รัฐสุลต่านแซนซิบาร์

รัฐสุลต่านแซนซิบาร์ (สวาฮีลี: Usultani wa Zanzibar , อาหรับ: سلطنة زنجبار, อักษรโรมัน: Sulṭanat Zanjībār) [1] เป็นรัฐมุสลิมในแอฟริกาตะวันออกที่ปกครองโดยสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ ระหว่าง ค.ศ. 1856 - 1964 [4] ดินแดนของรัฐสุลต่านนีเมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดยุคสมัย และในที่สุด รัฐสุลต่านนี้มีอำนาจอธิปไตยอยู่เหนือเพียง หมู่เกาะแซนซิบาร์ และพื้นที่แนวชายฝั่งของเคนยา 16 กม. ในขณะที่พื้นที่ภายในประเทศเคนยาในตอนนั้นเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ทำให้พื้นที่แถบชายฝั่งถูกบริหารราชการแผ่นดินเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมนั้นโดย พฤตินัย

รัฐสุลต่านแซนซิบาร์

1856–1964
ธงชาติแซนซิบาร์
ธงชาติ
(1963–1964)
ตราแผ่นดินของแซนซิบาร์
ตราแผ่นดิน
สีชมพู คือ รัฐสุลต่านแซนซิบาร์
สีชมพู คือ รัฐสุลต่านแซนซิบาร์
สถานะ
เมืองหลวงสโตนทาวน์
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
อิสลาม[1]
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(1856–1963)
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(1963–1964)
สุลต่าน 
• 1856–1870
มาญิด บิน ซะอิด (พระองค์แรก)
• 1963–1964
ญัมชิด บิน อิบดุลลอฮ์ อัล ซะอิด (พระองค์สุดท้าย)
มุขมนตรี 
• 1961
เจฟฟรีย์ ลอว์เรนซ์
• 1961–1964
มุฮัมหมัด ฮามาดี
ประวัติศาสตร์ 
• การแยกจักรวรรดิโอมาน
19 ตุลาคม 1856
1 กรกฎาคม 1890
27 สิงหาคม 1896
• การปฏิวัติแซนซิบาร์
12 มกราคม 1964
ประชากร
• 1964[2]
300,000
สกุลเงินเรียลแซนซิบาร์[3] (1882–1908)
รูปีแซนซิบาร์ (1908–1935)
ชิลลิงแอฟริกาตะวันออก (1935–1964)
รวมถึงรูปีอินเดีย และ มาเรีย เทเรซา ธาลเลอร์ มีหมุนเวียนในระบบด้วย
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโอมาน
สาธารณรัฐประชาชนแซนซิบาร์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

ภายใต้ข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1963 สุลต่านแห่งแซนซิบาร์ทรงสละอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ และในวันที่ 12 ธันวาคม ปีเดียวกัน เคนยาก็ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 มกราคม ปีถัดมา ญัมชิด บิน อับดุลลออฮ์ สุลต่านพระองค์สุดท้าย ทรงถูกปลดออกจากอำนาจและสูญเสียอำนาจอธิปไตยเหนือแซนซิบาร์ ซึ่งเป็นดินแดนสุดท้าย อันเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของรัฐสุลต่าน

เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1964 เกิดการปฏิวัติขึ้นในรัฐสุลต่านแซนซิบาร์ นำโดยพรรคแอฟริกันแอฟโฟร-ชีราซี เพื่อโค่นล้มรัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่อยู่เป็นกลุ่มอาหรับ นำโดยกลุ่มคนผิวสีซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในรัฐสุลต่าน การปฏิวัติเป็นไปอย่างโหดร้ายทารุณ มีผู้บาดเจ็บล้มตายประมาณ 2,000-20,000 คน พรรคดังกล่าวได้ใช้วิธีการอันโหดร้ายทารุณอย่างยิ่ง เช่น การสังหาร และบางครั้งถึงขั้นข่มขืนชาวอาหรับ

