ทิเบตภายใต้การปกครองของจีน

ทิเบตเคยเป็นประเทศเอกราชไม่ขึ้นกับใครเป็นเวลากว่า 2000 ปี และมีกฎหมายเป็นของตนเอง ก่อนที่จะมีการบุกรุกของจีนในปี ค.ศ. 1949 ในประวัติศาสตร์ตลอดมา ทิเบตมีคุณสมบัติของรัฐอิสระ ที่ถูกมองว่าอยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ทิเบตมีอาณาเขตที่ชัดเจน มีประชากรอาศัยอยู่ มีรัฐบาล และมีความสามารถในการเข้าสู่ความสัมพันธ์ระดับนานาชาติ

แผนที่ทิเบต

ก่อนการรุกรานของจีน

แก้

สถานภาพของทิเบต

แก้

อาณาเขตของทิเบตส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ประกอบด้วยพื้นที่ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ประชากรของทิเบต มีมากกว่า 6 ล้านคน ประชากรเหล่านี้มีหลากหลายเชื้อชาติ ต่างก็มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีภูมิปัญญาและมีวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง รัฐบาลของทิเบตมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ในเมืองลาซา (Lhasa) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของทิเบต รัฐบาลทั้งหมดประกอบด้วยผู้นำของรัฐได้แก่ องค์ทะไลลามะผู้ศักดิ์สิทธิ์ คณะรัฐมนตรี (The Kashag) กลุ่มสมัชชาแห่งชาติ (The Tsongdu) และการปกครองแบบรวมศูนย์โดยมีการบริหารอาณานิคมของทิเบต

ทิเบตมีระบบกฎหมายเป็นของตนเอง มีระบบทหาร ระบบไปรษณีย์ ระบบเงินตรา นอกจากนั้นแล้ว ยังมีระบบการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศอีกด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของทิเบต ถูกจับตามองที่ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ทิเบตได้รักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ทางการทูต เศรษฐกิจและวัฒนธรรมกับประเทศในบริเวณใกล้เคียงได้แก่ เนปาล ภูฏาน สิกขิม มองโกเลีย จีน อินเดีย และในปริมณฑลที่เกี่ยวโยงกับประเทศรัสเซียและญี่ปุ่น นโยบายการต่างประเทศ ซึ่งเป็นอิสระ ของทิเบต ได้แสดงพลังทางการเมืองอย่างชัดเจนที่สุด โดยเฉพาะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่แสดงความเป็นกลางทั้ง ๆที่ได้รับแรงกดดันอย่างมากจากประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกาและจีน ที่ต้องการนำเข้าอุปกรณ์ทางทหารผ่านทางทิเบตไปสู่จีน เมื่อครั้งที่ญี่ปุ่นได้ปิดกั้นจุดยุทธศาสตร์บนถนนในพม่า ทิเบตตัดสินใจอย่างรวดเร็วที่ประกาศว่าจะทำตัวเป็นกลาง ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงจำเป็นต้องเคารพในการตัดสินใจครั้งนี้

ทิเบตและอินเดีย

แก้

ความสัมพันธ์ของทิเบตที่มีต่ออินเดีย โดยตลอดมาในประวัติศาสตร์ เป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และเป็นมิตรต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธจากอินเดียได้ไปเผยแผ่ที่ทิเบตในศตวรรษที่ 7 ตั้งแต่นั้นมา ประชาชนทิเบต ก็จะมองอินเดียเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ และด้านปัญญา หนังสือของชาวทิเบตโบราณหลายเล่มได้อ้างถึงอินเดียว่าเป็น Arya Bhumi ซึ่งหมายถึงผืนแผ่นดินแห่งความสูงส่ง การพูดถึงความสัมพันธ์ที่ทิเบตมีต่ออินเดียนั้น Dr. Ram Manohar Lohia ได้พูดไว้ว่า "ทิเบตมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับอินเดียมากกว่าจีน เป็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของการใช้ภาษา การค้าขายและวัฒนธรรม ไม่ใช่ความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์"

