ประเทศอิหร่าน

ประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
(เปลี่ยนทางจาก เปอร์เซีย)

32°N 53°E / 32°N 53°E / 32; 53

สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

جمهوری اسلامی ایران (เปอร์เซีย)
คำขวัญ"เอกราช เสรีภาพ สาธารณรัฐอิสลาม"
(เปอร์เซีย: استقلال، آزادی، جمهوری اسلامی)
(โดยพฤตินัย)[1]
ที่ตั้งของอิหร่าน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เตหะราน
35°41′N 51°25′E / 35.683°N 51.417°E / 35.683; 51.417
ภาษาราชการเปอร์เซีย
กลุ่มชาติพันธุ์
เดมะนิม
  • ชาวอิหร่าน
  • ชาวเปอร์เซีย (ในอดีตทางประวัติศาสตร์ตะวันตก)
การปกครองรัฐเดี่ยวสาธารณรัฐอิสลาม ระบบประธานาธิบดีลัทธิโคมัยนี
แอลี ฆอเมเนอี
แมสอูด เพเซชคียอน
Mohammad Reza Aref
Mohammad Bagher Ghalibaf
Gholam-Hossein Mohseni-Eje'i
สภานิติบัญญัติสภาที่ปรึกษาอิสลาม
ประวัติการสถาปนา
ป. 678 ปีก่อน ค.ศ.
550 ปีก่อน ค.ศ.
247 ปีก่อน ค.ศ.
224 ปีก่อน ค.ศ. [4]
ค.ศ. 934
ค.ศ. 1501[5]
ค.ศ. 1736
ค.ศ. 1751
ค.ศ. 1796
15 ธันวาคม ค.ศ. 1925
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979
3 ธันวาคม ค.ศ. 1979
28 กรกฎาคม ค.ศ. 1989
พื้นที่
• รวม
1,648,195 ตารางกิโลเมตร (636,372 ตารางไมล์) (อันดับที่ 17)
1.63 (ใน ค.ศ. 2015)[6]
ประชากร
• ค.ศ. 2019 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 83,183,741[7] (อันดับที่ 17)
48 ต่อตารางกิโลเมตร (124.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 162)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.246,26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 18)
เพิ่มขึ้น 14,520 ดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 66)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.136,68 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 17)
เพิ่มขึ้น 13,240 ดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 78)
จีนี (ค.ศ. 2018)Negative increase 42.0[9]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)ลดลง 0.783[10]
สูง · อันดับที่ 70
สกุลเงินเรียลอิหร่าน (ریال) (IRR)
เขตเวลาUTC+3:30 (IRST)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+4:30 (IRDT)
รูปแบบวันที่ปปปป/ดด/วว (SH)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+98
รหัส ISO 3166IR
โดเมนบนสุด

อิหร่าน (เปอร์เซีย: ایران, ออกเสียง: [ʔiːˈɾɒːn]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (เปอร์เซีย: جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนียและประเทศอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและประเทศอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ

อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่าง ๆ มากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), เคิร์ด (10%) และ Lorestan (6%)[11]

ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลาไมต์และเอลาไมต์ใน 3200–2800 ปีก่อน ค.ศ. ชาวมีดส์ (Medes) อิหร่านรวบรวมพื้นที่เป็นจักรวรรดิแห่งแรก ๆ ใน 625 ปีก่อน ค.ศ. หลังจากนั้นมีดส์กลายเป็นชาติวัฒนธรรมและการเมืองที่ครอบงำในภูมิภาค อิหร่านเรืองอำนาจถึงขีดสุดระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิดซึ่งพระเจ้าไซรัสมหาราชทรงก่อตั้งใน 550 ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งเมื่อแผ่อาณาเขตไพศาลที่สุดนั้นล้วนกินส่วนสำคัญของโลกโบราณ ตั้งแต่บางส่วนของคาบสมุทรบอลข่าน (เธรซ มาซิโดเนีย บัลแกเรีย พีโอเนีย) และยุโรปตะวันออกทางทิศตะวันตก จดลุ่มแม่น้ำสินธุทางทิศตะวันออก ทำให้เป็นจักรวรรดิใหญ่สุดในโลกในขณะนั้น จักรวรรดิล่มสลายใน 330 ปีก่อน ค.ศ. ให้หลังการพิชิตของอเล็กซานเดอร์มหาราช จักรวรรดิพาร์เธียกำเนิดขึ้นจากเถ้าถ่านแล้วต่อด้วยราชวงศ์แซสซานิดใน ค.ศ. 224 ซึ่งอิหร่านกลายเป็นชาตินำในโลกอีกครั้ง ร่วมกับจักรวรรดิโรมัน-ไบแซนไทน์ เป็นเวลากว่าสี่ศตวรรษ

ค.ศ. 633 มุสลิมรอชิดีน (Rashidun) บุกครองอิหร่านและพิชิตได้ใน ค.ศ. 651 ซึ่งเข้าแทนที่ความเชื่อพื้นเมืองศาสนามาณีกีและศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นส่วนใหญ่ อิหร่านเป็นผู้มีส่วนสำคัญต่อยุคทองอิสลาม โดยผลิตนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ศิลปินและนักคิดทรงอิทธิพลจำนวนมาก การสถาปนาราชวงศ์ซาฟาวิดใน ค.ศ. 1501 ซึ่งส่งเสริมนิกายอิสนาอะชะรียะห์ (Twelver) เป็นศาสนาประจำชาติ เป็นเครื่องหมายจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์อิหร่านและมุสลิม เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1736 ภายใต้ชาห์นาเดอร์ อิหร่านมีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดนับแต่จักรวรรดิแซสซานิด โดยเป็นจักรวรรดิที่แย้งได้ว่าทรงอำนาจที่สุดในโลกในเวลานั้นช่วงสั้น ๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 อิหร่านเสียดินแดนหลายส่วนในคอเคซัสซึ่งถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งของมโนทัศน์อิหร่านหลายศตวรรษแก่จักรวรรดิรัสเซียเพื่อนบ้าน ความไม่สงบของประชาชนลงเอยด้วยการปฏิวัติรัฐธรรมนูญเปอร์เซีย ค.ศ. 1906 ซึ่งสถาปนาราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและมาฮ์จิส (Majles) หรือรัฐสภาแห่งแรกของประเทศ หลังรัฐประหารที่สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาปลุกปั่นใน ค.ศ. 1953 อิหร่านค่อย ๆ กลายเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกที่เหลือ ยังเป็นฆราวาส แต่เป็นอัตตาณัติเพิ่มขึ้น ๆ ความเห็นแย้งที่เพิ่มขึ้นต่ออิทธิพลของต่างประเทศและการกดขี่ทางการเมืองลงเอยด้วยการปฏิวัติ ค.ศ. 1979 ซึ่งทำให้มีการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1979

