ขบวนการทิเบตเอกราชนานาชาติ

ขบวนการทิเบตเอกราชนานาชาติ (อังกฤษ: International Tibet Independence Movement) เป็นขบวนการที่ก่อตัวขึ้นเพื่อรวมดินแดนทิเบตสามจังหวัดคือ อัมโด คาม และอูจั้งเป็นราชอาณาจักรเอกราช การสนับสนุนขบวนการนี้ในเขตปกครองตนเองทิเบตถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศจีน ขบวนการนี้ได้รับการสนับสนุนจากชาวทิเบตที่ลี้ภัยไปอยู่ทั่วโลก ชาวทิเบตที่ไม่ใช่ชาวพุทธได้ร่วมสนับสนุนขบวนการนี้ด้วย

ขบวนการทิเบตเอกราชนานาชาติ
คําขวัญBhod Rangzen!
ก่อตั้ง1995
ประเภท501(c)(3)
สถานะตามกฎหมายNon-profit organization
วัตถุประสงค์Tibetan independence, human rights in Tibet
President
Benjamin Cox
องค์กรแม่
Board of directors
หมายเหตุRangzen means independence

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ แก้

หลังจากที่เจ้าชายมองโกล เกอเดน ข่านเข้าควบคุมบริเวณโกโกนอร์ เมื่อ พ.ศ. 1782 เขาส่งนายพลโดโอร์ดา ดาร์กันเข้าสู่ทิเบตเมื่อ พ.ศ. 1783 เมื่อเข้ามาถึงกาดัมปา มีการเผาหมู่บ้านชาวทิเบตและมีชาวทิเบตถูกฆ่ากว่า 500 คน การตายของ เออเกอเดย ผู้นำมองโกลเมื่อ พ.ศ. 1784 ทำให้ความต้องการครองโลกของกองทัพมองโกลระงับลงชั่วคราว ความสนใจทิเบตของมองโกลเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1787 เมื่อเจ้าชายเกอเดนส่งจดหมายเชิญลามะนิกายสักยะไปยังเมืองหลวงของมองโกล ผู้นำนิกายสักยะไปถึงโกโกนอร์พร้อมกับหลานชายคือ โดรกอน ชอกยัล พักปา และชนาโดริเยเมื่อ พ.ศ. 1789 เหตุการณ์นี้ถูกย้ำในการรวมทิเบตเข้ากับจีนในพุทธศตวรรษที่ 23 รัฐบาลจีนยุคราชวงศ์ชิงส่งผู้แทนมายังกรุงลาซา ทิเบตก่อกบฏใน พ.ศ. 2302 และฆ่าผู้แทนของจีน กองทัพราชวงศ์ชิงบุกเข้าปราบกบฏและตั้งผู้แทนจีนคนใหม่ จำนวนทหารในทิเบตถูกกำหนดให้มีไม่เกิน 2,000 คน หน้าที่ป้องกันประเทศเป็นของกองทหารท้องถิ่น ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีน

ใน พ.ศ. 2447 กองทัพอังกฤษนำโดย พ.อ. ฟรานซิส ยังฮัสแบนด์ ได้เข้ายึดกรุงลาซาของทิเบตซึ่งมีสาเหตุมาจากความกลัวว่ารัสเซียจะแผ่อิทธิพลเข้าไปในทิเบตก่อน ในเส้นทางสู่ลาซา กองทัพของยังฮัสแบนด์ได้ฆ่าชาวทิเบตไปกว่า 1,300 คน เอกสารบางแหล่งระบุว่ามีถึง 5,000 คน

