เทือกเขาซายัน (รัสเซีย: Саяны Sajany; มองโกเลีย: Соёны нуруу, Soyonï nurû)[1] เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย (สาธารณรัฐบูเรียเตีย, แคว้นอีร์คุตสค์, ดินแดนครัสโนยาสค์, สาธารณรัฐตูวา และ สาธารณรัฐคาคัสเซีย) และ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศมองโกเลีย ในอดีต เทือกเขานี้เคยถูกนำมาใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างรัสเซียและมองโกเลีย[2]

เทือกเขาซายัน
ทิวทัศน์ของ Mönkh Saridag ซึ่งเป็นจุดยอดของเทือกเขาซายัน
จุดสูงสุด
ยอดMönkh Saridag
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
3,492 เมตร (11,457 ฟุต)
พิกัด51°43′08″N 100°36′53″E / 51.71889°N 100.61472°E / 51.71889; 100.61472
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เทือกเขาซายันตั้งอยู่ในมองโกเลีย
เทือกเขาซายัน
เทือกเขาซายัน
เทือกเขาเทือกเขาไซบีเรียใต้
ทะเลสาบแห่งจิตวิญญาณแห่งขุนเขา
ซายันตะวันตก เทือกเขาเยอร์กากี

ยอดเขาอันสูงตระหง่านของเทือกเขาซายัน ประกอบกับทะเลสาบอันเย็นจัดทางตอนใต้ของตูวา เกิดเป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำสาขาหลายสาย ซึ่งเมื่อไหลรวมกันแล้วกลายเป็นแม่น้ำเยนีเซย์ หนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของไซบีเรีย โดยแม่น้ำนี้ไหลไปทางเหนือกว่า 3,400 กิโลเมตร (2,000 ไมล์) สู่มหาสมุทรอาร์กติก พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่คุ้มครอง และเป็นถิ่นทุรกันดาร โดยทางสหภาพโซเวียตปิดกั้นพื้นที่ไว้ตั้งแต่ปี 2487 (ค.ศ. 1944)[3]

ภูมิศาสตร์ แก้

 
ดิแฮงอิงร็อก ซายันตะวันตก เทือกเขาเยอร์กากี

ซายันตะวันตก แก้

ระบบเทือกเขาของซายันตะวันตกถูกแบ่งโดย Ulug-Khem (รัสเซีย: Улуг-Хем) หรือ แม่น้ำเยนีเซย์ตอนเหนือ ที่ 92 องศาตะวันออก และ มีปลายสุดด้านตะวันออก ที่ 106 องศา สิ้นสุดลงบริเวณแอ่งเซเลงเค-หุบเขาอรคอน (Selenga-Orkhon Valley) มันทอดยาวออกเกือบตั้งเป็นมุมฉากกับซายันตะวันตกเป็นระทางประมาณ 650 กม. (400 ไมล์) ประมาณทางตะวันออกเฉียงเหนือ/ตะวันตกเฉียงใต้ ในทิศทางระหว่างทิวเขาชัปชาลทางตะวันตกของเทือกเขาอัลไตด้านตะวันออก และ ทางตะวันออกของทิวเขาอาบาคานในเทือกเขาคุซเนตสค์ อาลาเตา หากเรามองพื้นที่ในบริเวณนี้จากที่ราบสูงมองโกเลีย เนินลาดนั้นจะค่อนข้างราบเรียบ แต่หากมองจากที่ราบไซบีเรีย พื้นที่นั้นจะมีความชันขึ้นมาก เทือกเขาส่วนนี้ได้รวมทิวเขาย่อย ๆ ไว้ส่วนหนึ่ง เช่น Aradan, Borus, Oy, Kulumys, Mirsky, Kurtushibin, Uyuk, Sheshpir-Taiga, Ergak-Targak-Taiga, Kedran และทิวเขา Nazarovsky โดยมีจุดยอดที่สำคัญ เช่น Kyzlasov Peak (2,969 m (9,741 ft)), Aradansky Peak (2,456 m (8,058 ft)), Bedelig Golets (2,492 m (8,176 ft)), Samzhir (2,402 m (7,881 ft)), Borus (2,318 m (7,605 ft)) และ Zvezdny Peak (2,265 m (7,431 ft))[4][5]

