ชะรีอะฮ์
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ศาสนาอิสลาม ประวัติศาสนาอิสลาม | |
พระเป็นเจ้า | |
อัลลอฮ์ | |
ศาสดา | |
มุฮัมมัด | |
การปฏิบัติ | |
ปฎิญานตน · ละหมาด· ศีลอด · ซะกาต · ฮัจญ์ | |
บุคคลสำคัญ | |
มุฮัมมัด · อีซา · มูซา · อิบรอฮีม · นูฮ์ | |
คัมภีร์ | |
อัลกุรอาน · เตารอต · อินญีล · ซะบูร | |
ธรรมนูญและกฎหมาย | |
อัลกุรอาน · ซุนนะฮ์ · ชะรีอะฮ์ · ฟิกฮ์ | |
จุดแยกอะกีดะฮ์ | |
ซุนนี · ชีอะฮ์ | |
สังคมศาสนาอิสลาม | |
เมือง · ปฏิทิน ·มัสยิด· สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ญิฮาด · ศัพท์ · หมวดหมู่ศาสนาอิสลาม |
ชะรีอะฮ์ (อาหรับ: شريعة; อังกฤษ: Sharia/Shari'ah) แปลว่า "ทาง" หรือ "ทางไปสู่แหล่งน้ำ" ใช้หมายถึงประมวลข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของกฎหมายศาสนาของศาสนาอิสลาม ที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลและสาธารณชนที่มีพื้นฐานมาจากหลักนิติศาสตร์ (jurisprudence) ของศาสนาอิสลามสำหรับชาวมุสลิมใช้
กฎหมายชะรีอะฮ์ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ของชีวิตประจำวันที่รวมทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ การบริหารธุรกิจ การธนาคาร ระบบการทำสัญญา ความสัมพันธ์ในครอบครัว หลักของความสัมพันธ์ทางเพศ หลักการอนามัย และปัญหาของสังคม
กฎหมายชะรีอะฮ์ในปัจจุบันเป็นกฎหมายศาสนาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดและเป็นกฎหมายที่ปรากฏบ่อยที่สุดของระบบกฎหมายของโลกพอ ๆ กับคอมมอนลอว์ และซีวิลลอว์[1] ในระหว่างยุคทองของอิสลาม กฎหมายอิสลามอาจถือว่ามีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของคอมมอนลอว์[2] ซึ่งก็ทำให้มีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของคอมมอนลอว์ระดับสถาบันต่าง ๆ[3]