สนธิสัญญาอังกฤษ-จีน พ.ศ. 2449[1] ยอมรับอำนาจอธิปไตยของจีนเหนือทิเบตและข้อตกลงระหว่างอังกฤษ – รัสเซียที่รัฐบาลจีนไม่ยอมรับ ได้ยอมรับอำนาจของจีนเหนือทิเบตเช่นกัน[2] รัฐบาลของราชวงศ์ชิงเข้ามาปกครองทิเบตโดยตรงเมื่อ พ.ศ. 2452 ดาไล ลามะองค์ที่ 13 ลี้ภัยไปอินเดียของอังกฤษเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ในอีก 1 เดือนต่อมา รัฐบาลจีนประกาศสถาปนาดาไล ลามะองค์ใหม่ [3]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามประชาชนในจีน ทำให้มหาอำนาจตะวันตกรวมทั้งขุนศึกที่ต่อสู้กันเองภายในจีนลดความสนใจเกี่ยวกับทิเบตลง และดาไล ลามะองค์ที่ 13 กลับมาบริหารทิเบตอีกครั้ง รัฐบาลของทิเบตในขณะนั้นครอบคลุมบริเวณอู-จั้ง และคามตะวันตกซึ่งเป็นเขตแดนของเขตปกครองตนเองทิเบตในทุกวันนี้ ส่วนคามตะวันออกที่แยกออกจากกันด้วยแม่น้ำยังเซ อยู่ภายใต้การควบคุมของขุนศึกชาวจีน ลิง เวอชิง สถานการณ์ในอัมโดซับซ้อนยิ่งกว่าเมื่อบริเวณซินิงถูกควบคุมโดบขุนศึกชาวหุย มา บูฟัง ผู้พยายามขยายอำนาจครอบครองส่วนอื่นๆของอัมโด

ทั้งสาธารณรัฐจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่เคยประกาศอำนาจอธิปไตยเหนือทิเบต ใน พ.ศ. 2493 กองทัพปลดปล่อยประชาชนของสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่ทิเบตหลังจากได้ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมด หลังจากการสู้รบในสงครามประชาชนนาน 5 ปี ใน พ.ศ. 2494 แผนการปลดปล่อยทิเบตอย่างสันติซึ่งเป็นสัญญาที่ลงนามระหว่างตัวแทนของดาไล ลามะและปันเชน ลามะ ซึ่งจะเข้าร่วมในการบริหารภายใต้ระบบตัวแทนจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลทิเบต ประชาชนส่วนใหญ่ของทิเบตในขณะนั้นเป็นทาสและมีภาระผูกพันอยู่กับลามะ ความพยายามปฏิรูปที่ดินจึงไม่เป็นที่พอใจของเจ้าที่ดิน ข้อตกลงนี้เริ่มเข้ามามีผลกระทบในทิเบต อย่างไรก็ตาม คามตะวันออกและอัมโด ซึ่งอยู่นอกการบริหารของรัฐบาลทิเบตและถูกปกครองเช่นเดียวกับชาวจีนในส่วนอื่นๆของประเทศคือมีการปฏิรูปที่ดินอย่างเต็มรูปแบบ ในที่สุดเกิกการก่อกบฏโดยเริ่มจากบริเวณนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2499 การก่อกบฏได้ลุกลามเข้าสู่ลาซา ใน พ.ศ. 2502 ดาไล ลามะองค์ที่ 14 และเจ้าหน้าที่รัฐบาลอื่นๆได้ลี้ภัยไปอินเดีย

สถานะของทิเบต แก้

สถานะของทิเบตก่อน พ.ศ. 2493 ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2455 – 2493 ยังเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเอกราชของทิเบต

ในกลุ่มที่สนับสนุนเกี่ยวกับความเป็นเอกราชของทิเบต ทิเบตเป็นชาติต่างหากและเป็นรัฐอิสระก่อนยุคจักรวรรดิมองโกล (ราชวงศ์หงวน) เมื่อ 700 ปีมาแล้วระหว่างการตกต่ำของจักรวรรดิมองโกลใน พ.ศ. 1911 และถูกปราบโดยราชวงศ์ชิงเมื่อ พ.ศ. 2263 และเป็นเอกราชอีกครั้งระหว่างการตกต่ำของราชวงศ์ชิงจนเข้าร่วมในสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อ พ.ศ. 2494 นอกจากนั้น เหตุการณ์ในช่วงที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิมองโกลและจักรวรรดิของราชวงศ์ชิง ทิเบตยังมีการปกครองตนเองอยู่

ในอีกมุมมองหนึ่ง จะมองว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์หงวนและถูกปกครองโดยรัฐบาลจีนราชวงศ์ต่างๆมาจนถึงยุคสาธารณรัฐ โดยรัฐบาลจีนยังคงมีอำนาจอธิปไตยเหนือทิเบตในช่วงที่ทิเบตกล่าวอ้างว่าตนเป็นเอกราช ไม่มีประเทศใดยอมรับว่าทิเบตเป็นประเทศต่างหาก และทิเบตยังยอมรับอำนาจอธิปไตยของจีน และส่งตัวแทนรัฐไปยังจีนในโอกาสต่างๆ จีนกล่าวว่าขบวนการที่ต้องการเรียกร้องเอกราชของทิเบตได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกที่จะทำลายความเป็นเอกภาพของจีน และทำลายภาพพจน์ของจีนในประชาคมโลก นอกจากนั้น จีนยังกล่าวว่ารัฐอรุณาจัลประเทศเป็นส่วนหนึ่งของทิเบตที่ถูกอินเดียยึดครอง

