ประเทศคอโมโรส

(เปลี่ยนทางจาก คอโมโรส)

คอโมโรส (อังกฤษ: Comoros; อาหรับ: جزر القمر; ฝรั่งเศส: Comores; คอโมโรส: Komori) หรือชื่อทางการว่า สหภาพคอโมโรส (อังกฤษ: Union of the Comoros; คอโมโรส: Udzima wa Komori; อาหรับ: الاتحاد القمري; ฝรั่งเศส: Union des Comores) เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบไปด้วยเกาะ 3 แห่ง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของช่องแคบโมซัมบิกในมหาสมุทรอินเดีย เมืองหลวงและใหญ่ที่สุดในคอโมโรสคือโมโรนี ศาสนาของประชากรส่วนใหญ่และเป็นศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี คอโมโรสประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เป็นประเทศเดียวในสันนิบาตอาหรับที่ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทั้งหมด เป็นรัฐสมาชิกของสหภาพแอฟริกา องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส องค์การความร่วมมืออิสลาม และคณะกรรมาธิการมหาสมุทรอินเดีย มีภาษาราชการสามภาษา ได้แก่ ชิโกโมริ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอาหรับ

สหภาพคอโมโรส

Udzima wa Komori (คอโมโรส)
اتحاد القمر (อาหรับ)
al-Ittiḥād al-Qumurī/Qamarī
Union des Comores (ฝรั่งเศส)
ตราประจำประเทศของคอโมโรส
ตราประจำประเทศ
คำขวัญوحدة، تضامن، تنمية (ภาษาอาหรับ)
Unité - Justice - Progrès (ภาษาฝรั่งเศส)
เอกภาพ - ยุติธรรม - ความก้าวหน้า
ที่ตั้งของประเทศคอโมโรส (วงกลม)
ที่ตั้งของประเทศคอโมโรส (วงกลม)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โมโรนี
11°41′S 43°16′E / 11.683°S 43.267°E / -11.683; 43.267
ภาษาราชการภาษาคอโมโรส ภาษาอาหรับ และภาษาฝรั่งเศส
ศาสนา
ซุนนี
เดมะนิมคอโมเรียน
การปกครองสหพันธ์ ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
อะซาลี อะษุมานี
มุสตาดรอยน์ อับดู
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งสหภาพคอโมโรส
ได้รับเอกราช
• ถูกค้นพบโดยนักสำรวจชาวโปรตุเกส
2046
• เอ็นกาซิดจา, อองฌูอัน, โมเอลี ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส
2429
• ดินแดนในอารักขาคอโมโรส
5 กันยายน 2430
9 เมษายน 2451
27 ตุลาคม 2489
• รัฐคอโมโรส
22 ธันวาคม 2504
• ได้รับเอกราชจาก ฝรั่งเศส
6 กรกฎาคม 2518
• สหพันธรัฐสาธารณรัฐอิสลามคอโมโรส
24 พฤษภาคม 2521
• สหภาพคอโมโรส
23 ธันวาคม 2544
17 พฤษภาคม 2552
พื้นที่
• รวม
1,861 ตารางกิโลเมตร (719 ตารางไมล์) (อันดับที่ 171)
น้อยมาก
ประชากร
• 2562 ประมาณ
850,886 (อันดับที่ 160)
457 ต่อตารางกิโลเมตร (1,183.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 27)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2562 (ประมาณ)
• รวม
$2.446 พันล้าน[1] (อันดับที่ 178)
$2,799[1] (อันดับที่ 177)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2562 (ประมาณ)
• รวม
$1.179 พันล้าน[1] (อันดับที่ 182)
$1,349[1] (อันดับที่ 165)
จีนี (2556)positive decrease 45.0[2]
ปานกลาง · อันดับที่ 141
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.554[3]
ปานกลาง · อันดับที่ 156
สกุลเงินฟรังก์คอโมโรส (KMF)
เขตเวลาUTC+3 (EAT)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (ไม่พบ)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+269
โดเมนบนสุด.km

ด้วยพื้นที่เพียง 1,659 ตารางกิโลเมตร (641 ตารางไมล์) คอโมโรสจึงเป็นประเทศในแอฟริกาที่เล็กที่สุดเป็นอันดับ 3 [4] มีประชากร 850,886 คน (ปี 2562) [5] ประกอบไปด้วยเกาะใหญ่ 3 เกาะและเกาะเล็กๆ อีกจำนวนมาก หมู่เกาะภูเขาไฟโคโมโรทั้งหลาย ยกเว้นเกาะมายอต(ที่ยังเป็นของฝรั่งเศส) ประชาชนในมายอตลงคะแนนเสียงคัดค้านเอกราชจากฝรั่งเศสในการลงประชามติเมื่อปี พ.ศ. 2517 และยังคงได้รับการบริหารโดยฝรั่งเศสในฐานะจังหวัดโพ้นทะเล ฝรั่งเศสได้วีโต้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะยืนยันอธิปไตยของชาวคอโมโรส[6][7][8][9] มายอตจึงกลายเป็นหน่วยงานโพ้นทะเลและเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสในปี 2554 หลังจากการลงประชามติซึ่งมีการลงประชามติอย่างท่วมท้น

เกาะคอโมโรสน่าจะมีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกโดยชาวออสโตรนีเซียน/มาลากาซี ผู้พูดภาษาบันตูจากแอฟริกาตะวันออก และพ่อค้าชาวอาหรับที่เดินเรือ[10] กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 19 ก่อนที่จะได้รับเอกราชในปี 2518 เคยประสบกับการรัฐประหารหรือความพยายามในการทำรัฐประหารมาแล้วกว่า 20 ครั้ง โดยมีประมุขแห่งรัฐหลายคนถูกลอบสังหาร[11][12] นอกจากความไม่มั่นคงทางการเมืองอย่างต่อเนื่องแล้ว ประเทศนี้ยังมีระดับความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ในระดับสูงสุดกว่าประเทศใดๆ และติดอันดับควอไทล์ระดับกลางในดัชนีการพัฒนามนุษย์[13] ตั้งแต่ปี 2552 ถึง 2557 ประชากรประมาณ 19% มีชีวิตอยู่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนระหว่างประเทศคือมีรายได้เพียง 1.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน กำหนดโดยภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ

ที่มาและความหมายของชื่อ

แก้

ชื่อของประเทศมาจากคำในภาษาอาหรับ قمر, qamar (ดวงจันทร์)[14]

ประวัติศาสตร์

แก้

ผู้คนในยุคก่อนอาณานิคม

แก้
 
เรือโดว์ขนาดใหญ่พร้อมด้วยใบเรือ
 
ไร่วานิลลา

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์บนหมู่เกาะคอโมโรสในยุคแรก คาดว่าน่าจะเป็นชาวโพลีนีเชียนและชาวเมลานีเชียน ซึ่งเดินทางมาถึงเกาะโดยทางเรือจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนกลุ่มนี้น่าจะมาถึงตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6 ช่วงเวลาที่เก่าแก่ที่สุดของแหล่งโบราณคดีที่พบบนเกาะอ็องฌูอ็องนั้นน่าจะมีอายุประมาณถึงคริสศตวรรษที่ 1[15]

หมู่เกาะคอโมโรสกลายเป็นที่อยู่ของมนุษย์หลากหลายเชื้อชาติไล่ตั้งแต่กลุ่มคนบนฝั่งทวีปแอฟริกา ชาวอาหรับ ชาวเปอร์เซีย ชาวกลุ่มเกาะมลายู และชาวเกาะมาดากัสการ์ กลุ่มคนที่พูดภาษาบันตูก็มาถึงหมู่เกาะนี้ ในช่วงที่มีการขยายตัวของเผ่าบันตูซึ่งเกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นสหัสวรรษ

ตามตำนานของคนในยุคก่อนอิสลาม ยักษ์จินนีได้ทิ้งเพชรลงมาซึ่งก่อให้เกิดนรกขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือภูเขาไฟการ์ตาลาที่ก่อกำเนิดหมู่เกาะคอโมโรสขึ้นมานั่นเอง

