โอเอซิสลีวา (อาหรับ: وَاحَـة لِـيْـوَا, อักษรโรมัน: Wāḥḥat Līwā) เป็นพื้นที่โอเอซิสขนาดใหญ่ในแคว้นอัซซ็อฟเราะฮ์ของรัฐอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[2]

โอเอซิสลีวา

وَاحَـة لِـيْـوَا
ทางส่งน้ำที่ก็อสร์อัสซะร็อบ โอเอซิสลีวา
ทางส่งน้ำที่ก็อสร์อัสซะร็อบ โอเอซิสลีวา
ประเทศธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
รัฐอาบูดาบี
แคว้นเทศบาลอัซซ็อฟเราะฮ์
การปกครอง
 • ประเภทสมบูรณาญาสิทธิราชย์
 • เอมีร์เคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน
 • ตัวแทนของผู้ปกครองแห่งแคว้นอัซซ็อฟเราะฮ์ของรัฐอาบูดาบีฮัมดาน บิน ซายิด บิน ซุลฏอน อัลนะฮ์ยาน
ประชากร
 (2019)
 • ทั้งหมด20,192[1] คน
เขตเวลาUTC+4 (เวลามาตรฐานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)

ภูมิศาสตร์ แก้

 
ภาพถ่ายดาวเทียมของแถบโอเอซิสลีวาตามขอบเหนือสุดของทุ่งเนินทรายรุบอุลคอลี เส้นสีแดงคือพรมแดนระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กับซาอุดีอาระเบีย

โอเอซิสลีวาตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งอ่าวเปอร์เซียไปทางใต้ประมาณ 97.6 กิโลเมตร (60.6 ไมล์) และอยู่ห่างจากกรุงอาบูดาบีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 150 กิโลเมตร (93 ไมล์) บริเวณขอบด้านเหนือของทะเลทรายรุบอุลคอลี ใจกลางของบริเวณนี้อยู่ที่ 23°08′N 53°46′E / 23.133°N 53.767°E / 23.133; 53.767 และมีความยาวจากตะวันออกถึงตะวันตก 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) ตามแนวโค้งวกขึ้นไปทางเหนือ ประกอบด้วยหมู่บ้านประมาณ 50 หมู่บ้าน ศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจของโอเอซิสอยู่ที่มุซัยรีอ์ซึ่งเป็นบริเวณที่ทางหลวงจากอาบูดาบีตรงเข้าไปในบริเวณโอเอซิสแล้วแยกออกเป็นสองทาง โดยทางตะวันออกมีระยะทาง 65 กิโลเมตร (40 ไมล์) สุดที่หมู่บ้านมะฮ์ดัร บิน อุศ็อยยาน และทางตะวันตกมีระยะทาง 45 กิโลเมตร (28 ไมล์) สุดที่หมู่บ้านอะรอดะฮ์ รายงานจากสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 2005 มีประชากรอยู่ที่นี่ 20,196 คน[2] การคาดการณ์ก่อนหน้าจากภาพดาวเทียมได้ประมาณว่ามีประชากรอยู่ที่ 50,000 ถึง 150,000 คนนั้น เป็นจำนวนที่มากเกินไป[3]

หมู่บ้าน แก้

 
ต้นอินทผลัมในโอเอซิสลีวา
แผนที่พิกัดทั้งหมด กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML

ตามฐานข้อมูลชื่อภูมิศาสตร์ของกรมสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ[4] มีสถานที่ที่มีคนอยู่อาศัย 39 แห่งในโอเอซิสลีวา ซึ่งเรียงจากฝั่งตะวันตกถึงฝั่งตะวันออกได้ดังนี้