สถานะของทิเบตหลัง พ.ศ. 2493 แก้

รัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตกล่าวอ้างว่ามีชาวทิเบตที่ตายโดยผิดธรรมชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ราว 1.2 ล้านคน แต่รัฐบาลจีนปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับการหายสาบสูญไปของชาวทิเบตไม่แน่นอนเพราะขาดแคลนข้อมูลที่เชื่อถือได้มาตั้งแต่ต้น จากเอกสารของทางรัฐบาลจีนระบุว่ามีชาวทิเบต 2.8 ล้านคน ใน พ.ศ. 2496 และลดลงเหลือ 2.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2507

ฝ่ายบริหารกลางทิเบตกล่าวว่ามีการอพยพชาวจีนฮั่นหลายล้านคนเข้าสู่ทิเบตเพื่อหลอมรวมทางวัฒนธรรม และโดยการแต่งงานข้ามกลุ่มชน มีความพยายามฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมของทิเบตไว้เพื่อการท่องเที่ยว แต่วิถีประจำวันแบบดั้งเดิมถูกเปลี่ยนแปลง แม้ว่าทางรัฐบาลกลางจะให้เสรีภาพทางศาสนาพอสมควร แต่พระและชียังคงรู้สึกว่าถูกจำกัดเสรีภาพอยู่ [4]และชาวทิเบต (ส่วนใหญ่เป็นพระ) ยังคงหลบหนีออกจากทิเบตทุกปี ชาวทิเบตส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าโครงการที่รัฐบาลจีนอ้างว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทิเบต เช่นถนนสายทิเบต-ชิงไห่ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับการควบคุมทิเบตของรัฐบาลกลางและชาวจีนฮั่นที่อพยพเข้ามาจะได้ประโยชน์มากกว่าชาวทิเบตดั้งเดิม ข้อมูลของทางรัฐบาลจีนกล่าวว่าใน พ.ศ. 2280 ทิเบตมีประชากร 8 ล้านคน จากนั้นลดลงเหลือ 1.9 ล้านคนใน พ.ศ. 2502 จนปัจจุบันประชากรเพิ่มเป็น 7.3 ล้านคน โดยเป็นชาวทิเบตแท้ 5 ล้านคน ซึ่งการเพิ่มประชากรเป็นผลมาจากการปรับปรุงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ทันสมัยขึ้น รัฐบาลจีนยังปฏิเสธข้ออ้างของรัฐบาลพลัดถิ่นทิเบตเรื่องการกลืนชาติโดยชาวจีน โดยรัฐบาลจีนกล่าวว่าขอบเขตของทิเบตตามที่รัฐบาลพลัดถิ่นกล่าวอ้างใหญ่เกินไป บางส่วนคนส่วนใหญ่แต่เดิมไม่ใช่ชาวทิเบต

รัฐบาลจีนปฏิเสธข้อกล่าวอ้างที่ว่าคุณภาพชีวิตของชาวทิเบตตกต่ำลง โดยชี้ให้เห็นว่ามีการใช้ภาษาทิเบตในโรงเรียนและในศาล และชีวิตของชาวทิเบตได้รับการพัฒนาให้ดีกว่าสมัยดาไลลามะหลายด้าน ตัวอย่างเช่น ค่าจีดีพีของเขตปกครองตนเองทิเบตในปัจจุบันเป็น 30 เท่าของเมื่อ พ.ศ. 2493 มีทางหลวงมากกว่า 22,500 กิโลเมตร ซึ่งสร้างหลังจาก พ.ศ. 2493 มีการจัดระบบการศึกษาหลังจากรวมเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 25 แห่งที่รัฐบาลจีนสร้าง อัตราการตายของทารกลดลงจาก 43% ใน พ.ศ. 2493 เหลือ 0.66% ใน พ.ศ. 2543 ช่วงชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 35.5 ปีใน พ.ศ. 2493 เป็น 67 ปี ใน พ.ศ. 2543 การปฏิวัติวัฒนธรรมและการทำลายวัฒนธรรมทั่วทั้งประเทศจีนถูกประณ ามว่าเป็นภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งผู้ปลุกปั่นได้ถูกตัดสินในศาล และการริเริ่มขึ้นอีกเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในประเทศจีนปัจจุบัน แผนพัฒนาภาคตะวันตกของจีนรวมทั้งทิเบตด้วย เป็นการมุ่งจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น

