31°N 89°E / 31°N 89°E / 31; 89

ดินแดนอ้างสิทธิทางวัฒนธรรม/ประวัติศาสตร์ (ตัวเน้น) หลายแบบ

              เกรตเตอร์ทิเบตของกลุ่มพลัดถิ่นทิเบต
  พื้นที่ปกครองตนเองทิเบตที่กำหนดโดยประเทศจีน
  เขตปกครองตนเองทิเบตในประเทศจีน
ควบคุมโดยจีน ประเทศอินเดียอ้างสิทธิในฐานะส่วนหนึ่งของลาดัก
ควบคุมโดยอินเดีย จีนอ้างสิทธิบางส่วนเป็นทิเบตใต้
พื้นที่อื่นทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ในเขตวัฒนธรรมทิเบต
ทิเบต
"ทิเบต" ในอักษรทิเบต (บน) และอักษรจีน (ล่าง)
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน西藏
ความหมายตามตัวอักษร"จ้าง"ตะวันตก
ชื่อภาษาทิเบต
อักษรทิเบต བོད་

ทิเบต (อังกฤษ: Tibet, /tɪˈbɛt/ ( ฟังเสียง); ทิเบต: བོད་, ไวลี: Bod, พินอินทิเบต: , IPA: /pʰøː˨˧˩/, เพอ; จีน: 西藏; พินอิน: Xīzàng, ซีจ้าง) เป็นภูมิภาคในเอเชียตะวันออกที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนมากของที่ราบสูงทิเบต ซึ่งกินพื้นที่ประมาณ 2,500,000 ตารางกิโลเมตร (970,000 ตารางไมล์) บริเวณนี้เป็นบ้านเกิดของชาวทิเบตและกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่นชาวเหมินปา, ชาวถ่าหมาง, ชาวเชียง, ชาวเศรปา และชาวลั่วปา ในปัจจุบันมีชาวฮั่นและชาวหุยอาศัยอยู่ในบริเวณจำนวนมากเช่นกัน ทิเบตเป็นภูมิภาคที่สูงที่สุดในโลก โดยมีระดับความสูงเฉลี่ย 4,380 เมตร (14,000 ฟุต)[1][2] ยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลก โดยอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 8,848.86 เมตร (29,032 ฟุต)[3]

จักรวรรดิทิเบตถูกก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยอยู่ในช่วงสูงสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซึ่งกินพื้นที่ไปไกลกว่าที่ราบสูงทิเบต ตั้งแต่แอ่งตาริมและเทือกเขาปามีร์ทางตะวันตกจนถึงมณฑลยูนนานและเบงกอลทางตะวันออกเฉียงใต้ แต่เมื่อถึงระยะเริ่มต้นของการแตกสลาย จักรวรรดินี้ถูกแบ่งออกเป็นหลายดินแดน โดยทิเบตฝั่งตะวันตกและกลางเรียกว่าอวีจัง ถูกรวมอยู่ภายใต้รัฐบาลทิเบตในลาซ่า, ซีกาเจ และพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนภูมิภาคคัมและอัมโตอยู่ทางฝั่งตะวันออกมีการกระจายอำนาจทางการเมืองของชนเผ่ามากขึ้น โดยแบ่งออกเป็นอาณาเขตเล็ก ๆ และกลุ่มชนเผ่าจำนวนหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของจีน พื้นที่ส่วนใหญ่ในบริเวณนี้ถูกผนวกเข้ากับมณฑลเสฉวนและมณฑลชิงไห่ของจีน ชายแดนปัจจุบันของทิเบตถูกกำหนดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18[4]

