ประเทศคาซัคสถาน

ประเทศในเอเชียกลาง

คาซัคสถาน (คาซัค: Қазақстан / Qazaqstan, ออกเสียง [qɑzɑqˈstɑn]; รัสเซีย: Казахста́н, ออกเสียง: [kɐzəxˈstɐn]) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (คาซัค: Қазақстан Республикасы / Qazaqstan Respublikasy; รัสเซีย: Респу́блика Казахста́н) เป็นรัฐข้ามทวีปที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลางและกินพื้นที่บางส่วนของยุโรปตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซียทางทิศเหนือและตะวันตก ติดต่อกับประเทศจีนทางทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศคีร์กีซสถานทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดต่อกับประเทศอุซเบกิสถานทางทิศใต้ และติดต่อกับเติร์กเมนิสถานทางตะวันตกเฉียงใต้ เมืองหลวงคืออัสตานา (ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โนร์-โซลตัน" ระหว่าง พ.ศ. 2562–2565) โดยมีอัลมาเตอเป็นเมืองหลวงเก่าจนถึง พ.ศ. 2540 คาซัคสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มโลกอิสลาม และใหญ่เป็นอันดับเก้าของโลก มีประชากรประมาณ 19 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรต่ำ คือน้อยกว่า 6 คนต่อตารางกิโลเมตร (15 คนต่อตารางไมล์)

สาธารณรัฐคาซัคสถาน

Қазақстан Республикасы /
Qazaqstan Respublikasy
(คาซัค)
Респу́блика Казахста́н (รัสเซีย)
ที่ตั้งของ ประเทศคาซัคสถาน  (เขียว)
ที่ตั้งของ ประเทศคาซัคสถาน  (เขียว)
เมืองหลวงอัสตานา[1]
51°10′N 71°26′E / 51.167°N 71.433°E / 51.167; 71.433
เมืองใหญ่สุดอัลมาเตอ
43°16′39″N 76°53′45″E / 43.27750°N 76.89583°E / 43.27750; 76.89583
ภาษาราชการคาซัค , รัสเซีย [a]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2020)[3]
ศาสนา
(ค.ศ. 2020)[4]
เดมะนิมชาวคาซัคสถาน[d][6]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีและระบบพรรคเด่น
ฆาเซิม-โฌมาร์ต โตกาเยฟ
โวลฌัส เบียกเตียนัฟ
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
Mazhilis
ก่อตั้ง
ค.ศ. 1465
13 ธันวาคม ค.ศ. 1917
26 สิงหาคม ค.ศ. 1920
19 มิถุนายน ค.ศ. 1925
5 ธันวาคม ค.ศ. 1936
• ประกาศเป็นอธิปไตย
25 ตุลาคม ค.ศ. 1990
• เปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐคาซัคสถาน
10 ธันวาคม ค.ศ. 1991
• เป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต
16 ธันวาคม ค.ศ. 1991
21 ธันวาคม ค.ศ. 1991
26 ธันวาคม ค.ศ. 1991
• ยอมรับเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
2 มีนาคม ค.ศ. 1992
30 สิงหาคม ค.ศ. 1995
พื้นที่
• รวม
2,724,900 ตารางกิโลเมตร (1,052,100 ตารางไมล์) (อันดับที่ 9)
1.7
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 18,711,560[7] (อันดับที่ 64)
7 ต่อตารางกิโลเมตร (18.1 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 236)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 569.813 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 41)
เพิ่มขึ้น 30,178 ดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 53)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 179.332 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 55)
เพิ่มขึ้น 9,686 ดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 69)
จีนี (ค.ศ. 2017)Negative increase 27.5[9]
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.825[10]
สูงมาก · อันดับที่ 51
สกุลเงินเท็งเก (₸) (KZT)
เขตเวลาUTC+5 / +6 (ตะวันตก / ตะวันออก)
รูปแบบวันที่ปปปป.วว.ดด (kk)
วว.ดด.ปปปป (ru)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+7-6xx, +7-7xx
โดเมนบนสุด