เป็นเวลาหลายศตวรรษที่ทิเบตได้ทำหน้าที่เป็น "ประเทศกันชน" ซึ่งมีประสิทธิภาพระหว่างอินเดียกับจีน แต่ทั้งหมดนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปในปี ค.ศ. 1950 เมื่อเมืองชามโด ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตทิเบตตะวันออกได้ตกเป็นของจีนนั้น กงสุลอินเดียในเมืองลาซา หรือเมืองหลวงของทิเบตได้ส่งสารด่วนไปที่กรุงนิวเดลลี ซึ่งได้กล่าวเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในลักษณะพยากรณ์ไว้ว่า "อาณาเขตเทือกเขาหิมาลัยได้ถูกทำให้สิ้นไปแล้ว จีนได้บุกรุกทิเบต" ความหมายของเขาคือ เขตพรมแดนทางเหนือของอินเดีย จะไม่ปลอดภัยจากการบุกรุกจากภายนอกประเทศ อีกต่อไปแล้ว ในการอภิปรายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1959 นั้น Acharya Kriplani ได้กล่าวไว้ว่า "เรารู้สึกเป็นห่วงเป็นใยอย่างสุดซึ้ง เพราะเหตุว่าจีนได้ทำลายประเทศกันชนลงไปแล้ว และในการเมืองระดับชาติ ถือว่า เมื่อประเทศที่เป็นกันชน ได้ถูกทำลายโดยประเทศมหาอำนาจหนึ่ง ประเทศมหาอำนาจนั้น ก็จะถูกมองว่า ได้ประกาศตนเป็นศัตรูต่อต้านประเทศเพื่อนบ้าน"

อินเดียเคยให้การยอมรับแก่จีนในปี ค.ศ. 1949 แต่ในปี ค.ศ. 1954 ในขณะที่กำลังถกปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลง Panchsheel กับจีนในสภา Dr.B.R.Ambedkar ปรารภว่าอินเดียน่าจะให้การยอมรับแก่ทิเบตมากกว่าที่จะไปให้กับจีน ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วก็จะไม่มีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับเขตแดนของจีน - อินเดียเป็นแน่

การบุกรุกทิเบต

แก้

การเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ของทิเบตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เมื่อกลุ่มกองทหารปลดแอกประชาชนของจีนได้เข้ามาที่ทิเบตเป็นครั้งแรก หลังจากการเอาชนะกองทหารขนาดเล็กชาวทิเบตและยึดครองครึ่งหนึ่งของประเทศแล้ว รัฐบาลจีนได้กำหนด "ข้อตกลง 17 ข้อ สำหรับอิสรภาพอันสงบสุขของทิเบต" ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1951 เนื่องจากเป็นการเซนต์สัญญาตกลงกันภายใต้การข่มขู่ ข้อตกลงนี้จึงขาดความถูกต้องและเห็นชอบภายในกฎหมายระหว่างประเทศ การต่อต้านการยึดครองของจีนได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทิเบตตะวันออก เนื่องจากมีทั้งการกดขี่จากจีนรวมถึงการทำลายอาคารต่าง ๆ ทางศาสนา การจำคุกพระภิกษุและผู้นำชุมชนอื่น ๆ ได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ในปี ค.ศ. 1959 ประชาชนจึงลุกขึ้นก่อจลาจลมากถึงขีดสุดอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่เมืองลาซา และเมื่อจีนได้ปราบปรามพวกจลาจลเหล่านี้ ชาวทิเบตประมาณ 87,000 คนได้ถูกฆ่าตายในเมืองลาซา และองค์ทะไล ลามะจึงจำต้องเดินทางออกจากทิเบตไป