ประวัติศาสตร์

แก้

การก่อตั้ง

แก้

ตามที่นักสำรวจในศตวรรษที่ 16 นามว่า เลโอ อาฟริกานุซ กล่าวไว้ว่า แซนซิบาร์ (Zanguebar) เป็นคำที่ชาวอาหรับและเปอร์เซียใช้เรียกชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาที่ทอดยาวจากเคนยาไปจนถึงโมซัมบิก ซึ่งปกครองโดยอาณาจักรมุสลิมกึ่งอิสระ 5 อาณาจักร ได้แก่ มอมบาซา มาลินดี กิลวา โมซัมบิก และ โซฟาลา นอกจากนี้ อาฟริกานุซ ยังสังเกตอีกว่าทุกรัฐมีข้อตกลงสวามิภักดิ์ต่อรัฐสำคัญๆ ในแอฟริกากลาง รวมถึง ราชอาณาจักรมูตาปา ด้วย [5] [6]

ในปี ค.ศ. 1698 แซนซิบาร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนโพ้นทะเลของโอมาน หลังจากที่ ซะอิฟ บิน ซุลตัน อิหม่ามของโอมาน เอาชนะโปรตุเกสใน มอมบาซา ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศเคนยา ในปีค.ศ. 1832 [7] หรือ 1840 [8] ผู้ปกครองโอมาน ซะอิด บิน ซุลตัน ทรงย้ายราชสำนักของเขาจากกรุงมัสกัตมายังสโตนทาวน์ บนเกาะอุนกุจา (เกาะแซนซิบาร์) พระองค์ได้ทรงสถาปนากลุ่มชนชั้นนำอาหรับและทรงสนับสนุนให้มีการปลูกต้น กานพลู โดยใช้แรงงานทาสบนเกาะ [9] ต่อมมการค้าของแซนซิบาร์ตกอยู่ในมือของพ่อค้าจากอนุทวีปอินเดีย มากขึ้น ซึ่งซะอิดทรงสนับสนุนให้พ่อค้าเหล่านี้มาตั้งถิ่นฐานบนเกาะ หลังจากที่พระองค์สรรคตในปีค.ศ. 1856 พระราชโอรสทั้งสอง คือ มาญิด บิน ซะอิด และ ทูเวไน บิน ซะอิด ได้ต่อสู้กันเพื่อชิงราชบัลลังก์ ดังนั้นแซนซิบาร์และโอมานจึงถูกแบ่งออกเป็นสองอาณาจักร ที่แยกจากกันโดยสิ้นเชิง ทูเวไน ทรงเป็นสุลต่านแห่งมัสกัตและโอมาน ในขณะที่ มาญิดทรงเป็นสุลต่านองค์แรกของแซนซิบาร์ แต่จำเป็นต้องจ่ายราชบรรณาการประจำปีให้กับราชสำนักโอมานในกรุงมัสกัต [10] [11] ระหว่างการครองราชย์เป็นสุลต่านนาน 14 ปี พระองค์ได้ทรงรวบรวมอำนาจของพระองค์ให้มั่นคงโดยเกี่ยวข้องกับ การค้าทาสในท้องถิ่น ภายใต้แรงกดดันจากอังกฤษ รัชทายาทของพระองค์ พระนามว่า บาร์กัช บิน ซะอิด ได้ทรงช่วยยกเลิก การค้าทาสในแซนซิบาร์ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นส่วนใหญ่ [12] สุลต่านคนที่สาม เคาลีฟะฮ์ บิน ซะอิด ยังทรงผลักดันความก้าวหน้าของประเทศในการยกเลิกทาสอีกด้วย [13]

การสูญเสียพระราชอำนาจของสุลต่านเหนืออาณาจักร

แก้

สุลต่านแห่งแซนซิบาร์ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของชายฝั่งสวาฮีลี ซึ่งเรียกว่า ซันจญ์ และ เส้นทางการค้าที่ทอดยาวไปในทวีปยุโรป ไปจนถึงคินดู บนแม่น้ำคองโก จนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1884 อย่างไรก็ตาม ในปีนั้นเองสมาคมอาณานิคมเยอรมันได้บังคับให้ผู้นำชนเผ่าในพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่ตกลงที่จะให้เยอรมันเป็นผู้อารักขา จนทำให้สุลต่าน บาร์กัช บิน ซะอิด ทรงออกมาเรียกร้อง ซึ่งในช่วงนั้นเองได้เกิดการประชุมเบอร์ลิน และ การล่าอาณานิคมแอฟริกา เยอรมนีเริ่มสนใจในพื้นที่ดังกล่าวอีกครั้งในปีค.ศ. 1885 จากการเข้ามาของ บริษัทแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น มีภารกิจในการตั้งอาณานิคมในพื้นที่ดังกล่าว