กรุงเตหะรานเป็นเมืองหลวงและนครใหญ่สุดของประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชั้นนำ ประเทศอิหร่านเป็นประเทศนำภูมิภาคและอำนาจปานกลางที่สำคัญ มีอิทธิพลพอสมควรในความมั่นคงทางพลังงานระหว่างประเทศและเศรษฐกิจโลกจากการมีปริมาณเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์สำรองขนาดใหญ่ ซึ่งมีปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองมากที่สุดในโลกและมีน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วมากที่สุดเป็นอันดับสี่ มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศสะท้อนบางส่วนจากการมีแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก 19 แห่ง ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในทวีปเอเชียและ 12 ในโลก

ประเทศอิหร่านเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ องค์การความร่วมมือเศรษฐกิจ ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด องค์การความร่วมมืออิสลามและโอเปก ระบบการเมืองของประเทศยึดตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1979 ซึ่งมีส่วนที่เป็นประชาธิปไตยระบบรัฐสภากับเทวาธิปไตยโดยนักนิติศาสตร์อิสลามภายใต้มโนทัศน์ผู้นำสูงสุด เป็นประเทศพหุวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยหลายกลุ่มชาติพันธุ์และภาษา โดยผู้อยู่อาศัยส่วนมากนับถือนิกายชีอะฮ์อย่างเป็นทางการและภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ

ประวัติศาสตร์

แก้

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตอนต้น

แก้
 
พระเจ้าอะห์มัดชาห์กอญัร และ เรซาข่านซึ่งอยู่หลังพระองค์

หลังจากความระส่ำระสายของราชวงศ์กอญัร เปอร์เซียได้ตกอยู่ภายใต้ของมหาอำนาจต่างประเทศ โดยเฉพาะรัสเซียและอังกฤษ[12] ตั้งแต่ในรัชสมัยของฟัฏอาลี ชาห์ ชาห์องค์ที่สองแห่งราชวงศ์กอญัร ได้ทำสงครามกับรัสเซียถึง 2 ครั้ง และต้องเสียดินแดนแถบเทือกเขาคอเคซัสทั้งหมด[13] แม้แต่ประเทศอังกฤษมีผลประโยชน์จำนวนมากในเปอร์เซียอย่างการขุดเจาะน้ำมันที่ขุดพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 วัฒนธรรมตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจำนวนมาก[12] ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของเปอร์เซีย เนื่องจากตกอยู่ภายใต้อำนาจของมหาอำนาจตะวันตกหลายประเทศ ทั้งรัสเซีย, อังกฤษ, ออตโตมัน, เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดกระแสต่อต้านที่กว้างขวางของประชาชนชาวเปอร์เซีย เพื่อปกป้องผลประโยชน์และเอกราชของประเทศ[12]

จนเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 เรซา ข่าน ผู้บัญชาการกองพันน้อยคอสแซคได้นำกองทัพบุกเข้าเมืองหลวงได้ยึดอำนาจและทำการรัฐประหาร[12] หลังการรัฐประหารพระเจ้าอะหมัด ชาห์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์กอญัรได้แต่งตั้งนายตะบาตะบาอี เป็นนายกรัฐมนตรี และเรซา ข่าน เป็นนายกรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม[12]

ยุคปัจจุบัน

แก้
 
ชาห์เรซากับการปราบดาภิเษกครองราชย์

จนในปี ค.ศ. 1923 พระเจ้าอะหมัด ชาห์ได้เสด็จไปประทับในยุโรปและไม่เดินทางกลับมายังอิหร่านเลย[14] เรซา ข่าน อดีตรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม ได้ยึดอำนาจจากราชวงศ์กอญัรและประกอบพิธีราชาภิเษกเป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ปาห์ลาวี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1925[14]

เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ปะทุขึ้น กองทัพพันธมิตรจึงได้ตัดสินใจบุกอิหร่าน ซึ่งขณะนั้นอิหร่านมีความสัมพันธ์อันดีกับเยอรมนี[14] โดยกองทัพสหราชอาณาจักรได้บุกยึดภาคใต้ของอิหร่าน และ กองทัพสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดทางตอนเหนือของอิหร่าน ประเทศอิหร่านจึงถูกปกครองโดยกองทัพสัมพันธมิตร กษัตริย์เรซาจึงถูกบีบบังคับให้สละราชสมบัติ เพื่อให้พระโอรสองค์ใหญ่คือ โมฮัมหมัด เรซา ข่านขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ประเทศอิหร่านหลังจากนั้นจึงมีความสัมพันธ์อันดีประเทศตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา[14]

ใน ค.ศ. 1951 เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนอิหร่านกำลังตื่นตัวเรื่องชาตินิยม ในพฤษภาคมปีเดียวกันนั้นเอง ดร.มุฮัมหมัด มูซัดเดก ผู้นำคนหนึ่งในขบวนการชาตินิยมอิหร่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี[14] หลังจากนั้นนายมูซัดเดกได้ดำเนินการยึดบริษัทน้ำมันแองโกล-อิหร่านออยล์ซึ่งเป็นของอังกฤษเป็นของรัฐ[14] ทำให้ต่างชาติมีมาตรการตอบโต้บอยคอตน้ำมันอิหร่าน[15] ในวันที่ 22 ตุลาคมปีเดียวกัน รัฐบาลอิหร่านได้ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ ขณะเดียวกันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปั่นป่วน และเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว และเกิดความวุ่นวายมากขึ้น[15]