ด้วยการยึดครองของจีนในทิเบต กองทัพชาวอินเดียและชาวจีน ต้องเผชิญหน้ากันบนเขตแดนของเทือกเขาหิมาลัย เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สงครามที่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อระหว่าง 2 ประเทศนี้ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1962 เมื่อครั้งที่ทิเบตยังมีอิสรภาพ อินเดียเคยใช้กำลังทหารเพียง 1,500 คนในการดูแลความสงบ ณ รอยต่อเขตพรมแดนกับทิเบต แต่ทุกวันนี้อินเดียได้ประมาณการใช้จ่ายไว้ถึง 550 - 650 ล้านรูปีต่อวัน ในการที่จะคุ้มกันเขตพรมแดนแห่งเดียวกันนี้จากกองทหารจีนกว่า 300,000 กอง ซึ่งตั้งอยู่ในที่ ๆ ชาวจีนเรียกว่า "เขตปกครองตนเองทิเบต" (Tibet Autonomous Region) ซึ่งพื้นที่แห่งนี้ประกอบด้วยอาณาเขตของทิเบตที่เหลือเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งกำลังถูกกลืนไปกับหลาย ๆจังหวัดของจีนในบริเวณนั้น

การทำลายล้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และศาสนา

แก้

อำนาจการยึดครองทิเบตโดยจีน ได้พยายามทำลายความเป็นหนึ่งเดียวของชาวทิเบต อย่างเป็นระบบ โดยการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างต่อเนื่อง การทำลายล้างอาคารบ้านเรือน ทางศาสนา และประวัติศาสตร์ วัตถุทางศาสนาถูกทำลายและผู้นำท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ถูกทรมานและฆ่าฟัน วัดวาอารามของชาวพุทธมากว่า 6,000 แห่งได้ถูกทำลาย รูปปั้นและวัตถุศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาทั้งหมด ถ้าไม่ถูกทำลายก็จะถูกขโมยไปขายทอดตลาด นโยบายของรัฐบาลจีนในลักษณะนี้มีจุดมุ่งหมายไปที่การค่อย ๆ นำมาซึ่งความตายทางวัฒนธรรมและศาสนาของชาวทิเบต แบบค่อยเป็นค่อยไปและเป็นธรรมชาติมากที่สุด

ทุกวันนี้ทิเบตกำลังอยู่ในภาวะอันตราย วัฒนธรรมและความเป็นหนึ่งของชาติทิเบต กำลังถูกทำลายอย่างเป็นระบบ และถูกแทนที่โดยความเป็นจีน อาทิเช่น

  • ตั้งแต่ปีค.ศ. 1949 ชาวทิเบตมากกว่า 1.2 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมดเสียชีวิต เนื่องจากการฆ่าด้วยเหตุผลทางการเมือง การถูกจองจำ การถูกทรมานและความอดอยาก
  • ศูนย์กลางทางศาสนาและวัฒนธรรมของทิเบตมากกว่า 6,000 แห่ง ได้ถูกทำลายลง
  • องค์ทะไล ลามะ ซึ่งเป็นผู้นำทั้งทางการเมือง ทางปัญญาและทางจิตใจของชาวทิเบตกว่า 6 ล้านคนถูกบังคับให้ลี้ภัยจากทิเบตในปี ค.ศ. 1959 สู่ประเทศอินเดีย ชาวทิเบตประมาณ 85,000 คน ได้อพยพติดตามองค์ทะไล ลามะไปในขณะนั้นเข้าสู่อินเดีย เนปาล และภูฐาน

การโยกย้ายประชากร

แก้

สิ่งน่ากลัวที่ชาวทิเบตเผชิญ ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือ การไหลบ่าของพลเมืองจีนอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อนเข้าไปในทิเบต การไหลบ่าของประชากรซึ่งมีรากฐานความเป็นคอมมิวนิสต์โดยตรงนี้ กำลังค่อย ๆซึมซับเข้าไปในประเทศทิเบต และประชนชาวทิเบตได้เอาอย่างจีน ในขณะนี้เริ่มเห็นความแตกต่างของความเป็นชาวทิเบตในปัจจุบัน และอารยธรรมของชาวทิเบตสมัยโบราณ ซึ่งกำลังถูกครอบงำ และยังแสดงถึงจุดอันตรายของความเป็นอยู่ ที่แบ่งแยกอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ทุกวันนี้ประชากรชาวทิเบต 6 ล้านคน ถูกข่มโดยจำนวนชาวจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ 7.5 ล้านคน