พัฒนาการของหมู่เกาะคอโมโรสแบ่งออกเป็นช่วง ๆ หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่เชื่อถือได้อยู่ในช่วงเดมเบนี (คริสศตวรรษที่ 9 - 10) ในช่วงนี้แต่ละเกาะยังแยกกันอยู่อย่างโดดเดี่ยวและมีเพียงหมู่บ้านเดียวเป็นใจกลาง[16] จากคริสศตวรรษที่ 11-15 การค้าขายระหว่างเกาะมาดากัสการ์และพ่อค้าจากตะวันออกกลางก็มั่งคั่งขึ้น ทำให้เกิดหมู่บ้านขนาดเล็กขึ้นมา จากหมู่บ้านก็กลายเป็นเมือง ชาวคอโมโรสมักกล่าวว่าชาวอาหรับได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนานแล้ว โดยมีบางส่วนที่อพยพมาจากตะวันออกกลางจากประเทศเยเมน (โดยเฉพาะจังหวัดฮัฎเราะเมาต์) และโอมาน

คอโมโรสในยุคกลาง

แก้

ตามตำนาน ในปี 632 เมื่อได้ยินข่าวการปรากฏของศาสนาอิสลาม ชาวหมู่เกาะได้ส่งทูตนามว่า Mtswa-Mwindza ไปยังนครเมกกะ แต่เมื่อเขาเดินทางไปถึง ศาสนทูตมุฮัมมัดได้สิ้นไปแล้ว ถึงกระนั้นเขาก็ยังพำนักอยู่ในเมกกะ ก่อนจะกลับสู่เอ็นกาซิดจาและค่อย ๆ เปลี่ยนชาวเกาะให้หันมานับถือศาสนาอิสลามในที่สุด

บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับคอโมโรสนั้นได้มาจากงานเขียนของอัลมัสอูดี ที่กล่าวถึงความสำคัญของหมู่เกาะคอโมโรสเช่นเดียวกับดินแดนชายฝั่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางการค้าที่สำคัญของพ่อค้าชาวอาหรับและเปอร์เซียรวมทั้งกะลาสีเพื่อหาปะการัง ไขวาฬ งาช้าง กระดองเต่า ทองคำและทาสไปขาย และยังได้นำศาสนาอิสลามไปเผยแพร่แก่ชาวซานจ์ (อยู่ในแอฟริกาตะวันออก) และชาวเกาะอีกด้วย หมู่เกาะคอโมโรสมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ และเติบโตไปพร้อมเกือบเมืองชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกทำให้เกิดมัสยิดน้อยใหญ่ตามมา แม้จะมีระยะที่ห่างจากชายฝั่งพอสมควร แต่หมู่เกาะคอโมโรสก็เป็นแหล่งการค้าที่สำคัญของชาวสวาฮีลี เป็นเส้นทางทางทะเลที่สำคัญระหว่างเมืองกิลวา ซึ่งอยู่ในแทนซาเนียในปัจจุบัน โซฟาลา(สถานที่ส่งออกทองของชาวซิมบับเว)ในโมซัมบิก และเมืองมอมบาซาในเคนยา[17]

หลังจากการมาถึงของชาวโปรตุเกสในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 15 และการล่มสลายของสุลต่านแห่งแอฟริกาตะวันออก สุลต่านซัยฟ์ บิน สุลต่าน ผู้มีอำนาจแห่งโอมานได้เริ่มกำจัดอิทธิพลของชาวดัตช์และโปรตุเกส นอกจากนั้นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากเขา คือ สุลต่านซะอีด บิน สุลต่าน ยังได้ขยายอิทธิพลของชาวอาหรับโอมานไปทั่วทั้งภูมิภาค และได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองไปอยู่ใกล้แซนซิบาร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของโอมาน อย่างไรก็ตาม คอโมโรสยังคงเป็นอิสระและแม้ว่าเกาะเล็ก ๆ สามเกาะมักจะเป็นปึกแผ่นทางการเมือง แต่เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเอ็นกาซึดจาก็มักจะถูกแบ่งออกเป็นอาณาจักรอิสระหลายแห่ง (ntsi)[18]

ในช่วงเวลาที่ชาวยุโรปแสดงความสนใจกับคอโมโรส ชาวเกาะตกอยู่ในตำแหน่งแห่งที่จากการเอารัดเอาเปรียบจากความต้องการของพวกเขา เริ่มจากการจัดหาเส้นทางเดินเรือไปยังอินเดียและต่อมาทาสจะถูกส่งไปยังเกาะเพาะปลูกบนหมู่เกาะมาสคารีน[18]

การติดต่อกับชาวยุโรปและการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

แก้
 
แผนที่ภาษาฝรั่งเศสของคอโมโรส, 1747

นักสำรวจชาวโปรตุเกสได้ไปเยือนหมู่เกาะนี้เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1503 เกาะเหล่านี้เป็นแหล่งจัดหาอาหารให้กับป้อมของโปรตุเกสที่โมซัมบิกตลอดศตวรรษที่ 16

 
สุลต่านซะอีด อะลี บิน ซะอีด อุมัรแห่งเกาะกร็องด์กอมอร์ (1897)
 
จัตุรัสชุมนุมในโมโรนี ปี 1908

ในปี 1506 ชาวโปรตุเกสได้เดินทางมาถึงเกาะและเริ่มท้าทายอำนาจบาจัส (หัวหน้าชาวบันตูมุสลิม) และฟานิส (รองหัวหน้า) ปีต่อ ๆ มาในปี 1514 คอโมโรสก็ถูกรุกรานโดยอาฟงซู ดี อาลบูเกร์กี ในขณะนั้นผู้ปกครองชาวมุสลิมเพิ่งจะรอดพ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟ แม้ว่าแหล่งพำนักของพวกเขาจะหาได้ไม่ยากแต่ชาวโปรตุเกสก็ไม่เคยหาพวกเขาพบ ในปี 1648 หมู่เกาะก็ถูกปล้นโดยโจรสลัดชาวมาลากาซี พวกเขาปล้นเมืองอีกอนี เมืองศูนย์กลางทางการค้าชายฝั่งใกล้เกาะกร็องด์กอมอร์หลังจากเพิ่งรบชนะสุลต่านที่อ่อนแอของเกาะมาได้

ในปี 1793 นักรบชาวมาลากาซีแห่งเกาะมาดากัสการ์ได้บุกหมู่เกาะคอโมโรสเพื่อนำชาวเกาะมาเป็นทาส จากนั้นจึงได้เข้ามาตั้งรกรากและครอบครองหลายส่วนของหมู่เกาะ บนคอโมโรสในปี 1865 คาดว่าประชากรบนเกาะเป็นทาสถึงกว่าร้อยละ 40[19] ขณะที่ฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งอาณานิคมในปี 1841 ชาวอาณานิคมฝรั่งเศสคนแรกได้มาถึงเกาะมายอต อาเดรียน ซูลี กษัตริย์ชาวมาลากาซีแห่งเกาะมายอตได้ลงนามในสนธิสัญญาปี 1841 ได้ยอมยกดินแดนให้ตกอยู่ใต้อาณัติของฝรั่งเศส

ในปี 1886 เกาะมอเอลี ก็ตกอยู่ใต้อารักขาจากฝรั่งเศสโดยการยินยอมจากราชินีซาลิมา มาชิมบ้า และในปีเดียวกัน หลังจากที่ได้รวบรวมเกาะกร็องด์ กอมอร์เข้าไว้ด้วยกัน สุลต่านซะอีด อะลีก็ได้ยินยอมให้ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองต่อ แต่พระองค์ก็ยังมีอำนาจต่อไปจนถึงปี 1909 ซึ่งในปีนั้นพระองค์ก็ได้ทรงสละราชสมบัติเพื่อให้ฝรั่งเศสได้เข้ามาวางกฎอย่างเต็มที่ เกาะคอโมโรสตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในปี 1912 และตกอยู่ใต้การปกครองของผู้ว่าราชการอาณานิคมโพ้นทะเลของฝรั่งเศสแห่งมาดากัสการ์ในปี ค.ศ.1914[20]

