เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน

เจ้าชายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน (เปอร์เซีย: رضا پهلوی, ปัจจุบันคือ ไซรัส เรซา ปาห์ลาวี, พระราชสมภพ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1960) มกุฎราชกุมารองค์สุดท้ายของอิหร่านราชวงศ์ปาห์ลาวี พระราชโอรสในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กับจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยมายังสหรัฐในปี ค.ศ. 1979 หลังการเกิดการปฏิวัติอิหร่าน และประทับอยู่ที่นั่นตลอดมา[1]

เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน
พระประมุขแห่งราชวงศ์ปาห์ลาวี
ดำรงตำแหน่ง31 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - ปัจจุบัน
(43 ปี 140 วัน)
ก่อนหน้าไม่มี
ประสูติ31 ตุลาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
กรุงเตะราน ประเทศอิหร่าน
พระวรชายายัสมิน อาเตมัด-อามินี
พระราชบุตรเจ้าหญิงนูร์ ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงอีมาน ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงฟาราห์ ปาห์ลาวี
มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน
พระนามเต็ม
ไซรัส เรซา ปาห์ลาวี
ราชวงศ์ราชวงศ์ปาห์ลาวี
พระราชบิดาพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
พระราชมารดาจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี
ลายพระอภิไธย

พระราชประวัติ แก้

เจ้าชายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที 31 ตุลาคม ค.ศ. 1960 พระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กับจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี มีพระขนิษฐาและพระอนุชา คือ เจ้าหญิงฟาราห์นาซ, เจ้าชายอาลี เรซา และเจ้าหญิงไลลา และมีพระเชษฐภคินีต่างชนนีคือ เจ้าหญิงชาห์นาซ

พระองค์ออกจากอิหร่านมีมีพระชันษาได้ 17 ปี เพื่อศึกษาในวิทยาลัยวิลเลียมส์แต่พระองค์ต้องออกจากโรงเรียนเนื่องจากปัญหาความวุ่นวายของประเทศอิหร่าน หลังจากการปฏิวัติอิสลามในปี ค.ศ. 1979 ระบอบการปกครองถูกยึดอำนาจ หลังจากนั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็ไม่ได้เสด็จนิวัติกลับไปยังอิหร่านอีกเลย พระองค์ได้สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส[2] พระองค์เคยเป็นอดีตนักบินเครื่องบินเจ็ตของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาประจำการในรัฐเท็กซัส และปฏิบัติหน้าที่ในสงครามอิหร่าน-อิรักในปี ค.ศ. 1980[3]

ชีวิตส่วนพระองค์ แก้

อดีตมกุฎราชกุมารไซรัส เรซา ปาห์ลาวี ได้อภิเษกสมรสกับสุภาพสตรีชาวอิหร่านคือ นางสาวยัสมิน อาเตมัด-อามินี ธิดาของนายอับดุลละห์ อามินี กับนางฟอรุก อัฟเตการี[4] เธอสำเร็จการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน เธอทำงานเป็นทนายสำหรับสำนักกฎหมายเยาวชน และมีชื่อเสียงจากการเป็นผู้สนับสนุนกฎหมายเยาวชน ทั้งคู่สมรสกันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1986 ทั้งสองมีพระธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ ได้แก่[4]

  1. เจ้าหญิงนูร์ ปาห์ลาวี ประสูติ 3 เมษายน ค.ศ. 1992 พระนามมีความหมายว่า แสง
  2. เจ้าหญิงอีมาน ปาห์ลาวี ประสูติ 12 กันยายน ค.ศ. 1993 พระนามมีความหมายว่า ศรัทธา
  3. เจ้าหญิงฟาราห์ ปาห์ลาวี ประสูติ 17 มกราคม ค.ศ. 2004 พระนามมีความหมายว่า ความสุขและเบิกบานใจ

การสืบราชบัลลังก์ แก้

เจ้าฟ้าชายไซรัส เรซา ได้ดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารในราชวงศ์ปาห์ลาวี เนื่องจากเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กับจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี ระบอบกษัตริย์แห่งอิหร่านได้ล่มสลายในปี ค.ศ. 1979 พระองค์ต้องใช้พระนามเป็น นายเรซา ปาห์ลาวี และหลังจากการสวรรคตของชาห์โมฮัมหมัด เรซา ในปี ค.ศ. 1980 พระองค์จึงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ต่อจากพระมารดาในปี ค.ศ. 1981 (พระมารดาอ้างสิทธิแทนเนื่องจากพระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) แต่ด้วยพระองค์ทรงมีเพียงพระธิดาสามพระองค์โดยไม่มีพระโอรสเลย ประกอบกับพระอนุชาคือ เจ้าชายอาลี เรซาที่สอง (1966 - 2011) ไม่ทรงเสกสมรสและไม่มีพระโอรสธิดา ดังนั้นลำดับการสืบราชสมบัติจึงตกไปในสายของเจ้าชายอาลี แพทริก ปาห์ลาวี พระโอรสเพียงพระองค์เดียวในเจ้าชายอาลี เรซาที่หนึ่ง พระอนุชาของชาห์โมฮัมหมัด เรซา

พระเกียรติยศ แก้

พระราชอิสริยยศ แก้

  • เจ้าฟ้าชายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน (1960–1979)
  • เจ้าฟ้าชายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน (อ้างสิทธิ์ 1979-ปัจจุบัน)
  • นายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี (พระนามปัจจุบัน 1979-ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Shah's daughter laid to rest". BBC News. 2001-06-17. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
  2. record.williams.edu/wp/?p=13293
  3. Middle East News
  4. 4.0 4.1 "การอภิเษกสมรสของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-14. สืบค้นเมื่อ 2011-01-08.
  5. 5.0 5.1 5.2 {{cite web|url=http://www.4dw.net/royalark/Persia/pahlavi3.htm%7Ctitle=4dw.nwet}}
ก่อนหน้า เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน ถัดไป
มกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด เรซา    
มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน
(ราชวงศ์ปาห์ลาวี)

(ค.ศ. 19601979)
  ตำแหน่งสิ้นสุด
ไม่มี    
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อิหร่าน
(ราชวงศ์ปาห์ลาวี)

  ปัจจุบัน
เจ้าชายอาลี แพทริก ปาห์ลาวี