ในเมืองลาซา ก่อนปี ค.ศ. 1950 แทบจะไม่มีชาวจีนอาศัยอยู่เลย แต่ทุกวันนี้สัดส่วนอย่างคร่าว ๆ ระหว่างชาวจีนและชาวทิเบตจะเป็น 3:1 ในห้างร้านจำนวน 12,827 แห่งรวมถึงร้านอาหาร มีน้อยกว่า 300 ร้านที่มีเจ้าของเป็นชาวทิเบต ในจังหวัดอัมโด ภาคตะวันออกของทิเบต ซึ่งตอนนี้ได้กลายเป็นจังหวัดของจีนชื่อ Qinghai นั้น มีประชากรทั้งหมด 4.45 ล้านคนในปี ค.ศ. 1990 แต่มีเพียงยี่สิบเปอร์เซนต์ ที่เป็นชาวทิเบต ประชากรที่เหลือเป็นชาวจีน (ตามข้อมูลทางสถิติของจีน)

ผลจาการโยกย้ายประชากรโดยทั่วไปแล้ว แทบจะเรียกได้ว่า ชาวทิเบตสูญเสีย ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การปกครองรวมทั้งวงจรของสังคม อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่รุนแรงที่สุด น่าจะเป็นความเป็นหนึ่งเดียวของชาวทิเบตในระยะยาว ที่กำลังสูญไป ซึ่งหมายถึงได้เกิดความแตกต่างของประชาชน และวัฒนธรรมขึ้นแล้ว นอกจากนี้นโยบายของจีน เกี่ยวกับการบังคับให้คุมกำเนิดของชาวทิเบต เป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวมากเช่นกัน จนถึงขณะนี้ผู้หญิงชาวทิเบตหลายพันคน ถูกบังคับให้ทำแท้งและทำหมัน ความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ด้านความสมดุลของประชากร ทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างรุนแรง ต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในภูมิภาคนี้

การทำลายล้างสิ่งแวดล้อม

แก้

ภายใต้การปกครองของรัฐบาลจีน ได้มีการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมของทิเบตอย่างเป็นระบบ ชีวิตสัตว์ป่า ป่าไม้ แร่ธาตุ และแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งหมดนี้ได้เสื่อมทรามลง เนื่องจากการที่ไม่สามารถหาสิ่งที่ขาดหายไปมาทดแทนได้ และความสมดุลทางนิเวศวิทยาที่เปราะบาง กำลังถูกรบกวนอย่างรุนแรง

การวิจัยในปลายปี ค.ศ. 1985 ได้บ่งชี้ว่ามีการตัดทำลายท่อนไม้จำนวนมากมายซึ่งตีค่าได้ประมาณ 5,400 ล้านเหรียญ จากป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ในจังหวัดอัมโด ต้นไม้เกือบ 50 ล้านต้นได้ถูกโค่นลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 และที่ดินหลายล้านเอเคอร์ของพื้นที่ป่าอย่างน้อย 70% ถูกทำให้ว่างเปล่าโล่งเตียนไป เหตุการณ์ใกล้เคียงแบบนี้ได้เกิดขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของทิเบตเช่นกัน โดยเฉพาะในทิเบตตะวันออกและทิเบตใต้ ประเทศทิเบตเป็นแหล่งของแม่น้ำสายหลัก ๆ ในทวีปเอเชีย ดังนั้นการทำลายล้างป่าไม้ในทิเบตทำให้นำไปสู่การตื้นเขินของแม่น้ำเหล่านี้ เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมในประเทศเพื่อนบ้านโดยตรง รวมทั้งในประเทศจีนเองด้วย ในปี ค.ศ. 1987-1988 แม่น้ำพรหมบุตร เป็นต้นเหตุของอุทกภัยในอินเดียประมาณ 35 %หรือมากกว่านี้ นอกจากนี้การทำลายป่าในทิเบต ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเสียสมดุลของลมมรสุมในฤดูฝน ทั้งนี้อาจนำมาซึ่งความหายนะของการเกษตรในอินเดียและจีนอีกด้วย

