เทือกเขาอัลไต

"อัลไต" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ อัลไต (แก้ความกำกวม)

เทือกเขาอัลไต (อังกฤษ: Altai Mountains, บ้างก็สะกดว่า Altay Mountains) เป็นเทือกเขาในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก บริเวณพรมแดนร่วมของประเทศรัสเซีย จีน มองโกเลีย และคาซัคสถาน เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำอิร์ทีช (Irtysh) และแม่น้ำอ็อบ (Ob) ส่วนปลายทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขา อยู่ที่พิกัด 52 องศาเหนือ กับระหว่าง 84 และ 90 องศาตะวันออก (ซึ่งไปจรดกลืนเขากับเทือกเขาซายัน (Sayan Mountains) ทางตะวันออก) และทอดยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงพิกัด 45 องศาเหนือ 99 องศาตะวันออก แล้วค่อย ๆ ต่ำลง กลืนเข้ากับที่ราบสูงแห่งทะเลทรายโกบี

ยอดเขาเบลูชา แห่งเทือกเขาอัลไต
ทะเลสาบคูเชอร์ลา ซึ่งตั้งอยู่ในเทือกเขาอัลไต

ชื่อ อัลไท ในภาษาตุรกี สะกดว่า "Alytau" หรือ "Altay" มาจากศัพท์ Al (ทองคำ) และ tau (ภูเขา) ในภาษามองโกเลีย เรียกว่า อัลทาอิน-อูลา หมายถึง เทือกเขาแห่งทองคำ เทือกเขาแห่งนี้ ยังมีชื่อเรียกว่า เอก-ทัค (Ek-tagh), อัลไตแห่งมองโกล (Mongolian Altai) อัลไตใหญ่ (Great Altai) และอัลไตใต้ (Southern Altai)

ทะเลสาบเทเลตส์โกเย

เทือกเขาอัลไตยังเป็นที่รู้จักดีในหมู่นักศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาไทย เนื่องจากเคยเชื่อกันว่า เป็นที่ตั้งดั้งเดิมของชาวไทยสมัยโบราณ ก่อนจะอพยพลงมาจนถึงบริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการส่วนใหญ่ ทว่ายังมีเนื้อหาเช่นนี้ปรากฏในตำราเรียน หรือหนังสือด้านประวัติศาสตร์อยู่บ้าง แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีลักษณะชาตินิยม

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 45°N 99°E / 45°N 99°E / 45; 99