ในปีค.ศ. 1886 อังกฤษและเยอรมันได้พบปะกันเป็นการลับเพื่อหารือถึงจุดมุ่งหมายในการขยายอิทธิพลในเขตเกรทเลกส์ของแอฟริกา โดยมีเขตอิทธิพลที่ตกลงกันไว้แล้วในปีก่อนหน้า โดยอังกฤษจะยึดครองพื้นที่ที่ต่อมาจะกลายเป็นรัฐในอารักขาแอฟริกาตะวันออก (ปัจจุบันคือ เคนยา ) และเยอรมันจะยึด แทนซาเนีย ในปัจจุบัน ทั้งสองได้เช่าพื้นที่ชายฝั่งจากแซนซิบาร์และจัดตั้งสถานีการค้าและป้อมปราการ จนในอีกไม่กี่ปีต่อมา ดินแดนในแผ่นดินใหญ่ของแซนซิบาร์ทั้งหมดถูกปกครองโดยมหาอำนาจจักรวรรดิยุโรป เริ่มตั้งแต่ในปีค.ศ. 1888 เมื่อ บริษัทแอฟริกาตะวันออกของจักรวรรดิอังกฤษ เข้ามาบริหารเมือง มอมบาซา [14]

ในปีเดียวกันนั้นบริษัทแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนีได้รับอำนาจในการปกครองโดยตรงอย่างเป็นทางการเหนือพื้นที่ชายฝั่งที่เคยอยู่ภายใต้การคุ้มครองของเยอรมันมาก่อน ส่งผลให้เกิดการลุกฮือของชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า การกบฏอาบูชิรี ซึ่งได้รับการปราบปรามโดยกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมัน และเป็นสัญญาณว่าอิทธิพลของแซนซิบาร์บนแผ่นดินใหญ่จะสิ้นสุดลง

การสถาปนารัฐแซนซิบาร์ในอารักขาของอังกฤษ

แก้

จากการลงนามในสนธิสัญญาเฮลิโกลันด์-แซนซิบาร์ ระหว่างสหราชอาณาจักรกับจักรวรรดิเยอรมัน ในปีค.ศ. 1890 ทำให้แซนซิบาร์เองกลายเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ [15] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1896 หลังจากการสวรรคตของสุลต่านฮาเม็ด บิน ทูเวไน อังกฤษและแซนซิบาร์สู้รบกันเป็นเวลา 38 นาที ซึ่งถือเป็นสงครามที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ การต่อสู้เพื่อสืบทอดอำนาจเกิดขึ้นเมื่อ คอลิด บิน บาร์กัช พระภาดาในสุลต่านยึดอำนาจ แต่อังกฤษต้องการให้ ฮามูด บิน โมฮัมเหม็ด ขึ้นเสวยราชสมบัติ เนื่องจากอังกฤษเชื่อว่าจะสมารถทำงานร่วมกับพระองค์ได้ง่ายกว่า อังกฤษให้เวลาคอลิดหนึ่งชั่วโมงในการเสด็จอพยพออกจากพระราชวังของสุลต่านในสโตนทาวน์ คอลิดทำไม่ได้และแทนที่จะทำเช่นนั้น กลับทรงรวบรวมกองทัพจำนวน 2,800 นายเพื่อต่อสู้กับอังกฤษ อังกฤษเปิดฉากโจมตีพระราชวังและสถานที่อื่นๆ รอบเมือง หลังจากนั้นคอลิดก็ทรงล่าถอยและเสด็จลี้ภัย ต่อมาเจ้าชายฮามูดได้รับการสถาปนาเป็นสุลต่าน [16]