 
พระราชวงศ์ปาห์ลาวี ใน ค.ศ. 1967

เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1953 ชาห์โมฮัมหมัดเรซา และราชินีได้เสด็จออกนอกประเทศ 3 วันหลังจากนั้นนายพลซาเฮดีประกาศตนเป็นนายกรัฐมนตรี[15] และเข้าควบคุมอำนาจมูซัดเดก และคณะรัฐบาลของเขาถูกจับกุม ชาห์โมฮัมหมัดเรซาเสด็จฯ กลับอิหร่านและทำการแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีนโยบายนิยมตะวันตก[15] อิหร่านได้ทำการเปิดสัมพันธไมตรีกับการทูตกับอังกฤษใหม่อีกครั้ง และมีการเจรจาตกลงกับบริษัทน้ำมันอังกฤษและสหรัฐอเมริกา[15] และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 เป็นต้นมา ชาห์โมฮัมหมัดเรซาได้เริ่มมีบทบาทในการบริหารประเทศมากขึ้น และพาประเทศเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์[15] ในปี ค.ศ. 1963 ชาห์ได้เริ่มโครงการสำคัญหลายอย่างเพื่อพัฒนาอิหร่านให้ก้าวหน้า อาทิเช่น การปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเลือกตั้ง การให้สิทธิแก่สตรี การตั้งหน่วยการศึกษา การจัดตั้งหน่วยอนามัย การพัฒนาการเกษตร การโอนป่าเป็นของรัฐเป็นต้น ซึ่งรัฐบาลอิหร่านเรียกโครงการเหล่านี้ว่า "การปฏิวัติขาว" เพราะเป็นการปฏิวัติที่ไม่เสียเลือดเนื้อ[15]

การลงมติในสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างเสรี ความขัดแย้งเรื่องนี้รุนแรงเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1963 หลังปราศรัยโจมตีรัฐบาล ท่านโคมัยนีก็ถูกจับไปขังคุกที่กรุงเตหะราน[16] ผลของการจับโคมัยนีทำให้ประชาชนโกรธแค้นมาก และพากันออกมาเดินขบวนเต็มไปหมดในถนนทุกสาย เหตุการณ์ต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยอายะตุลลอฮ์ โคมัยนี ลุกลามรุนแรงถึงขั้นนองเลือด จนกลายเป็นจุดหักมุมของประวัติศาสตร์อิหร่าน รัฐบาลตัดสินใจเนรเทศโคมัยนีออกนอกประเทศในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1964[15] โดยให้ไปอยู่ตุรกี และต่อมาย้ายไปอยู่เมืองนาจาฟในอิรัก รวมเป็นเวลาถึง 13 ปี โดยหวังว่าจะทำให้ความนิยมในตัวโคมัยนีจางหายไป

การปฏิวัติอิสลาม

แก้
 
โคมัยนี

ความไม่พอใจของประชาชนเริ่มถึงจุดระเบิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1978 ซึ่งตรงกับเดือนรอมฎอน ได้เกิดเหตุไฟไหม้รุนแรงในโรงภาพยนตร์ที่เมืองอะบาดาน มีผู้เสียชีวิต 387 คน[17] รัฐบาลได้ออกข่าวว่าพวกศาสนานิยมหัวรุนแรงเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ทว่าเมื่อตำรวจไม่สามารถหาผู้กระทำผิดได้ก็ทำให้ประชาชนเคียดแค้นรัฐบาล และเกิดการประท้วงตามเมืองต่าง ๆ [18] ส่วนคู่ปรับของชาห์คืออายะตุลลอฮ์ โคมัยนี แม้จะถูกเนรเทศไปยังประเทศอิรัก 12 ปี และภายหลังถูกรัฐบาลอิรักขอร้องให้ออกไปนอกประเทศ โคมัยนีจึงได้อพยพไปอยู่ฝรั่งเศส[18] แต่โคมัยนีก็ใช้การอัดเสียงใส่เทปคาสเซตได้ทำการอัดซ้ำและทำการเผยแพร่แก่นักศึกษาประชาชน และลุกลามถึงนักศึกษาอิหร่านในต่างประเทศด้วย[18]

หลังโศกนาฏกรรมที่เมืองออบอดอน ประชาชนในเตหะรานได้รวมกันประท้วงชาห์ เผาธงชาติ ถือป้ายข้อความ "แยงกี้ โกโฮม" "ชาห์ต้องลาออก" และ "โคมัยนีต้องปกครองอิหร่าน" มีสตรีแต่งกายด้วยชุดดำสวมคลุมศีรษะจำนวนมาเข้าร่วมขบวนด้วย[18] ขบวนได้ปะทะกับทหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บหลายคน[18] หลังจากเหตุการณ์นี้ ก็เกิดเหตุการณ์ประท้วงระลอกแล้วระลอกเล่าตามหัวเมืองอื่น กรรมกรนับแสนคนนัดหยุดงาน พนักงานรัฐวิสาหกิจ บรรดาครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ต่างเข้าร่วมกันประท้วง[18] การประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1978 ซึ่งเป็นวันรำลึกถึงการเสียชีวิตของอิหม่ามฮุเซน วันนั้นประชาชนนับล้านได้ออกมาชุมนุมกันบนท้องถนนและที่สาธารณะ มีการชูรูปโคมัยนี มีการตะโกนด่าทออเมริกา และเรียกร้องรัฐอิสลาม[18]

 
การประท้วงปฏิวัติอิสลาม หน้าจัตุรัสอิสรภาพในวันอาชูรอ ในปี ค.ศ. 1979

การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นอีกที่เมืองมาชาดมีการลุกฮือเผาบ้านของชาวอเมริกัน ตลอดจนกิจการต่าง ๆ ของชาวตะวันตก[19] ทหารได้สกัดกั้นและทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อย เหตุการณ์ลุกลามใหญ่โตจนรัฐบาลอเมริกา และยุโรปสั่งให้คนของตนออกจากอิหร่าน[19] ความตึงเครียดที่กดดันทำให้ชาห์ทำตามคำแนะนำของอเมริกา โดยการเสด็จออกนอกประเทศพร้อมครอบครัว เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1979[19][20] โดยที่รัฐบาลของนายชาห์ปูร์ บัคเตียร์ ได้ออกประกาศว่า พระองค์มิได้สละบัลลังก์แต่อย่างใด[19] และแล้วในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โคมัยนีพร้อมผู้ช่วยราว 500 คน และนักหนังสือพิมพ์อีก 150 คน ได้โดยสารเครื่องบินโบอิ้ง 747 ของสายการบินฝรั่งเศสกลับสู่อิหร่าน โดยมีประชาชนต้อนรับอย่างเนืองแน่น แม้ระยะแรกกองทัพบกประกาศว่าพร้อมหลั่งเลือดเพื่อค้ำบัลลังก์ชาห์[19] หรือหนุนรัฐบาลนายบัคเตียร์ ภายหลังกองทัพบกได้วางตัวเป็นกลาง[19] ประชาชนฝ่ายโคมัยนีจึงได้เข้าควบคุมเตหะรานไว้ได้โดยบุกยึดที่ทำการรัฐบาล กระทรวงทบวงกรม ตึกรัฐสภา และสถานีตำรวจไว้ได้หมด[19]