พัฒนาการและอิทธิพล แก้

ดาไลลามะองค์ปัจจุบันได้ตระเวนกล่าวปราศัยในหลายประเทศทั้งในสหรัฐและยุโรป ใน พ.ศ. 2528 ได้เริ่มการรณรงค์ให้มีการแก้ปัญหาโดยสันติเพื่อการเรียกร้องเอกราช จนกระทั่งกลายเป็นเอกราชไม่สำคัญ การได้ปกครองตนเองเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แนวคิดนี้เป็นที่รู้จักในชื่อทางสายกลาง ดาไลลามะได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางมากว่า 40 ปี แต่ไม่เคยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลชาติต่างๆว่าในฐานะรัฐบาลพลัดถิ่น

ขบวนการที่เคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของทิเบตมีหลายกลุ่มได้แก่

คอนเสิร์ตเพื่อเอกราชทิเบต แก้

หลังจากที่วง Beastie Boys ได้ออกอัลบั้ม Ill Communication ใน พ.ศ. 2537 ได้มีการจัดตั้งกองทุนมิลาเรปะซึ่งตั้งชื่อตามลามะองค์สำคัญของทิเบตขึ้น เพื่อใช้ดนตรีสร้างความสนใจแก่ประชาชน ผู้ก่อตั้งกองทุนมิลาเรปะได้ร่วมมืองกับวง Beastie Boys และเกิดแนวคิดในการจัดคอนเสิร์ตเพื่อเอกราชทิเบตขึ้น

การจัดคอนเสิร์ตครั้งแรกมีขึ้นที่ ซานฟรานซิสโกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจถึง 100,000 คน และได้รายได้ 800,000 เหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือเอกราชของทิเบต และทำให้มีการศึกษาเกี่ยวกับทิเบตเพิ่มขึ้น

หนังสือเดินทางของทิเบต แก้

ผู้ต่อสู้เพื่อเอกราชทิเบตหลายคนสนับสนุนแนวคิดว่ารัฐบาลพลัดถิ่นทิเบตควรจะออกหนังสือเดินทางทิเบตได้ แต่ยังไม่แน่นอนว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆจะยอมรับผู้ถือหนังสือเดินทางของทิเบตหรือไม่ ในบางประเทศยอมรับผู้ถือหนังสือเดินทางทิเบตในฐานะนักท่องเที่ยว แต่ยังไม่ได้ยอมรับอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนั้นยังเป็นปัญหากับทางรัฐบาลพลัดถิ่นทิเบตเองว่าจะตั้งสำนักงานออกหนังสือเดินทางที่ใด หนังสือเดินทางจะเป็นรูปแบบใด แบบดั้งเดิม แบบอ่านด้วยเครื่องจักร หรือแบบบันทึกข้อมูลทางชีวภาพ

อ้างอิง แก้

  1. Smith, Tibet, p. 162
  2. Goldstein, History, p. 830
  3. Smith (1996), p. 175
  4. "Who Are the Drapchi 14?". Amnesty International USA Group 133. April 4, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-25.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  • Allen, Charles (2004). Duel in the Snows: The True Story of the Younghusband Mission to Lhasa. London: John Murray, 2004. ISBN 0-7195-5427-6.
  • Bell, Charles (1924). Tibet: Past & Present. Oxford: Clarendon Press.
  • Courtois, Stéphane; Mark Kramer et al (1999). The Black Book of Communism: Crimes, terror, repression. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. ISBN 0674076087.
  • French, Patrick (2002). Tibet, Tibet: a personal history. New York: Knopf. ISBN 1400041007.
  • McKay, Alex (1997). Tibet and the British Raj: The Frontier Cadre 1904-1947. London: Curzon. ISBN 0-7007-0627-5.
  • Shakya, Tsering (1999). The Dragon in the Land of Snows: A History of Modern Tibet Since 1947. New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-11814-7.
  • Smith, Warren W. (Jr.) (1996). Tibetan Nation: A History of Tibetan Nationalism and Sino-Tibetan Relations. Boulder, CO: Westview Press. ISBN 0-8133-3155-2.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้