การสถาปนาแอฟริกาตะวันออกในอารักขาของอังกฤษ

แก้

ในปีค.ศ. 1886 รัฐบาลสหราชอาณาจักรสนับสนุนให้ วิลเลียม แม็กคินนอน ซึ่งได้ทำข้อตกลงกับสุลต่านอยู่แล้วรวมทั้งบริษัทเดินเรือของเขาทำการค้าขายในบริเวณ เกรทเลกส์ของแอฟริกา อย่างกว้างขวาง เพิ่มอิทธิพลของอังกฤษในภูมิภาคนั้น เขาได้ก่อตั้งสมาคมแอฟริกาตะวันออกของอังกฤษซึ่งส่งผลให้ บริษัทแอฟริกาตะวันออกของอังกฤษ ได้รับพระราชทานตราตั้งในปี 1888 รวมทั้งได้รับพระราชทานอำนาจสิทธิในการบริหารราชการในดินแดนชายฝั่ง 240 กม. ที่ทอดยาวจาก แม่น้ำจูบบา ผ่านเมืองมอมบาซาไปจนถึง แอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี ซึ่งเช่ามาจากสุลต่าน “เขตอิทธิพล”ของอังกฤษที่เป็นไปตามตกลงกันใน การประชุมเบอร์ลิน ในปี 1885 นี้ ได้ขยายออกไปทางชายฝั่งและภายในประเทศเคนยาในอนาคต และหลังจากปี พ.ศ. 2433 ก็รวมถึง ยูกันดา ด้วยเช่นกัน มอมบาซาเป็นศูนย์กลางการบริหารในขณะนั้น [14]

อย่างไรก็ตาม บริษัทเริ่มล้มเหลว และในวันที่ 1 กรกฎาคม 1895 รัฐบาลอังกฤษประกาศให้ แอฟริกาตะวันออกเป็นรัฐในอารักขา และการบริหารราชการได้ถูกโอนไปยังกระทรวงต่างประเทศ ต่อมาในปี 1902 การบริหารราชการได้ถูกโอนกลับไปยัง กระทรวงอาณานิคมอีกครั้ง อีกทั้งดินแดนของยูกันดาก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐในอารักขาด้วย ในปี 1897 ลอร์ดเดลาเมียร์ ผู้บุกเบิกการตั้งถิ่นฐานของคนผิวขาว ได้เดินทางมาถึงที่ราบสูงของเคนยา ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐในอารักขา [17] : 761 ลอร์ดเดลาเมียร์มีแนวคิดว่าการเกษตรในพื้นที่นี้น่าจะประสบผลสำเร็จดี ในปี 1902 เขตแดนของดินแดนในอารักขาได้รับการขยายออกไปเพื่อรวมพื้นที่ที่เคยเป็นจังหวัดทางตะวันออกของ ยูกันดา [17] : 761 [18] นอกจากนี้ในปีปีเดียวกัน สมาคมแอฟริกาตะวันนออกยังได้รับดินแดนจำนวน 1,300 km2 (500 sq mi) เพื่อส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานของคนผิวขาวในเขตภูเขา ลอร์ดเดลาเมียร์เริ่มทำเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง และในปี 1905 เมื่อผู้อพยพจำนวนมากมาจากอังกฤษและแอฟริกาใต้ ดินแดนในอารักขาจึงถูกโอนจากอำนาจของกระทรวงต่างประเทศไปเป็นอำนาจของกระทรวงอาณานิคม [17] : 762 เมืองหลวงถูกย้ายจากมอมบาซาไปที่ ไนโรบี ในปี 1905 รัฐบาลและสภานิติบัญญัติได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมติสภาในปี 1906 [17] : 761 รัฐบาลนี้กำหนดให้ผู้บริหาร เป็นข้าหลวง และจัดให้มีสภานิติบัญญัติและสภาบริหาร พันโท เจ. เฮย์ส แซดเลอร์ เป็นข้าหลวงและผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนแรก มีปัญหาเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวกับชนเผ่าในพื้นที่ แต่ประเทศก็ถูกเปิดโดยรัฐบาลอาณานิคมโดยมีการนองเลือดเพียงเล็กน้อย [17] : 761 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้อพยพจากอังกฤษและแอฟริกาใต้เดินทางมาเพิ่มมากขึ้น และในปี 1919 ประชากรยุโรปมีจำนวนประมาณ 9,000 คน [17] : 761 

