ชาวทิเบต เป็นชนกลุ่มใหญ่ในเขตปกครองตนเองทิเบต ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และถือชนชาติกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งของประเทศจีน ซึ่งมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อย่าง ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นอยู่เป็นของตนเอง แต่ความเป็นชุมชนเมืองและเศรษฐกิจของชาวจีนซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่กำลังทำลายความเป็นทิเบตดั้งเดิม ดั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ชาวทิเบต
ประชากรทั้งหมด
ระหว่าง 5 ล้านถึง 10 ล้านคน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
เขตปกครองตนเองทิเบต มีใน มณฑลชิงไห่ มณฑลเสฉวน และมณฑลกานซู
(ปกครองโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน จีน claimed by  Central Tibetan Administration[1])
อินเดีย ประเทศอินเดีย
เนปาล ประเทศเนปาล
ภูฏาน ประเทศภูฏาน
สหรัฐ สหรัฐอเมริกา
แคนาดา ประเทศแคนาดา
ภาษา
ภาษาทิเบต
ศาสนา
ส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ลัทธิบอน ส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลาม
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง

ชาวทิเบตสืบเชื้อสายจากชนเผ่าตูรัน และตังกุตในเอเชียกลาง ต่อมาได้อพยพมาจากทางตอนบนในเขตหุบเขาที่ราบลุ่มแม่น้ำยาร์ลุงซางโป และแต่งงานกับชนพื้นเมืองแถบนี้ แล้วออกลูกออกหลานเป็นชาวทิเบตในปัจจุบัน ชาวทิเบตเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ในอดีตเคยเป็นพวกชาวเขาที่ไม่แตกต่างกับชาวเขาทั่วไป แต่พอได้รับพระพุทธศาสนาแบบวัชรยานจากพระปัทมสัมภวะ (คุรุรินโปเช่) ทำให้ทิเบตมีวัฒนธรรมที่โดดเด่น

ชาวทิเบตส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธวัชรยาน นอกนั้นนับถือศาสนาอิสลามราว 2,000 คน และคริสตังทิเบตราว 600 คน[2]

อ้างอิง แก้

  1. Unrepresented Nations and Peoples Organization - Tibet
  2. Tibet Society Malta. Tibetan Buddhism[ลิงก์เสีย]. เรียกดู 14 กุมภาพันธ์ 2556

ดูเพิ่ม แก้