ต่อมารัฐบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจากโคมัยนีก็เข้ารับหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ภายในประเทศ และนำอิหร่านเข้าสู่การปกครองของรัฐอิสลามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[21] โดยมีผู้นำสูงสุดคือ อิหม่ามโคมัยนี เรียกว่า ฟากิฮ์ หรือ รอฮ์บัรร์ ถือเป็นผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณมีอำนาจครอบคลุมทั้งการเมืองและการปกครองทั้งหมด[21]

หลังการปฏิวัติอิสลาม

แก้

การเมืองการปกครอง

แก้

บริหาร

แก้

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้

ผู้นำสูงสุด (Rahbar)
ผู้นำสูงสุดอิหร่านคนปัจจุบันคือ อะลี คอเมเนอี (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร
ประธานาธิบดี (Ra'is-e Jomhoor)
เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้
รองประธานาธิบดี
มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

นิติบัญญัติ

แก้

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Majlis) ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร

ภูมิศาสตร์

แก้

ลักษณะภูมิประเทศมากกว่าร้อยละ 95 เป็นที่สูงในลักษณะของเทือกเขาสูงและที่ราบสูง เทือกเขาสูงที่ปรากฏในอิหร่านมี 2 เทือกเขาคือ เทือกเขาเอลบูร์ซทางตอนเหนือวางตัวขนานกับชายฝั่งทะเลแคสเปียน และเทือกเขาแซกรอส วางตัวขนานกับอ่าวเปอร์เซีย เทือกเขาทั้งสองวางตัวแยกออกมาจากอาร์มีเนียนนอต ขณะที่ที่ราบสูงจะอยู่ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบผืนใหญ่ครอบคลุมพื้นเกือบทั้งประเทศต่อเนื่องเข้าไปถึงอัฟกานิสถานและปากีสถาน ส่วนภูมิประเทศชายฝั่งจะปรากฏอยู่ 2 บริเวณคือ ตอนเหนือเป็นชายฝั่งทะเลแคสเปียน ส่วนด้านตะวันตกเฉียงใต้และด้านใต้เป็นชายฝั่งราบของทะเลบริเวณอ่าวเปอร์เซีย

Piranshahr city เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของอิหร่านที่มีประวัติยาวนานถึง 8000 ปี

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

ประเทศอิหร่านแบ่งออกเป็น 31 จังหวัด (provinces - ostanha) แต่ละจังหวัดปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมาจากการแต่งตั้ง (เปอร์เซีย: استاندار ostāndār)

 
แผนที่เขตการปกครองของประเทศอิหร่าน

เศรษฐกิจ

แก้

โครงสร้าง

แก้

พลังงาน

แก้

อิหร่านมีปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองมากเป็นอันดับสองของโลก และมีปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับสามของโลก[23][24] เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดอันดับสองของโอเปก และมีศักยภาพจะกลายมาเป็นมหาอำนาจด้านพลังงานของโลก[25] ใน พ.ศ. 2548 อิหร่านใช้เงิน 4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐนำเข้าเชื้อเพลิง เพราะการใช้พลังงานในประเทศอย่างผิดกฎหมายและขาดประสิทธิภาพ[26] ผลผลิตอุตสาหกรรมน้ำมันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ล้านบาร์เรล (640,000 ลูกบาศก์เมตร) ต่อวัน ใน พ.ศ. 2548 เทียบกับในอดีตที่เคยมีผลผลิตสูงสุดที่ 6 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อ พ.ศ. 2517 ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 โครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมเริ่มขาดประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะความล้าหลังของเทคโนโลยี มีการเจาะหลุมสำรวจเพียงไม่กี่หลุมในปีนั้น

ใน พ.ศ. 2547 แก๊สธรรมชาติสำรองในอิหร่านสัดส่วนมากยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ การเพิ่มสถานีไฟฟ้ากำลังน้ำและการปรับปรุงคุณภาพของโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิงแบบเก่า ได้เพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็น 33,000 เมกะวัตต์ ในจำนวนนั้น ราว 75% ใช้แก๊สธรรมชาติ, 18% ใช้น้ำมัน และ 7% ใช้ไฟฟ้าพลังน้ำ ใน พ.ศ. 2547 อิหร่านเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานลมและความร้อนใต้พิภพเป็นแห่งแรก และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์แห่งแรกเริ่มปฏิบัติการใน พ.ศ. 2552

แนวโน้มลักษณะประชากรและการเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมที่มีมากขึ้นส่งผลให้ความต้องการกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 8% ต่อปี เป้าหมายของรัฐบาลที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้วันละ 53,000 เมกะวัตต์ ภายใน พ.ศ. 2553 โดยการสร้างโรงไฟฟ้าพลังแก๊สและเพิ่มกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำและพลังงานนิวเคลียร์[27][28] โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชห์‎ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกในอิหร่านที่บูเชห์ เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554[29]

ประชากรศาสตร์

แก้

เชื้อชาติ

แก้

อิหร่านเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและศาสนา แต่ทั้งหมดนั้นได้หลอมรวมกันอยู่ภายใต้กรอบของวัฒนธรรมเปอร์เซีย[30] ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนั้นใช้ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาถิ่นอื่น ๆ นั้น ภาษาอาเซอร์ไบจานเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด นอกจากนี้ภาษาอาหรับยังพบได้ทั่วไปทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ

ตัวเลขการประมาณการกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอิหร่านนั้นยังไม่มีตัวเลขที่เป็นทางการ แต่เว็บไซต์ Factbook ของซีไอเอ ได้มีตัวเลขการประมาณการประชากรตามกลุ่มเชื้อชาติดังนี้ ชาวเปอร์เซียร้อยละ 51 ชาวอาเซอร์ไบจานร้อยละ 24 ชาวกิลัคและมาซันดารานร้อยละ 8 ชาวเคิร์ดร้อยละ 7 ชาวอิหร่านเชื้อสายอาหรับร้อยละ 3 ชาวบาลูจีร้อยละ 2 ชาวลูร์ร้อยละ 2 ชาวเติร์กเมนร้อยละ 2 ส่วนชาวลัค กัชไก อาร์มีเนีย อิหร่านเชื้อสายยิว จอร์เจีย อัสซีเรีย อะดืยเก ตาต มันดีน ยิปซี บราฮุอี ฮาซารา คาซัค และอื่น ๆ คิดรวมกันเป็นร้อยละ 1 ของประชากรทั้งประเทศ[3]

