อาหรับ หรือ ชาวอาหรับ (อาหรับ: عربي, ʿarabi พหูพจน์ العرب al-ʿarab) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์[46] ที่ส่วนใหญ่อยู่ในโลกอาหรับ คำว่า “อาหรับ” ในกลุ่มภาษาเซมิติกแปลว่าทะเลทรายหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย (ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน) คำว่า “อาหรับ” จึงหมายถึง “เร่ร่อน” ได้ด้วย ในปัจจุบัน คำนี้หมายถึงผู้ที่มาจากประเทศอาหรับซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเป็นภาษาอาหรับ ซึ่งแตกต่างจากคำจำกัดความดั้งเดิมที่มีความหมายครอบคลุมแค่ผู้สืบเชื้อสายจากชนเผ่าแห่งคาบสมุทรอาหรับ[47]

ชาวอาหรับ
عَرَبٌ (อาหรับ)
ประชากรทั้งหมด
ป. 420 ล้านคน[1][2]
ชาวอาหรับพลัดถิ่น ป. 70 ล้านคน[3][4]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 สันนิบาตอาหรับ     350,000,000[5][6]
ชาวอาหรับพลัดถิ่น
 บราซิลป. 20 ล้านคน (รวมเชื้อสายอาหรับ)[7][8]
 ตุรกีป. 5,830,000[9][10]
 ฝรั่งเศสป. 3.3[11] ถึง 5.5[12] ล้านคน มีเชื้อสายแอฟริกาเหนือ (อาหรับหรือเบอร์เบอร์)[13]
 อินโดนีเซีย
  • 87,227[14]
  • (ประชากรประมาณ 4–5 ล้านคน มีเชื้อสายอาหรับ)[15]
 อาร์เจนตินา4,500,000 (เชื้อสายอาหรับ)[16]
 สหรัฐ3,700,000[17]
 โคลอมเบีย3,200,000[18][19][20]
 อิสราเอล1,700,000[21]
 เวเนซุเอลา1,600,000[22]
 อิหร่าน1,500,000[23]
 เม็กซิโก1,500,000[24]
 ชาด1,536,000[25]
 สเปน1,350,000[26][27]
 เยอรมนี1,155,390[28][29]
 ชิลี800,000[30][31][32]
 แคนาดา750,925[33]
 อิตาลีป. 680,000-4,000,000 (ส่วนมากอยู่ในแคว้นซิซิลี)[34]
 สหราชอาณาจักร500,000[35]
 ออสเตรเลีย500,000[36]
 เอกวาดอร์250,000[37]
 ฮอนดูรัส275,000[38][39]
 เบลเยียม800,000
 เนเธอร์แลนด์480,000–613,800[40]
 สวีเดน425,000
 โกตดิวัวร์300,000[41]
 เดนมาร์ก121,000
 เอลซัลวาดอร์100,000[42][43][44]
ภาษา
อาหรับ
ศาสนา
ส่วนมาก:
อิสลามนิกายซุนนี
ส่วนน้อย:
อิสลามนิกายชีอะฮ์, ลัทธิศูฟี, คริสต์, ยูดาห์, บาไฮ

กลุ่มชาติพันธุ์อาหรับไม่ควรถูกสับสนกับชาติพันธุ์อื่นที่มีถิ่นกำเนิดในโลกอาหรับเช่นกัน แต่มีบางกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่อาหรับแต่มีถิ่นกำเนิดในโลกอาหรับระบุว่าเป็นชาวอาหรับผ่านการผสมผสานทางวัฒนธรรมหรือเป็นอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน[45] เช่นเดียวกับบางชุมชนที่แผลงเป็นอาหรับ

คำนี้ยังสามารถครอบคลุมถึงชนชาติที่พูดภาษาอาหรับทั้งหมดที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของมอริเตเนียไปจนถึงแอฮ์วอซของอิหร่าน[48] รวมถึงรัฐอาหรับในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แอฟริกาเหนือ จะงอยแอฟริกา หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก (รวมถึงคอโมโรส) และยุโรปใต้ (เช่น แคว้นซิซิลี มอลตา และคาบสมุทรไอบีเรีย) และประชากรจำนวนมากในทวีปอเมริกา ยุโรปตะวันตก อินโดนีเซีย อิสราเอล ตุรกี อินเดีย และอิหร่าน[49] ถึงแม้ว่าศาสนาอิสลามจะเริ่มต้นขึ้นในคาบสมุทรอาหรับ ภาษาในคัมภีร์ของศาสนาอิสลามเป็นภาษาอาหรับ และชาวอาหรับส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ประชากรมุสลิมเพียง 20% เท่านั้นที่เป็นชาวอาหรับ[50]

