ภาษาคาซัค (คาซัค: қазақша หรือ қазақ тілі / qazaqşa หรือ qazaq tılı / قازاقشا หรือ قازاق ٴتىلى, ออกเสียง [qɑzɑqˈɕɑ], [qɑˈzɑq tɪˈlɪ]) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกในเอเชียกลาง

ภาษาคาซัค
Qazaq
қазақша หรือ қазақ тілі
qazaqşa หรือ qazaq tılı
قازاقشا หรือ قازاق ٴتىلى
ออกเสียง[qɑzɑqˈɕɑ]
[qɑˈzɑq tɪˈlɪ]
ประเทศที่มีการพูดคาซัคสถาน, จีน, มองโกเลีย, รัสเซีย, คีร์กีซสถาน, อุซเบกิสถาน
ภูมิภาคเอเชียกลาง
(เตอร์กิสถาน)
ชาติพันธุ์ชาวคาซัค
จำนวนผู้พูด17.8 ล้านคน (2009)[1]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรคาซัค (อักษรซีริลลิก, อักษรอาหรับ, อักษรละติน, อักษรเบรลล์คาซัค)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการคาซัคสถาน
รัสเซีย

จีน


ผู้วางระเบียบMinistry of Culture and Sports
รหัสภาษา
ISO 639-1kk
ISO 639-2kaz
ISO 639-3kaz
Linguasphere44-AAB-cc
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาคาซัค:
  ภูมิภาคที่ภาษาคาซัคเป็นภาษาของชนส่วนใหญ่
  ภูมิภาคที่ภาษาคาซัคเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษาคาซัค บันทึกที่ต่างประเทศ
ผู้พูดภาษาคาซัค บันทึกในประเทศคาซัคสถาน

ภาษาคาซัคเป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศคาซัคสถาน และนอกจากนี้ยังมีคนพูดภาษานี้ในอัฟกานิสถาน จีน อิหร่าน คีร์กีซสถาน มองโกเลีย รัสเซีย ทาจิกิสถาน ตุรกี เติร์กเมนิสถาน ยูเครน และอุซเบกิสถาน ในเยอรมนีมีคนที่พูดภาษาคาซัคตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ทั่วโลกมีคนพูดภาษาคาซัคเป็นภาษาแม่ประมาณ 6.5 ล้านคน เขียนโดยใช้อักษรซีริลลิก อักษรละติน (ในตุรกี) และอักษรอาหรับที่มีการดัดแปลง (ในประเทศจีน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน)

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ แก้

ผู้พูดภาษาคาซัค (ส่วนใหญ่เป็นชาวคาซัค) กระจายในแถบเทือกเขาเทียนชานไปจนถึงทะเลแคสเปียนฝั่งตะวันตก เป็นภาษาราชการของประเทศคาซัคสถาน ซึ่งมีผู้พูดเกือบสิบล้านคน (ตามข้อมูลจาก CIA World Factbook[3] ในด้านประชากรและสัดส่วนผู้พูดภาษาคาซัค)[4]

ในประเทศจีน มีผู้พูดภาษาคาซัคในจีนเกือบ 2 ล้านคนในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติคาซัค อีหลี เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์[5]

ระบบการเขียน แก้

การเขียนภาษาคาซัคเริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 โดยภาษาคาซัคยุคโบราณ เขียนด้วยอักษรออร์คอน มีอักษร 24 ตัว ภาษาคาซัคสมัยใหม่เขียนด้วยอักษรซีริลลิก อักษรละตินและอักษรอาหรับ ปัจจุบัน ภาษาคาซัคเขียนด้วยอักษรซีริลลิก โดยอักษรซีริลลิกที่ใช้ในภาษาคาซัคเป็นอักษรรัสเซียที่มีอักษรเพิ่มขึ้นมา 9 ตัว: Ә, Ғ, Қ, Ң, Ө, Ұ, Ү, Һ, İ ในขณะที่ผู้พูดภาษาคาซัคในจีนยังคงเขียนด้วยภาษาอาหรับแบบที่คล้ายกับอักษรอาหรับสำหรับภาษาอุยกูร์

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 นูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ ประธานาธิบดีของคาซัคสถานเสนอให้ใช้อักษรละตินเป็นอักษรราชการแทนอักษรซีริลลิกในคาซัคสถาน[6][7] รัฐบาลคาซัคสถานได้ประกาศในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ว่าคาซัคสถานจะปรับมาใช้อักษรละตินภายใน 10-12 ปี โดยใช้งบประมาณราว 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [8]