ภาษา

แก้

อย่างไรก็ตามในรายงานดังกล่าวได้มีการรายงานว่ามีการใช้ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่ร้อยละ 58 ภาษาอาเซอร์ไบจานร้อยละ 26 ภาษาเคิร์ดร้อยละ 9 ภาษาลูร์ร้อยละ 3 ภาษาบาลูจีร้อยละ 1 ภาษาอาหรับร้อยละ 1 และภาษาอื่น ๆ รวมกันร้อยละ 2 ของประชากร[3]

ขณะที่ตัวเลขการประมาณการกลุ่มชาติพันธุ์จากหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้มีการประมาณการไว้คือ ชาวเปอร์เซียร้อยละ 65 ชาวอาเซอร์ไบจานร้อยละ 16 ชาวเคิร์ดร้อยละ 7 ชาวลูร์ร้อยละ 6 ชาวเปอร์เซียเชื้อสายอาหรับร้อยละ 2 ชาวบาลูจีร้อยละ 2 ชาวเติร์กเมนร้อยละ 1 ชนกลุ่มน้อยที่มาจากกลุ่มภาษาเติร์กกิก คือ กัชไก ร้อยละ 1 และกลุ่มที่มิได้มาจากกลุ่มภาษาอิหร่านหรือเติร์กกิก ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย และจอร์เจีย น้อยกว่าร้อยละ 1[31]

ส่วนด้านการใช้ภาษาในรายงานดังกล่าวได้รายงานผลที่แตกต่างออกไปจากรายงานชิ้นแรกคือ ประชากรใช้ภาษาเปอร์เซียซึ่งเป็นภาษาราชการเป็นภาษาแม่โดยน้อยกว่าร้อยละ 65 ของประชากร และใช้เป็นภาษาที่สองซึ่งถือเป็นสัดส่วนขนาดใหญ่คือร้อยละ 35[31]

ศาสนา

แก้
ศาสนาในประเทศอิหร่าน
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
98%
อื่น ๆ
  
2%
 
วัดไฟแห่งหนึ่งในเมืองยาซด์ ศาสนสถานในศาสนาโซโรอัสเตอร์ ซึ่งครั้งหนึ่งศาสนานี้เคยรุ่งเรืองในดินแดนเปอร์เซียก่อนการเข้ามาของศาสนาอิสลาม

ประเทศอิหร่านมีศาสนาประจำชาติคือ ศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์อิสนาอะชะรียะห์ (Ithnā‘ashariyyah) ซึ่งมีศาสนิกชนร้อยละ 90-95 ของประชากร[32][33][34] ส่วนศาสนาอิสลามนิกายซุนนี มีร้อยละ 4-8 ซึ่งศาสนิกชนส่วนใหญ่เป็นชาวเคิร์ดและชาวบาลูจี ส่วนอีกร้อยละ 2 คือศาสนิกชนนอกศาสนาอิสลามถือเป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ ศาสนาบาไฮ ศาสนาพื้นเมืองของชาวมันเดียน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพื้นเมืองของชาวยัซดาน ศาสนายาร์ซาน ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนายูดาห์ และศาสนาคริสต์[3]

ศาสนาโซโรอัสเตอร์, ยูดาห์ และคริสต์ นั้นเป็นศาสนาที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ และได้รับการสงวนสิทธิ์ที่นั่งในรัฐสภาด้วย อย่างไรก็ตาม ศาสนาที่มีศาสนิกชนจำนวนมากที่สุดในหมู่ศาสนิกชนนอกศาสนาอิสลามคือ ศาสนาบาไฮ[35] แต่ศาสนาบาไฮกลับมิได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ และได้รับการกดขี่ข่มเหงเนือง ๆ ตั้งแต่การดำรงอยู่ของศาสนานี้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1972 ได้มีการจัดการกับศาสนิกชนของศาสนาบาไฮ เช่น การลิดรอนสิทธิพลเรือน และเสรีภาพของชาวบาไฮ รวมไปถึงการจำกัดสิทธิในการเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา และการจ้างงาน[36][37][38]

วัฒนธรรม

แก้
 
พรมเปอร์เซีย ถือเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของอิหร่าน ในภาพเป็นการซื้อขายพรมที่ย่านตลาดใหญ่ กรุงเตหะราน

วัฒนธรรมอิหร่านเป็นวัฒนธรรมผสมผสาน ระหว่างยุคก่อนอิสลามและยุคอิสลามเข้าไว้ด้วยกัน วัฒนธรรมอิหร่านถือเป็นวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นในตะวันออกกลางและในเอเชียกลาง และมีความรุ่งเรืองมายาวนานกว่าสองพันปี โดยเฉพาะยุคซาสซานิยะห์ ถือเป็ยุคที่มีความสำคัญของอิหร่านที่มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีน โรมัน และอินเดียเข้าไว้ด้วยกัน[39] และมีอิทธิพลต่อยุโรปตะวันตกและแอฟริกา[40] ซึ่งอิทธิพลดังกล่าวมีบทบาทโดดเด่นก่อให้เกิดศิลปะยุคกลางทั้งในเอเชียและแอฟริกา[41] ซึ่งอิทธิพลดังกล่าวได้ถูกยกยอดไปที่วัฒนธรรมอิสลาม ซึ่งกลายเป็นการเรียนรู้แบบอิสลามที่ทำให้เกิดความเจริญทางด้านภาษาศาสตร์, วรรณคดี นิติศาสตร์ ปรัชญา การแพทย์ สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางส่วนได้ก่อกำเนิดจากยุคซาสซานียะห์และเผยแพร่ไปสู่โลกมุสลิมภายนอก[42][43][44]

วัฒนธรรมอิสลามได้แทรกซึมเข้าสู่วัฒนธรรมของอิหร่านอย่างแพร่หลาย ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการระลึกถึงอิหม่ามฮุเซนในวันอาชูรอ ซึ่งมีการรวมตัวของชาวอิหร่านมุสลิม ชาวคริสต์อาร์มีเนีย และชาวโซโรอัสเตอร์ที่มีส่วนร่วมในการไว้ทุกข์ให้กับผู้พลีชีพในการสู้รบที่กัรบาละห์ และวิถีชีวิตของชาวอิหร่านในยุคปัจจุบันก็ยังคงอิงอยู่กับศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ และสิ่งต่าง ๆ ยังคอยย้ำเตือนให้ชาวอิหร่านระลึกถึงประเพณีและวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองของตน[44][45]

สถาปัตยกรรม

แก้
ซากโบราณสถาน ทาชาระ, ส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลก เปอร์เซโปลิส
จัตุรัสนัคชิญะฮาน แหล่งมรดกโลก
ที่อิสฟาฮาน

ประวัติความเป็นมาของสถาปัตยกรรมในอิหร่านย้อนกลับไปถึงยุคเจ็ดพันปีก่อนคริสตกาล[46] ชาวอิหร่านเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ใช้คณิตศาสตร์ เรขาคณิต และดาราศาสตร์ในงานทางสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมอิหร่านแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทั้งโครงสร้างและสุนทรียศาสตร์ ซึ่งค่อย ๆ พัฒนาและเชื่อมโยงกับขนบธรรมเนียมและประสบการณ์ที่สั่งสมมา[47]

อิหร่านอยู่ในอันดับที่เจ็ดในรายชื่อประเทศที่ยูเนสโกประกาศว่า มีซากปรักหักพังทางโบราณคดีและแหล่งท่องเที่ยวที่เก่าแก่ที่สุดจากยุคโบราณ[48]

ตามธรรมเนียมแล้ว บรรทัดฐานการก่อสร้างสถาปัตยกรรมตามแนวทางของอิหร่านนั้นเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล "โดยที่มนุษย์ถูกนำเข้ามาในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมกับพลังแห่งสวรรค์" [49] ชุดรูปแบบนี้ไม่เพียง แต่ให้ความเป็นเอกภาพและต่อเนื่องกับสถาปัตยกรรมของเปอร์เซียเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งกำเนิดของความรู้สึกร่วมของสังคมด้วยเช่นกัน

ตามที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีชาวเปอร์เซีย อาเธอร์ อูฟาม โปป (Arthur Upham Pope) กล่าว ศิลปะของชาวอิหร่านที่สูงที่สุดนั้น นิยามในความหมายที่เหมาะสมว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมเสมอ ความสูงสุดของสถาปัตยกรรมนั้นใช้กับทั้งช่วงยุคก่อนและหลังอิสลาม[50]

สิ่งทอ

แก้

การทอพรมของอิหร่านมีต้นกำเนิดในยุคสำริด และเป็นหนึ่งในผลงานศิลปะที่โดดเด่นที่สุดของอิหร่าน อิหร่านเป็นผู้ผลิตและส่งออกพรมทอมือรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยผลิตได้สามในสี่ของผลผลิตทั้งหมดและมีส่วนแบ่ง 30% ของตลาดส่งออกโลก[51][52]

ดนตรี

แก้

ดนตรีของอิหร่านความสัมพันธ์กับเครื่องดนตรีในแถบตะวันออกกลางและเอเชียกลาง รวมไปถึงแถบอนุทวีปอินเดีย แม้บางส่วนจะมาจากแอฟริกา และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็มีการหลั่งไหลเข้ามาของดนตรีตะวันตก เพลงของอิหร่านจะใช้ทักษะการใช้เสียงผ่านช่องปาก, การฟัง และการเรียนรู้[53]

นักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงก่อนการปฏิวัติคือ ฆามัรอัลโมลูก วาซิรี ผู้ที่ได้สมญานาม "ราชินีเพลงแห่งเปอร์เซีย" ถือเป็นนักร้องหญิงคนแรกของอิหร่านที่ปราศจากฮิญาบ ตามพระราชประสงค์ในชาห์เรซา ปาห์ลาวี[54] แต่ภายหลังการปฏิวัติอายะตุลลอฮ์ โคมัยนี เคยกล่าวถึงดนตรีตะวันตกว่ามีอิทธิพลทำลายจิตใจมนุษย์ เพราะมันทำให้เพลิดเพลิน ทำให้มีความสุข หลอนจิตใจให้ยินดี ซึ่งก็เหมือนยาเสพติดนั่นเอง[55] ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะหานักร้องหญิงอิหร่าน เพลงที่นักร้องหญิงอิหร่านร้องส่วนใหญ่ก็เป็นเทปที่อัดก่อนการปฏิวัติทั้งสิ้น และนักร้องก็เสียชีวิตไปแล้ว[56]

เพลงที่มีผู้หญิงร้องของอิหร่านมีสองประเภท คือ บทกลอนหรือนิทานโบราณของกวีเปอร์เซียที่บรรยายถึงธรรมชาติ และอีกประเภทคือเพลงรักที่อัดก่อนการปฏิวัติ[56] สำหรับเพลงสมัยใหม่ที่ขับร้องโดยนักร้องหญิงนั้นถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ก็มีการผลิตกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันนอกประเทศ โดยอัดแผ่นในตุรกีหรือสหรัฐอเมริกา และลักลอบเข้าประเทศแล้วซื้อขายกันในตลาดมืด และชาวอิหร่านเองก็นิยมฟังเพลงเหล่านี้มาก[57]

อาหาร

แก้
 
กะบาบ

อาหารอิหร่านมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคเช่นเดียวกับวัฒนธรรมภายในประเทศ แต่ส่วนประกอบหลักของอาหารอิหร่าน ได้แก่ ข้าว, เนื้อไก่หรือปลา มีผักอย่างหัวหอมบาง, ผัก, ถั่ว และสมุนไพร อาหารของอิหร่านเช่น กะบาบ ซึ่งเป็นอาหารที่พบได้ทั่วไปตั้งแต่ระดับภัตตาคารจนถึงร้านอาหารขนาดเล็กก็ยังมีกะบาบขายเช่นกัน[58] ในอิหร่านมีกะบาบหลากหลายชนิดตั้งแต่เนื้อวัว อูฐ แกะ แพะ ไก่ ปลา กุ้ง นำมาปรุงรสด้วยเครื่องเทศแล้วหมักจนได้ที่จึงเสียบเข้ากับไม้หรือโลหะย่างกับถ่าน[58] โดยเฉพาะหากเป็นเนื้อวัว แพะ แกะ หรืออูฐ จะหมักร่วมกับมะนาว เกลือ และหัวหอมใหญ่ มีรสชาติออกเปรี้ยวเค็มเล็กน้อย[58]

ส่วนมัสมั่นและกุรหม่าในอิหร่านนั้นจะมีลักษณะคล้ายสตู[59] เรียกว่า โคเรช (Khoresh) ซึ่งใส่ทั้งเนื้อและผักหั่นชิ้นเล็ก ๆ ใส่เครื่องเทศเล็กน้อย กับผลไม้ตามฤดูกาล และเมื่อใส่ผักผลไม้ชนิดใดก็จะเรียกตามชื่อนั้น เช่น ใส่ฟักทองจะเรียกว่า โคเรชเบฮ์ หรือหากใส่กระเจี๊ยบจะเรียกว่า โคเรชบามิเยฮ์ เป็นต้น[59]

อย่างไรก็ตามอิทธิพลของอาหารอิหร่านได้ตกทอดสู่อนุทวีปอินเดีย โดยเฉพาะราชสำนักโมกุล[59] แม้แต่ในประเทศไทยเองก็ยังได้รับอิทธิพลมาจากอาหารของอิหร่านมาเป็นเวลานานเช่นกัน ดังที่ปรากฏในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ความว่า[60]

๏ มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา

เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอาจทรงรับรู้หรือเสวยอาหารดังกล่าวจากกลุ่มชาวเปอร์เซีย และมีพระมเหสีที่สืบเชื้อสายจากชาวเปอร์เซียอย่าง เจ้าจอมมารดาเรียม ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านสุลัยมานแห่งสงขลา[60] และเจ้าจอมจีบ ธิดาพระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) ที่สืบเชื้อสายจากเฉกอะหมัด[60] ในรัชสมัยของพระองค์นี้เองก็ได้มีการแห่ตุ้มบุดและแขกเจ้าเซ็นลุยไฟแสดงให้ทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ถึงสองครั้ง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของราชสำนักกับชาวเปอร์เซียในไทย[60]

วันหยุด

แก้

ในวันปีใหม่ของชาวอิหร่าน หรือ วันเนารูซ จะเริ่มขึ้นทุกวันที่ 21 มีนาคม ถือเป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิของอิหร่าน นอกจากที่อิหร่านแล้วยังมีการเฉลิมฉลองกันในประเทศเพื่อนบ้านอย่างอัฟกานิสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน คาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถาน ซึ่งก่อนหน้านี้วันเนารูซยังเคยจัดขึ้นในประเทศจอร์เจียและอาร์มีเนีย แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกแล้ว นอกจากนี้ยังมีการเฉลิมฉลองวันเนารูซในหมู่ชาวเคิร์ดในอิรักและชาวเคิร์ดในอานาโตเลียอีกด้วย[61] วันเนารูซได้รับการจัดไว้ในทะเบียนรายชื่อของมรดกชิ้นเอกแบบปากต่อปากที่ไม่มีตัวตนของมนุษย์ (Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) [62]และอธิบายว่า ปีใหม่เปอร์เซีย[63][64][65][66] โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ใน ค.ศ. 2009

กีฬา

แก้

ประเทศอิหร่านเป็นประเทศต้นกำเนิดของกีฬาโปโล ซึ่งเป็นที่รู้จักในภาษาท้องถิ่นว่า čowgān มีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรไมเดสโบราณ นอกจากนี้ อิหร่านยังมีกีฬาประจำชาติ คือ มวยปล้ำฟรีสไตล์ ซึ่งอิหร่านเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการแข่งขันชิงแชมป์โลก ชาวอิหร่านเรียกกีฬามวยปล้ำของตนเองว่า košti e pahlevāni ซึ่งยูเนสโกได้ให้การรับรองในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมด้วยแล้ว

ด้วยความที่ประเทศอิหร่านมีพื้นที่เทือกเขาสูงจำนวนมาก ทำให้มีการเล่นกีฬาสกี สโนว์บอร์ด การเดินเขา การปีนเขา และการปีนหินผาจำนวนมาก อิหร่านมีสถานที่ตั้งของรีสอร์ทสกีที่มีชื่อเสียงในเมืองโทชาล ดิซิน และ เชมชัค ทั้งสามเมืองอยู่ห่างจากเมืองหลวง กรุงเตหะราน เพียงสามชั่วโมง

ชาวอิหร่านมีความชื่นชอบกีฬาฟุตบอล ทีมชาติอิหร่านเป็นแชมป์เอเชียนคัพ 3 สมัย ได้ชื่อว่าเป็นทีมชาติที่ดีที่สุดในเอเชีย อีกทั้งยังรั้งอันดับ 1 ของทวีป และรั้งอันดับ 22 ของฟีฟ่าแรงค์กิ้ง (จากการจัดอันดับเมื่อเดือนกันยายน 2021) ฟุตบอลคือกีฬาที่เป็นที่นิยมที่สุดของประเทศอิหร่าน