คอโมโรสเป็นสถานีทางการค้าที่สำคัญของบรรดาพ่อค้าที่จะเดินทางไปค้าขายยังตะวันออกไกล หรืออินเดียมาโดยตลอดจนกระทั่งได้มีการเปิดใช้คลองสุเอซ ซึ่งได้ช่วยลดการจราจรทางน้ำในเขตช่องแคบโมซัมบิกได้อย่างมาก สินค้าธรรมชาติที่ส่งออกส่วนใหญ่ก็คือ มะพร้าว วัว ควายและกระดองเต่า ผู้ตั้งรกรากชาวฝรั่งเศส บริษัทจากฝรั่งเศสหรือแม้แต่พ่อค้าชาวอาหรับผู้มั่งคั่ง ได้วางรากฐานเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรมซึ่งกินพื้นที่ในการเพาะปลูกเพื่อส่งออกกว่า 1 ใน 3 หลังจากการผนวกดินแดนฝรั่งเศสก็ได้เปลี่ยนเกาะมายอต ให้กลายเป็นดินแดนอาณานิคมเพื่อการปลูกน้ำตาล และไม่นานทุกเกาะก็ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นดินแดนเพื่อการเพาะปลูกพืชส่งออกเช่นกัน พืชเหล่านั้น เช่น กระดังงา วานิลลา กาแฟ ต้นโกโก้ สับปะรด เป็นต้น [21]

ข้อตกลงในการมอบเอกราชได้เกิดขึ้นในปี 1973 และในปี 1978 คอโมโรส ก็ได้รับเอกราช ยกเว้นในเกาะมายอต การลงประชามติจะต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ในทั้ง 4 เกาะ แต่มีเพียง 3 เกาะเท่านั้นที่มีมติเป็นเอกฉันท์ ขณะที่มายอตต่อต้านและยังคงอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสต่อไป ในวันที่ 6 กรกฎาคม ปี 1975 รัฐบาลได้ประกาศกฎหมายร่างการเป็นเอกราช อาเหม็ด อับดัลลาห์ ได้ประกาศเอกราชของคอโมโรสและกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของคอโมโรส

การประกาศเอกราชปี 1975

แก้
 
ธงชาติคอโมโรส (1963 ถึง 1975)
 
ธงชาติคอโมโรส (1975 ถึง 1978)
 
อิกิลิลู โดอีนีน, ประธานาธิบดีแห่งคอโมโรส ดำรงตำแหน่ง 2011 ถึง 2016

หลังการประกาศเอกราช 30 ปีต่อจากนั้นคือความวุ่นวายทางการเมืองของคอโมโรสอย่างมาก เริ่มจากในวันที่ 3 สิงหาคม ปี 1975 ทหารรับจ้างชื่อ บ็อบ ดีนาร์ด ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างลับ ๆ จาก ฌาคส์ ฟอกการ์ และรัฐบาลฝรั่งเศส ทำการรัฐประหารรัฐบาลของอาเหม็ด อับดัลลาห์และให้เจ้าชายซาอิด โมฮัมเหม็ด จัฟฟาร์ สมาชิกของแนวร่วมแห่งชาติคอโมโรส หรือ ยูเอ็นเอฟขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทน ถัดมาแค่เดือนเดียว พระองค์ก็ถูกขับไล่โดยอาลี โซอิลีห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[22]

ในเวลาเดียวกันที่เกาะมายอต ประชาชนก็ได้มีการลงประชามติถึง 2 ครั้งในการต่อต้านการประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส ครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนธันวาคมปี 1974 เสียงส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 63.8 ยังคงต้องการอยู่ในการปกครองของฝรั่งเศสต่อไป ครั้งต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 1976 คราวนี้เสียงเกือบทุกเสียงกว่าร้อยละ 99.4 ก็ยังคงยืนยันเช่นเดิม ขณะที่บนเกาะที่เหลือทั้ง 3 เกาะที่ถูกปกครองโดยประธานาธิบดีโซอิลีห์ สมาชิกส่วนใหญ่ของรัฐบาลมักจะเป็นพวกสังคมนิยม หรือไม่ก็พวกนิยมการปกครองอย่างโดดเดี่ยวซึ่งยิ่งทำให้ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสตึงเครียดไปทุกขณะ จนเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปี 1978 บ็อบ ดีนาร์ด ได้กลับมาอีกครั้งพร้อมทั้งล้มล้างอำนาจของโซอิลีห์ และได้แต่งตั้ง อับดัลลาห์กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ภายใต้การหนุนหลังจากฝรั่งเศสซึ่งต้องการให้รัฐบาลเป็นของชาวโรดีเซียและแอฟริกาใต้ ในช่วงการครองอำนาจของโซอิลีห์ เขาต้องเผชิญหน้ากับการพยายามก่อรัฐประหารถึง 7 ครั้ง จนในที่สุดก็ถูกขับไล่และโดนสังหารในที่สุด[22][23]

ในทางตรงข้ามกับโซอิลีห์ ประธานาธิบดีอับดัลลาห์ถูกมองว่าเป็นพวกเผด็จการ ได้เพิ่มการยึดมั่นในประเพณีแบบศาสนาอิสลาม[24] และยังเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐอิสลามคอโมโรส (République Fédérale Islamique des Comores; جمهورية القمر الإتحادية الإسلامية ) อับดัลลาห์ยังคงเป็นประธานาธิบดีต่อไปจนกระทั่งปี 1989 เมื่อเขารู้สึกหวาดเกรงว่าจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้น เขาจึงได้ลงนามในกฤษฎีกากองกำลังแห่งประธานาธิบดี นำโดย บ็อบ ดีนาร์ด เพื่อปลดอาวุธกองกำลังติดอาวุธ ไม่นานหลังจากได้มีการลงนาม อับดัลลาห์ก็ถูกอ้างว่าโดนยิงโดยนายทหารนายหนึ่งที่ไม่พอใจในที่ทำการของเขาเอง แต่แหล่งที่มาในภายหลังอ้างว่า เขาถูกขีปนาวุธต่อต้านรถถังยิงเข้ามาในห้องนอน[25] และแม้ว่า บ็อบ ดีนาร์ด จะได้รับบาดเจ็บด้วย แต่ก็เป็นที่สงสัยว่า ผู้ที่สังหารอับดัลลาห์น่าจะเป็นทหารภายใต้สังกัดของเขานั่นเอง[26]

ไม่กี่วันต่อมา บ็อบ ดีนาร์ด ได้อพยพไปยังแอฟริกาใต้โดยพลร่มของฝรั่งเศส ซาอิด โมฮัมเหม็ด โฌอาร์ พี่ชายต่างแม่ของอับดัลลาห์ได้กลายเป็นประธานาธิบดีคนต่อมา และอยู่ในตำแหน่งจนถึงกันยายนปี 1995 เมื่อบ็อบ ดีนาร์ด กลับมาอีกครั้งกับความพยายามในการทำรัฐประหารอีก แต่คราวนี้ฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซงและบังคับให้ดีนาร์ดยอมจำนน[27][28] ฝรั่งเศสได้ถอดถอนโฌอาร์ออกจากตำแหน่งและให้ไปอยู่ที่รียูนิอองแทน ขณะที่โมฮัมเหม็ด ทากี อับดุลการิม ผู้ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากปารีสขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทนจากการเลือกตั้ง เขาเป็นผู้นำประเทศตั้งแต่ปี 1996 ผ่านช่วงเวลาของวิกฤตการณ์แรงงาน การปราบปรามของรัฐบาลต่อพวกพยายามแบ่งแบกดินแดนจนกระทั่งเขาสิ้นชีวิตในเดือนพฤศจิกายนปี 1998 ทาชีดีน เบน ซาอิด มาสซุนเด้ได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทนชั่วคราว[29]

ในปี 1997 หมู่เกาะอ็องฌูอ็องและโมเอลี ได้ประกาศเอกราชจากคอโมโรส ในความพยายามที่จะนำการปกครองของฝรั่งเศสกลับมา แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธคำขอจึงนำไปสู่การนองเลือดระหว่างกองกำลังฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏ และในเดือนเมษายน ปี 1999 พันเอกอซาลี อัสซูมานี่ หัวหน้าฝ่ายกองทัพได้ยึดอำนาจในการรัฐประหารนองเลือด โค่นประธานาธิบดีมาสซุนเด้ลงจากตำแหน่ง โดยอ้างว่าเป็นผู้นำที่อ่อนแอในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่วิกฤต และทำให้นี่เป็นการรัฐประหารในคอโมโรสครั้งที่ 18 นับตั้งแต่ประกาศเอกราชในปี 1975 เป็นต้นมา[30] อย่างไรก็ตาม อซาลีก็ล้มเหลวในการที่จะรวบรวมอำนาจและสถาปนาการควบคุมเหนือหมู่เกาะ ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งในการวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติ สหภาพแอฟริกัน ภายใต้การอุปถัมภ์ของประธานาธิบดี เธโบ เอ็มเบกี้ แห่งแอฟริกาใต้เรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรเหนือเกาะอองฌูอ็อง เพื่อช่วยให้การเจรจาเพื่อความสมานฉันท์สำเร็จผล[31][32] ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศได้เปลี่ยนเป็นสหภาพคอโมโรส และระบบการเมืองที่เป็นอิสระได้ถูกสถาปนาขึ้นในแต่ละหมู่เกาะ พร้อมทั้งรัฐบาลแห่งสหภาพในการปกครองทั้งสามเกาะ

