ประเทศมองโกเลีย

มองโกเลีย (อังกฤษ: Mongolia; มองโกเลีย: Монгол Улс, อักษรโรมัน: Mongol Uls, มองโกเลียดั้งเดิม: [a] มงกลอุลุส; แปลว่า "ชาติมองโกล" หรือ "รัฐมองโกเลีย") เป็นประเทศในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกรองจากประเทศคาซัคสถาน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศรัสเซีย และทางใต้ติดกับประเทศจีน มีพื้นที่ที่สามารถใช้สำหรับการเกษตรได้น้อยกว่าร้อยละหนึ่ง

มองโกเลีย

เพลงชาติМонгол улсын төрийн дуулал
Monğol ulsyŋ töriyŋ duulal
("เพลงชาติมองโกเลีย")
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อูลานบาตาร์
48°N 106°E / 48°N 106°E / 48; 106
ภาษาราชการมองโกเลีย
อักษรทางการ
กลุ่มชาติพันธุ์
(2020)
ศาสนา
(2020)
เดมะนิมชาวมองโกเลีย[a]
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบกึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐ[3][4][5]
อุคนากีง คือเรลซึค
Luvsannamsrain Oyun-Erdene
Gombojavyn Zandanshatar
สภานิติบัญญัติState Great Khural
ก่อตั้ง
209 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ค.ศ. 1206
29 ธันวาคม ค.ศ. 1911
26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924
13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992
พื้นที่
• รวม
1,564,116 ตารางกิโลเมตร (603,909 ตารางไมล์) (อันดับที่ 18)
0.67[6]
ประชากร
• 2020 ประมาณ
3,353,470[7] (อันดับที่ 134)
• สำมะโนประชากร 2015
3,057,778[8]
2.07 ต่อตารางกิโลเมตร (5.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 194)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2019 (ประมาณ)
• รวม
47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 115)
14,270 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 93)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2019 (ประมาณ)
• รวม
13.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 133)
4,151 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 116)
จีนี (2018)32.7[10]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.737[11]
สูง · อันดับที่ 99
สกุลเงินทูกรีก (MNT)
เขตเวลาUTC+7/+8[12]
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+8/+9[13]
รูปแบบวันที่ปปปป.ดด.วว (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+976
รหัส ISO 3166MN
โดเมนบนสุด.mn, .мон
  1. ^ "มองโกเลีย" สื่อถึงสัญชาติ ซึ่งรวมชนกลุ่มน้อยอย่างคาซัคหรือตูวัน ส่วน "มองโกล" สื่อถึงผู้มีเชื้อชาติมองโกล

มองโกเลียมีประชากรเพียง 3 ล้านกว่าคน แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึงกว่า 3 เท่า ซึ่งทำให้ประเทศมองโกเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในโลก ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแบบทิเบต และประชากรร้อยละ 38 อาศัยอยู่ในเมืองหลวงชื่ออูลานบาตาร์

ภูมิศาสตร์

แก้
 
ภาพถ่ายประเทศมองโกเลียจากดาวเทียม

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ภูมิประเทศ

แก้

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทราย ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรเบาบางที่สุดในโลก

ภูมิอากาศ

แก้

ในฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนมาก แต่ในฤดูหนาวอากาศหนาวมากและมีหิมะตก

ประวัติศาสตร์

แก้

สมัยใหม่

แก้

มองโกเลียเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมองโกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งต่อมาได้ยึดอำนาจเข้าปกครองจีนในนามของราชวงศ์หยวนแต่ก็ต้องมาเสียอำนาจเมื่อราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจซึ่งทางมองโกเลียเองต้องอยู่ใต้อำนาจของราชวงศ์ดังกล่าวอีกด้วย

ศตวรรษที่ 20

แก้

มองโกเลียได้รับเอกราชจากสาธารณรัฐจีน เมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) จากการช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตแต่ต้องสถาปนาการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ตามแบบประเทศเพื่อนบ้าน ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดหลังจาก การปฏิวัติประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ปีเดียวกันกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมามองโกเลียได้นำระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาใช้กับตน

