การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม

การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมยุคต้น หรือ การพิชิตดินแดนของอิสลามยุคต้น (อังกฤษ: Early Muslim conquests; อาหรับ: الْفُتُوحَاتُ الإسْلَامِيَّة อัลฟุตูฮาต อัลอิสลามียะฮ์)[4] หรือ การพิชิตดินแดนโดยชาวอาหรับ[5] เป็นการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมเริ่มขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของนบีมุฮัมมัดของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ท่านก่อตั้งอาณาจักรทางการเมืองที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งขยายต่อเนื่องในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนและรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ในช่วงสูงสุดมีการปกครองของอิสลามที่จัดตั้งขึ้นในสามทวีป (เอเชีย, แอฟริกา และยุโรป) James Buchan นักประวัติศาสตร์ชาวสกอต รายงานว่า: "ในด้านความเร็วและขอบเขต การพิชิตของชาวอาหรับครั้งแรกนั้น เทียบเท่ากับการพิชิตของอเล็กซานเดอร์มหาราช และพวกเขาคงอยู่นานกว่า"[6]

การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมสมัยแรก

  การขยายตัวในสมัยมุฮัมมัด, 622–632
  การขยายตัวในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน, 632–661
  การขยายตัวในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์, 661–750
วันที่ค.ศ. 622–750
สถานที่
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ดินแดนอิสลามครอบคลุมจากคาบสมุทรไอบีเรียทางตะวันตกถึงอินเดียทางตะวันออก
คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ดูรายชื่อ
ดูรายชื่อ

ณ ช่วงสูงสุด ดินแดนที่พิชิตได้มีพื้นที่จากคาบสมุทรไอบีเรีย (ที่เทือกเขาพิเรนีส) ทางตะวันตกถึงอินเดีย (ที่สินธ์) ทางตะวันออก เขตการปกครองของมุสลิมครอบคลุมถึงซิซิลี แอฟริกาเหนือส่วนใหญ่ และตะวันออกกลาง กับคอเคซัสและเอเชียกลาง นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ เอ็ดเวิร์ด กิบบอน เขียนไว้ใน ประวัติศาสตร์ของการเสื่อมโทรมและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (The History of the Decline and Fall of the Roman Empire) ว่า:

ภายใต้การปกครองของประมุขอุมัยยะฮ์องค์สุดท้าย จักรวรรดิอาหรับมีเนื้อที่ที่ใช้เวลาเดินสองร้อยวันตั้งแต่ตะวันออกไปจนถึงตะวันตก - ตั้งแต่ทาร์ทารี (Tartary) และอินเดียไปจนถึงฝั่งทะเลของมหาสมุทรแอตแลนติก...

การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมนำมาซึ่งการล่มสลายของจักรวรรดิซาเซเนียนและการสูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ สาเหตุของความสำเร็จของการขยายดินแดนเป็นการยากที่จะเข้าใจเพราะเอกสารที่มาจากสมัยที่ว่ามีหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย เฟร็ด แมกกรอว ดอนเนอร์ นักวิชาการชาวอเมริกัน เสนอแนะว่าลักษณะการก่อตั้งของรัฐในคาบสมุทรอาหรับด้วยความสอดคล้องกันทางอุดมการณ์ (เช่น ศาสนา) และการประสานสัมพันธ์ในการเดินทัพเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของมุสลิมในการก่อตั้งจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ภายในระยะเวลาหนึ่งศตวรรษ การประมาณเนื้อที่ของจักรวรรดิกาหลิปมุสลิมเชื่อกันว่ามีเนื้อที่ทั้งหมดกว่า 13 ล้านตารางกิโลเมตร[7] นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าในช่วงนั้น จักรวรรดิซาเซเนียนและจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เริ่มเสื่อมโทรมลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารจากการสู้รบระหว่างกันเป็นเวลาหลายทศวรรษอยู่แล้ว[8]

มีข้อเสนอแนะว่าชาวยิวและชาวคริสต์ในดินแดนซาเซเนียนกับไบแซนไทน์บางส่วนมีความไม่พึงพอใจและอาจจะยินดีที่มีมุสลิมเข้ามาปลดปล่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางศาสนาของทั้งสองจักรวรรดิ[9] อย่างไรก็ตาม สมาพันธรัฐอาหรับคริสเตียนอย่างฆ็อสซานเดิมเป็นพันธมิตรกับไบแซนไทน์ และทั้งกองทัพซาเซเนียนกับไบแซนไทน์ต่อสู่กับกองทัพมุสลิมร่วมกันในยุทธการที่อัลฟิรอฎ[10][11] ส่วนในกรณีของอียิปต์ไบแซนไทน์, ปาเลสไตน์ และ ซีเรีย ดินแดนเหล่านี้เพิ่งตกไปเป็นของเปอร์เซียไม่กี่ปีก่อนการพิชิตของมุสลิม

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Nile Green (2016-12-12). Afghanistan's Islam: From Conversion to the Taliban. Cambridge University Press. p. 47. ISBN 9780520294134.
  2. 2.0 2.1 M. A. Sabhan (1979-03-08). The 'Abbāsid Revolution. Cambridge University Press. p. 11. ISBN 9780521295345.
  3. Pike, John. "Göktürk Empire". www.globalsecurity.org.
  4. Kaegi (1995), Donner (2014)
  5. Hoyland (2014), Kennedy (2007)
  6. Buchan, James (21 July 2007). "Children of empire". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). London. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2022-09-27.
  7. Blankinship, Khalid Yahya (1994). The End of the Jihad State, the Reign of Hisham Ibn 'Abd-al Malik and the collapse of the Umayyads. State University of New York Press. p. 37. ISBN 978-0-7914-1827-7.
  8. Gardner, Hall; Kobtzeff, Oleg, บ.ก. (2012). The Ashgate Research Companion to War: Origins and Prevention. Ashgate Publishing. pp. 208–209.
  9. Rosenwein, Barbara H. (2004). A Short History of the Middle Ages. Ontario. pp. 71–72. ISBN 978-1-55111-290-9.
  10. Jandora, John W. (1985). "The battle of the Yarmūk: A reconstruction". Journal of Asian History. 19 (1): 8–21. JSTOR 41930557.
  11. Grant, Reg G. (2011). "Yarmuk". 1001 Battles That Changed the Course of World History. p. 108. ISBN 978-0-7893-2233-3.

ข้อมูล

แก้