • อักษรย่อXJ / (พินอิน: Xīn)
 • ภาษาอุยกูร์شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى
 • ทับศัพท์อักษรอุยกูร์Shinjang Uyghur Aptonom Rayoni
สถานที่สำคัญในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
แผนที่แสดงที่ตั้งของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
แผนที่แสดงที่ตั้งของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
พิกัด: 41°N 85°E / 41°N 85°E / 41; 85พิกัดภูมิศาสตร์: 41°N 85°E / 41°N 85°E / 41; 85
ตั้งชื่อจาก
  • ซิน (, xīn) ("ใหม่")
  • เจียง (, jiāng) ("แนวพรมแดน" หรือ "ชายแดน")
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
อุรุมชี
เขตการปกครอง14 จังหวัด, 99 อำเภอ, 1005 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคเฉิน เฉวียนกั๋ว (陈全国)
 • ประธานShohrat Zakir
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด1,664,897 ตร.กม. (642,820 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 1
ความสูงจุดสูงสุด (เคทู)8,611 เมตร (28,251 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด (ทะเลสาบ Ayding[2])−154 เมตร (−505 ฟุต)
ประชากร
 (2010)[3]
 • ทั้งหมด21,815,815 คน
 • ประมาณ 
(2018)[4]
24,870,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 25
 • ความหนาแน่น15 คน/ตร.กม. (40 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 29
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบ
 ทางชาติพันธุ์
 • ภาษาและ
 ภาษาถิ่น
รหัส ISO 3166CN-XJ
GDP (2017)[6]1.1 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 26)
 - ต่อหัว45,099 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 21)
HDI (2018)0.731[7] (สูง) (อันดับที่ 27)
เว็บไซต์www.xinjiang.gov.cn

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์มีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ประวัติศาสตร์ แก้

ตั้งแต่สองพันปีก่อนเป็นต้นมา ดินแดนซินเจียงก็เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศจีน ที่มีความเป็นเอกภาพและประกอบด้วยหลายชนชาติ เมื่อ 60 ก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์ฮั่นได้จัดตั้งองค์กรบริหารซียวี่ เพื่อปกครองเขตซินเจียงโดยตรง ซึ่งมีขอบเขตรวมถึงทะเลสาบปาเอ่อร์คาสือ (巴尔喀什湖) และเขตที่ราบสูงพ่าหมีเอ่อร์ (帕米尔高原) ภายในเวลา 1,000 ปีเศษต่อจากนั้น เขตซินเจียงสังกัดอยู่ในองค์กรบริหารท้องถิ่น ที่จัดตั้งโดยรัฐบาลกลาง

ครั้นถึงราชวงศ์ชิง รัฐบาลกลางได้แต่งตั้งนายพลอีหลี เพื่อปกครองดินแดนซินเจียงทั้งหมดและเมื่อถึงปี พ.ศ. 2427 เขตซินเจียงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมณฑล ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างซินเจียงกับมณฑลต่าง ๆ ในแผ่นดินใหญ่จีนมีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น

เดือนกันยายน พ.ศ. 2492 ซินเจียงได้รับการปลดแอกอย่างสันติ จนเมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม สาธารณรัฐประชาชนจีนได้สถาปนาขึ้น เขตซินเจียงจึงกลายเป็นเขตบริหารระดับมณฑลที่มีอำนาจปกครองตนเองได้เขตหนึ่งของจีน

ประวัติศาสตร์จีนในสมัยโบราณมีมาตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาแดงและเครื่องปั้นดินเผาดำเริ่มต้นการปกครองโดยราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์ซาง ราชวงศ์โจว และราชวงศ์ฉินตามลำดับ และสิ้นสุดลงที่สมัยราชวงศ์ฮั่น ค.ศ. 220

ภูมิประเทศ แก้

มีภูเขาอาเอ่อร์ไท่ซาน ภูเขาเทียนชาน และภูเขาคุนหลุนชานตั้งอยู่จากทิศเหนือไปยังทิศใต้ มีแม่น้ำทาริมซึ่งเป็นแม่น้ำภายในดินแดนที่ไม่ไหลลงทะเลที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีทะเลสาบโบสทัง (ทะเลสาบปั๋วซือเถิง) เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในซินเจียงและเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศจีน[8] แอ่งตูร์ปัน (แอ่งถูหลู่ฟาน) ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำสุดของจีน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ทะเลทรายทากลามากัน (塔克拉玛干沙漠, ทะเลทรายถ่าเคอลาหม่ากาน) เป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดของจีน และอันดับที่สองของโลก และมีทะเลทรายกู๋เอ่อร์ปานทงกู่เท่อ (古尔班通古特沙漠) เป็นทะเลทรายใหญ่อันดับที่สองของจีน อุดมด้วยทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ

พื้นที่ 1.66 ล้านตร.กม แบ่งเขตการปกครองเป็น 17 เมือง 70 อำเภอ และ 844 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้มีหมู่บ้านชนส่วนน้อยถึง 42 หมู่บ้าน ในเมืองใหญ่ทั้ง 13 เมือง เป็นเขตปกครองตนเองของชนส่วนน้อยถึง 5 เมือง