อซาลีก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อปี 2002 เพื่อลงแข่งขันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งคอโมโรส ซึ่งเขาก็ชนะการเลือกตั้ง ภายใต้การกดดันจากนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำทางทหารที่ได้อำนาจมาโดยใช้กำลัง และไม่ได้มีประชาธิปไตยในระหว่างที่มีอำนาจ อซาลีก็ได้นำคอโมโรสผ่านการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญซึ่งทำให้มีการเลือกตั้ง [33] ร่างกฎหมาย Loi des competences ผ่านการอนุมัติในปี 2005 ซึ่งได้กำหนดความรับผิดชอบในแต่ละรัฐบาล และกำลังอยู่ในขั้นตอนของการนำไปปฏิบัติให้เกิดผล การเลือกตั้งในปี 2006 อาเหม็ด อับดัลลาห์ โมฮัมเหม็ด แซมบี้ ก็ชนะการเลือกตั้ง เขาเป็นนักบวชมุสลิมนิกายสุหนี่ มีชื่อเล่นว่า “อยาโตลเลาะห์” จากการที่เขาได้ใช้เวลาไปศึกษาศาสนาอิสลามในอิหร่าน อซาลียอมรับผลการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผลให้เกิดสันติสุขขึ้นและเป็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจโดยประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก สำหรับหมู่เกาะนี้[34]

ในปี 2001 พันเอก โมฮัมเหม็ด บาซาร์ อดีตนายทหาร/ตำรวจฝรั่งเศส ได้ยึดอำนาจขึ้นเป็นประธานาธิบดีบนเกาะอ็องฌูอ็อง เขาจัดฉากการโหวตเมื่อเดือนมิถุนายน 2007 เพื่อยืนยันความเป็นผู้นำของเขา รัฐบาลกลางคอโมโรสไม่ยอมรับเพราะผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับสหภาพแอฟริกัน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2008 ทหารนับร้อยจากสหภาพแอฟริกันและคอโมโรส เข้ายึดอำนาจจากพวกกบฏบนเกาะอ็องฌูอ็อง ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากประชาชน มีรายงานว่าประชาชนนับร้อยถึงพันถูกทรมานระหว่างการดำรงตำแหน่งของบาซาร์[35] กบฏบางคนถูกฆ่าตายและได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการ พลเรือนอย่างน้อย 11 คนได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่บางคนถูกคุมขัง บาซาร์ได้หลบหนีโดยเรือสปีดโบทไปยังดินแดนของฝรั่งเศสในมหาสมุทรอินเดียแห่งมายอตเพื่อหาที่ลี้ภัย

ตั้งแต่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส คอโมโรสมีประสบการณ์การรัฐประหารกว่า 20 ครั้ง[36]

หลังการเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2010 อดีตรองประธานาธิบดี อิกิลีลู โดไอนีน ก็เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2011 เขาเป็นสมาชิกในพรรครัฐบาลมาก่อน ได้รับการสนับสนุนการเลือกตั้งจากอดีตประธานาธิบดีอาเหม็ด อับดัลลาห์ โมฮัมเหม็ด แซมบี้ โดไอนีน ซึ่งเป็นเภสัชกร เป็นประธานาธิบดีของคอโมโรสคนแรกที่มาจากเกาะโมเอลี

สภาพภูมิศาสตร์

แก้
 
แผนที่ของประเทศคอโมโรส

คอโมโรสประกอบไปด้วยเกาะเอ็นกาซิดจา (กรองด์ กอมอร์), เกาะเอ็มวาลี (โมเอลี), เกาะเอ็นซวานี่ (อ็องฌูอ็อง) และเกาะมาออเร่ (มายอตต์) ทั้งหมดนี้เป็นเกาะสำคัญในหมู่เกาะคอโมโรส ในขณะที่มีหมู่เกาะเล็กน้อยอีกมากมาย เกาะเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในภาษาคอโมเรียนของพวกเขาเอง แม้จะมีชื่อในภาษาต่างประเทศด้วยก็ตามจะใช้ชื่อในภาษาฝรั่งเศส (ในวงเล็บ) เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือ โมโรนี่ ตั้งอยู่บนเกาะเอ็นกาซิดจา หมู่เกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ในช่องแคบโมซัมบิก ระหว่างชายฝั่งแอฟริกัน (ใกล้โมซัมบิกและแทนซาเนีย) กับมาดากัสดาร์ ไม่มีพรมแดนที่อยู่บนแผ่นดิน

ด้วยขนาดเพียง 2,034 ตารางกิโลเมตร (785 ตารางไมล์) ทำให้เป็นหนึ่งในประเทศที่เล็กที่สุดในโลก คอโมโรสยังมีการอ้างสิทธิพื้นที่ทางทะเลอีกประมาณ 320 ตารางกิโลเมตร (120 ตารางไมล์) สภาพภายในหมู่เกาะมีความหลากหลายตั้งแต่ภูเขาสูงชันไปจนถึงเนินเขาเตี้ย ๆ

เอ็นกาซิดจาเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะคอโมโรส มีขนาดโดยประมาณเท่ากับขนาดของเกาะที่เหลือรวมกัน มันเป็นเกาะที่เกิดใหม่ดังนั้นดินจึงมีลักษณะเป็นหินดิน ลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นของเกาะนี้คือมีภูเขาไฟสองลูก คาร์ธาล่า (ยังปะทุอยู่) และ ลา กริลล์ (ดับสนิทแล้ว) และลักษณะของชายฝั่งที่ไม่สามารถทำเป็นท่าเรือได้ เอ็มวาลี มีเมืองหลวงชื่อ ฟอมโบนี่ เป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดา 4 เกาะสำคัญ เอ็นซวานี่ มีเมืองหลวงชื่อ มัทซามูดู มีลักษณะที่โดดเด่นโดยเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งเกิดจากภูเขาสามลูก ซีมา นีอูมาเคเล่ และจีมีลีเม่ กระจายตัวจากจุดสูงสุด เอ็นตริงกี้ (1,575 m หรือ 5,167 ft)

เกาะที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในหมู่เกาะแห่งนี้ คือ มายอต ซึ่งอุดมไปด้วยดินที่อุดมสมบูรณ์ ขณะเดียวกันก็มีสภาพชายฝั่งที่ดีเหมาะแก่การทำเป็นท่าเรือ พร้อมด้วยประชากรปลาที่มีมากเนื่องจากแนววงแหวนปะการัง ซาอุดซี่ เคยเป็นเมืองหลวงเก่าของอาณานิคมคอโมโรส ตั้งอยู่บนเกาะปามานซี (ฝรั่งเศส : Petite-Terre) เกาะเล็กที่ใหญ่ที่สุดของเกาะมาออเร่ ขณะที่เมืองหลวงในปัจจุบันคือ มามูดซู คำว่า มายอตต์ (หรือมาออเร่) อาจจะหมายถึงกลุ่มของหมู่เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดเรียกว่า มาออเร่ (ฝรั่งเศส: Grande-Terre) และรอบเกาะมาออเร่มีเกาะปามานซีที่สะดุดตาที่สุด (Petite-Terre)

 
มุมมองดาวเทียมของภูเขาคาร์ธาล่าหลังจากการระเบิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2005 ฝุ่นควันปกคลุมทั่วบริเวณเกาะ.