การสูญเสียอำนาจอธิปไตยเหนือเคนยา

แก้

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ.1920 พื้นที่ภายในรัฐของอารักขาแอฟริกาตะวันออกถูกผนวกเป็นดินแดนของอังกฤษ ส่วนหนึ่งของอดีรัฐในอารักขาถูกสถาปนาขึ้นเป็นอาณานิคมของเคนยา และตั้งแต่นั้นมาสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ก็ไม่มีพระราชอำนาจเหนือดินแดนนั้นอีกเลย พื้นที่แนวชายฝั่ง 16 กม. ยังคงเป็นรัฐในอารักขาภายใต้ข้อตกลงกับสุลต่านของแซนซิบาร์ ส่วนแถบชายฝั่งที่เหลือซึ่งอยู่ภายใต้พระราชอำนาจของสุลต่านแห่งแซนซีบาร์ ต่อมาก็ถูกตั้งขึ้นเป็นรัฐในอารักขาเคนยาในปี 1920[14]

รัฐในอารักขาเคนยาได้รับการปกครองโดยเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมเคนยา ตามข้อตกลงระหว่างสหราชอาณาจักรและสุลต่านลงวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 [17] : 762  [19] โดยสรุปแล้ว “อาณานิคมเคนยา” หมายถึงดินแดนภายในประเทศ “รัฐในอารักขาเคนยา” เป็นพื้นที่ชายฝั่ง 16 กม. รวมทั้งเกาะบางเกาะซึ่งยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ จนกระทั่งเคนยาได้รับเอกราช

อาณานิคมเคนยาและรัฐในอารักขาเคนยาสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1963 สหราชอาณาจักรได้สละอำนาจอธิปไตยเหนืออาณานิคมเคนยา และภายใต้ข้อตกลงลงวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1963 สุลต่านทรงเห็นพ้องและทรงพร้อมกับการประกาศเอกราชของเคนยา สุลต่านจะทรงยุติอำนาจอธิปไตยเหนือรัฐในอารักขาเคนยา [17] : 762  ดังนั้น เคนยาจึงกลายเป็นประเทศเอกราชภายใต้พระราชบัญญัติเอกราชของเคนยา ค.ศ. 1963 หลังจากนั้น 12 เดือน ในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1964 เคนยาได้กลายเป็นสาธารณรัฐภายใต้ชื่อ "สาธารณรัฐเคนยา" [17] : 762 

สิ้นสุดรัฐแซนซิบาร์ในอารักขาของอังกฤษและการถอดถอนสุลต่าน

แก้

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1963 รัฐในอารักขาซึ่งครั้งหนึ่งมีอาณาบริเวณเหนือเกาะแซนซิบาร์ตั้งแต่ ค.ศ. 1890 ได้ถูกยุติลง สหราชอาณาจักรไม่ได้ให้เอกราชแก่แซนซิบาร์ เนื่องจากสหราชอาณาจักรไม่เคยมีอำนาจอธิปไตยเหนือแซนซิบาร์ ในทางกลับกัน โดยพระราชบัญญัติแซนซิบาร์ ค.ศ. 1963 ของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรได้ยุติการเป็นรัฐในอารักขาและจัดให้มีการปกครองตนเองเต็มรูปแบบในแซนซิบาร์ในฐานะรัฐอิสระภายในเครือจักรภพ เมื่อรัฐในอารักขาถูกยกเลิก แซนซิบาร์ก็กลายเป็นรัฐที่มีราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญภายในเครือจักรภพภายใต้การปกครองของสุลต่าน [20] สุลต่านญัมชิด บิน อับดุลลอฮ์ ทรงถูกโค่นล้มและถอดถอนจากราชสมบัติในหนึ่งเดือนต่อมาในช่วงการปฏิวัติแซนซิบาร์ [21] ญัมชิดทรงลี้ภัย และรัฐสุลต่านเปลี่ยนการปกครองเป็น สาธารณรัฐประชาชนแซนซิบาร์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1964 การดำรงอยู่ของสาธารณรัฐสังคมนิยมนี้สิ้นสุดลงด้วยการรวมกับแทนกันยีกา เพื่อก่อตั้ง สหสาธารณรัฐแทนกันยีกาและแซนซิบาร์ ซึ่งหกเดือนต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ แทนซาเนีย [8]

