ประธานาธิบดีอิหร่าน

ประธานาธิบดีอิหร่าน (เปอร์เซีย: رئیس‌جمهور ایران) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงสุดของประเทศ การแต่งตั้งประธานาธิบดีต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้นำสูงสุดอิหร่านก่อนที่จะทำการสาบานตนต่อศาลและรัฐสภา ผู้นำสูงสุดอิหร่านมีอำนาจเต็มในการปลดประธานาธิบดีได้ทุกเมื่อ[2] ประธานาธิบดีอิหร่านมีหน้าที่ลงนามตราใช้กฎหมาย และสนองคำสั่งของผู้นำสูงสุดอิหร่านผู้ทำหน้าที่ประมุขแห่งรัฐ[3][4] ประธานาธิบดีอิหร่านแตกต่างจากประธานาธิบดีของหลายประเทศ ประธานาธิบดีอิหร่านไม่ได้ผูกขาดอำนาจบัญชาเหนือรัฐบาล อำนาจบัญชารัฐบาลแทบทั้งหมดอยู่ในมือของผู้นำสูงสุดอิหร่าน ประธานาธิบดีอิหร่านมาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระดำรงตำแหน่งสมัยละสี่ปี และห้ามดำรงตำแหน่งเกินกว่าสองสมัยหรือมากกว่า 8 ปี

ประธานาธิบดีแห่ง
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
ตราประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
แมสอูด เพเซชคียอน
รักษาการแทน
 ตั้งแต่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
รายงานต่อผู้นำสูงสุดอิหร่าน
จวนSa'dabad Palace
ที่ว่าการเตหะราน
ผู้แต่งตั้งการเลือกตั้งโดยตรง
วาระสี่ปี (สูงสุดสองสมัย)
ผู้ประเดิมตำแหน่งอะบุลฮะซัน บะนีซัดร์
สถาปนา4 กุมภาพันธ์ 2523; 44 ปีก่อน
เงินตอบแทน27 ล้านเรียล/เดือน[1]
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีถูกกำหนดโดยมาตรา 9 แห่งรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน การเลือกตั้งประธานาธิบดีและการเลือกตั้งอื่น ๆ ทั้งหมดในประเทศอิหร่านถูกกำหนดโดยผู้นำสูงสุดอิหร่าน หน้าที่ของประธานาธิบดีได้แก่: ตรากฎหมายและปฏิบัติตามผู้นำสูงสุด, ลงนามสนธิสัญญากับต่างชาติหรือองค์กรระหว่างประเทศ, กำกับดูแลแผนยุทธศาสตร์ชาติ การงบประมาณ และการจ้างงานของรัฐเป็นต้น[5][6][7][8] ประธานาธิบดีอิหร่านยังมีหน้าที่แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยความยินยอมของรัฐสภาและผู้นำสูงสุด ผู้นำสูงสุดมีอำนาจปลดรัฐมนตรีได้ทุกเมื่อโดยไม่ต้องผ่านรัฐสภาหรือประธานาธิบดี[9][10][11] ผู้นำสูงสุดเป็นผู้เลือกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข่าวกรอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยตรง[12]

ประธานาธิบดีอิหร่านคนปัจจุบันคือ มุฮัมหมัด มุคบิร ซึ่งเข้ารักษาการตั้งแต่พฤษภาคม 2024 ถัดจากเอบรอฮีม แรอีซี ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมจากเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่แวร์แซฆอนในวันที่ 19 พฤษภาคม 2024

อ้างอิง

แก้
  1. "حقوق رئیس جمهور و نمایندگان چقدر است؟". Mashreghnews.ir. 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 2019-07-09.
  2. "PressTV-Leader endorses Rouhani as Iran's president". Presstv.ir. 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2019-07-09.
  3. (see Article 110 of the constitution)
  4. Axel Tschentscher. "ICL - Iran - Constitution". Servat.unibe.ch. สืบค้นเมื่อ 2019-07-09.
  5. "Iran's Khamenei hits out at Rafsanjani in rare public rebuke". Middle East Eye.
  6. "Khamenei says Iran must go green - Al-Monitor: the Pulse of the Middle East". Al-Monitor.
  7. Mahmoud Ahmadinejad Accessed 5-23-2008
  8. Louis Charbonneau and Parisa Hafezi (16 May 2014). "Exclusive: Iran pursues ballistic missile work, complicating nuclear talks". Reuters.
  9. "Iranian lawmakers warn Ahmadinejad to accept intelligence chief as political feud deepens". CP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ 2017-05-21.
  10. "BBC NEWS - Middle East - Iranian vice-president 'sacked'".
  11. Amir Saeed Vakil,Pouryya Askary (2004). constitution in now law like order. p. 362.
  12. "Did Khamenei block Rouhani's science minister?". Al-monitor.com. 2017-10-23. สืบค้นเมื่อ 2019-07-09.