หมู่เกาะคอโมโรสก่อตัวขึ้นโดยการระเบิดของภูเขาไฟ ภูเขาไฟคาร์ธาล่าที่ตั้งอยู่บนเกาะเอ็นซาชิดจา เป็นจุดที่สูงที่สุดของประเทศ มีความสูง 2,361 เมตรหรือ 7,748 ฟุต มันยังเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของคอโมโรสที่ไม่มีป่าฝนเขตร้อน คาร์ธาล่า เป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่ยังมีการปะทุอยู่ในโลก มีการระเบิดเล็กน้อยเมื่อปี 2006 และก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายน 2005 และ 1991 ในการระเบิดเมื่อปี 2005 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ 17-19 เมษายน ประชาชนกว่า 40,000 คนต้องอพยพ บริเวณรอบปากปล่องภูเขาไฟรัศมีกว่า 3-4 กิโลเมตรถูกทำลายทั้งหมด

คอโมโรสยังได้อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะกลอริโอโซ่ ซึ่งประกอบไปด้วย เกาะกร็องด์ เกลอยูส (Grande Glorieuse) เกาะอีล ดู ลีส์ (Île du Lys) เกาะขนาดเล็กอีก 3 เกาะ อย่าง เกาะเร็ก ร็อก(Wreck Rock) เกาะเซาท์ ร็อก(South Rock) เกาะเวิร์ท ร็อก(Verte Rocks) และอีก 3 เกาะเล็ก ๆ ที่ไม่มีชื่อ ซึ่งหนึ่งในนั้นอยู่ในการปกครองของหมู่เกาะที่กระจัดกระจายในมหาสมุทรอินเดียของฝรั่งเศส Îles Éparses or Îles éparses de l'océan indien (Scattered Islands in the Indian Ocean) หมู่เกาะกลอริโอโซ่ถูกปกครองโดยชาวอาณานิคมคอโมโรสตั้งแต่ก่อนปี 1975 ซึ่งบางครั้งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะคอโมโรส อดีตเกาะในหมู่เกาะคอโมโรสอย่าง บัง ดู เกย์เซอร์ ซึ่งตอนนี้ได้จมลงแล้ว และอยู่ใกล้กับหมู่เกาะที่กระจัดกระจายฯ ของฝรั่งเศส ถูกมาดากัสการ์เข้ายึดครองในปี 1976 ในฐานะดินแดนที่ยังไม่มีการอ้างสิทธิ ปัจจุบัน คอโมโรสได้เรียกร้องให้เขตดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจพิเศษ

สภาพภูมิอากาศ

แก้

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปร้อนและอบอุ่น มีสองฤดูกาลที่สำคัญซึ่งขึ้นกับปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 29-30 องศาเซลเซียส (84-86 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในฤดูฝน (เรียกว่าคาชคาซี่ ช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน) และอุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 19 องศาเซลเซียส (66 องศาฟาเรนไฮต์) ในฤดูหนาว ซึ่งมีอากาศเย็นและแห้ง (เรียกว่า คูซี่ เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน)[37] หมู่เกาะนี้ไม่ค่อยได้รับอิทธิพลของพายุไซโคลนมากนัก

ระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อม

แก้

หมู่เกาะคอโมโรสมีสภาพนิเวศน์ท้องถิ่นในแบบของตัวเอง ซึ่งเรียกว่า ป่าคอโมโรส

รัฐบาล

แก้
 
โมโรนีเมืองหลวงของคอโมโรสพร้อมด้วยอ่าวฮาร์เบอร์และมัสยิดกลาง

ระบบการเมืองของหมู่เกาะคอโมโรสเกิดขึ้นในรูปของสหพันธ์สาธารณรัฐประธานาธิบดี ซึ่งประธานาธิบดีของคอโมโรสจะเป็นผู้นำทั้งของรัฐและรัฐบาล มีระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค รัฐธรรมนูญของสหภาพคอโมโรสเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจากการลงประชามติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2001 และมีการเลือกตั้งในเดือนถัดมา ก่อนหน้านี้การปกครองของคอโมโรสเป็นแบบเผด็จการทหาร การถ่ายโอนอำนาจจากอซาลี อัสซูมานี่ไปสู่อาห์เหม็ด อับดัลเลาะห์ โมฮาเหม็ด แซมบี ในปี 2006 เป็นการถ่ายโอนอำนาจที่สงบสุขเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์คอโมโรส

อำนาจบริหารถูกใช้โดยรัฐบาล อำนาจนิติบัญญัติแห่งชาติก็ตกเป็นของทั้งรัฐบาลและรัฐสภา คำปรารภในรัฐธรรมนูญช่วยยืนยันว่าศาสนาอิสลามจะเป็นแรงบันดาลใจในการปกครอง ความมุ่งมั่นในสิทธิมนุษยชน และสิทธิอื่น ๆ อีกหลายข้อตามที่ได้ระบุไว้ ประชาธิปไตยคือชะตากรรมร่วมกันของชาวคอโมโรสทุกคน[38] ในแต่ละเกาะ (ตามบทที่สองแห่งรัฐธรรมนูญ) จะมีอิสระในการปกครองตนเองรวมไปถึง มีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง(หรือกฎหมายพื้นฐานบางอย่าง) มีประธานาธิบดีและรัฐสภา ประธานาธิบดีและสภาของสหภาพจะมีความแตกต่างไปจากรัฐบาลของแต่ละเกาะ ประธานาธิบดีของสหภาพจะหมุนเวียนกันไปในแต่ละเกาะ[39] ปัจจุบัน โมเอลีเป็นเกาะที่มีสิทธิในตำแหน่งหมุนเวียน และดังนั้น อิกิลีลู โดไอนีน จึงเป็นประธานาธิบดีของสหภาพ เกาะถัดไปได้แก่ กร็องด์ กอมอร์ และ อันฌูอัน ตามลำดับในวาระ 4 ปี[40]

ระบบกฎหมาย

แก้

ระบบกฎหมายของชาวคอโมโรสอยู่ภายใต้กฎหมายอิสลาม ประมวลกฎหมายที่สืบทอดมาจากฝรั่งเศส (ประมวลกฎหมายนโปเลียน) และกฎหมายจารีตประเพณี (mila na ntsi) ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน คาดิสหรือศาลเตี้ยมักจะเป็นผู้ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ ฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ศาลฎีกาทำหน้าที่เป็นสภารัฐธรรมนูญในการแก้ไขข้อสงสัยในรัฐธรรมนูญและดูแลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในฐานะศาลสูงยุติธรรม ศาลฎีกาก็จะทำหน้าที่ตัดสินในกรณีที่รัฐบาลถูกกล่าวหาว่าทุจริต ศาลฎีกาประกอบด้วยสมาชิกสองคนที่ได้รับเลือกจากประธานาธิบดี สองคนได้รับการเลือกตั้งโดยสมัชชาแห่งชาติและอีกคนหนึ่งโดยสภาของแต่ละเกาะ[39]

วัฒนธรรมทางการเมือง

แก้

ประมาณร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลกลาง ใช้ไปในระบบการเลือกตั้งที่ซับซ้อนของประเทศซึ่งมีรัฐบาลกึ่งอิสระและประธานาธิบดีในแต่ละสามเกาะ และมีการหมุนเวียนตำแหน่งประธานาธิบดีของรัฐบาลสหภาพ[41] การลงประชามติเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เพื่อตัดสินใจว่าจะลดขั้นตอนของระบบการเมืองที่ยุ่งยากนี้ลงหรือไม่ มีผู้ออกมาใช้เสียงเป็นจำนวนร้อยละ 52.7 และร้อยละ 93.8 ของผู้มาใช้สิทธิมีความเห็นพ้องกับประชามตินี้ การลงประชามติจะทำให้ประธานาธิบดีของเกาะแต่ละแห่งกลายเป็นผู้ว่าราชการและรัฐมนตรีกลายเป็นสมาชิกสภา[42]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้

ในเดือนพฤศจิกายน 2518 คอโมโรสกลายเป็นสมาชิกชาติที่ 143 ของสหประชาชาติ ประเทศใหม่นี้ถูกกำหนดให้ครอบคลุมทุกหมู่เกาะถึงแม้พลเมืองของมายอตจะเลือกที่จะเป็นพลเมืองฝรั่งเศส และรักษาเกาะของตนให้เป็นดินแดนของฝรั่งเศสก็ตาม[43]