การเมืองการปกครอง

แก้

ฝ่ายบริหาร

แก้

ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นผู้เสนอชื่อคณะรัฐมนตรี (หลังจากได้ปรึกษากับประธานาธิบดีแล้ว) และรัฐสภา (the State Grate Hural) เป็นผู้รับรองรายชื่อคณะรัฐมนตรี รัฐสภาเป็นผู้เสนอชื่อผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับเลือกตั้งโดยวิธีการลงคะแนนเสียง (Popular Vote) วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันเป็นวาระที่ 2 การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2013 ตามด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยทั่วไปผู้นำพรรคเสียงข้างมากหรือผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลเสียงข้างมากจะได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี[14]

ฝ่ายตุลาการ

แก้

ศาลสูงสุดคือ ศาลฎีกา (Supreme Court)[15]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

มองโกเลียแบ่งเขตออกเป็น 21 จังหวัด ซึ่งชาวมองโกลเรียกว่า aymag: ไอมัก (ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า prefecture) แต่เดิม มองโกเลียเป็นมณฑลของจีน จึงมีการแบ่งมองโกเลียเป็นเขตย่อยลงไปอีก แล้วยังคงเป็นเช่นนี้หลังจากที่มองโกเลียเป็นเอกราช

ความสัมพันธ์กับไทย

แก้

ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมองโกเลีย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2517 โดยกำหนดให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง มีเขตอาณาครอบคลุมมองโกเลีย และแต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงอูลันบาตอร์อีกตำแหน่งหนึ่ง สำหรับฝ่ายมองโกเลียในช่วงแรกได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูตมองโกเลีย ณ เวียงจันทน์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 มองโกเลียได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยขึ้น มีนาย Luvsandorj Bayart เป็นเอกอัครราชทูตมองโกเลียคนแรก ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมองโกเลียโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น แม้มองโกเลียไม่ใช่ประเทศสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของไทย และสองฝ่ายยังไม่มีความร่วมมือที่เข้มข้นระหว่างกัน แต่ไทยและมองโกเลียพยายามรักษาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเพื่อเป็นช่องทางการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง โดยไทยให้ความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่มองโกเลีย โดยคำนึงว่ามองโกเลียเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ไม่มีทางออกทะเล และนักลงทุนไทยเริ่มรุกเข้าไปลงทุนที่มองโกเลีย โดยเฉพาะในสาขาเหมืองแร่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มองโกเลีย สนับสนุนไทยด้วยดีในเวทีระหว่างประเทศ และให้ความสำคัญต่อประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และมีบทบาทโดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศ จึงประสงค์จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งต้องการให้ไทยเป็นพันธมิตรกับมองโกเลียในกรอบความร่วมมือต่าง ๆ

ด้านการเมือง

แก้

ที่ผ่านมา มีความร่วมมือกันไม่มากนักแต่ได้เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อมองโกเลียได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการฝึกคอบร้าโกลด์ เมื่อปี 2545 นอกจากนี้ สภาความมั่นคงแห่งชาติมองโกเลีย ได้เสนอให้มีความร่วมมือกับสภาความมั่นคงแห่งชาติของไทย เพื่อความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และปรึกษาหารือในประเด็นที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน โดยได้ส่งร่างบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งสองให้ฝ่ายไทยพิจารณา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาไทยกับมองโกเลียมีการแลกเปลี่ยนการเยือน และการพบหารือระดับสูงเพิ่มมากขึ้นและนายกรัฐมนตรี ได้พบหารือกับประธานาธิบดีมองโกเลียในช่วงการประชุมเอเชียยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 และนายกรัฐมนตรีเยือนมองโกเลียอย่างเป็นทางการ และเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีของประชาคมประชาธิปไตย (Community of Democracies) ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2556 สภาความมั่นคงแห่งชาติมองโกเลีย ได้เสนอให้มีความร่วมมือกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติของไทย เพื่อความร่วมมือในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และปรึกษาหารือในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในร่างความร่วมมือดังกล่าวแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาการลงนาม เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือทวิภาคีกับ นายลูฟซันวันดันโบล์ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้ามองโกเลีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศไม่ฝักฝ่ายใด (NAM) ครั้งที่ 16 ที่กรุงเตหะราน ไทยกับมองโกเลีย ยังมีความร่วมมือมากขึ้นในกรอบรัฐสภา ผ่านกลุ่มมิตรภาพรัฐสภาไทย-มองโกเลีย โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 26-30 ตุลาคม 2556 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 (นายเจริญ จรรย์โกมล) และคณะได้เดินทางเยือนมองโกเลีย