หมู่บ้าน ภาษาอาหรับ ตำแหน่ง
อะรอดะฮ์ عرادة 22°59′00″N 53°26′00″E / 22.98333°N 53.43333°E / 22.98333; 53.43333
มิลเกาะเฏาะฮ์ ملقطة 23°04′00″N 53°32′00″E / 23.06667°N 53.53333°E / 23.06667; 53.53333
อัลอีด العيد 23°04′48″N 53°33′02″E / 23.08000°N 53.55056°E / 23.08000; 53.55056
อัลมาริยะฮ์อัลฆ็อรบียะฮ์ المارية الغربية 23°06′12″N 53°34′48″E / 23.10333°N 53.58000°E / 23.10333; 53.58000
ฮุมาร حمار 23°05′04″N 53°35′03″E / 23.08444°N 53.58417°E / 23.08444; 53.58417
ค็อนนูร خنور 23°06′14″N 53°36′05″E / 23.10389°N 53.60139°E / 23.10389; 53.60139
ฮะมะรูร حمرور 23°06′00″N 53°36′31″E / 23.10000°N 53.60861°E / 23.10000; 53.60861
เฏาะร็อก طرق 23°06′50″N 53°36′41″E / 23.11389°N 53.61139°E / 23.11389; 53.61139
มุญีบ مجيب 23°07′00″N 53°41′00″E / 23.11667°N 53.68333°E / 23.11667; 53.68333
กัยยะฮ์ كية 23°09′30″N 53°41′05″E / 23.15833°N 53.68472°E / 23.15833; 53.68472
ซุวัยฮิร ظويهر 23°08′22″N 53°41′36″E / 23.13944°N 53.69333°E / 23.13944; 53.69333
วัฟด์ وفد 23°06′20″N 53°42′50″E / 23.10556°N 53.71389°E / 23.10556; 53.71389
อุมมุลกุร็อยน์ أم القرين 23°06′00″N 53°43′00″E / 23.10000°N 53.71667°E / 23.10000; 53.71667
กุฏูฟ قطوف 23°06′36″N 53°43′29″E / 23.11000°N 53.72472°E / 23.11000; 53.72472
อัลอาฏิร العاطر 23°09′50″N 53°44′07″E / 23.16389°N 53.73528°E / 23.16389; 53.73528
อัลมาริยะฮ์ المارية 23°08′30″N 53°44′30″E / 23.14167°N 53.74167°E / 23.14167; 53.74167
เซาะฟีร ظفير 23°07′50″N 53°45′37″E / 23.13056°N 53.76028°E / 23.13056; 53.76028
ญัยฟ์ جيف 23°09′44″N 53°46′28″E / 23.16222°N 53.77444°E / 23.16222; 53.77444
มุซ็อยรี مظيري 23°08′19″N 53°47′14″E / 23.13861°N 53.78722°E / 23.13861; 53.78722
นาฟิร نافر 23°06′00″N 53°48′00″E / 23.10000°N 53.80000°E / 23.10000; 53.80000
ฮุวัยละฮ์ حويلة 23°09′19″N 53°49′26″E / 23.15528°N 53.82389°E / 23.15528; 53.82389
กุรมิดะฮ์ قرمدة 23°07′08″N 53°49′42″E / 23.11889°N 53.82833°E / 23.11889; 53.82833
ฮะฟีฟ هفيف \ حفيف 23°08′52″N 53°50′29″E / 23.14778°N 53.84139°E / 23.14778; 53.84139
อัตตาบ عتاب 23°09′14″N 53°52′46″E / 23.15389°N 53.87944°E / 23.15389; 53.87944
ชาฮ์ شاه 23°08′33″N 53°54′51″E / 23.14250°N 53.91417°E / 23.14250; 53.91417
ฮุวัยฏ็อยน์ حويطين 23°06′51″N 53°55′52″E / 23.11417°N 53.93111°E / 23.11417; 53.93111
ซับเคาะฮ์ سبخة 23°07′50″N 53°59′11″E / 23.13056°N 53.98639°E / 23.13056; 53.98639
อัลฮะซี الهذي 23°06′57″N 53°59′48″E / 23.11583°N 53.99667°E / 23.11583; 53.99667
ษัรวานียะฮ์ ثروانية 23°05′00″N 54°01′00″E / 23.08333°N 54.01667°E / 23.08333; 54.01667
อัลมัชรุบ المشرب 23°04′00″N 54°01′00″E / 23.06667°N 54.01667°E / 23.06667; 54.01667
อันนัชชาช النشاش 23°05′00″N 54°02′00″E / 23.08333°N 54.03333°E / 23.08333; 54.03333
ดาฮิน داهن 23°04′00″N 54°05′00″E / 23.06667°N 54.08333°E / 23.06667; 54.08333
วาซิล واظل 23°03′00″N 54°08′00″E / 23.05000°N 54.13333°E / 23.05000; 54.13333
เมาศิล موصل 23°01′00″N 54°09′00″E / 23.01667°N 54.15000°E / 23.01667; 54.15000
อัลคีส الخيس 23°00′00″N 54°12′00″E / 23.00000°N 54.20000°E / 23.00000; 54.20000
กุวัยซะฮ์ قويسة 22°59′00″N 54°14′00″E / 22.98333°N 54.23333°E / 22.98333; 54.23333
ฮะมีม حميم 22°58′00″N 54°18′00″E / 22.96667°N 54.30000°E / 22.96667; 54.30000
ญุรัยเราะฮ์ جريرة 22°57′00″N 54°19′00″E / 22.95000°N 54.31667°E / 22.95000; 54.31667
มะฮ์ดัร บิน อุศ็อยยาน مهدر بن عصيان 22°56′00″N 54°19′00″E / 22.93333°N 54.31667°E / 22.93333; 54.31667