เทียบอักษรด้วยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1
อักษรซีริลลิก อักษรอาหรับ อักษรละติน ค.ศ. 2021 แปลไทย
Барлық адамдар тумысынан азат және қадір-қасиеті мен құқықтары тең болып дүниеге келеді. بارلىق ادامدار تۋمىسىنان ازات جانە قادىر-قاسيەتى مەن قۇقىقتارى تەڭ بولىپ دۇنيەگە كەلەدى. - Barlyq adamdar tumysynan azat jäne qadır-qasietı men qūqyqtary teñ bolyp düniege keledı. มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเเกียรติศักดิ์และสิทธิ
Адамдарға ақыл-парасат, ар-ождан берілген, ادامدارعا اقىل پاراسات، ار-ۇجدان بەرىلگەن ، Adamdarğa aqyl-parasat, ar-ojdan berılgen, ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม
сондықтан олар бір-бірімен туыстық, бауырмалдық қарым-қатынас жасаулары тиіс. سوندىقتان ولار ٴبىر-بىرىمەن تۋىستىق، باۋىرمالدىق قارىم-قاتىناس جاساۋلارى ٴتيىس . sondyqtan olar bır-bırımen tuystyq, bauyrmaldyq qarym-qatynas jasaulary tiıs. และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ

สัทวิทยา แก้

ภาษาคาซัคมีการเปลี่ยนเสียงสระระหว่างสระหน้าและสระหลัง โดยมีข้อยกเว้นสำหรับคำบางคำที่เป็นคำยืมจากภาษาอื่น มีระบบการเปลี่ยนเสียงของสระห่อริมฝีปากแบบภาษาคีร์กิซแต่มีการใช้น้อยกว่า

พยัญชนะ แก้

นี่คือตารางแสดงหน่วยเสียงพยัญชนะของภาษาคาซัคมาตรฐาน

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาคาซัค[9]
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก (ปุ่มเหงือก-)
เพดานแข็ง
เพดานอ่อน ลิ้นไก่
นาสิก m ⟨м/m⟩ n ⟨н/n⟩ ŋ ⟨ң/ñ⟩
หยุด/
กักเสียดแทรก
ไม่ก้อง p ⟨п/p⟩ t ⟨т/t⟩ t͡ɕ ⟨ч/ç⟩ k ⟨к/k⟩ q ⟨қ/q⟩
ก้อง b ⟨б/b⟩ d ⟨д/d⟩ d͡ʑ ⟨ж/j⟩ ɡ ⟨г/g⟩
เสียดแทรก ไม่ก้อง f ⟨ф/f⟩ s ⟨с/s⟩ ɕ ⟨ш/ş⟩ χ ⟨х/h⟩
ก้อง v ⟨в/v⟩ z ⟨з/z⟩ ʑ ⟨ж/j⟩ ʁ ⟨ғ/ğ⟩
เปิด l ⟨л/l⟩ j ⟨й/i⟩ w ⟨у/u⟩
กระทบ ɾ ⟨р/r⟩

สระ แก้

ภาษาคาซัคมีหน่วยเสียงสระ 12 เสียง ในจำนวนนี้เป็นสระประสม 3 เสียง

หน่วยเสียงสระภาษาคาซัค
หน้า กลาง หลัง
ปิด ɪ̞ ⟨і/ı⟩ ʉ ⟨ү/ü⟩ ⟨ұ/ū⟩
ประสม je̘ ⟨е/e⟩ əj ⟨и/i⟩ ʊw ⟨у/u⟩
กลาง e ⟨э/e⟩ ə ⟨ы/y⟩ ⟨о/o⟩
เปิด æ̝ ⟨ә/ä⟩ ɵ ⟨ө/ö⟩ ɑ̝ ⟨а/a⟩
สระคาซัคตามการออกเสียง
หน้าและกลาง หลัง
ไม่ห่อ ห่อ ไม่ห่อ ห่อ
ปิด ɪ̞ ⟨і/ı⟩ ʏ̞ ⟨ү/ü⟩ ə ⟨ы/y⟩ ʊ̞ ⟨ұ/ū⟩
เปิด e ⟨э/e⟩ / æ ⟨ә/ä⟩ ɵ ⟨ө/ö⟩ ɑ̝ ⟨а/a⟩ ⟨о/o⟩