การนำทหารเข้ามาประจำ และการนำระเบิดนิวเคลียร์เข้ามาใช้

แก้

จีนได้เปลี่ยนแปลงรัฐกันชนระหว่างอินเดียและจีนไปสู่พื้นที่ทางการทหารที่กว้างใหญ่ การนำทหารเข้ามาประจำในที่ราบสูงของทิเบตนั้น มีผลกระทบอย่างลึกซึ้ง ต่อความสมดุลทางภูมิศาสตร์ การเมือง การปกครอง ของประเทศในภูมิภาคนี้ และกลายเป็นต้นเหตุของ ความตึงเครียดระหว่างประเทศ อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดีย

ทุกวันนี้ มีการปรากฏของกองทหารจีนในทิเบตถึงประมาณ 300,000 - 500,000 กองทัพ ซึ่งประมาณ 200,000 กองทัพได้ตั้งสถานีประจำอย่างถาวรอยู่ที่ใจกลางทิเบต ซึ่งใกล้เขตพรมแดนของอินเดีย มีทั้งหมด 17 สถานีที่ใช้เรดาร์อย่างลับ ๆ มี 14 สถานีที่เป็นฐานทัพอากาศ และ 5 ฐานทัพจรวดนำวิถีซึ่งอยู่ในเมือง Kongpo Nyitri, Powo Tramo, Rudok, Golmu และเมือง Nagchu ทั้งยังมีจรวดนำวิถีระดับกลางประมาณ 70 ลำและระดับกลางค่อนข้างสูง 20 ลำ ประเทศพม่า กัมพูชา เวียดนาม และอินเดียอยู่ในชนวนวิถีของแรงระเบิดนิวเคลียร์ของจรวดนำวิถีเหล่านี้ นอกจากนั้นจีนยังใช้ทิเบตให้เป็นประโยชน์โดยการฝึกฝนการทำสงคราม เคยมีการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ และการทิ้งขยะนิวเคลียร์และขยะเป็นพิษจากประเทศอื่น ๆ เพื่อที่ตนจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินก้อนใหญ่กลับมา

หลังจากการปราบปรามด้วยความรุนแรงของจีน ต่อการจลาจลของชาวทิเบต ที่ต่อต้านการยึดครองเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1959 องค์ทะไลลามะและคณะบุคคลในรัฐบาลทิเบต ได้หลบหนีออกไปจากประเทศ ติดตามไปด้วยประชาชนชาวทิเบตอีกราว ๆ 85,000 คน และได้แสวงหาที่หลบภัยในอินเดีย และในประเทศเพื่อนบ้านอันใกล้เคียง ในช่วงของการอาศัยอยู่ต่างถิ่น รัฐบาลทิเบต เป็นที่รู้จักในการใช้ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยสมัยใหม่ กฎหมายใหม่ของชาวทิเบตพลัดถิ่นนี้ ได้ถูกปรับใช้เพื่อดูแลและปกครอง โดยองค์การบริหารของชาวทิเบตส่วนกลาง (ซึ่งเรียกว่ารัฐบาลพลัดถิ่น) องค์กรนี้ทำหน้าที่บริหารทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกี่ยวกับชาวทิเบต และทำหน้าที่บูรณะความเป็นเอกราช และอิสระของชาวทิเบตทั้งมวล ฝ่ายบริหารส่วนกลางนี้ นำโดยองค์ทะไลลามะผู้ศักดิ์สิทธิ์ และมีผู้ช่วยได้แก่ คณะรัฐมนตรี ซึ่งถูกเลือกจาก "ผู้แทนของกลุ่มสมัชชาประชาชนชาวทิเบตหรือ ATPD" กลุ่มนี้ได้ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลของชาวทิเบตพลัดถิ่น และสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มนี้ก็ได้ถูกเลือกโดยประชาชน

