มณฑล
มณฑล (สันสกฤต: मण्डल) แปลว่า วง[1] ในทางประติมานวิทยาของศาสนาแบบอินเดีย โดยเฉพาะศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางธรรมหรือทางพิธีกรรมเพื่อหมายถึงเอกภพ[2] โดยทั่วไปมักแสดงในเชิงอภิปรัชญาและเชิงสัญลักษณ์เป็นแผนภาพหรือแผนภูมิแบบเรขาคณิตรูปจักรวาลแบบย่อส่วน
มณฑลส่วนใหญ่เป็นสี่เหลี่ยม มีสี่ประตู มีวงกลมที่จุดศูนย์กลาง แต่ละประตูเป็นรูปตัว T[3] และมีรัศมีสมดุลกัน[4]
คำนี้ปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์ฤคเวทซึ่งใช้หมายถึงกองงานต่าง ๆ ส่วนฝ่ายพิธีกรรมใช้มณฑลเช่นนพเคราะห์จนถึงปัจจุบัน
หลายศาสนายังใช้มณฑลเป็นเครื่องเพ่งในการเข้าสมาธิหรือเข้าภวังค์
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 876. ISBN 978-616-7073-80-4
- ↑ "mandala". Merriam–Webster Online Dictionary. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-11-19.
- ↑ "Kheper,The Buddhist Mandala – Sacred Geometry and Art". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
- ↑ www.sbctc.edu (adapted). "Module 4: The Artistic Principles" (PDF). Saylor.org. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.