ดินแดนของคาซัคสถานเป็นถิ่นอาศัยของชนเผ่าและอาณาจักรเก่าแก่มาตั้งแต่อดีตกาล ชาวซิทเคยปกครองดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่สมัยโบราณก่อนทีจักรวรรดิอะคีเมนิดจะเรืองอำนาจและขยายอาณาเขตจรดดินแดนทางใต้ กลุ่มชนเตอร์กิกซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เติร์กเข้ามาตั้งรกรากประมาณช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 จักรวรรดิมองโกลภายใต้การปกครองของเจงกิส ข่าน เข้าปราบปรามและยึดครองดินแดนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตามด้วยการยึดครองดินแดนส่วนใหญ่โดยรัฐข่านคาซัคในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งได้กลายเป็นอาณาเขตของคาซัคสถานยุคใหม่ในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวคาซัคซึ่งเป็นหนึ่งในชนกลุ่มย่อยของกลุ่มชนเติร์กเข้ามาตั้งรกราก และแยกตัวออกเป็นสามกลุ่มย่อยที่เรียกว่า Zhuz การตั้งถิ่นฐานของพวกเขารุกล้ำเขตแดนของรัสเซียตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนที่ชาวรัสเซียจะตอบโต้ด้วยการรุกล้ำบริเวณทุ่งหญ้าคาซัค และยึดครองดินแดนทั้งหมดก่อนผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปลดปล่อยทาสทั้งหมดที่ถูกชาวคาซัคจับตัวมา[11] การปฏิวัติรัสเซียและสงครามกลางเมืองรัสเซียนำไปสู่การจัดระเบียบการปกครองในดินแดนอีกหลายครั้ง ใน พ.ศ. 2479 ดินแดนทั้งหมดกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคภายใต้สหภาพโซเวียต คาซัคสถานถือเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตแห่งสุดท้ายที่ประกาศเอกราชระหว่างการล่มสลายของสหภาพโซเวียตระหว่าง พ.ศ. 2531–2534

คาซัคสถานถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยถือครองจีดีพีเฉลี่ยถึงร้อยละ 60 ของทั่วทั้งภูมิภาค รายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมส่งออกน้ำมันและก๊าซ รวมทั้งมีทรัพยากรแร่ธาตุจำนวนมาก[12] คาซัคสถานเป็นสาธารณรัฐซึ่งปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยนิตินัย อย่างไรก็ตาม องค์กรสิทธิมนุษยชนอธิบายว่ารัฐบาลคาซัคมีการปกครองแบบเผด็จการ และมีสิทธิมนุษยชนในระดับต่ำ คาซัคสถานถือเป็นรัฐเดี่ยวที่เป็นสังคมพหุนิยมทางวัฒนธรรม[13] และได้รับการจัดอันดับทางดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงสุดในภูมิภาค คาซัคสถานเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก เครือรัฐเอกราช องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การความร่วมมืออิสลาม องค์การรัฐเติร์ก และองค์การวัฒนธรรมเติร์กระหว่างประเทศ

ภูมิศาสตร์

แก้
 
แผนที่ประเทศคาซัคสถาน
 
ภูมิลักษณ์ในภาคเหนือของคาซัคสถาน

ด้วยพื้นที่ 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร (1.56 ล้านตารางไมล์) คาซัคสถานจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 9 ของโลก โดยมีขนาดพอ ๆ กับภูมิภาคยุโรปตะวันตก

เมืองใหญ่ของประเทศได้แก่ อัสตานา (เป็นเมืองหลวงตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541), อัลมาเตอ (อดีตเมืองหลวง เคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลมา-อะตา (Alma-Ata) และก่อน พ.ศ. 2460 (1917) ในชื่อเวียร์นืย), คาราฆันเดอ, เชิมเกียนต์, เซียเมียย์ (เซมีปาลาตินสค์) และเตอร์กิสถาน เคยเป็นที่รู้จักในชื่อ ยาซี

ลักษณะภูมิประเทศแผ่ขยายจากตะวันออกจดตะวันตก ตั้งแต่ทะเลสาบแคสเปียนจนถึงแอ่งทาริม (ซินเจียง) และเทือกเขาอัลไต และจากเหนือจดใต้ ตั้งแต่ที่ราบไซบีเรียตะวันตกจนถึงโอเอซิสและทะเลทรายของภูมิภาคเอเชียกลาง