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

เมือง[9] ภาษาอุยกูร์
(kona yezik̡)
อุยกูร์ละติน
(yengi yezik̡)
อักษรจีน พินอิน
เมืองระดับจังหวัด
อุรุมชี (Ürümqi) ئۈرۈمچى شەھرى Ürümqi Xəh̡ri 乌鲁木齐市 Wūlǔmùqí Shì
คาราไม (Karamay) قاراماي شەھرى K̡aramay Xəh̡ri 克拉玛依市 Kèlāmǎyī Shì
เมืองระดับอำเภอที่ถูกปกครองโดยตรง
สือเหอจื่อ شىخەنزە شەھرى Xihənzə Xəh̡ri 石河子市 Shíhézǐ Shì
ถูมู่ซูเค่อ تۇمشۇق شەھرى Tumxuk̡ Xəh̡ri 图木舒克市 Túmùshūkè Shì
อารัล ئارال شەھرى Aral Xəh̡ri 阿拉尔市 Ālā'ěr Shì
อู่เจียฉวี ئۇجاچۇ شەھرى Wujiaqü Xəh̡ri 五家渠市 Wǔjiāqú Shì
จังหวัด[10]
จังหวัดถู่หลู่ฟาน تۇرپان ۋىلايىتى Turpan Vilayiti 吐鲁番地区 Tǔlǔfān Dìqū
จังหวัดฮามี่ قۇمۇل ۋىلايىتى K̡umul Vilayiti 哈密地区 Hāmì Dìqū
จังหวัดเหอเถียน خوتەن ۋىلايىتى Hotən Vilayiti 和田地区 Hétián Dìqū
จังหวัดอาเค่อซู ئاقسۇ ۋىلايىتى Ak̡su Vilayiti 阿克苏地区 Ākèsū Dìqū
จังหวัดคาสือ قەشقەر ۋىلايىتى K̡əxk̡ər Vilayiti 喀什地区 Kāshí Dìqū
จังหวัดถ่าเฉิง تارباغاتاي ۋىلايىتى Tarbaƣatay Vilayiti 塔城地区 Tǎchéng Dìqū
จังหวัดอัลไต ئالتاي ۋىلايىتى Altay Vilayiti 阿勒泰地区 Ālètài Dìqū
จังหวัดปกครองตนเอง
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติคีร์กีซเค่อจือเล่อซู قىزىلسۇ قىرغىز ئاپتونوم ئوبلاستى K̡izilsu K̡irƣiz Aptonom Oblasti 克孜勒苏柯尔克孜自治州 Kèzīlèsū Kē'ěrkèzī Zìzhìzhōu
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติมองโกลปาอินกัวเลิ่ง بايىنغولىن موڭغۇل ئاپتونوم ئوبلاستى Bayinƣolin Mongƣol Aptonom Oblasti 巴音郭楞蒙古自治州 Bāyīnguōlèng Měnggǔ Zìzhìzhōu
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติหุยชางจี๋ سانجى خۇيزۇ ئاپتونوم ئوبلاستى Sanji Huizu Aptonom Oblasti 昌吉回族自治州 Chāngjí Huízú Zìzhìzhōu
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติมองโกลปั๋วเอ๋อร์ถ่าลา بۆرتالا موڭغۇل ئاپتونوم ئوبلاستى Bɵrtala Mongƣol Aptonom Oblasti 博尔塔拉蒙古自治州 Bó'ěrtǎlā Měnggǔ Zìzhìzhōu
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติคาซัคอีหลี ئىلى قازاق ئاپتونوم ئوبلاستى Ili K̡azak̡ Aptonom Oblasti 伊犁哈萨克自治州 Yīlí Hāsàkè Zìzhìzhōu


อ้างอิง แก้

  1. 6-1 自然资源划 [6-1 Natural Resources] (ภาษาจีน). Statistics Bureau of Xinjiang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 19 December 2015.
  2. Mackerras, Colin; Yorke, Amanda (1991). The Cambridge handbook of contemporary China. Cambridge University Press. p. 192. ISBN 978-0-521-38755-2. สืบค้นเมื่อ 4 June 2008.
  3. Susan M. Walcott; Corey Johnson (1 November 2013). "Where Inner Asia Meets Outer China: The Xinjiang Uyghur Autonomous Region of China". Eurasian Corridors of Interconnection: From the South China to the Caspian Sea. Routledge. pp. 64–65.
  4. "National Data". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2020. สืบค้นเมื่อ 10 April 2020.
  5. "China". Ethnologue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 June 2015.
  6. 新疆维吾尔自治区2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Xinjiang on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Xinjiang. 25 April 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
  7. United Nations Development Program (2013). China Human Development Report 2013: Sustainable and Liveable Cities: Toward Ecological Urbanisation (PDF). Beijing: Translation and Publishing Corporation. ISBN 978-7-5001-3754-2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 11, 2014. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 14, 2014.
  8. Seespiegelschwankungen des Bosten-Sees (ในภาษาเยอรมัน)[ลิงก์เสีย]
  9. Zhōngguó dìmínglù 中国地名录 (Beijing, Zhōngguó dìtú chūbǎnshè 中国地图出版社 1997) ; ISBN 7-5031-1718-4.
  10. "เขตการปกครองของประเทศจีน", วิกิพีเดีย, 2021-01-27, สืบค้นเมื่อ 2021-08-11

แหล่งข้อมูลอื่น แก้