ด้านเศรษฐกิจ

แก้
การค้า

การค้าระหว่างไทย-มองโกเลีย ยังมีปริมาณไม่มากนัก แต่ก็มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยการค้าไทย-มองโกเลียตลอดปี 2554 มีมูลค่ารวม 18.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าปี 2553 ร้อยละ 30 แบ่งเป็นไทยส่งออก 12.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 5.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 32.64 และร้อยละ 26.17 ตามลำดับ ระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2556 มีมูลค่าการค้ารวม 12.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.96 ส่วนในปี 2555 มีมูลค่าการค้ารวม 13.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยส่งออก 13.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 0.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ สินแร่โลหะ เศษโลหะ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชา กาแฟ เครื่องเทศ

การลงทุน

ผู้ประกอบการไทยสนใจการลงทุนในมองโกเลียมากขึ้น นอกจากนี้ ระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้ามองโกเลีย เมื่อเดือนธันวาคม 2553 ฝ่ายไทยและฝ่ายมองโกเลียได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสัมมนาและจับคู่ธุรกิจไทย-มองโกเลีย ที่กรุงเทพฯ ฝ่ายไทยมีความสนใจลงทุนในมองโกเลียในด้านเหมืองแร่ การก่อสร้างและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ธุรกิจท่องเที่ยว สปา ปัจจุบันบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ลงทุนในกิจการเหมืองถ่านหิน และจัดตั้งสำนักงานในมองโกเลีย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ส่วนมองโกเลียไม่มีการลงทุนในไทย การลงทุนของไทยในมองโกเลียนั้นยังมีจำกัด เนื่องจากเป็นตลาดเล็ก ข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดจำกัด และไม่มีเที่ยวบินตรงจากไทย อย่างไรก็ดีภาคเอกชนไทย เริ่มสนใจเข้าไปลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อย่างเช่น บริษัทบ้านปู ที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น

ความตกลงระหว่างประเทศ

แก้
  • ความตกลงด้านการค้าและความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า
    • ลงนามเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2517
  • ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ
    • ลงนามเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537
  • ความตกลงด้านการบิน
    • ลงนามเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2537
  • บันทึกความเข้าใจความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขไทย-มองโกเลีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข และการแลกเปลี่ยนบุคลากร แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญระหว่างกัน
    • ลงนามเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2537
  • พิธีสารความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-มองโกเลีย
    • ลงนามเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2548
  • ความตกลงการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้
    • ลงนามเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549
  • ความตกลงความร่วมมือทางวัฒนธรรม
    • ลงนามเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549
  • ความตกลงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
    • ลงนามเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
  • ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดา
    • ลงนามเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550

เศรษฐกิจ

แก้

โครงสร้าง

แก้

เนื่องจากมองโกเลียอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตมาตั้งแต่ปี 2467 และมีการค้ากับสหภาพโซเวียตประมาณร้อยละ 85 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียต ส่งผลให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศลดลงตั้งแต่ปี 2534 มีผลกระทบทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในมองโกเลีย วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่มองโกเลียกำลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสังคมนิยมมาสู่ระบบตลาดเสรี ทำให้มองโกเลียเร่งเปิดประตูสู่นานาชาติมากขึ้นภายใต้ระบบตลาดเสรีในปัจจุบัน มองโกเลียได้ดำเนินนโยบายเปิดกว้างเพื่อให้เกิดการค้า การลงทุน และการจ้างงานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปมาก

ประชากรศาสตร์

แก้

เชื้อชาติ

แก้
 
อูลานบาตาร์

เป็นชาวมองโกลร้อยละ 90, ชาวคาซัคร้อยละ 4, ชาวรัสเซียร้อยละ 2, ชาวจีนร้อยละ 2 และอื่น ๆ ร้อยละ 2

ภาษา

แก้

ปัจจุบันมีผู้พูดภาษามองโกลร้อยละ 95 ของประชากรในประเทศ (ส่วนมากใช้ภาษามองโกลสำเนียงคัลคา)