พื้นที่ระหว่างแม่น้ำสาขาของเยนีเซย์กับทะเลสาบฮุฟสกุล ที่ 100° 30' E มีชื่อว่า Yerghik-Taiga โดยพืชพันธุ์ในบริเวณนี้มักไม่มีความสมบูรณ์ แม้ว่าทางเหนือจะมีพืชพันธุ์งอกงามอยู่บ้าง เช่น ต้นลาร์ช, เกี๊ยะ, เบิร์ช และ ต้นอัลเดอร์ รวมถึงพวก กุหลาบพันปี พืชสายพันธุ์ Berberis และ พืชสกุล Ribes ส่วนไลเคนและมอสก็พบปกคลุมอยู่บนก้อนหินจำนวนมากที่กระจัดกระจายไปตามทางลาดด้านบน[6]

ซายันตะวันออก แก้

ซายันตะวันออกทอดยาวออกไปกว่า 1,000 กม. (620 ไมล์) แทบจะตั้งฉากกับซายันตะวันตกตั้งแต่แม่น้ำเยนีเซย์จนถึงเทือกเขาอังการา ทั้งทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ บางทิวเขาย่อยทางตะวันตกเฉียงเหนือของ "ภูเขาสีขาว"(Белогорье) หรือ "เบลกิ" (en:Belki) อาทิ Manskoye Belogorye, Kanskoye Belogorye, Kuturchinskoye Belogorye, รวมไปถึง Agul Belki (Агульские Белки) ที่มีหิมะปกคลุมบนยอดตลอดกาล ในช่วงกลางแม่น้ำคาซีร์และคีซีร์จนถึงช่วงต้นน้ำ มักพบสันเขาเป็นจำนวนมาก เช่น เทือกเขาครายซิน ซึ่งมียอดเขากรันดิออซนีซ (en:Grandiozny Peak) ซึ่งสูงถึง 2,982 ม. (9,783 ฟุต)

เมื่อเข้าสู่ช่วงตะวันออกเฉียงใต้ จะเข้าสู่ช่วงที่สูงที่สุดและห่างไกลที่สุดของทิวเขาย่อย ซึ่งรวมถึง Bolshoy Sayan และ เทือกเขาโครพอตกิ รวมถึงภูเขาประเภท "กอลซี่ (Goltsy)" เช่น Tunka Goltsy, Kitoy Goltsy, และ Botogolsky Goltsy เป็นต้น ภูเขามุนคู-ซาร์ดิก (en:Munku-Sardyk) มีความสูงประมาณ 3,491 ม. (11,453 ฟุต) เป็นจุดที่สูงที่สุดของระบบซายันตะวันออก เช่นเดียวกับจุดสูงสุดของเทือกเขาซายัน ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีชื่อเดียวกันในทิวเขาแห่งนี้เช่นกัน ภูเขาในแถบนี้มักมีลักษณะนูนแบบเทือกเขาแอลป์ โดยทั่วไปแล้วแม่น้ำที่ไหลลงมาจากหุบเขาจะก่อตัวเป็นช่องแคบระหว่างภูเขา เกิดเป็นน้ำตกจำนวนมากในบริเวณนั้น[7][8]

อ้างอิง แก้

  1. Vasily Bartold (1935). Vorlesungen uber die Geschichte der Turken Mittelasiens. Vol. 12. Berlin: Deutsche Gesellschaft für Islamkunde. p. 46.
  2. "Sayan Mountains". สืบค้นเมื่อ 2006-12-25.
  3. "Tuva and Sayan Mountains". Geographic Bureau - Siberia and Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-26. สืบค้นเมื่อ 2006-10-26.
  4. B. C. Bасильев, Ю. M. Mальцев, Б. И. Cуганов, E. H. Черных - Саяны
  5. "M-45 Chart (in Russian)". สืบค้นเมื่อ 7 December 2021.
  6.   Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Sayan Mountains" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 24 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 276.
  7. ЭСБЕ/Саянский горный хребет, Энциклопедический словарь Брокгауза и Ефрона : в 86 т. (82 т. и 4 доп.). — СПб., 1890—1907.
  8. "N-47 Chart (in Russian)". สืบค้นเมื่อ 7 December 2021.