คอโมโรสได้กดดันในการอ้างสิทธิเหนือมายอตอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะมีการประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติซึ่งได้มีการจัดทำมติภายใต้หัวข้อ "คำถามเกาะคอโมโรสแห่งมายอต" ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นว่าเกาะมายอตเป็นของคอโมโรสภายใต้หลักการที่ว่า ดินแดนอาณานิคมควรได้รับการคุ้มครองไว้เมื่อได้รับอิสรภาพ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ มติเหล่านี้มีผลเพียงเล็กน้อยและไม่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถคาดการณ์ได้ว่า มายอตจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคอโมโรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากประชาชน เมื่อเร็ว ๆ นี้สมัชชาแห่งชาติยังคงรักษาวาระนี้ไว้ในวาระการประชุม แต่เลื่อนออกไปเป็นปี ๆ โดยไม่ดำเนินการใด ๆ หน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งองค์การเอกภาพแอฟริกา กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและองค์การความร่วมมืออิสลาม ได้ตั้งคำถามที่คล้ายกันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือมายอต[44][45] เพื่อปิดการอภิปรายและเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกรวมเข้าด้วยกันโดยใช้กำลังของสหภาพคอโมโรส ประชากรของมายอตได้เลือกอย่างท่วมท้น ที่จะกลายเป็นภูมิภาคโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสในการลงประชามติในปีพ.ศ. 2552 สถานะใหม่นี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 มีนาคม 2554 และมายอตได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ไกลสุดของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 การตัดสินใจรวมมายอตเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสครั้งนี้ถูกต้องตามกฎหมายและแบ่งแยกไม่ได้

คอโมโรสเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา สหภาพอาหรับ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูยุโรป ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ คณะกรรมาธิการมหาสมุทรอินเดียและธนาคารเพื่อการพัฒนาแอฟริกัน เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2551 คอโมโรสกลายเป็นประเทศที่ 179 ในการยอมรับพิธีสารเกียวโตต่อกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[46]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 สหภาพคอโมโรสกลายเป็นที่รู้จักในการยื่นคำร้องต่อสำนักงานอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน "การโจมตีของอิสราเอลเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เกี่ยวกับกองกำลังความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมุ่งสู่ฉนวนกาซา" ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 อัยการสูงสุดของ ICC ตัดสินใจว่า[47]เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดอาชญากรรมสงคราม แต่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานน้ำหนักของการนำคดีไปสู่การพิจารณาของ ICC[48] อัตราการอพยพคนงานมีฝีมือมีค่าประมาณร้อยละ 21.2 ในปี 2543[49]

การทหาร

แก้

แหล่งข้อมูลทางการทหารของคอโมโรสประกอบด้วยกองกำลังขนาดเล็กและกองกำลังตำรวจ 500 คนรวมถึงกองกำลังป้องกันสมาชิกอีก 500 คน สนธิสัญญาป้องกันประเทศกับฝรั่งเศสได้จัดให้มีกองกำลังทหารเรือเพื่อปกป้องน่านน้ำ การฝึกอบรมบุคลากรทางทหารของคอโมโรสและการเฝ้าระวังทางอากาศ ฝรั่งเศสยังคงมีเจ้าหน้าที่อาวุโสอยู่ไม่กี่คนตามคำเรียกร้องของรัฐบาลคอโมโรส และยังมีฐานการเดินเรือขนาดเล็กและหน่วยกองพันต่างประเทศ (DLEM) บนเกาะมายอต

เมื่อรัฐบาลใหม่ได้รับการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2554 ภารกิจที่เชี่ยวชาญจาก UNREC (Lomé) ได้มายังคอโมโรสและได้จัดทำแนวทางในการจัดทำนโยบายด้านความมั่นคงของชาติ ซึ่งถูกพิจารณาโดยผู้เกี่ยวข้องที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรป้องกันประเทศและพลเรือนภาคสังคม[50] หลังจากสิ้นสุดโครงการเมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 มีการกำหนดกรอบข้อตกลงโดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใน SSR จะถูกจัดตั้งขึ้น จากนั้นจะต้องมีการรับรองจากรัฐสภาและดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่

เศรษฐกิจ

แก้
 
ตัวอย่างสัดส่วนการส่งออกของคอโมโรส.

คอโมโรสเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก การเติบโตทางเศรษฐกิจและการลดความยากจนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรัฐบาล ด้วยอัตราร้อยละ 14.3 ของการว่างงานถือว่าสูงมาก เกษตรกรรมรวมถึงการประมง การล่าสัตว์และการป่าไม้เป็นภาคเศรษฐกิจชั้นนำและ ร้อยละ38.4 ของประชากรทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมหลักนี้[51]

ความหนาแน่นของประชากรที่สูงถึง 1000 คนต่อตารางกิโลเมตรในเขตเกษตรกรรมที่หนาแน่นที่สุดซึ่งเกี่ยวกับการเพาะปลูก เศรษฐกิจแบบการเกษตรอาจนำไปสู่วิกฤตสิ่งแวดล้อมในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโตของประชากรที่สูง ในปี 2547 การเติบโตทางเศรษฐกิจของคอโมโรสที่แท้จริงต่ำถึง 1.9% และ GDP ต่อหัวของประเทศยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง การลดลงดังกล่าวได้รับการอธิบายโดยปัจจัยต่าง ๆ เช่น การลงทุนที่ลดลง การบริโภคลดลง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและความไม่สมดุลของการค้าที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากราคาพืชลดลงโดยเฉพาะวานิลลา[51]

นโยบายการคลังถูกจำกัดด้วยรายได้จากการคลังที่ไม่แน่นอน ค่าจ้างการบริการสาธารณะที่ขยายตัว และหนี้ต่างประเทศที่สูงกว่าเกณฑ์ HIPC การเป็นสมาชิกในฟรังก์โซนซึ่งเป็นจุดยึดหลักของเสถียรภาพยังคงเป็นแรงกดดันต่อราคาในประเทศ[52]

คอโมโรสมีระบบการขนส่งที่ไม่เพียงพอ ประชากรที่มีอายุน้อยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย ระดับการศึกษาที่ต่ำของแรงงานก่อให้เกิดระดับของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ การว่างงานที่สูงและการพึ่งพาอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศและความช่วยเหลือด้านเทคนิค เกษตรกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 40 ของ GDP มีการจ้างงานร้อยละ 80 และโดยมากเพื่อการส่งออก คอโมโรสเป็นผู้ผลิตกระดังงารายใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้ผลิตวานิลลารายใหญ่[53]

รัฐบาลกำลังดิ้นรนเพื่อยกระดับการศึกษาและการฝึกอบรมทางเทคนิค เพื่อแปรรูปรัฐวิสาหกิจทางการค้าและอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงบริการด้านสุขภาพ เพื่อกระจายการส่งออก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพื่อลดอัตราการเติบโตของประชากรในอัตราสูง[54]

คอโมโรสอ้างสิทธิเหนือแนวปะการัง the Banc du Geyser และ หมู่เกาะ Glorioso ว่าเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ[55]

คอโมโรสเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อการกลืนกินกฎหมายธุรกิจในแอฟริกา (OHADA)[56]

สังคม

แก้

ข้อมูลประชากร

แก้
 
มัสยิดในเมืองโมโรนี

ด้วยประชากรที่น้อยกว่าล้านคน คอโมโรสเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่เป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดโดยมีประชากรเฉลี่ย 392 คนต่อตารางกิโลเมตร (710/ตารางไมล์) ในปี 2544 ประชากรร้อยละ 34 อยู่ในเขตเมือง และคาดว่าจะเติบโตขึ้นอีกเนื่องจากประชากรในเขตชนบทลดลง ขณะที่การเติบโตของประชากรโดยรวมยังค่อนข้างสูง[57]

เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรของคอโมโรสมีอายุต่ำกว่า 15 ปี[58] เมืองที่สำคัญ ได้แก่ โมโรนี มูตซัมมูดู โดโมนี ฟอมโบนี เซมเบฮู มีชาวคอโมโรสประมาณ 200,000 ถึง 350,000 คนในฝรั่งเศส[59]

กลุ่มชาติพันธุ์

แก้

ชาวหมู่เกาะคอโมโรสส่วนใหญ่เป็นชาวแอฟริกันอาหรับ หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะต่าง ๆ ของคอโมโรสยังคงเป็นชาว Shirazi[60] ชนกลุ่มน้อย ทั้งชาวมาดากัสการ์ (คริสเตียน) และอินเดีย (ส่วนใหญ่เป็นอิสลาม นิกาย Ismaili) และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของชาวฝรั่งเศสในช่วงแรก คนจีนยังมีอยู่ในบางส่วนของเกาะกร็องด์กอมอร์ (โดยเฉพาะในโมโรนี) ชนกลุ่มน้อยชาวฝรั่งเศสผิวขาวที่มีเชื้อสายยุโรป (เช่นดัตช์อังกฤษและโปรตุเกส) อาศัยอยู่ในคอโมโรสก็มีบ้าง ชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่อพยพไปหลังจากการประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ. 2518[61]

ภาษา

แก้

ภาษาที่ใช้ทั่วไปในคอโมโรส คือ ภาษาคอโมโรสหรือชิโกโมริ (Shikomori) เป็นภาษาที่สัมพันธ์กับภาษาสวาฮิลีโดยมีการพูดที่แตกต่างกันถึงสี่สำเนียง (Shingazidja, Shimwali, Shinzwani และ Shimaore) บนเกาะแต่ละแห่งทั้ง 4 เกาะ อักษรอาหรับและละตินก็มีการใช้เช่นเดียวกัน อักษรอาหรับเป็นอักษรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น และเพิ่งมีการพัฒนาอักขรวิธีขึ้นอย่างเป็นทางการสำหรับอักษรละติน[62]

ภาษาอาหรับและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการตามด้วยภาษาคอโมโรส ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่สองที่ใช้ในการสอนอัลกุรอาน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ใช้ในการบริหารและเป็นภาษาที่ใช้ในการศึกษานอกระบบอัลกุรอานทั้งหมด ภาษามาลากาซี ภาษา Kibushi มีผู้ใช้โดยประมาณหนึ่งในสามของประชากรบนเกาะมายอต[63]

ศาสนา

แก้
การนับถือศาสนาในคอโมโรส[61]
อิสลาม
  
98%
คริสต์
  
2%
 
ทิวทัศน์ของเมืองชายฝั่งในอ็องฌูอ็องรวมถึงมัสยิด

ศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ เป็นศาสนาที่มีบทบาทสำคัญซึ่งคิดเป็นร้อยละ 98 ของประชากร ประชากรกลุ่มน้อยในคอโมโรสส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพจากนครหลวงฝรั่งเศสเป็นชาวโรมันคาทอลิก[61]

สุขภาพ

แก้

มีแพทย์ 15 คนต่อประชากร 100,000 คน อัตราการเจริญพันธุ์อยู่ที่ 4.7 ต่อผู้หญิง 1 คนในปี 2547 อายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 67 สำหรับเพศหญิงและ 62 สำหรับผู้ชาย[64]

การศึกษา

แก้

เกือบทั้งหมดของประชากรที่มีการศึกษาของคอโมโรสได้เข้าเรียนในโรงเรียนกุรอานในช่วงชีวิตหนึ่งของพวกเขา ก่อนที่จะได้รับการศึกษาตามปกติ ที่นี่เด็กชายและเด็กหญิงได้รับการสอนเกี่ยวกับอัลกุรอานและต้องจดจำ พ่อแม่บางคนเลือกการสอนแบบนี้ในตอนแรก ก่อนที่จะชดเชยการเรียนการสอนในโรงเรียนภาษาฝรั่งเศสให้กับเด็กในภายหลัง นับตั้งแต่การประกาศอิสรภาพและการขับครูชาวฝรั่งเศสออกไป ระบบการศึกษาได้รับผลกระทบจากการฝึกอบรมครูที่แย่มากและผลลัพธ์ที่แย่เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี ความมั่นคงที่เพิ่งเกิดขึ้นจะช่วยให้มีการปรับปรุงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น[24]

ในปี 2543 เด็กที่อายุระหว่าง 5 ถึง 14 ปีอยู่ในโรงเรียนถึงร้อยละ 44.2 มีความขาดแคลนทั่วไปของสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ ครูที่มีคุณสมบัติ ตำราและทรัพยากรอื่น ๆ ค่าจ้างสำหรับครูมักจะถูกค้างชำระจนหลายคนปฏิเสธที่จะทำงาน[65]

ประมาณร้อยละห้าสิบของประชากรสามารถเขียนอักษรละตินได้ ขณะที่มากกว่าร้อยละ 90 สามารถเขียนอักษรอาหรับได้ มีผู้อ่านออกเขียนได้ประมาณร้อยละ 77.8[66] ภาษาคอโมโรสไม่มีอักษรดั้งเดิมแต่สามารถใช้อักษรได้ทั้งละตินและอาหรับ

วัฒนธรรม

แก้

สตรีชาวคอโมโรสพื้นถิ่นจะสวมชุดที่คล้ายส่าหรีที่มีสีสันสวยงามเรียกกันว่า ชิโรมานี (shiromani) และปะแป้งด้วยผงไม้จันทน์และปะการังที่เรียกกันว่า ซินซาโน (msinzano) บนหน้าของพวกเขา[67] เสื้อผ้าผู้ชายแบบดั้งเดิมเป็นกระโปรงยาวสีสันสดใสและเสื้อเชิ้ตสีขาวยาว ๆ[68]

เครือญาติและโครงสร้างทางสังคม

แก้
 
ชาวคอโมโรส

สังคมคอโมโรสจะมีระบบการสืบเชื้อสายแบบสองด้าน สมาชิกโดยสายเลือดและมรดกอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน, บ้าน) ส่งผ่านทางสายมารดา คล้ายกับชาวบันตูหลายคนก็มีการสืบเชื้อสายทางมารดาเช่นเดียวกัน ขณะที่สิ่งของอื่น ๆ และนามสกุลจะสืบทอดทางสายบิดา อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างในแต่ละเกาะ การสืบเชื้อสายทางแม่จะเข้มกว่าบนเกาะเอ็นกาซิดจา[69]

ดนตรี

แก้

ดนตรีทารับแบบแซนซิบาร์ยังคงเป็นแนวเพลงมีอิทธิพลมากที่สุดบนหมู่เกาะ[70]

สื่อ

แก้

มีหนังสือพิมพ์แห่งชาติของรัฐบาลในคอโมโรส ชื่อ อัล-วัตวาน (Al-Watwan)[71] ตีพิมพ์ในโมโรนี วิทยุคอโมโรสคือบริการวิทยุแห่งชาติและคอโมโรสเนชั่นแนลทีวีคือบริการด้านโทรทัศน์

