อิหร่านปาห์ลาวี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
รัฐจักรวรรดิแห่งอิหร่าน (เปอร์เซีย: کشور شاهنشاهی ایران, Kešvar-e Šâhanšâhi-ye Irân),[1] รู้จักกันในชื่อ รัฐจักรวรรดิแห่งเปอร์เซีย,[a] เป็นชื่อทางการของรัฐอิหร่านภายใต้การปกครองของราชวงศ์ปาห์ลาวี
รัฐจักรวรรดิแห่งอิหร่าน کشور شاهنشاهی ایران | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1925–ค.ศ. 1979 | |||||||||
เพลงชาติ: (ค.ศ. 1925–1933) Salāmati-ye Dowlat-e Elliye-ye Irān (เพลงคารวะรัฐอันประเสริฐยิ่งแห่งเปอร์เซีย) (ค.ศ. 1933–1979) Sorude Šâhanšâhiye Irân (สดุดีจักรพรรดิอิหร่าน) | |||||||||
![]() แผนที่อิหร่านในสมัยราชวงศ์ปาห์ลาวี | |||||||||
สถานะ | ราชอาณาจักร | ||||||||
เมืองหลวง | เตหะราน | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาเปอร์เซีย | ||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ทางนิตินัย) ภายใต้ลัทธิอำนาจนิยม รัฐพรรคการเมืองเดียว (1975–78) | ||||||||
ชาห์ | |||||||||
• ค.ศ. 1925–1941 | พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี | ||||||||
• ค.ศ. 1941–1979 | พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• ค.ศ. 1925 - 1926 | โมฮัมหมัด-อาลี ฟารุฆี (คนแรก) | ||||||||
• ค.ศ. 1979 | ชาปูร์ บัคเตียร์ (คนสุดท้าย) | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวี | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1925 | ||||||||
• สนธิสัญญาไตรมิตรอิหร่าน-อังกฤษ-โซเวียต | 17 กันยายน ค.ศ. 1941 | ||||||||
• รัฐประหารอิหร่าน | 19 สิงหาคม ค.ศ. 1953 | ||||||||
• การปฏิวัติขาว | 26 มกราคม ค.ศ. 1963 | ||||||||
• การปฏิวัติอิหร่าน (การปฏิวัติอิสลาม) | 11 มกราคม ค.ศ. 1979 | ||||||||
• การปฏิวัติอิสลาม | 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 | ||||||||
สกุลเงิน | เรียล | ||||||||
|
สงครามโลกครั้งที่สอง แก้ไข
หลังจากที่เยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แล้ว อังกฤษและสหภาพโซเวียตก็เป็นพันธมิตรกัน และทั้งสองประเทศก็เริ่มให้ความสนใจกับอิหร่าน โดยทั้งสองประเทศต่างก็เห็นว่าจะสามารถใช้ทางรถไฟของอิหร่านในการขนส่งจากอ่าวเปอร์เซียมายังสหภาพโซเวียตได้ แต่เนื่องจากพระเจ้าชาห์ เรซาปฏิเสธที่จะเนรเทศชาวเยอรมัน อังกฤษและสหภาพโซเวียตจึงรุกรานอิหร่าน และปลดพระเจ้าชาห์ออกจากตำแหน่งและเข้าควบคุมการรถไฟของอิหร่านในเดินสิงหาคม ค.ศ. 1941ต่อมาในปีค.ศ. 1942 สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรกับทั้งสองประเทศได้ส่งกำลังทหารเข้าช่วยดูแลระบบรถไฟของอิหร่าน และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน ทั้งสามประเทศก็เข้าควบคุมแหล่งน้ำมันของอิหร่านเพื่อผลประโยชน์ของประเทศของตน อำนาจของพระเจ้าชาห์ เรซาจึงสิ้นสุดลง แต่ทั้งสามประเทศก็อนุญาตให้พระโอรสของพระเจ้าชาห์ เรซาขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ได้
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 ทั้งสามประเทศได้ลงนามในข้อตกลงกับอิหร่านว่าจะยอมรับเอกราชของอิหร่าน และจะถอนกองกำลัทั้งหมดภายในหกเดือนหังจากสงครามสิ้นสุดลง สหรัฐอเมริกาได้ยืนยันข้อตกลงเดิมอีกครั้งในปีค.ศ. 1943 ในการประชมุที่จัดขึ้นในเตหะราน แต่ในปีค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตก็ยังปฏิเสธที่จะประกาศกำหนดเวลาที่จะถอนกำลังออกจากจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันตกและอาเซอร์ไบจานตะวันออก ที่ซึ่งสหภาพโซเวียตสนับสนุนการเคลื่อนไหวที่จะปกครองตัวเอง ในขณะเดียวกัน พรรคตูเดห์ที่เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่เริ่มมีอิทธิพลและมีที่นั่งในสภา เริ่มแข็งแกร่งมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคเหนือของอิหร่าน รัฐบาลอิหร่านจึงพยายามส่งกองทัพเข้าไปจัดระเบียบในภาคเหนือของประเทศ แต่พื้นที่ในภาคเหนือของอิหร่านส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ในความควบคุมของพรรคการเมืองพรรคนี้
ในที่สุด สหภาพโซเวียตก็ถอนกำลังออกจากอิหร่านในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1946 แต่สถานการณ์ก็ยังคงตึงเครียดต่อมาอีกหลายเดือน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นตัวการเร่งให้เกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
ระบบการเมืองของอิหร่านได้เริ่มเปิดกว้างมากขึ้น และพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ในปีค.ศ. 1944 ได้มีการเลือกตั้งที่เป็นการแข่งขันกันอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในรอบยี่สิบปี บริษัทน้ำมันอังกฤษ - อิหร่าน ซึ่งรัฐบาลอังกฤษเป็นเจ้าของก็เริ่มผลิตและขายน้ำมันอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 ชาวอิหร่านบางคนได้เริ่มสนับสนุนให้โอนกิจการน้ำมันมาเป็นของชาติ และหลังจากปีค.ศ. 1946 เป็นตนมา แนวคิดดังกล่าวก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ
สงครามเย็น แก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม แก้ไข
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ "IRAN: Keshvaré Shahanshahiyé Irân", The Statesman's Year-Book 1978–79, Springer, 2016, pp. 674–682, ISBN 9780230271074
- ↑ From 15 December 1925 until 21 March 1935.