เศรษฐกิจ แก้

 
ถนนที่ลีวา

เศรษฐกิจหลักดั้งเดิมของบริเวณนี้คือการทำสวนอินทผลัม มีการใช้การชลประทานแบบหยด (drip irrigation) และเรือนกระจกอย่างกว้างขวาง การท่องเที่ยวมีความสำคัญเพิ่มขึ้น และมีโรงแรมในบริเวณนี้ เช่น โรงแรมลีวาที่มุซัยรีอ์, โรงแรมติลาลลีวา, บ้านพักตากอากาศลีวา ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันและดำเนินการโดยรัฐบาลอาบูดาบีและรีสอร์ตก็อสร์อัสซะร็อบ[5]

เนินมุรอิบ (22°59′N 53°47′E / 22.983°N 53.783°E / 22.983; 53.783) ซึ่งอยู่ห่างจากมุซัยรีอ์ไปทางใต้ 22 กิโลเมตร (14 ไมล์) มีความสูง 300 เมตร (980 ฟุต) และเป็นหนึ่งในเนินทรายที่สูงที่สุดในโลก โดยสามารถดึงดูดผู้คนทุกปีในช่วงเทศกาลลีวา[6]

ประวัติ แก้

 
ที่ตั้งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

โอเอซิสนี้เป็นถิ่นกำเนิดของตระกูลผู้ปกครองรัฐอาบูดาบีและรัฐดูไบ ใน ค.ศ. 1793 ทางราชวงศ์อัลนะฮ์ยานได้ย้ายถิ่นที่อยู่จากลีวาไปยังเมืองอาบูดาบี[7]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย แก้

 
เนินทรายในโอเอซิสลีวา

ทางตะวันออกของโอเอซิสลีวาในทะเลทรายรุบอุลคอลีเป็นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง โดยสมมุติเป็นดาวจักกูซึ่งเป็นดาวเคราะห์ทะเลทรายในจักรวาล สตาร์ วอร์ส[8]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "The Report: Abu Dhabi 2010". Oxford Business Group. 21 March 2019 – โดยทาง Google Books.
  2. 2.0 2.1 "Al Gharbia". The Report Abu Dhabi 2010. Oxford Business Group. 2010. p. 171. ISBN 978-1-9070-6521-7.
  3. "Liwa Oasis". Lexiorient. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2012-07-05.
  4. "Complete Files of Geographic Names for Geopolitical Areas from GNS (ISO/IEC 10646 [Unicode UTF-8]". Earth-info.nga.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2012-07-05.
  5. Qasr Al-Sarab
  6. "Liwa International Festival / Moreeb Dune". Abu Dhabi: Abu Dhabi Tourism Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-19. สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.
  7. Motohiro, Ono (March 2011). "Reconsideration of the Meanings of the Tribal Ties in the United Arab Emirates: Abu Dhabi Emirate in Early ʼ90s" (PDF). Kyoto Bulletin of Islamic Area Studies. 4–1 (2): 25–34. สืบค้นเมื่อ 17 April 2013.
  8. "The harsh reality of building a 'Star Wars' fantasy in Abu Dhabi". LA Times. 3 December 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้