เจ้าหญิงยัสมิน ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารีแห่งอิหร่าน

เจ้าหญิงยัสมิน ปาห์ลาวี
มกุฎราชกุมารีแห่งอิหร่าน
มกุฎราชกุมารีแห่งอิหร่าน
ประสูติ26 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 (55 ปี)
กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน
พระราชสวามีเจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน
พระราชบุตร
เจ้าหญิงนูร์ ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงอีมาน ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงฟาราห์ ปาห์ลาวี
ราชวงศ์ปาห์ลาวี
พระราชบิดาอับดุลลาห์ อาเตมัด-อามินี
พระราชมารดาฟอรอจห์ เอฟเตกฮารี

เจ้าหญิงยัสมิน ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารีแห่งอิหร่าน (พระนามเดิม: อาเตมัด-อามินี 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2511; เปอร์เซีย: یاسمین پهلوی) เป็นพระชายาในเจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน มกุฎราชกุมารพระองค์สุดท้ายของอดีตจักรวรรดิอิหร่าน

พระราชประวัติ แก้

ยัสมิน อาเตมัด อามินี ประสูติที่โรงพยาบาลปาร์สในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่านเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2511[1] พระองค์ได้เข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนชุมชนเตหะราน ในเตหะรานจนกระทั่งความตึงเครียดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ครอบครัวของพระองค์ถูกบังคับให้ออกจากอิหร่านอย่างถาวร พวกเขาตั้งรกรากอยู่ในซานฟรานซิสโกในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่นี่พระองค์เธอได้เข้าเรียนและสอบวัดผลที่โรงเรียน Notre Dame

พระองค์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ได้รับปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์และปริญญาเอกนิติศาสตร์จาก โรงเรียนกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน พระองค์เป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภารัฐแมรี่แลนด์[2] พระองค์ทำงานเป็นเวลาสิบปีในฐานะพนักงานทนายความสำหรับศูนย์กฎหมายเพื่อเด็กกำพร้าในกรุงวอชิงตันดีซี แสดงสิทธิของเยาวชนที่มีความเสี่ยง

พระองค์ได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อเด็กของอิหร่าน[3] ซึ่งเริ่มต้นในปี 1991 ร่วมกับนาซี เอฟเตกฮารี มีจุดประสงค์คือเพื่อช่วยเหลือทางด้านการพยาบาลและการสาธารณสุขแก่เด็กชาวอิหร่นโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา และการเมือง

เสกสมรสและรัชทายาท แก้

เจ้าหญิงยัสมิน ปาห์ลาวี เสกสมรสกับเจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา 3 พระองค์ ได้แก่

  1. เจ้าหญิงนูร์ ปาห์ลาวี ประสูติ (1992-04-03) 3 เมษายน ค.ศ. 1992 (32 ปี)
  2. เจ้าหญิงอีมาน ปาห์ลาวี ประสูติ (1993-09-12) 12 กันยายน ค.ศ. 1993 (30 ปี)
  3. เจ้าหญิงฟาราห์ ปาห์ลาวี ประสูติ (2004-01-17) 17 มกราคม ค.ศ. 2004 (20 ปี)

การเมือง แก้

เจ้าหญิงยัสมิน ปาห์ลาวี ได้รับการสนับสนุนจากแกนนำของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในอิหร่าน ที่ปรากฏที่ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยหลายที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้ง 2009 ในอิหร่าน[4][5]

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-02. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-02. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-10. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  4. http://www.youtube.com/watch?v=3dOw70XezzA
  5. http://www.youtube.com/watch?v=thmc_ZZDAeE&feature=related

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า เจ้าหญิงยัสมิน ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารีแห่งอิหร่าน ถัดไป
จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี    
สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอิหร่าน
(อ้างสิทธิในราชบัลลังก์)

(12 มิถุนายน 1986 - ปัจจุบัน)
  อยู่ในตำแหน่ง