ฝ่ายบริหารส่วนกลางประกอบด้วยกรม / กอง ต่าง ๆคือ ด้านศาสนาและวัฒนธรรม ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการศึกษา ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านสาธารณสุข ด้านการเงินและข้อมูลข่าวสาร และท้ายสุดด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนอกเหนือไปจากกรม / กอง เหล่านี้แล้วยังมีฝ่ายตุลาการ ฝ่ายการตรวจเงินแผ่นดิน ฝ่ายบริหารสาธารณะ และฝ่ายจัดการการเลือกตั้ง ทั้งหมดนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลข้อกำหนดในวาระพิเศษต่าง ๆของกฎหมายฉบับใหม่นี้ สำหรับชาวทิเบตที่ต้องอาศัยอยู่นอกประเทศเหล่านี้ ถือว่ารัฐบาลพลัดถิ่นที่นำโดยองค์ทะไลลามะ เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงรัฐบาลเดียวของชาวทิเบต

การสนับสนุนจากนานาชาติ

แก้

ประเด็นของทิเบตกำลังเป็นที่สนใจอย่างมากมาย จึงมีการเติบโตของการสนับสนุนจากนานาประเทศ ทุกวันนี้มีกลุ่มสนับสนุนทิเบตประมาณ 300 กลุ่มมากกว่า 30 ประเทศ และยังมีกลุ่มพรรคการเมืองเพื่อสนับสนุนทิเบตมากกว่า 12 ประเทศ รวมทั้งกลุ่มที่ถูกจัดตั้งขึ้นในประเทศอินเดียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นต้นมา มีการลงมติ มีการร่างกฎหมาย มีการเคลื่อนไหว มีการพิจารณาคดี และมีการอภิปราย โดยรวมมากกว่า 50 ครั้ง เกี่ยวกับความเห็นของรัฐบาลทั่วโลก คณะผู้แทนจากรัฐบาล เพื่อค้นหาความจริง เกี่ยวกับทิเบต จากประเทศออสเตรเลีย จากสภาของกลุ่มประเทศในยุโรป จากสหรัฐอเมริกา จากออสเตรียและจากกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนทิเบตอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งหมดนี้ได้เพ่งเล็งไปที่เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับทิเบตอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 ประเด็นของชาวทิเบตนี้ ได้ถูกหยิบยกโดยกลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN) ในการประชุมครั้งต่าง ๆที่ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี และยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้น ทั้งจากประเทศที่พัฒนาแล้วและจากประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นกัน ความดิ้นรนเพื่ออิสรภาพของชาวทิเบต

ทั้ง ๆที่ต้องผ่านกับสภาวะที่ถูกกดขี่อย่างหนักหน่วงและถูกทำลายล้างอย่างโหดร้ายทารุณ จิตวิญญาณของชาวทิเบตก็ยังคงอยู่ไม่แตกสลายไป ทั้งยังไม่ยอมจำนนหรือเกรงกลัวใด ๆ ตั้งแต่เดือนกันยายน ปีค.ศ. 1987 จนกระทั่งกลางปี ค.ศ. 1995 มีการต่อต้านการปกครองของรัฐบาลจีนโดยประชากรในทิเบตมากกว่า 150 ครั้ง ทั้งนี้ชาวทิเบตหลายร้อยคนต้องมาจบชีวิตลงในการต่อต้านเหล่านี้ ที่เหลืออีกมากมายถูกจำคุก โดยไม่สามารถติดต่อกับใคร หรือสัมผัสกับโลกภายนอกได้ อย่างไรก็ตามความลำบากยากเข็ญ และการดิ้นรนของชาวทิเบตยังไม่สิ้นสุดพวกเขารู้ดีว่าจุด มุ่งหมายที่จะไปสู่อิสรภาพได้นั้น จะสำเร็จได้ด้วยการพึ่งพาการสนับสนุนจากทั่วโลก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งจากอินเดีย