อ้างอิง

แก้
  1. {{cite book |author=Jeroen Temperman | title=State-Religion Relationships and Human Rights Law: Towards a Right to Religiously Neutral Governance | url=https://books.google.com/books?id=Khag6tbsIn4C&pg=PA87 | year=2010 | publisher=Brill | isbn=978-90-04-18148-9| pages=87– | quote= คำขวัญอย่างเป็นทางการของอิหร่านคือ ตักบีร (อัลลอฮ์ทรงเกรียงไกร) ซึ่งแปลว่า อัลลอฮุอักบัร ตามที่กล่าวไว้ในงานศิลปะ รัฐธรรมนูญอิหร่านบทที่ 18 (ค.ศ. 1979) คำขวัญ โดยพฤตินัย คือ "เอกราช เสรีภาพ สาธารณรัฐอิสลาม"
  2. "Iran - Languages". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 CIA World Factbook. "Iran". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-03. สืบค้นเมื่อ 2008-03-04. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  4. Sarkhosh Curtis, Vesta; Stewart, Sarah (2005), Birth of the Persian Empire: The Idea of Iran, London: I.B. Tauris, p. 108, ISBN 978-1-84511-062-8, Similarly the collapse of Sassanian Eranshahr in AD 650 did not end Iranians' national idea. The name 'Iran' disappeared from official records of the Saffarids, Samanids, Buyids, Saljuqs and their successor. But one unofficially used the name Iran, Eranshahr, and similar national designations, particularly Mamalek-e Iran or 'Iranian lands', which exactly translated the old Avestan term Ariyanam Daihunam. On the other hand, when the Safavids (not Reza Shah, as is popularly assumed) revived a national state officially known as Iran, bureaucratic usage in the Ottoman empire and even Iran itself could still refer to it by other descriptive and traditional appellations.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Andrew J. Newman 2006
  6. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  7. "داده‌ها و اطلاعات آماری". www.amar.org.ir. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2018. สืบค้นเมื่อ 13 September 2017.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "World Economic Outlook Database, October 2021". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 4 October 2021.
  9. "GINI index (World Bank estimate)". Data.worldbank.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2015. สืบค้นเมื่อ 10 July 2021.
  10. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-03. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 17
  13. "Battle Between Persians and Russians". State Hermitage Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 18
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 15.6 15.7 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 19
  16. "ศาสนากับการเมืองในอิหร่าน". เสรีภาพ ณ ชะเยือง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-13. สืบค้นเมื่อ 2010-10-25.
  17. จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 20
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 18.6 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 21
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 19.6 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 22
  20. "อิหร่าน (๓)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
  21. 21.0 21.1 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 23
  22. "تعداد جمعیت و خانوار به تفکیک تقسیمات کشوری براساس سرشماری عمومی نفوس و مسکن سال ۱۳۹۵". Statistical Center of Iran.
  23. "CIA.gov". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-13. สืบค้นเมื่อ 2011-09-16. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  24. http://www.eia.doe.gov/emeu/cabs/Iran/Background.html
  25. The EU should be playing Iran and Russia off against each other เก็บถาวร 2007-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Julian Evans, Eurasian Home, 8 November 2006
  26. Kim Murphy – Los Angeles Times (2007-01-07). "U.S. targets Iran's vulnerable oil". Heraldextra.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-13. สืบค้นเมื่อ 2011-06-18. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  27. "Iran" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2011-06-18.
  28. "No Operation". Presstv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-24. สืบค้นเมื่อ 2011-09-14. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  29. "Iranian nuclear power station 'begins generating electricity'". Reuters. The Guardian. 4 September 2011. สืบค้นเมื่อ 4 September 2011.
  30. "Encyclopaedia Iranica. R. N. Frye. Peoples of Iran". Iranicaonline.org. สืบค้นเมื่อ 2011-09-14.
  31. 31.0 31.1 Library of Congress, Library of Congress – Federal Research Division. "Ethnic Groups and Languages of Iran" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-12-02.
  32. Walter Ralston Martin, Ravi K. Zacharias, The Kingdom of the Cults (2003), p.421; Excerpt: Ninety-five percent of Iran's Muslims are Shi'ites.
  33. Bhabani Sen Gupta, The Persian Gulf and South Asia:: prospects and problems of inter-regional cooperation. p.158; Excerpt: Shias constitute seventy-five percent of the population of the Gulf. Of this, ninety-five percent of Iranians and sixty of Iraqis are Shias.
  34. Daily report, Issues 64–73‎ -'United States. Foreign Broadcast Information Service- Page 50, Excerpt: Ninety -five percent of Iranians are Shiite Moslems.
  35. International Federation for Human Rights (2003-08-01). "Discrimination against religious minorities in Iran" (PDF). fdih.org. p. 6. สืบค้นเมื่อ 2009-01-17.
  36. International Federation for Human Rights (2003-08-01). "Discrimination against religious minorities in Iran" (PDF). fdih.org. สืบค้นเมื่อ 2007-03-19.
  37. Iran Human Rights Documentation Center (2007). "A Faith Denied: The Persecution of the Bahá'ís of Iran" (PDF). Iran Human Rights Documentation Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2007. สืบค้นเมื่อ 19 March 2007.
  38. Kamali, Saeed (27 February 2013). "Bahá'í student expelled from Iranian university 'on grounds of religion'". Guardian. สืบค้นเมื่อ 21 June 2013.
  39. J. B. Bury, History of the Later Roman Empire: From the Death of Theodosius I to the Death of Justinian Volume 1, p.109 ISBN 0-486-20398-0, Dover Publications
  40. "Sassanids in Africa". Transoxiana.com.ar. สืบค้นเมื่อ 2011-06-18.
  41. "Iransaga: The art of Sassanids". Artarena.force9.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-06-18.
  42. "Iran – A country study". Parstimes.com. สืบค้นเมื่อ 2011-06-18.
  43. "History of Islamic Science 5". Levity.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2011-06-18.
  44. 44.0 44.1 Afary, Janet (2006). "Iran". Encyclopedia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 2007-10-29.
  45. گزارش عزاداری ، ارامنه و زرتشتیان ایران
  46. Pope, Arthur Upham (1971). Introducing Persian Architecture. London: Oxford University Press.
  47. Pope, Arthur Upham (1965). Persian Architecture. New York: George Braziller. p. 266.
  48. "Virtual Conference". American.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2010. สืบค้นเมื่อ 18 June 2011.
  49. Ardalan, Nader; Bakhtiar, Laleh (2000). The Sense of Unity: The Sufi Tradition in Persian Architecture. ISBN 978-1-871031-78-2.
  50. Arthur Upham Pope (1971). Introducing Persian Architecture. London: Oxford University Press. ISBN 978-0196476292.
  51. K K Goswami (2009). Advances in Carpet Manufacture. Elsevier. p. 148. ISBN 978-1-84569-585-9.
  52. Khalaj, Mehrnosh (10 February 2010). "Iran's oldest craft left behind". FT.com. สืบค้นเมื่อ 4 October 2013.
  53. Bruno Nettl, "Iran: Music" in Encyclopaedia Iranica. Accessed November 2010 at PERSIAN MUSIC
  54. Erik Nakjavani (December 15, 2008). "QAMAR-AL-MOLUK VAZIRI". Encyclopaedia Iranica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2011-10-01. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  55. Wright, Robin, The Last Great Revolution : Turmoil and Transformation in Iran. (New York : Vintage Books, 2001), p 86
  56. 56.0 56.1 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 76
  57. Anderson, John. "Roll Over, Khomeini! Iran Cultivates A Local Rock Scene, Within Limites." Washington Post Foreign Service. August 23, 2001
  58. 58.0 58.1 58.2 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 163
  59. 59.0 59.1 59.2 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 164
  60. 60.0 60.1 60.2 60.3 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่น ๆ. หน้า 162
  61. "The Zarathushtrian Assembly". Zoroastrian.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-13. สืบค้นเมื่อ 2011-06-18.
  62. "Leaders of regional countries to mark Nowruz". PressTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-24. สืบค้นเมื่อ 2011-06-18. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  63. Melton, J. Gordon (2011). Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations [2 volumes]. ABC-CLIO. p. 620. ISBN 978-1598842067. Nowruz, an ancient spring festival of Persian origin (and the Zoroastrian New Year's day)...
  64. "General Assembly Fifty-fifth session 94th plenary meeting Friday, 9 March 2001, 10 a.m. New York" (PDF). United Nations General Assembly. 9 March 2001. สืบค้นเมื่อ 2010-04-06.
  65. "Nowrooz, a Persian New Year Celebration, Erupts in Iran – Yahoo!News". News.yahoo.com. 2010-03-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-22. สืบค้นเมื่อ 2010-04-06.
  66. "U.S. mulls Persian New Year outreach". Washington Times. 2010-03-19. สืบค้นเมื่อ 2010-04-06.

บรรณานุกรม

แก้
  • จักรพันธ์ กังวาฬ. และคนอื่น ๆ. กรุ่นกลิ่นอารยธรรมเปอร์เซียในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. ISBN 978-974-02-0043-7
  • Foltz, Richard (2016). Iran in World History. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-933550-3

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้