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบภาคพื้นทวีป มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฤดูร้อนแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง

ความยาวของพรมแดน: รัสเซีย 6,846 กิโลเมตร, อุซเบกิสถาน 2,203 กิโลเมตร, จีน 1,533 กิโลเมตร, คีร์กีซสถาน 1,051 กิโลเมตร และเติร์กเมนิสถาน 379 กิโลเมตร

 
อัสตานา
 
อัลมาเตอ เมืองที่ใหญ่ที่สุดของคาซัคสถาน

ประวัติศาสตร์

แก้

ส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

แก้

คาซัคสถานเคยเป็น 1 ใน 15 รัฐของสหภาพโซเวียต เรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (KSSR) ภายหลังวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ก็ประกาศเอกราชเป็นรัฐสุดท้ายจากสหภาพโซเวียตและก่อตั้งประเทศคาซัคสถาน

ดินแดนที่เป็นคาซัคสถานในปัจุบัน มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินตั้งแต่ยุคหิน ซึ่งจากสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง อาชีพหลักของคนในยุคโบราณก็คือการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน โดยเริ่มต้นมาจากการเลี้ยงม้า

ในยุคศตวรรษที่ 13 ชาวมองโกล ก็เข้ามาในเขตนี้ และก็เริ่มวางระบบการปกครองที่เป็นเรื่องเป็นราวขึ้น และมีการเรียกเขตการปกครองของพวกเขาว่า รัฐข่านคาซัค แต่ความเป็นตัวตนของชาวคาซัค เริ่มปรากฏชัดในศตวรรษที่ 16 เมื่อภาษา วัฒนธรรม แบบคาซัคเริ่มมีความแตกต่างจากคนกลุ่มอื่น

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 รัสเซียที่ปกครองดินแดนแถบนี้อยู่ แต่ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมากมาย ก็เริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาอย่างเป็นจริงเป็นจัง และสามารถควบคุมปกครองดินแดนแถบนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ เนื่องจากวิตกเรื่องการขยายอิทธิพลเข้ามาของฝ่ายอังกฤษ

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

ประเทศคาซัคสถานแบ่งออกเป็น 14 แคว้น (คาซัค: облыс/oblys; รัสเซีย: область) และ 4 นคร* (คาซัค: қаласы/qalasy; รัสเซีย: Город) ทุกแคว้นมีผู้ว่าการแคว้นที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วนนายกเทศมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าการแคว้น รัฐบาลคาซัคสถานย้ายเมืองหลวงจากอัลมาเตอไปอัสตานาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541

ชื่อหน่วยการปกครอง เมืองหลัก เนื้อที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(สำมะโน พ.ศ. 2552)[14]
รหัส
ไอเอสโอ 3166-2
แผนที่
กุสตาไน 196,001 0,885,570 KZ-KUS  
โวรัล 151,339 0,598,880 KZ-ZAP
วึสเกียเมียน 283,226 1,396,593 KZ-VOS
เปียโตรปัฟล์ 097,993 0,596,535 KZ-SEV
คาราฆันเดอ 427,982 1,341,700 KZ-KAR
คืยซิลออร์ดา 226,019 0,678,794 KZ-KZY
0,1,170 0,603,499 KZ-SHY
ตารัซ 144,264 1,022,129 KZ-ZHA
เตอร์กิสถาน 117,249 2,469,357 KZ-TUR
000,710 0,613,006 KZ-AST
000,057 0,036,175
ปัฟโลดาร์ 124,800 0,742,475 KZ-PAV
อักเตา 165,642 0,485,392 KZ-MAN
อักเตอเบีย 300,629 0,757,768 KZ-AKT
เกิกเชียเตา 146,219 0,737,495 KZ-AKM
ตัลเดอโกร์ฆัน 223,924 1,807,894 KZ-ALM
000,319 1,365,632 KZ-ALA
อาเตอเรา 118,631 0,510,377 KZ-ATY