ทิเบตพลัดถิ่น

แก้
  • ประชากร :

131,000 คน อาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วทั้งอินเดีย 100,000 คน เนปาล 25,000 คน ภูฐาน 2,000 คน สวิสเซอแลนด์ 200 คน แคนาดา 600 คน และสหรัฐอเมริกา 1,500 คน

  • ระบบการบริหาร : เป็นประชาธิปไตย ใช้ระบบประชามติและมีการเลือกตั้ง
  • ผู้นำรัฐ : องค์ทะไล ลามะ
  • คณะรัฐมนตรี : การศาสนาและวัฒนธรรม การเคหะ การเงิน การศึกษา การรักษาความปลอดภัย การข้อมูลข่าวสารและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการสาธารณสุข
  • กำหนดการการเลือกตั้ง :

มีการเลือกตั้งกลุ่มสมัชชาและคณะรัฐมนตรีใหม่ทุกๆ 5 ปี

  • ที่ตั้งของฝ่ายบริหาร : เมืองธรรมศาลา รัฐหิมาจัลประเทศ ในอินเดียเหนือ
  • หน่วยงานในต่างประเทศ :

บูดาเปส, ลอนดอน, ปารีส, เจนีวา, กาฎมันดุ, มอสโก, กรุงนิวเดลฮี, นิวยอร์ก, แคนเบอร์รา และโตเกียว

  • สิ่งตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ :

Sheja (ภาษาทิเบต) , Tibetan Bulletin, News Tibet (ภาษาอังกฤษ) Tibbat Desh (ภาษาฮินดี) Actualities Tibetaines (ภาษาฝรั่งเศล) และ Al-Nashratul-Tibbatiya (ภาษาอราบิค)

  • สิ่งตีพิมพ์อิสระ :

Ramazen (ภาษาทิเบต) Rangzen (ภาษาอังกฤษ) Tibetan Review (ภาษาอังกฤษ)

  • องค์กรอิสระ :

สภาเยาวชนทิเบต (Tibetan Youth Congress) , Amnye Machen The 9-10-3 (Gu-Chu-Sum) Movement of Tibet สมาคมสตรีทิเบต (Tibetan Women Association) การทหาร-ตำรวจ : (ไม่มี)

  • รายได้รัฐ : ภาษีประจำปี ภาษีธุรกิจ และการบริจาค
  • ธงชาติ : ภูเขาและสิงโตหิมะ รัศมีจากดวงอาทิตย์สีแดงและน้ำเงิน
  • วันหยุดประจำชาติ :

10 มีนาคม - วันลุกขึ้นสู้, 6 กรกฎาคม - วันประสูติองค์ทะไลลามะ, 2 กันยายน - วันประชาธิปไตย, วันปีใหม่ (เปลี่ยนไปตามปฏิทินทิเบต)

  • ภาษา : ทิเบต และ ฮินดี
  • ศาสนา : พุทธ
  • สถาบัน :

Tibetan Institute of Performing Arts (TIPA) , Library, School of Dialectics, Medical Institute (Men Tse Khang) , Institute of Higher Tibetan Studies

  • เศรษฐกิจ : การเกษตร ร้านอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร หัตถกรรม การทอพรม ธุรกิจขนาดเล็ก
  • สถานภาพ :

ไม่มีสถานภาพทางกฎหมาย ประชาชนทิเบตส่วนใหญ่ถือใบลงทะเบียนรับรองของอินเดีย มีเพียงส่วนน้อยที่จะได้รับหนังสือเดินทาง

อ้างอิง

แก้