ไวยากรณ์ แก้

ประโยค แก้

การเรียงคำในประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา มีการใช้ปัจจัยแบบรูปคำติดต่อ

การก แก้

ภาษาคาซัคมี 7 การก

การผันคำนาม[10]
การก หน่วย รูปแบบที่เป็นไปได้ keme "เรือ" aua "ลม" şelek "ตะกร้า" säbız "แคร์รอต" bas "หัว" tūz "เกลือ" qan "เลือด" kün "วัน"
Nom keme aua şelek säbız bas tūz qan kün
Acc -ny -nı, -ny, -dı, -dy, -tı, -ty keme auany şelek säbız basty tūzdy qandy kün
Gen -nyñ -nıñ, -nyñ, -dıñ, -dyñ, -tıñ, -tyñ kemenıñ auanyñ şelektıñ säbızdıñ bastyñ tūzdyñ qannyñ künnıñ
Dat -ga -ge, -ğa, -ke, -qa kemege auağa şelekke säbızge basqa tūzğa qanğa künge
Loc -da -de, -da, -te, -ta kemede auada şelekte säbızde basta tūzda qanda künde
Abl -dan -den, -dan, -ten, -tan, -nen, -nan kemeden auadan şelekten säbızden bastan tūzdan qannan künnen
Inst -men -men(en), -ben(en), -pen(en) kememen auamen şelekpen säbızben baspen tūzben qanman künmen

สรรพนาม แก้

ภาษาคาซัคมีสรรพนามแทนบุคคล 8 คำ

สรรพนามแทนบุคคล[10]
เอกพจน์ พหุพจน์
บุรุษที่ 1 Men Bız
บุุษที่ 2 ไม่ทางการ Sen Sender
ทางการ Sız Sızder
บุรุษที่ 3 Ol Olar

กาล/จุดมุ่งหมาย/มาลา แก้

ภาษาคาซัคมีรุปแบบผสมของกาล จุดมุ่งหมาย และมาลาผ่านการใช้รูปแบบของกริยาที่หลากหลาย หรือผ่านระบบกริยาช่วยหรืออาจเรียกว่ากริยาอ่อน

หน่วยเสียงที่ระบุบุคคล[10]
สรรพนาม Copulas Possessive endings อดีต/เงื่อนไข
1st sg men -mın -(ı)m -(ı)m
2nd sg sen -sı -(ı)ñ -(ı)ñ
3rd sg ol -/-dır -
1st pl bız -bız -(ı)mız -(ı)k/-(y)q
2nd sng formal & pl sız -sız -(ı)ıñız -(ı)ñız/-(y)ñyz
3rd pl olar -/-dır

อ้างอิง แก้

  1. "Kazakh language resources | Joshua Project".
  2. "Статья 4. Правовое положение языков | ГАРАНТ".
  3. "Central Asia: Kazakhstan". The 2017 World Factbook. Central Intelligence Agency. 26 October 2017. สืบค้นเมื่อ 31 October 2017.
  4. Map showing the geographical diffusion of the Kazakh and other Turkish languages
  5. Simons, Gary F.; Fennig, Charles D., บ.ก. (2017). "Kazakh". Ethnologue: Languages of the World (20th ed.). Dallas, Texas: SIL International. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017.
  6. "Kazakhstan switching to Latin alphabet". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-09-30.
  7. Kazakh President Revives Idea of Switching to Latin Script
  8. "Kazakhstan: Moving Forward With Plan to Replace Cyrillic With Latin Alphabet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17.
  9. Vajda, Edward (1994), "Kazakh phonology", ใน Kaplan, E.; Whisenhunt, D. (บ.ก.), Essays presented in honor of Henry Schwarz, Washington: Western Washington, pp. 603–650
  10. 10.0 10.1 10.2 Mukhamedova, Raikhangul (2015). Kazakh: A Comprehensive Grammar. Routledge. ISBN 9781317573081.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Kara, Dävid Somfai (2002), Kazak, Lincom Europa, ISBN 9783895864704
  • Mark Kirchner: "Kazakh and Karakalpak". In: The Turkic languages. Ed. by Lars Johanson and É. Á. Csató. London [u.a.] : Routledge, 1998. (Routledge language family descriptions). S.318-332.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้