ศาสนา

แก้
ศาสนาในประเทศมองโกเลีย[16]
  • ศาสนาพุทธ 1,009,357 คน
  • ศาสนาอิสลาม 57,702 คน
  • ศาสนาเชมัน 55,174 คน
  • ศาสนาคริสต์ 41,117 คน
  • ศาสนาอื่นๆ 6,933 คน
  • ไม่มีศาสนา 735,283 คน

วัฒนธรรม

แก้

วิถีชีวิต

แก้
 
กระโจมชาวมองโกล

ชาวมองโกลจะอาศัยอยู่สิ่งที่เรียกว่า "เกอร์" ที่สามารถรื้อถอนได้ง่าย และชาวมองโกลส่วนใหญ่เป็นพวกเร่ร่อน ในปีหนึ่งชาวมองโกลจะย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ถึง 20 ครั้ง

หมายเหตุ

แก้
  1. อักษรยูนิโคด: ᠮᠤᠩᠭᠤᠯ ᠤᠯᠤᠰ

อ้างอิง

แก้
  1. "Official Documents to be in Mongolian Script". UB Post. June 21, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2011. สืบค้นเมื่อ 2010-07-11.
  2. 2.0 2.1 "Хун ам, орон сууцны 2020 оны улсын ээлжит тооллогы нэгдсэн дун" (PDF) (ภาษามองโกเลีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 November 2020. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
  3. Shugart, Matthew Søberg (September 2005). "Semi-Presidential Systems: Dual Executive and Mixed Authority Patterns" (PDF). Graduate School of International Relations and Pacific Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 19, 2008. สืบค้นเมื่อ 21 February 2016.
  4. Shugart, Matthew Søberg (ธันวาคม 2005). "Semi-Presidential Systems: Dual Executive And Mixed Authority Patterns" (PDF). French Politics. 3 (3): 323–351. doi:10.1057/palgrave.fp.8200087. ISSN 1476-3419. S2CID 73642272. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 4, 2016. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2016. Even if the president has no discretion in the forming of cabinets or the right to dissolve parliament, his or her constitutional authority can be regarded as 'quite considerable' in Duverger's sense if cabinet legislation approved in parliament can be blocked by the people's elected agent. Such powers are especially relevant if an extraordinary majority is required to override a veto, as in Mongolia, Poland, and Senegal.
  5. Odonkhuu, Munkhsaikhan (กุมภาพันธ์ 12, 2016). "Mongolia: A Vain Constitutional Attempt to Consolidate Parliamentary Democracy". ConstitutionNet. International IDEA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2016. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2016. Mongolia is sometimes described as a semi-presidential system because, while the prime minister and cabinet are collectively responsible to the SGKh, the president is popularly elected, and his/her powers are much broader than the conventional powers of heads of state in parliamentary systems.
  6. "Mongolia". The World Factbook. CIA. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 9, 2015.
  7. "Renewed 2015–2045 population projection". www.1212.mn. Mongolian Statistical Information Service. 1 January 2017. สืบค้นเมื่อ 28 May 2020.
  8. "2015 population and housing by census of mongolia". www.1212.mn. Mongolian Statistical Information Service. 1 January 2016. สืบค้นเมื่อ 28 May 2020.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "World Economic Outlook Database, January 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 24 February 2019.
  10. "GINI index (World Bank estimate) – Mongolia". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
  11. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  12. "Mongolia Standard Time is GMT (UTC) +8, some areas of Mongolia use GMT (UTC) +7". Time Temperature.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 13, 2007. สืบค้นเมื่อ กันยายน 30, 2007.
  13. "Clock changes in Ulaanbaatar, Mongolia". timeanddate.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 25, 2015. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 27, 2015.
  14. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "http://www.apecthai.org/index.php/ข้อมูลรายประเทศทั่วโลก/เอเซีย/589-มองโกเลีย.html เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  15. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "http://www.apecthai.org/index.php/ข้อมูลรายประเทศทั่วโลก/เอเซีย/589-มองโกเลีย.html เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  16. http://www.toollogo2010.mn/doc/Main%20results_20110615_to%20EZBH_for%20print.pdf

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป