แซนซิบาร์
แซนซิบาร์ (อังกฤษ: Zanzibar; สวาฮีลี: Zanzibar; อาหรับ: زنجبار, อักษรโรมัน: zanjibār) คือภูมิภาคเกาะกึ่งปกครองตนเองที่รวมเข้ากับแทนกันยีกาใน ค.ศ. 1964 เพื่อสถาปนาสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย โดยเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอินเดียที่อยู่ห่างจากแอฟริกาแผ่นดินใหญ่ 25–50 km (16–31 mi) และประกอบด้วยเกาะเล็กหลายแห่งกับเกาะใหญ่สองแห่ง คือ: อุงกูจา (เกาะหลัก, นิยมเรียกว่าเกาะแซนซิบาร์) แลพเกาะเพมบา แซนซิบาร์ซิตี เมืองหลักของแซนซิบาร์ ตั้งอยู่บนเกาะอุงกูจา และสโตนทาวน์ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งมรดกโลก
อุตสาหกรรมหลักของแซนซิบาร์คือเครื่องเทศ, แรฟเฟีย และการท่องเที่ยว[1] เครื่องเทศหลักที่ผลิตได้แก่กานพลู จันทน์เทศ อบเชย และพริกไทย การท่องเที่ยวในแซนซิบาร์เป็นกิจกรรมล่าสุดที่รัฐบาลเข้ามาสนับสนุน ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 19,000 คนใน ค.ศ. 1985[2] ไปเป็น 376,000 คนใน ค.ศ. 2016[3] ตัวหมู่เกาะเข้าถึงได้ผ่านท่าเรือ 5 แห่ง และท่าอากาศยานนานาชาติอาเบด อามานี คารูเมที่สามารถรองรับผู้โดยสารถึง 1.5 ล้านคนต่อปี[4]
ระบบนิเวศทางทะเลของแซนซิบาร์เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสาหร่าย (algaculture) และมีระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งอนุบาลปลาสำหรับประชากรปลาในมหาสมุทรอินเดีย ที่มากไปกว่านั้น ระบบนิเวศบนบกที่เป็นอยู่ของ Zanzibar red colobus กับ Zanzibar servaline genet สัตว์เฉพาะถิ่น และเสือดาวแซนซิบาร์ สัตว์ที่หายากหรือสูญพันธ์ุแล้ว[5][6] ความกดดันจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการประมง เช่นเดียวกันกับภัยขนาดใหญ่กว่าอย่างการเพิ่มของระดับน้ำทะเลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค[7]
ศัพทมูลวิทยา
แก้คำว่า Zanzibar มาจากภาษาอาหรับว่า ซันญิบาร (زنجبار [zandʒibaːr]) ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียว่า แซงบอร์ (زنگبار [zæŋbɒːɾ]) โดยเป็นคำประสมของ แซง (زنگ [zæŋ], "ดำ") + บอร์ (بار [bɒːɾ], "ชายฝั่ง")[8][9][10] เทียบกับ ทะเลซันจญ์ ชื่อนี้เป็นหนึ่งในชื่อสถานที่หลายชื่อที่มีต้นกำเนิดคำที่คล้ายกัน โดยหมายถึง "ดินแดนคนผิวดำ" หรือความหมายที่คล้ายกัน ซึ่งสื่อถึงผู้อยู่อาศัยที่มีผิวดำ
อ้างอิง
แก้- ↑ "Exotic Zanzibar and its seafood". 21 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2011. สืบค้นเมื่อ 11 June 2011.
- ↑ Lange, Glenn-Marie (2015-02-01). "Tourism in Zanzibar: Incentives for sustainable management of the coastal environment". Ecosystem Services. Marine Economics and Policy related to Ecosystem Services: Lessons from the World's Regional Seas (ภาษาอังกฤษ). 11: 5–11. doi:10.1016/j.ecoser.2014.11.009. ISSN 2212-0416.
- ↑ Yussuf, Issa (19 April 2017). "Tanzania: Number of Tourists to Zanzibar Doubles As Tourist Hotels Improve Service Delivery". allAfrica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2017. สืบค้นเมื่อ June 4, 2019.
- ↑ "Zanzibar forms Airports Authority, modernises aviation infrastructure". Business Times (Tanzania). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013.
- ↑ Li, Joanna (2018-06-07). "Zanzibar Leopard Captured on Camera, Despite Being Declared Extinct". Inside Edition. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-08-16.
- ↑ Seaburn, Paul (2018-06-12). "Extinct 'Evil' Zanzibar Leopard Seen Alive in Tanzania". Mysterious Universe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-06-26.
- ↑ Khamis, Zakaria A.; Kalliola, Risto; Käyhkö, Niina (2017-11-15). "Geographical characterization of the Zanzibar coastal zone and its management perspectives". Ocean & Coastal Management (ภาษาอังกฤษ). 149: 116–134. Bibcode:2017OCM...149..116K. doi:10.1016/j.ocecoaman.2017.10.003. ISSN 0964-5691. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2021. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
- ↑ Harper, Douglas. "zanzibar". Online Etymology Dictionary.
- ↑ Richard F. Burton (2010). The Lake Regions of Central Africa. New York: Cosimo, Inc. p. 38. ISBN 978-1-61640-179-5.
- ↑ Mehrdad Shokoohy (2013). Muslim Architecture of South India: The Sultanate of Ma'bar and the Traditions of Maritime Settlers on the Malabar and Coromandel Coasts (Tamil Nadu, Kerala and Goa). New York: Routledge. p. 137. ISBN 978-1-136-49977-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2023. สืบค้นเมื่อ 10 July 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- รัฐบาลแซนซิบาร์ เก็บถาวร 26 กันยายน 2023 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Current and forecast weather for Zanzibar
- President's office เก็บถาวร 2014-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Tourism Portal