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Comoros". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 17 April 2012.
  2. "GINI index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2014. สืบค้นเมื่อ 26 July 2013.
  3. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
  4. Walker, Iain. "Islands in a Cosmopolitan Sea: A History of the Comoros." Hurst Publishers. 2019, p 8-9.
  5. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  6. "Question of the Comorian island of Mayotte" (PDF). United Nations General Assembly Resolution. 21 October 1976. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2008. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
  7. "Comoros – Permanent Mission to the United Nations". 6 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2008. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
  8. "Subjects of UN Security Council Vetoes". Global Policy Forum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2008. สืบค้นเมื่อ 27 March 2008.
  9. "Article 33, Repertory, Supplement 5, vol. II (1970–1978)" (PDF). United Nations, Office of Legal Affairs (OLA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 October 2014.
  10. Nicolas Brucato; Veronica Fernandes; Stéphane Mazières; Pradiptajati Kusuma; Murray P. Cox; Joseph Wainaina Ng’ang’a; Mohammed Omar; Marie-Claude Simeone-Senelle; Coralie Frassati; Farida Alshamali; Bertrand Fin; Anne Boland; Jean-Francois Deleuze; Mark Stoneking; Alexander Adelaar; Alison Crowther; Nicole Boivin; Luisa Pereira; Pascal Bailly; Jacques Chiaroni; François-Xavier Ricaut (4 January 2018). "The Comoros Show the Earliest Austronesian Gene Flow into the Swahili Corridor". American Journal of Human Genetics. American Society of Human Genetics. 102 (1): 58–68. doi:10.1016/j.ajhg.2017.11.011. PMC 5777450. PMID 29304377.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 20Coups
  12. "Intrigue in the world's most coup-prone island paradise". The Economist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2019. สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.
  13. "Human Development Report 2021/2022" (PDF). United Nations Development Programme. 2022. p. 283.
  14. "Comores Online.com – reference to the history of the name". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 2011-12-04.
  15. Federal Research Division of the Library of Congress under the Country Studies/Area Handbook Program (August 1994). Ralph K. Benesch (บ.ก.). A Country Study: Comoros. Washington, D.C.: US Department of the Army.
  16. Thomas Spear (2000). "Early Swahili History Reconsidered". The International Journal of African Historical Studies. Boston University African Studies Center. 33 (2): 257–290. doi:10.2307/220649. JSTOR 220649.
  17. Thomas Spear (2000). "Early Swahili History Reconsidered". The International Journal of African Historical Studies. 33 (2): 264–5.
  18. 18.0 18.1 Thomas Spear (1984). "The Shirazi in Swahili Traditions, Culture, and History". History in Africa. African Studies Association. 11: 291–305. doi:10.2307/3171638. JSTOR 3171638.
  19. "Comoros - Early Visitors and Settlers". Library of Congress Country Studies.
  20. Andre Bourde (May 1965). "The Comoro Islands: Problems of a Microcosm". The Journal of Modern African Studies. 3 (1): 91–102. doi:10.1017/S0022278X00004924.
  21. Barbara Dubins (September 1969). "The Comoro Islands: A Bibliographical Essay". African Studies Bulletin. African Studies Association. 12 (2): 131–137. doi:10.2307/523155. JSTOR 523155.
  22. 22.0 22.1 Eliphas G. Mukonoweshuro (October 1990). "The Politics of Squalor and Dependency: Chronic Political Instability and Economic Collapse in the Comoro Islands". African Affairs. 89 (357): 555–577.
  23. Moorcraft, Paul L.; McLaughlin, Peter (April 2008) [1982]. The Rhodesian War: A Military History. Barnsley: Pen and Sword Books. pp. 120–121. ISBN 978-1-84415-694-8.
  24. 24.0 24.1 Abdourahim Said Bakar (1988). "Small Island Systems: A Case Study of the Comoro Islands". Comparative Education. 24 (2, Special Number (11): Education and Minority Groups): 181–191. doi:10.1080/0305006880240203.
  25. Christopher S. Wren (8 December 1989). "Mercenary Holding Island Nation Seeks Deal". New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  26. Judith Matloff (6 October 1995). "Mercenaries seek fun and profit in Africa". Vol. 87 no. 219. Christian Science Monitor. ISSN 0882-7729.
  27. Marlise Simons (5 October 1995). "1,000 French Troops Invade Comoros to Put Down Coup". New York Times. pp. Section A, Page 10, Column 3.
  28. "French Mercenary Gives Up in Comoros Coup". New York Times. Associated Press. 6 October 1995. pp. Section A, Page 7, Column 1.
  29. Kamal Eddine Saindou (6 November 1998). "Comoros president dies from heart attack". Associated Press. pp. International News.
  30. "COMOROS: COUP LEADER GIVES REASONS FOR COUP". BBC Monitoring Africa (Radio France Internationale). 1 May 1999.
  31. Rodrique Ngowi (3 August 2000). "Breakaway island's ruler says no civilian rule until secession crisis resolved". Associated Press.
  32. "Mbeki flies in to Comoros islands summit in bid to resolve political crisis". Agence France Presse. 20 December 2003.
  33. "Comoros said "calm" after Azali Assoumani declared elected as federal president". BBC Monitoring Africa. 10 May 2002.
  34. UN Integrated Regional Information Networks (15 May 2006). "Comoros; Ahmed Abdallah Sambi Set to Win Presidency by a Landslide". AllAfrica, Inc. Africa News.
  35. "COMOROS: The legacy of a Big Man on a small island". IRIN.
  36. "Anti-French protests in Comoros". BBC News. 27 March 2008. สืบค้นเมื่อ 27 March 2008.
  37. Martin Ottenheimer; Harriet Ottenheimer (1994). Historical Dictionary of the Comoro Islands. African Historical Dictionaries; No. 59. Metuchen, N.J.: Scarecrow Press. pp. 20, 72. ISBN 978-0-585-07021-6.
  38. "Comoros 2001 (rev. 2009)". Constitute. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
  39. 39.0 39.1 "FUNDAMENTAL LAW OF THE UNION OF COMOROS (English excerpts)". Centre for Human Rights, University of Pretoria, South Africa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Word document)เมื่อ 2006-10-09. สืบค้นเมื่อ 2015-10-11. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  40. AFRICAN ELECTIONS DATABASE, Elections in the Comoros.
  41. "COMOROS: Reforming 'the coup-coup islands'". IRIN.
  42. "Comoros: Referendum Approves Downscaling of Government". AllAfrica Global Media. 19 May 2009. สืบค้นเมื่อ 20 May 2009.
  43. Security Council S/PV. 1888 para 247 S/11967 [1] [2] เก็บถาวร 17 มีนาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  44. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GA31_first-resolution
  45. "Forty-ninth session: Agenda item 36: 49/18. Question of the Comorian island of Mayotte" (PDF). United Nations General Assembly. 6 December 1994. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 May 2008.
  46. unfccc.int KYOTO PROTOCOL – STATUS OF RATIFICATION
  47. Office of the Prosecutor, Situation on Registered Vessels of Comoros, Greece and Cambodia Article 53(1) Report, Report of 6th November 2014
  48. Statement of the Prosecutor of the International Criminal Court, Fatou Bensouda, on concluding the preliminary examination of the situation referred by the Union of the Comoros: “Rome Statute legal requirements have not been met”,Statement of 6th November 2014 เก็บถาวร 2015-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  49. Ratha, Dilip; Sanket Mohapatra; Ani Silwal (2011). "The Migration and Remittances Factbook 2011: Comoros" (PDF). Worldbank.org. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
  50. FINAL EVALUATION, Peace Building Fund Programme in the Comoros 2008–2011, 19 October 2011 – 8 November 2011
  51. 51.0 51.1 "UNION OF THE COMOROS: POVERTY REDUCTION AND GROWTH STRATEGY PAPER (UPDATED INTERIM PAPER)" (PDF). Office of the General Commissioner for Planning, Ministry of Planning and Regional Development. October 2005.
  52. "Comoros: Financial Sector Profile". mfw4a.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2011. สืบค้นเมื่อ 15 January 2011.
  53. Ottenheimer, pp. 3, 10
  54. "Rural Poverty Portal". ruralpovertyportal.org.
  55. Mohammed Khalid (August 2013). "Disputed Islands of the Indian Ocean: A potential danger to Regional peace". Journal of Indian Oceans Studies. 21 (2): 127-128. ISSN 0972-3080.
  56. "OHADA.com: The business law portal in Africa". สืบค้นเมื่อ 22 March 2009.
  57. Population Division of the Department of Economic and Social Affairs of the United Nations Secretariat (2005) World Population Prospects: The 2004 Revision and World Urbanization Prospects: The 2005 Revision.
  58. "Comoros". Encyclopædia Britannica.
  59. "FACTBOX-Relations between France and Comoros". Reuters. 27 March 2008.
  60. Ari Nave (2010). Anthony Appiah; Henry Louis Gates (บ.ก.). Encyclopedia of Africa. Oxford University Press. pp. 187–188. ISBN 978-0-19-533770-9.
  61. 61.0 61.1 61.2 "Africa :: COMOROS". CIA The World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
  62. Mohamed Ahmed-Chamanga (2010). Introduction à la grammaire structurale du comorien. Moroni: Komedit.
  63. Ethnologue report for Comoros. ethnologue.com
  64. "WHO Country Offices in the WHO African Region – WHO Regional Office for Africa" (PDF). Afro.who.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-01-07. สืบค้นเมื่อ 1 June 2010.
  65. "Comoros". 2005 Findings on the Worst Forms of Child Labor เก็บถาวร 2006-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Bureau of International Labor Affairs, U.S. Department of Labor (2006). This article incorporates text from this source, which is in the public domain.
  66. UNESCO Institute for Statistics, country profile of Comoros; 2004.
  67. "Union of Comoros". Arab Cultural Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-27. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
  68. "Comoros Islands: Islands & Beyond". comoros-islands.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
  69. Sophie Blanchy (February 2019). "A matrilineal and matrilocal Muslim society in flux: negotiating gender and family relations in the Comoros". Africa. Cambridge University Press. 89 (1): 21–39. doi:10.1017/S0001972018000682. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
  70. Ewens, Graeme and Werner Graebner. "A Lightness of Touch". 2000. In Broughton, Simon and Ellingham, Mark with McConnachie, James and Duane, Orla (Ed.), World Music, Vol. 1: Africa, Europe and the Middle East, pp 505-508. Rough Guides Ltd, Penguin Books. ISBN 1-85828-636-0
  71. "Accueil – Al-Watwan, quotidien comorien, actualités et informations des Comores". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-26. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.

บรรณานุกรม

แก้
  • Martin Ottenheimer and Harriet Ottenheimer (1994). Historical Dictionary of the Comoro Islands. African Historical Dictionaries; No. 59. Metuchen, N.J.: Scarecrow Press. ISBN 978-0-585-07021-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้