ราชวงศ์ปาห์ลาวี

ราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านช่วงปี 1925 ถึง 1979

ราชวงศ์ปาห์ลาวี (เปอร์เซีย: دودمان پهلوی) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอิหร่าน โดยปกครองอิหร่านปกครองมาเกือบ 54 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1925 ถึง ค.ศ. 1979 โดยราชวงศ์นี้ก่อตั้งโดย พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งในขณะนั้นพระองค์เป็นนายทหารในกองทัพเปอร์เซีย[1] ราชวงศ์ปาห์ลาวีเข้ามาแทนที่ราชวงศ์กอญัรใน ค.ศ. 1925 หลังรัฐประหารในปี ค.ศ. 1921 เมื่อเรซา ข่าน ทหารวัย 42 ปี ได้รับการเลื่อนตำแหน่งโดยนายพลเอ็ดมันด์ ไอรอนไซด์ ของอังกฤษให้เป็นผู้นำกองพลน้อยคอซแซคเปอร์เซีย[2] ประมาณหนึ่งเดือนต่อมาภายใต้การควบคุมของอังกฤษ กองกำลังจำนวน 3,000-4,000 นายของเรซา ข่านก็ไปถึงกรุงเตหะรานเพื่อทำรัฐประหารในปี ค.ศ. 1921[3] และพื้นที่ส่วนที่เหลือของประเทศถูกยึดครองในปี ค.ศ. 1923 และภายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1925 พระเจ้าชาห์ อะห์หมัด ชาห์ กอญัร ได้ถูกบีบบังคับให้สละราชสมบัติอย่างเป็นทางการและ เรซา ปาห์ลาวี ได้ทรงขึ้นครองราชย์เป็นชาห์องค์ใหม่แห่งอิหร่านเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1925 ตามรัฐธรรมนูญเปอร์เซีย[4] ในขั้นต้น ราชวงศ์ปาห์ลาวีวางแผนที่จะประกาศประเทศให้เป็นสาธารณรัฐ แต่จำต้องละทิ้งแนวคิดนี้เมื่อเผชิญกับฝ่ายค้านของอังกฤษและกลุ่มนักบวช[5]

ปาห์ลาวี
ราชวงศ์
ประเทศรัฐจักรวรรดิอิหร่าน
ถิ่นกำเนิดมาซันดารัน
ก่อตั้ง15 ธันวาคม ค.ศ. 1925 (1925-12-15)
ต้นตระกูลพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี
ผู้นำคนปัจจุบันเรซา ปาห์ลาวี
ผู้ปกครองคนสุดท้ายพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
ตระกูลที่เกี่ยวข้องราชวงศ์มูฮัมหมัด อาลี (1941–1948)
สิ้นสุด11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 (1979-02-11)

ราชวงศ์นี้ปกครองอิหร่านเป็นเวลา 28 ปีในรูปแบบการปกครองเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี ค.ศ. 1925 ถึง ค.ศ. 1953 และต่อมาอีก 26 ปี พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองประเทศมากขึ้นจนกระทั่งราชวงศ์ถูกโค่นล้มในปี ค.ศ. 1979

อ้างอิง

แก้
  1. Aghaie, Kamran Scot (2011-12-01). The Martyrs of Karbala: Shi'i Symbols and Rituals in Modern Iran (ภาษาอังกฤษ). University of Washington Press. ISBN 978-0-295-80078-3.
  2. Cyrus Ghani; Sīrūs Ghanī (6 January 2001). Iran and the Rise of the Reza Shah: From Qajar Collapse to Pahlavi Power. I.B.Tauris. pp. 147–. ISBN 978-1-86064-629-4.
  3. Brysac, Shareen Blair. "A Very British Coup: How Reza Shah Won and Lost His Throne." World Policy Journal 24, no. 2 (2007): 90–103. Accessed August 8, 2021. http://www.jstor.org/stable/40210096
  4. "Mashallah Ajudani". Ajoudani. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2018. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013.
  5. Curtis, Glenn E.; Hooglund, Eric. Iran: A Country Study: A Country Study. Government Printing Office. p. 27. ISBN 978-0-8444-1187-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้