ใน พ.ศ. 2538 รัฐบาลคาซัคสถานและรัสเซียได้ทำข้อตกลงให้รัสเซียเช่าพื้นที่ 6,000 ตารางกิโลเมตร รอบท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ และเมืองบัยโกเงอร์เป็นเวลา 20 ปี

นโยบายต่างประเทศ

แก้

ความสัมพันธ์กับไทย

แก้

ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด ตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ไทย – คาซัคสถานนับได้ว่ามีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและแน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกัน รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและบริการ และวิชาการ เป็นต้น

ไทยได้แต่งตั้งนาย Mirgali Kunayev เป็น กสม. ณ นครอัลมาเตอ และมีอำนาจตรวจลงตรา ซึ่งนักท่องเที่ยวคาซัคสถานสามารถขอรับการตรวจลงตราเพื่อพำนักในไทยได้เกิน 15 วัน

ผู้นำไทยกับคาซัคสถานมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น คาซัคสถานได้ให้การสนับสนุนไทยในการสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA) ซึ่งเป็นกรอบการประชุมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียที่คาซัคสถานได้ริเริ่มขึ้น โดยไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของ CICA เมื่อเดือนตุลาคม 2547

ฝ่ายคาซัคสถานประสงค์ที่จะสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยความมั่นคงระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Regional Forum - ARF) และขอรับการสนับสนุนจากประเทศไทย

ไทยได้สนับสนุนคาซัคสถานในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ซึ่งไทยริเริ่ม โดยในระหว่างการประชุมรัฐมนตรี ACD เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2546 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุมฯ ได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ในการรับคาซัคสถานเข้าเป็นสมาชิก ACD

กองทัพ

แก้
 
กองทหารเกียรติยศหน่วยพิทักษ์สาธารณรัฐ

กองทัพบก

แก้

ทหารคาซัคสถานส่วนใหญ่ถูกสืบทอดมาจากกองทัพแดงของสหภาพโซเวียต หน่วยงานเหล่านี้กลายเป็นแกนหลักของทหารคาซัคสถานสมัยใหม่ กองทัพบกคาซัคสถานได้มุ่งเน้นที่หน่วยรถหุ้มเกราะในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 หน่วยหุ้มเกราะได้ขยายจาก 500 คัน ถึง 1,613 คัน ใน ค.ศ. 2005

คาซัคสถานได้ส่งทหารวิศวกร 49 คน ไปยังอิรักเพื่อให้ความช่วยเหลือภารกิจของสหรัฐในการบุกรุกอิรัก

เศรษฐกิจ

แก้

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

แก้

คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต มีทรัพยากรที่สำคัญเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำมันดิบ แร่ธาตุ ตลอดจนยังมีขีดความสามารถทางการเกษตรอันเนื่องมาจากพื้นที่สำหรับเพาะปลูกและทำปศุสัตว์ที่กว้างขวาง

ก่อนปี พ.ศ. 2533 ระบบเศรษฐกิจคาซัคสถานเป็นส่วนหนึ่งของระบบการแบ่งการผลิตของสหภาพโซเวียต โดยถูกกำหนดให้มีความชำนาญด้านเกษตรกรรม ตามโครงการดินแดนบริสุทธิ์ฮรุชชอฟ (Khrushchev Virgin Lands) ส่วนอุตสาหกรรมหลักขึ้นอยู่กับการขุดเจาะน้ำมันและการทำเหมืองแร่ การผสมโลหะ และการสกัดแร่ธาตุ ตลอดจนการผลิตเครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น เครื่องมือก่อสร้าง รถแทรกเตอร์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร

ภายหลังการสลายตัวของสหภาพโซเวียต ความต้องการสินค้าเครื่องจักรกลหนักซึ่งเป็นสินค้าหลักของคาซัคสถานได้ลดลง ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมากระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2537 อัตราเงินเฟ้อสูงและมูลค่า Real GDP ลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2540 รัฐบาลคาซัคสถานได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทรัพย์สินส่วนใหญ่ตกสู่ภาคเอกชน อัตราการเจริญเติบโตของประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น

ในปี พ.ศ. 2539 คาซัคสถานได้เข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือก่อสร้างท่อส่งน้ำมันในทะเลแคสเปียน ซึ่งส่งผลให้สามารถส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2541 สภาวะการตกต่ำของราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของคาซัคสถานตกต่ำลงชั่วขณะ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2542 ราคาน้ำมันได้ถีบตัวสูงขึ้น ประกอบกับการลดค่าเงินที่ถูกจังหวะและการเกษตรที่ได้ผลดี ทำให้ภาวะเศรษฐกิจคาซัคสถานเจริญเติบโต

ภาคเกษตรกรรม

แก้

เกษตรกรรมเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากที่สุด คิดเป็นหนึ่งในสามของการส่งออก หรือ ร้อยละ 20-25 ของแรงงานภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตหลักได้แก่ เมล็ดพันธุ์พืช

แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ไม่แน่นอนและการปฏิรูประบบเศรษฐกิจอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์พืชที่เคยสูงสุดในปี พ.ศ. 2535 กลับตกต่ำที่สุดในปี พ.ศ. 2538 และการผลิตภาคการเกษตรซึ่งเคยมีส่วนแบ่งรายได้ประชาชาติร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2532 กลับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.6 ในปี พ.ศ. 2543 ส่วนภาคการบริการที่ถูกละเลยภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ กลับมีการขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับแต่ได้รับเอกราช

ส่วนด้านการค้า ที่อยู่อาศัย และการคมนาคม ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน สำหรับการลงทุนนั้นมีมูลค่าร้อยละ 19 ของ GDP โดยหนึ่งในสี่ของการลงทุนนั้น มาจากบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันและโลหะ

การครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน

แก้

การโอนธุรกิจที่ดินให้เป็นของภาคเอกชนดำเนินไปอย่างช้า ๆ และรัฐบาลอนุญาตให้ชาวคาซัคเท่านั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเกษตรกรรมได้ ในกรณีที่ชาวต่างชาติและประชาชนทั่วไปต้องการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินอื่น ๆ จะต้องมีบ้านหรือทรัพย์สินอยู่บนที่ดินผืนนั้น ส่วนที่ดินนอกเหนือจากนั้นถูกครอบครองโดยภาครัฐ

การปฏิรูปเศรษฐกิจ

แก้

ประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟได้นำความล้มเหลวและข้อผิดพลาดของการปฏิรูปเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออกมาเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการเร่งสร้างระบบเศรษฐกิจแบบตะวันตก ด้วยการปฏิเสธบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจและนำกลไกตลาดมาใช้ทันทีโดยมิได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถรองรับการพัฒนาของระบบอย่างสอดคล้องกันเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ คาซัคสถานจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินบทบาทของรัฐในการควบคุม การผลิต การหมุนเวียนเงินทุน และการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศต่อไป พร้อมทั้งผสมผสานกลไกของรัฐและกลไกตลาดเข้าด้วยกัน

สภาพเศรษฐกิจของคาซัคสถานกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาไปสู่ระบบการตลาดแบบเสรี ในปี พ.ศ. 2539 คาซัคสถานเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น สังเกตได้จากอัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคลดลงเหลือเพียงร้อยละ 39.1 ในปี พ.ศ. 2539 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2538 ที่มีอัตราร้อยละ 175 และปี พ.ศ. 2537 ที่มีอัตราถึงร้อยละ 1,900 ส่วนอัตราการว่างงานนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังมีความเปราะบางอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเหมืองแร่ยังตกต่ำอยู่ เพราะขาดแคลนเงินทุนและปัจจัยในการผลิต ทำให้มีส่วนเกินของแรงงานและประสิทธิภาพ ส่วนทางภาคเกษตรกรรมนั้น ผลผลิตก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่คาดหมายกันไว้ การลงทุนขุดเจาะน้ำมันที่บ่อน้ำมัน Tengiz ของคาซัคสถาน ซึ่งรัฐบาลคาซัคสถานลงทุนร่วมกับบริษัท Chevron ของสหรัฐ ฯ ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของรัสเซียที่จะจำกัดการส่งออกน้ำมันของคาซัคสถานผ่านท่อส่งน้ำมันของตน โดยล่าสุด บ่อน้ำมัน Tengiz สามารถส่งออกน้ำมันได้เพียง 880,000 บาร์เรลต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่เป้าหมายการผลิตในปี พ.ศ. 2540 คือ 30,000 บาร์เรลต่อวัน

อย่างไรก็ตาม คาซัคสถาน รัสเซีย ตุรกี อาเซอร์ไบจาน และสหรัฐอเมริกา ก็ได้ร่วมกันหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกน้ำมันผ่านท่อของประเทศต่าง ๆ ของคาซัคสถานแล้ว เนื่องจากคาซัคสถานมีโครงการสร้างท่อขนส่งน้ำมันและแก๊สผ่านรัสเซีย ไปยังชายฝั่งทะเลดำ โดยได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2541 และจะสิ้นสุดโครงการภายในสิ้นปี พ.ศ. 2543 แต่เส้นทางที่ท่อส่งน้ำมันและก๊าซผ่านนั้น เป็นประเทศคู่แข่งทางด้านนี้กับคาซัคสถานทั้งสิ้น เช่น อาเซอร์ไบจาน อิหร่าน และรัสเซีย และต้นทุนของการสร้างท่อก็มีราคาแพง ซึ่งในระยะยาวแล้ว คาซัคสถานจะต้องให้ความคุ้มครองแก่เส้นทางของท่อส่งออกน้ำมันและแก๊สทั้งด้านการค้าและการเมือง

เท่าที่ผ่านมา ประเทศที่ดูจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในการดำเนินธุรกิจน้ำมันกับคาซัคสถาน ได้แก่ ตุรกี ซึ่งบรรลุข้อตกลงกับคาซัคสถานที่จะร่วมกันพัฒนาบ่อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในคาซัคสถานถึง 7 แห่ง โดยตุรกีจะได้รับส่วนแบ่งเป็นน้ำมันจำนวน 2.1 พันล้านบาร์เรลและแก๊สธรรมชาติจำนวน 208.9 พันล้านลูกบาศก์เมตร คาซัคสถานมีน้ำมันสำรองถึง 2.5% ของปริมาณน้ำมันโลก และคาดว่าภายในปี 2560 จะติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้ส่งออกน้ำมัน [15]

สำหรับการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ คาซัคสถานจะต้องแก้ปัญหาการทุจริตและปัญหาความไม่โปร่งใสของการลงทุน ซึ่งพบอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะการครอบครองด้านเศรษฐกิจโดยกลุ่มผู้จัดการน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมือง จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีน้อยลง

สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน

แก้

ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจของรัสเซีย คาซัคสถานได้รับการกล่าวถึงจากนานาชาติค่อนข้างดี ในแง่ของความพยายามและผลของการพัฒนาประเทศ แต่โดยที่รัสเซียเป็นประเทศคู่ค้าหลักของคาซัคสถาน จึงทำให้คาซัคสถานได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2542 รัฐบาลและธนาคารชาติคาซัคสถานได้ประกาศจะยุติการแทรกแซงเพื่อพยุงอัตราการแลกเปลี่ยนของเงินเต็งเก (Tenge) และปล่อยค่าเงินลอยตัว เพื่อให้สินค้าของคาซัคสถานสามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นที่ได้ลดค่าเงินในตลาดโลกได้ ทั้งนี้ ค่าเงินเต็งเกอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 88 เต็งเก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 จนเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 146.37 เต็งเก

อย่างไรก็ดี คาซัคสถานได้พัฒนาระบบการเงินการธนาคารเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเงิน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2543 คาซัคสถานเป็นประเทศแรกของอดีตสหภาพโซเวียตที่สามารถจ่ายชำระหนี้คืนแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ล่วงหน้าก่อนกำหนดถึง 7 ปี และในปี พ.ศ. 2545 ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านการวางแผนระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเกี่ยวกับภาษีและระบบการคลังมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

น้ำมันและแก๊สธรรมชาติยังคงเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศ ทั้งนี้ มีการพิสูจน์แล้วว่าคาซัคสถานเป็นแหล่งสำรองน้ำมันของโลกร้อยละ 2.5 และจะสามารถผลิตน้ำมันได้วันละ 3 ล้านบาร์เรลภายในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะทำให้คาซัคสถานอยู่ในกลุ่ม 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันของโลก

การท่องเที่ยว

แก้
 
ทะเลสาบ Issyk-Kul

แม้ว่าภูเขาและทะเลสาบเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตช้ามากเพราะได้รับการลงทุนน้อย[16] ในช่วงทศวรรษ 2000 มีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยปีละ 450,000 คน ส่วนใหญ่มาจากรัสเซีย ทะเลสาบ Issyk-Kul และภูเขาเทียนฉานเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ค่อนข้างนิยม

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

การศึกษา

แก้
 
สถานศึกษาในคาซัคสถาน

การศึกษาเป็นสากลและบังคับไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาและอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่เป็น 99.5% การศึกษาประกอบด้วยการศึกษาหลัสามขั้นตอนคือ: ระดับประถมศึกษา (1-4 รูปแบบ), การศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไป (5-9 ฟอร์ม) และการศึกษาระดับอาวุโส (แบบฟอร์ม 10-11 หรือ 12) แบ่งเป็นหมวดวิชาศึกษาทั่วไปอย่างต่อเนื่องและการศึกษามืออาชีพ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยโรงเรียนและสถาบันการดนตรีโรงเรียนที่สูงขึ้นและสูงขึ้นอยู่ที่วิทยาลัย

ประชากร

แก้

เชื้อชาติ

แก้

ศาสนา

แก้
ศาสนาในคาซัคสถาน
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
70.2%
คริสต์
  
26.2%
พุทธ
  
0.50%
อื่น ๆ
  
0.2%
ไม่มีศาสนา
  
2.8%
ไม่ระบุ
  
0.5%

จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2009 พบว่าชาวคาซัคสถานร้อยละ 70.2 นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาคือศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์ ร้อยละ 26.6 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.50 , ศาสนาอื่นๆ (โดยเฉพาะศาสนายูดาห์) ร้อยละ 0.2, มีร้อยละ 2.8 ระบุว่าตนเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา และร้อยละ 0.5 ไม่ได้ระบุว่านับถือศาสนาใด[17]

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีจำนวนศาสนิกมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ หลังจากการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต คาซัคสถานมีการแสดงออกถึงการนับถือศาสนา เสรีภาพในการนับถือศาสนา และการปฏิบัติศาสนกิจที่แพร่หลายขึ้น ศาสนสถานกว่าร้อยแห่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว สมาคมทางศาสนาเพิ่มขึ้นจาก 670 แห่งในปี ค.ศ. 1990 เป็น 4,170 แห่งในปัจจุบัน[18]

ชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนีย์มัซฮับฮานาฟี ศาสนิกชนส่วนใหญ่คือกลุ่มเชื้อสายคาซัคกว่าร้อยละ 60 และในกลุ่มชาวอุซเบก, อุยกูร์ และตาตาร์[19] มีชาวซุนนีย์น้อยกว่าร้อยละ 1 ศึกษามัซฮับซาฟิอี (โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อสายเชเชน) มีมัสยิดทั้งหมด 2,300 แห่ง[18] ซึ่งทุกแห่งได้เข้าร่วมกับสมาคมจิตวิญญาณมุสลิมคาซัคสถาน (Spiritual Association of Muslims of Kazakhstan) โดยขึ้นตรงต่อศาลมัฟติ (Mufti)[20] และมีวันอีดิลอัฎฮาเป็นวันหยุดราชการ[18]

หนึ่งในสี่ของประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ในกลุ่มประชาชนที่มีเชื้อสายรัสเซีย, ยูเครน และเบลารุสเซีย[21] นอกจากนี้ยังมีนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์[19] มีโบสถ์คริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ 3,258 แห่ง, โบสถ์นิกายโรมันคาทอลิก 93 แห่ง และโบสถ์ของนิกายโปรเตสแตนต์กว่า 500 แห่ง ทั้งนี้วันคริสต์มาสของนิกายออร์ทอดอกซ์ได้เป็นวันหยุดราชการของประเทศเช่นกัน[18] นอกจากนี้ยังมีศาสนาอื่น ๆ เช่น ยูดาห์, บาไฮ, ฮินดู, พุทธ เป็นอาทิ[19]

ตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2009 มีคริสต์ศาสนิกชนน้อยมากที่มิใช่กลุ่มชาวสลาฟและเยอรมัน ตามตาราง[22]

ภาษา

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. นอกจากภาษาคาซัค ภาษารัสเซียมีสถานะทางการทุกระดับและทุกรูปแบบ[2]
  2. อักษรทางการของภาษาคาซัค (จนถึง ค.ศ. 2025) และภาษารัสเซีย
  3. อักษรทางการของภาษาคาซัค (ค.ศ. 2025 เป็นต้นมา)
  4. ชาวคาซัคสถานรวมพลเมืองทั้งหมด ซึ่งตรงข้ามกับชาวคาซัคที่เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์คาซัค[5]

อ้างอิง

แก้
  1. "Қазақстан Республикасының елордасы – Нұр-Сұлтан қаласының атауын Қазақстан Республикасының елордасы – Астана қаласы деп өзгерту туралы". Akorda (ภาษาคาซัค). 17 September 2022. สืบค้นเมื่อ 17 September 2022.
  2. "Constitution of the Republic of Kazakhstan" เก็บถาวร 14 กรกฎาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. zan.kz.
  3. "Численность населения Республики Казахстан по отдельным этносам на начало 2020 года". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-27. สืบค้นเมื่อ 6 August 2020.
  4. "Religion in Kazakhstan; GRF". www.globalreligiousfutures.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
  5. Schneider, Johann F.; Larsen, Knud S.; Krumov, Krum; Vazow, Grigorii (2013). Advances in International Psychology: Research Approaches and Personal Dispositions, Socialization Processes and Organizational Behavior (ภาษาอังกฤษ). Kassel university press GmbH. p. 164. ISBN 978-3-86219-454-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2018.
  6. Kazakhstan . CIA World Factbook.
  7. "Негізгі". stat.gov.kz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2019. สืบค้นเมื่อ 30 May 2019.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  9. "GINI index (World Bank estimate)". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 7 May 2019.
  10. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  11. "Traditional Institutions in Modern Kazakhstan". src-h.slav.hokudai.ac.jp.
  12. ASTANA, YURI ZARAKHOVICH | (2006-09-27). "Breaking News, Analysis, Politics, Blogs, News Photos, Video, Tech Reviews". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0040-781X. สืบค้นเมื่อ 2022-10-12.
  13. "Parliament of the Republic of Kazakhstan". www.parlam.kz.
  14. "Analytical report" (PDF). www.liportal.de. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
  15. ท่องไปกับใจตน - คาซัคสถาน สวรรค์แห่งเอเชียกลาง
  16. Kyrgyzstan country profile. Library of Congress Federal Research Division (January 2007). This article incorporates text from this source, which is in the public domain.
  17. "The results of the national population census in 2009". Agency of Statistics of the Republic of Kazakhstan. 12 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 21 January 2010.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 Religious Situation Review in Kazakhstan เก็บถาวร 2017-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Congress of World Religions. Retrieved on 2009-09-07.
  19. 19.0 19.1 19.2 Kazakhstan – International Religious Freedom Report 2008 U.S. Department of State. Retrieved on 2009-09-07.
  20. Islam in Kazakhstan เก็บถาวร 2009-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2009-09-07.
  21. "Kazakhstan". United States Commission on International Religious Freedom. United States Department of State. 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.
  22. "Нац состав.rar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.

  บทความนี้รวมข้อความจากงานที่มีเนื้อหาเสรี (free content) ข้อความนำมาจาก UNESCO Science Report: towards 2030, 365–387, UNESCO, UNESCO Publishing.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ทั่วไป

รัฐบาล

การค้า

48°N 68°E / 48°N 68°E / 48; 68