ชาวอาหรับเป็นชาวเซมิติกเช่นเดียวกับชาวยิว จัดอยู่ในพวกคอเคเซอยด์ ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่ากล่าวว่าอับราฮัมมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่ออิสไมส์หรืออิสมาอีลเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับ คนที่ 2 ชื่อไอแซกเป็นต้นตระกูลของชาวยิว ก่อนที่มุฮัมมัดจะประกาศศาสนาอิสลามชาวอาหรับจะอยู่กันเป็นเผ่า จงรักภักดีต่อเผ่าของตนมาก วิถีชีวิตของชาวอาหรับมีสองแบบ คือแบบอยู่เป็นหมู่บ้าน มีอาชีพค้าขายและทำการเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเรียกว่าเบดูอิน อาศัยอยู่ในกระโจมเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก ชาวเบดูอินกับชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานมักดูถูกกัน ไม่ลงรอยกัน หลังจากมุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม จึงเกิดความสามัคคีในหมู่ชาวอาหรับ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในยุคแรก ๆ มักถูกกลั่นแกล้งและปราบปรามจึงเกิดการทำญิฮาดหรือการต่อสู้เพื่อศาสนาขึ้น

ปัจจุบันประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศอาหรับและเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ มีทั้งหมด 22 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย บาห์เรน คอโมโรส จิบูตี อียิปต์ อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย มอริเตเนีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย ตูนิเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน ในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในหมู่ชาวอาหรับอยู่ เช่น ความขัดแย้งปาเลสไตน์ ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในเลบานอน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีและชีอะฮ์ เป็นต้น

ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่เก่ากว่าวัฒนธรรมอาหรับที่เริ่มเผยแพร่ในตะวันออกกลางตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่ออาหรับคริสเตียน เช่น จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ เริ่มโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทะเลทรายซีเรียและบริเวณลิแวนต์[51][52] ภาษาอาหรับเพิ่มความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในการเป็นภาษาของอัลกุรอาน และวัฒนธรรมอาหรับก็เริ่มเผยแพร่ออกไปพร้อมกับการขยายดินแดนของอิสลาม[53]

