รุบอุลคอลี (อาหรับ: ٱلرُّبْع ٱلْخَالِي)[note 1] เป็นทะเลทราย (แบบเอิร์ก)[1] ที่ครอบคลุมถึงสามส่วนในภาคใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ตัวทะเลทรายเป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายอาหรับ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 650,000 km2 (250,000 sq mi) (ระหว่างลองจิจูด 44°30′−56°30′ ตะวันออก กับละติจูด 16°30′−23°00′ เหนือ) อยู่ในเขตประเทศซาอุดีอาระเบีย, ประเทศโอมาน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศเยเมน[2]

รุบอุลคอลี
ٱلرُّبْع ٱلْخَالِي
เนินทรายทางตะวันออกของโอเอซิสลีวาในรัฐอาบูดาบี ใกล้กับชายแดนระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กับประเทศซาอุดีอาระเบีย
จุดสูงสุด
พิกัด20°N 50°E / 20°N 50°E / 20; 50
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว1,000 กม. (621 ไมล์)
กว้าง500 กม. (311 ไมล์)
พื้นที่Invalid unit
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้งของรุบอุลคอลีในคาบสมุทรอาหรับ
ประเทศธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย, ธงของประเทศโอมาน โอมาน, ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ ธงของประเทศเยเมน เยเมน

รายละเอียด แก้

ที่ราบกรวดที่มีเนินทรายสูงล้อมรอบในรัฐอาบูดาบี
น้ำที่อยู่ใต้ระดับพื้นดินที่ชัยบะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย

ภูมิประเทศ แก้

ทะเลทรายมีความยาว 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) และกว้าง 500 กิโลเมตร (310 ไมล์) ความสูงของทะเลทรายมีความหลากหลายตั้งแต่ 800 เมตร (2,600 ฟุต) ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงระดับน้ำทะเลในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ[3] ภูมิประเทศปกคลุมไปด้วยเนินทรายที่สูงถึง 250 เมตร (820 ฟุต) สลับกับทุ่งก้อนกรวดและยิปซัม[2][3] สีของทรายเป็นสีส้มอมแดงเพราะการมีอยู่ของเฟลด์สปาร์[3]

บางพื้นที่มีทุ่งเกลือกร่อย เช่น พื้นที่อุมมุสซะมีมที่ชายแดนตะวันออกของทะเลทราย[3] อะลี อันนะอีมี รายงานว่าเนินทรายในบริเวณนี้ไถลไม่ได้[4]: 213 

ก้นทะเลสาบ แก้

บริเวณกลางทะเลทรายมีปริมาณของแคลเซียมคาร์บอเนต, ยิปซัม, ดินสอพอง หรือดินเหนียว ในบริเวณที่เคยเป็นทะเลสาบน้ำตื้นที่เคยมีอยู่ในช่วงประมาณ 6,000 ถึง 5,000 ปีกับ 3,000 ถึง 2,000 ปีก่อน ซึ่งเกิดจากฝนมรสุม และมีอยู่แค่ไม่กี่ปี อย่างไรก็ตาม ทะเลสาบในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของรุบอุลคอลี อยู่ได้นานถึง 800 ปี[2]

มีหลักฐานว่าบริเวณทะเลทราบเป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์ตามท้องถิ่น ซึ่งมีฟอสซิลของสัตว์บางชนิด เช่น ฮิปโปโปเตมัส, ควาย และออรอค ในทะเลสาบมีหอยทากขนาดเล็ก, ออสตราคอดส์ และถ้าสภาวะเหมาะสม ก็จะมีหอยน้ำจืดอยู่ด้วย การทับถมของแคลเซียมคาร์บอเนตกับไฟโตลิธ (phytolith) ทำให้พืชกับสาหร่ายเจริญเติบโตได้ดี และมีหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ในช่วง 3,000 ถึง 2,000 ปีก่อน ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์หินเหล็กไฟ แต่ไม่มีสิ่งหลงเหลือของมนุษย์ที่ถูกค้นพบเลย[2]

สภาพอากาศ แก้

แคว้นนี้ถูกจัดเป็น "แห้งแล้งอย่างรุนแรง" ด้วยหยาดน้ำฟ้ารายปีโดยทั่วไปน้อยกว่า 35 มิลลิเมตร (1.4 นิ้ว) และความชื้นรายวันโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ที่ 52% และในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมอยู่ที่ 15% อุณหภูมิสูงสุดรายวันโดยเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมอยู่ที่ 47 องศาเซลเซียส (117 องศาฟาเรนไฮต์) และถึงจุดสูงสุดที่ 51 องศาเซลเซียส (124 องศาฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิต่ำสุดรายวันโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์อยู่ที่ 12 องศาเซลเซียส (54 องศาฟาเรนไฮต์) ถึงแม้ว่าจะมีบันทึกถึงน้ำค้างแข็งก็ตาม อุณหภูมิสุดขั้วรายวันยังคงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก[3]

ความหลากหลายทางชีวภาพ แก้

บริเวณนี้มีพันธุ์สัตว์จำพวกแมง (เช่น แมงป่อง) กับสัตว์ฟันแทะ ในขณะที่พืชแพร่พันธุ์ทั่วทะเลทราย ถ้าแบ่งตามเขตภูมินิเวศ รุบอุลคอลี จะอยู่ในเขตทะเลทรายอาหรับ[3] เสือชีตาห์เอเชียที่เคยแพร่พันธุ์ในประเทศซาอุดีอาระเบีย สูญพันธ์ไปจากบริเวณนี้ไปแล้ว

น้ำมัน แก้

ทุ่งน้ำมันชัยบะฮ์ถูกค้นพบในปีค.ศ. 1968 ที่เฆาะวารตอนใต้ ซึ่งเป็นทุ่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่กินพื้นที่ตั้งแต่บริเวณทางตอนใต้จรดเหนือของรุบอุลคอลี[4]: 212, 228 

ภาพเพิ่มเติม แก้


 
รุบอุลคอลี

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. การถอดเป็นอักษรโรมันแบบต่าง ๆ ได้แก่ Rub' al Khali, ar-Rubʻ al-Khālī, ar-rubʿ al-ḵālī ตรง ar- เป็นการหลอมรวมของคำกำกับนามภาษาอาหรับว่า al- ซึ่งอาจถอดเป็นอักษรโรมันว่า al-

อ้างอิง แก้

  1. Peter Vincent (2008). Saudi Arabia: an environmental overview. Taylor & Francis. p. 141. ISBN 978-0-415-41387-9. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Clark, Arthur (June 1989). Amdt, Robert (บ.ก.). "Lakes of the Rub' al-Khali". Saudi Aramco World. 40 (3): 28–33. ISSN 0003-7567. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-13. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "Arabian Desert and East Sahero-Arabian xeric shrublands". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  4. 4.0 4.1 Al-Naimi, Ali (2016). Out of the Desert. Great Britain: Portfolio Penguin. p. 211. ISBN 9780241279250.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้