หลังการปฏิวัติซินไฮ่ต่อราชวงศ์ชิงใน ค.ศ. 1912 กองทัพราชวงศ์ชิงถูกสั่งให้ปลดอาวุธและคุ้มกันไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ทิเบต ต่อมาภูมิภาคนี้ได้ประกาศเอกราชใน ค.ศ. 1913 แต่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนไม่ได้ให้การยอมรับ[5] ภายหลังลาซ่าควบคุมส่วนตะวันตกของซีคางไว้ ภูมิภาคนี้ยังคงสถานะปกครองตนเองจนถึง ค.ศ. 1951 หลังยุทธการที่ชัมโต ทิเบตถูกยึดครองและผนวกเข้ากับประเทศจีน และรัฐบาลทิเบตก่อนหน้าถูกยุบเลิกใน ค.ศ. 1959 หลังการก่อกำเริบล้มเหลว[6] ปัจจุบัน ประเทศจีนบริหารทิเบตตอนกลางและตะวันตกในฐานะเขตปกครองตนเองทิเบต ส่วนฝั่งตะวันออกส่วนใหญ่เป็นเขตปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยในมณฑลเสฉวน, มณฑลชิงไห่ และมณฑลใกล้เคียง พื้นที่นี้มีความตึงเครียดเกี่ยวกับสถานะทางการเมืองของทิเบต[7] และกลุ่มผู้คัดค้านที่ยังคงพลัดถิ่น[8] มีรายงานว่าผู้ประท้วงชาวทิเบตในทิเบตถูกจับกุมหรือทรมาน[9]

เศรษฐกิจหลักในทิเบตคือเกษตรแบบยังชีพ ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวเริ่มกลายเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ศาสนาหลักในทิเบตคือศาสนาพุทธแบบทิเบต ส่วนศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ศาสนาบอน ศาสนาพื้นเมืองที่คล้ายกับศาสนาพุทธแบบทิเบต[10] ชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอิสลาม และคริสต์ ศาสนาพุทธแบบทิเบตสร้างอิทธิพลหลักในศิลปะ, ดนตรี และเทศกาลในภูมิภาค สถาปัตยกรรมทิเบตสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของจีนและอินเดีย

อ้างอิง

แก้
  1. "Altitude sickness may hinder ethnic integration in the world's highest places". Princeton University. 1 July 2013.
  2. Wittke, J.H. (24 February 2010). "Geology of the Tibetan Plateau". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2019. สืบค้นเมื่อ 29 March 2019.
  3. US Department of Commerce, National Oceanic and Atmospheric Administration. "What is the highest point on Earth as measured from Earth's center?". oceanservice.noaa.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-12.
  4. Goldstein, Melvyn, C., Change, Conflict and Continuity among a Community of Nomadic Pastoralist: A Case Study from Western Tibet, 1950–1990, 1994: "What is Tibet? – Fact and Fancy", pp. 76–87
  5. Clark, Gregory, "In fear of China", 1969, saying: ' Tibet, although enjoying independence at certain periods of its history, had never been recognized by any single foreign power as an independent state. The closest it has ever come to such recognition was the British formula of 1943: suzerainty, combined with autonomy and the right to enter into diplomatic relations. '
  6. "Q&A: China and the Tibetans". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สิงหาคม 15, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 16, 2018. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 17, 2017.
  7. Lee, Peter (พฤษภาคม 7, 2011). "Tibet's only hope lies within". The Asia Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 28, 2011. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 10, 2011. Robin [alias of a young Tibetan in Qinghai] described the region as a cauldron of tension. Tibetans still were infuriated by numerous arrests in the wake of the 2008 protests. But local Tibetans had not organized themselves. 'They are very angry at the Chinese government and the Chinese people,' Robin said. 'But they have no idea what to do. There is no leader. When a leader appears and somebody helps out they will all join.' We ... heard tale after tale of civil disobedience in outlying hamlets. In one village, Tibetans burned their Chinese flags and hoisted the banned Tibetan Snow Lion flag instead. Authorities ... detained nine villagers ... One nomad ... said 'After I die ... my sons and grandsons will remember. They will hate the government.'
  8. "Regions and territories: Tibet". BBC News. ธันวาคม 11, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 22, 2011. สืบค้นเมื่อ เมษายน 22, 2011.
  9. Wong, Edward (กุมภาพันธ์ 18, 2009). "China Adds to Security Forces in Tibet Amid Calls for a Boycott". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 16, 2017. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 17, 2017.
  10. "Bon". ReligionFacts (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 9, 2017. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 17, 2017.