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  • ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. อาหรับ ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 239 – 241
  1. Lorenzo Kamel (31 March 2017). The Frailty of Authority: Borders, Non-State Actors and Power Vacuums in a Changing Middle East. Edizioni Nuova Cultura. p. 25. ISBN 978-88-6812-828-9.
  2. Kail C. Ellis (12 January 2018). Secular Nationalism and Citizenship in Muslim Countries: Arab Christians in the Levant. Springer. p. 159. ISBN 978-3-319-71204-8.
  3. Margaret K. Nydell (26 July 2018). Understanding Arabs: A Guide for Modern Times. John Murray Press. p. 11. ISBN 978-1-4736-9091-2.
  4. Neil Caplan (4 September 2019). The Israel-Palestine Conflict: Contested Histories. John Wiley & Sons. p. 23. ISBN 978-1-119-52387-1.
  5. total population 400 million; CIA Factbook2030 estimates an Arab population of 450 million, see article text.
  6. "World Arabic Language Day | United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization". Unesco.org. สืบค้นเมื่อ 18 December 2017.
  7. Silvia Ferabolli (25 September 2014). Arab Regionalism: A Post-Structural Perspective. Routledge. p. 151. ISBN 978-1-317-65803-0. According to estimates by the Brazilian Institute of Geography and Statistics (IBGE), countersigned by the League of Arab States, Brazil has the largest Arab colony outside their countries of origin. There are estimated 15 million Arabs living in Brazil today, with some researchers suggesting numbers around 20 million.
  8. Paul Amar (15 July 2014). The Middle East and Brazil: Perspectives on the New Global South. Indiana University Press. p. 40. ISBN 978-0-253-01496-2. there are, according to the Ministry of Foreign Affairs, more than sixteen million Arabs and descendants of Arabs in Brazil, constituting the largest community of Arabs descent outside the Middle East.
  9. Karasapan, Omer (25 November 2019). "Turkey's Syrian refugees—the welcome fades". Brookings Institute. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  10. McKernan, Bethan (18 April 2020). "How Istanbul won back its crown as heart of the Muslim world". The Guardian.
  11. "France's crisis of national identity". The Independent. 25 November 2009. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
  12. "To count or not to count". The Economist. 26 March 2009. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
  13. "French-Arabs battle stereotypes - Entertainment News, French Cinema, Media". Variety. 29 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2010. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  14. Leo Suryadinata (2008). Ethnic Chinese in Contemporary Indonesia. Institute of Southeast Asian Studies. p. 29. ISBN 978-981-230-835-1.
  15. "The world's successful diasporas". World Business. 3 April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2008. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  16. "Inmigración sirio-libanesa en Argentina" (ภาษาสเปน). Fearab.org.ar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2010. สืบค้นเมื่อ 13 April 2010.
  17. "Demographics". Arab American Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2016. สืบค้นเมื่อ 18 December 2017.
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Colombia
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Colombia2
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ RandaAchmawi
  21. "65th Independence Day – More than 8 Million Residents in the State of Israel" (PDF). Cbs.gov.il. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 November 2017. สืบค้นเมื่อ 18 December 2017.
  22. "Abdel el-Zabayar: From Parliament to the Frontlines". The Daily Beast.
  23. "Iran". สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
  24. "Arabs Making Their Mark in Latin America: Generations of Immigrants in Colombia, Venezuela and Mexico | Al Jadid Magazine". www.aljadid.com.
  25. "Chad". สืบค้นเมื่อ 3 April 2019.
  26. "Los musulmanes en España superan los 1,8 millones". www.europapress.es (ภาษาสเปน). 30 March 2015. สืบค้นเมื่อ 25 April 2017.
  27. Redaction (9 October 2012). "La cifra de musulmanes en España alcanza los 1,6 millones, de los que casi un tercio viven en Cataluña". www.alertadigital.com (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 25 April 2017.
  28. "Anzahl der Ausländer in Deutschland nach Herkunftsland in den Jahren 2015 und 2016". statista (ภาษาเยอรมัน).
  29. "Bevölkerung und Erwerbstätigkeit" (PDF). Statistisches Bundesamt (ภาษาเยอรมัน). 20 June 2017. สืบค้นเมื่อ 11 March 2018.
  30. "Aurora | Aurora". www.aurora-israel.co.il. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2012.
  31. "Chile: Palestinian refugees arrive to warm welcome". Adnkronos.com. 7 April 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2011. สืบค้นเมื่อ 17 September 2011.
  32. "500,000 descendientes de primera y segunda generación de palestinos en Chile". Laventana.casa.cult.cu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2009. สืบค้นเมื่อ 17 September 2011.
  33. "Canadian Arab Institute :: 750,925 Canadians Hail from Arab Lands". www.canadianarabinstitute.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2017. สืบค้นเมื่อ 19 October 2019.
  34. Dati ISTAT 2016, counting only immigrants from the Arab world. "Cittadini stranieri in Italia - 2016". tuttitalia.it.
  35. Anthony McRoy. "The British Arab". National Association of British Arabs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2015. สืบค้นเมื่อ 17 April 2012.
  36. "australianarab.org/about-us". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2016.
  37. "La emigración árabe a El Ecuador".
  38. "The Arabs of Honduras". Saudi Aramco World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2014. สืบค้นเมื่อ 8 April 2014.
  39. "The Arabs of Honduras". Saudiaramcoworld.com. 27 June 1936. สืบค้นเมื่อ 17 September 2011.
  40. "Dutch media perceived as much more biased than Arabic media – Media & Citizenship Report conducted by University of Utrecht" (PDF), Utrecht University, 10 September 2010, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 February 2019, สืบค้นเมื่อ 29 November 2010
  41. "Côte d'Ivoire". Minority Rights Group.
  42. "Why So Many Palestinians Live In El Salvador | AJ+". newsvideo.su. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-13. สืบค้นเมื่อ 2020-09-12.
  43. "Lebanese Diaspora Worldwide Geographical Distribution". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-14. สืบค้นเมื่อ 2020-09-12.
  44. Zielger, Matthew. "El Salvador: Central American Palestine of the West?". The Daily Star. สืบค้นเมื่อ 27 May 2015.
  45. Ghazi O. Tadmouri; Konduru S. Sastry; Lotfi Chouchane (2014). "Arab gene geography: From population diversities to personalized medical genomics". Global Cardiology Science and Practice. 2014 (4): 394–408. doi:10.5339/gcsp.2014.54. PMC 4355514. PMID 25780794.
  46. "List of Ethnic Groups". gov.uk. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.
  47. Chapter 4. Modern Standard Arabs". Nationalism, Language, and Muslim Exceptionalism, Philadelphia: University of Pennsylvania Press, 2015, pp. 53-85. https://doi.org/10.9783/9780812291018.53
  48. "Arab (People)". Britannica. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.
  49. Frishkopf, Michael, บ.ก. (2010). Music and media in the Arab world (1st ed.). Cairo: The American University in Cairo Press. ISBN 978-977-416-293-0.
  50. "Demographics of Islam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2020. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
  51. Banu Judham migration
  52. Ghassanids Arabic linguistic influence in Syria
  53. Islam and the Arabic language

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้