ข้อมูลประชากร

แก้

ในปีค.ศ. 1964 ประเทศนี้เป็นประเทศที่มี การปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ โดยมีสุลต่านญัมชิด ทรงปกครอง [22] แซนซิบาร์มีประชากรประมาณ 230,000 คน ซึ่งบางคนอ้างว่ามีบรรพบุรุษเป็นชาวเปอร์เซีย และเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่าชาวชีราซี [2] ยังมีกลุ่มชนกลุ่มน้อยที่สำคัญจำนวน 50,000 คน ที่เป็นชาวอาหรับ และประชากรราว 20,000 คน ที่เป็นชาวเอเชียใต้ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในธุรกิจและการค้า [2] กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เริ่มผสมปนเปกัน และความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์ก็เริ่มเลือนลาง [22] ตามที่นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งกล่าวไว้ เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่สุลต่านญัมชิดได้รับการสนับสนุนโดยทั่วไปก็คือความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของพระราชวงศ์ [22] อย่างไรก็ตาม ชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ในเกาะซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ มักมีฐานะร่ำรวยกว่าชาวพื้นเมือง [23] พรรคการเมืองหลักๆ จัดตามกลุ่มชาติพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ โดยชาวอาหรับครองอำนาจในพรรคชาตินิยมแซนซิบาร์ (ZNP) และชาวพื้นเมืองครองอำนาจใน พรรคแอฟโฟร-ชีราซี (ASP) [22]

ดูเพิ่มเติม

แก้

ภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Gascoigne, Bamber (2001). "History of Zanzibar". HistoryWorld. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
  2. 2.0 2.1 2.2 Speller 2007, p. 4
  3. "Coins of Zanzibar". Numista. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
  4. Ndzovu, Hassan J. (2014). "Historical Evolution of Muslim Politics in Kenya from the 1840s to 1963". Muslims in Kenyan Politics: Political Involvement, Marginalization, and Minority Status. Northwestern University Press. pp. 17–50. ISBN 9780810130029. JSTOR j.ctt22727nc.7.
  5. Africanus, Leo (1526). The History and Description of Africa. Hakluyt Society. pp. 51–54. สืบค้นเมื่อ 11 July 2017.
  6. Ogot, Bethwell A. (1974). Zamani: A Survey of East African History. East African Publishing House. p. 104.
  7. Ingrams 1967, p. 162
  8. 8.0 8.1 Appiah & Gates 1999, p. 2045
  9. Ingrams 1967, p. 163
  10. "Background Note: Oman". U.S. Department of State - Diplomacy in Action.
  11. Ingrams 1967, pp. 163–164
  12. Michler 2007, p. 37
  13. Ingrams 1967, p. 172
  14. 14.0 14.1 14.2 "British East Africa". www.heliograph.com. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "BEA_Sinclair" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  15. Ingrams 1967, pp. 172–173
  16. Michler 2007, p. 31
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.6 17.7 17.8 Roberts-Wray, Sir Kenneth (1966). Commonwealth and Colonial Law. F.A. Praeger. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Roberts-Wray1966" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  18. East Africa Order in Council, 1902, S.R.O. 1902 No. 661, S.R.O. ^ S.I. Rev. 246
  19. "Kenya Gazette". 7 September 1921 – โดยทาง Google Books.
  20. United States Department of State 1975, p. 986
  21. Ayany 1970, p. 122
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Shillington 2005, p. 1716
  23. Parsons 2003, p. 106
  24. "The Harem and Tower Harbour of Zanzibar". Chronicles of the London Missionary Society. 1890. สืบค้นเมื่อ 2 November 2015.