ข้อมูล

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Allen, Charles (2004). Duel in the Snows: The True Story of the Younghusband Mission to Lhasa. London: John Murray. ISBN 0-7195-5427-6.
  • Bell, Charles (1924). Tibet: Past & Present. Oxford: Clarendon Press.
  • Dowman, Keith (1988). The Power-Places of Central Tibet: The Pilgrim's Guide. Routledge & Kegan Paul. London, ISBN 0-7102-1370-0. New York, ISBN 0-14-019118-6.
  • Feigon, Lee. (1998). Demystifying Tibet: unlocking the secrets of the land of the snows. Chicago: Ivan R. Dee. ISBN 1-56663-196-3. 1996 hardback, ISBN 1-56663-089-4
  • Gyatso, Palden (1997). The Autobiography of a Tibetan Monk. Grove Press. NY, NY. ISBN 0-8021-3574-9
  • Human Rights in China: China, Minority Exclusion, Marginalization and Rising Tensions, London, Minority Rights Group International, 2007
  • Le Sueur, Alec (2013). The Hotel on the Roof of the World – Five Years in Tibet. Chichester: Summersdale. ISBN 978-1-84024-199-0. Oakland: RDR Books. ISBN 978-1-57143-101-1
  • McKay, Alex (1997). Tibet and the British Raj: The Frontier Cadre 1904–1947. London: Curzon. ISBN 0-7007-0627-5.
  • Norbu, Thubten Jigme; Turnbull, Colin (1968). Tibet: Its History, Religion and People. Reprint: Penguin Books (1987).
  • Pachen, Ani; Donnely, Adelaide (2000). Sorrow Mountain: The Journey of a Tibetan Warrior Nun. Kodansha America, Inc. ISBN 1-56836-294-3.
  • Petech, Luciano (1997). China and Tibet in the Early XVIIIth Century: History of the Establishment of Chinese Protectorate in Tibet. T'oung Pao Monographies, Brill Academic Publishers, ISBN 90-04-03442-0.
  • Rabgey, Tashi; Sharlho, Tseten Wangchuk (2004). Sino-Tibetan Dialogue in the Post-Mao Era: Lessons and Prospectsv (PDF). Washington: East-West Center. ISBN 978-1-932728-22-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 16, 2007. สืบค้นเมื่อ August 14, 2008.
  • Samuel, Geoffrey (1993). Civilized Shamans: Buddhism in Tibetan Societies. Smithsonian ISBN 1-56098-231-4.
  • Schell, Orville (2000). Virtual Tibet: Searching for Shangri-La from the Himalayas to Hollywood. Henry Holt. ISBN 0-8050-4381-0.
  • Smith, Warren W. (1996). History of Tibet: Nationalism and Self-determination. Boulder, CO: Westview Press. ISBN 978-0-8133-3155-3.
  • Smith, Warren W. (2004). China's Policy on Tibetan Autonomy – EWC Working Papers No. 2 (PDF). Washington: East-West Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 19, 2008. สืบค้นเมื่อ August 14, 2008.
  • Smith, Warren W. (2008). bChina's Tibet?: Autonomy or Assimilation. Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-0-7425-3989-1.
  • Sperling, Elliot (2004). The Tibet-China Conflict: History and Polemics (PDF). Policy Studies. Washington: East-West Center. ISBN 978-1-932728-13-2. ISSN 1547-1330. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-08-19. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11. – (online version)
  • Thurman, Robert (2002). Robert Thurman on Tibet. DVD. ASIN B00005Y722.
  • Van Walt van Praag, Michael C. (1987). The Status of Tibet: History, Rights, and Prospects in International Law. Boulder, Colorado: Westview Press.
  • Wilby, Sorrel (1988). Journey Across Tibet: A Young Woman's 1,900-ไมล์ (3,060-กิโลเมตร) Trek Across the Rooftop of the World. Contemporary Books. ISBN 0-8092-4608-2.
  • Wilson, Brandon (2004). Yak Butter Blues: A Tibetan Trek of Faith. Pilgrim's Tales. ISBN 0-9770536-6-0, ISBN 0-9770536-7-9. (second edition 2005)
  • Wang Jiawei (2000). The Historical Status of China's Tibet. ISBN 7-80113-304-8.
  • Tibet wasn't always ours, says Chinese scholar by Venkatesan Vembu, Daily News & Analysis, February 22, 2007
  • Wylie, Turrell V. "The First Mongol Conquest of Tibet Reinterpreted", Harvard Journal of Asiatic Studies (Volume 37, Number 1, June 1977)
  • Zenz, Adrian (2014). Tibetanness under Threat? Neo-Integrationism, Minority Education and Career Strategies in Qinghai, P.R. China. Global Oriental. ISBN 978-90-04-25796-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้