สาธารณรัฐอิสลาม

สาธารณรัฐอิสลาม (อังกฤษ: Islamic republic) เป็นรัฐเอกราชที่ปกครองด้วยกฎหมายอิสลามและอยู่ตรงข้ามกับราชาธิปไตยอิสลาม ปัจจุบันมีเพียง 3 ประเทศที่ใช้ชื่อนี้คืออิหร่าน, มอริเตเนีย และปากีสถาน ปากีสถานเป็นประเทศแรกที่ใช้ตำแหน่งนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1956 มอริเตเนียใช้ตำแหน่งนี้ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958 และอิหร่านประกาศใช้หลังการปฏิวัติอิหร่านใน ค.ศ. 1979 ที่โค่นล้มราชวงศ์ปาห์ลาวี

แผนที่แสดงประเทศสาธารณรัฐอิสลามที่ใช้ตำแหน่งนี้

ถึงแม้ว่าทั้งสามประเทศมีตำแหน่ง "สาธารณรัฐอิสลาม" เหมือนกัน แต่มีรัฐบาลและกฎหมายต่างกัน และมีแค่อิหร่านเท่านั้นที่เป็นรัฐเทวาธิปไตยเชิงศาสนา คำนี้มีความหมายหลายแบบ บางส่วนขัดแย้งกับอีกอัน ตามความเห็นผู้นำศาสนาของมุสลิมบางส่วนในภูมิภาคที่ยอมรับระบบนี้ สาธารณรัฐอิสลามเป็นรัฐที่อยู่ภายใต้รูปรัฐบาลอิสลาม พวกเขาเห็นมันเป็นการประนีประนอมระหว่างรัฐเคาะลีฟะฮ์อิสลามบริสุทธิ์กับสาธารณรัฐชาตินิยมแบบโลกิยนิยม ในแนวคิดสาธารณรัฐอิสลามของพวกเขา จะต้องมีการใช้ประมวลกฎหมายอาญาที่ตรงกับกฎหมายชะรีอะฮ์บางส่วนหรือทั้งหมด และรัฐนั้นอาจไม่มีกษัตริย์เหมือนที่หลายประเทศในตะวันออกกลางมีในปัจจุบัน ถึงกระนั้น ยังมีสาธารณรัฐที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติและปกครองด้วยกฎหมายอิสลาม (อย่างน้อยบางส่วน) แต่ไม่ใช้ตำแหน่ง "สาธารณรัฐอิสลาม" - เช่น อิรัก, เยเมน, แอลจีเรีย และมัลดีฟส์

รายชื่อสาธารณรัฐอิสลามในปัจจุบัน แก้

รัฐ วันที่ใช้งาน ประเภทรัฐบาล
  สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน 1 เมษายน ค.ศ. 1979[1] รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดีโคมัยนี (ผสมสาธารณรัฐ-เทวาธิปไตยกับผู้นำสูงสุด โดยพฤตินัย)
  สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย[2][3][4] 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐที่มีระบบกึ่งประธานาธิบดี
  สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน 23 มีนาคม ค.ศ. 1956 รัฐสหพันธ์ สาธารณรัฐที่มีระบบรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ

รายชื่อสาธารณรัฐอิสลามในอดีต แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Iran Islamic Republic". Encyclopædia Britannica. Retrieved 28 December 2019.
  2. Encyclopedia of the Peoples of Africa and the Middle East. Facts On File, Inc. 2009. p. 448. ISBN 978-1438126760. The Islamic Republic of Mauritania, situated in western North Africa [...].
  3. Seddon, David (2004). A Political and Economic Dictionary of the Middle East. We have, by contrast, chosen to include the predominantly Arabic-speaking countries of western North Africa (the Maghreb), including Mauritania (which is a member of the Arab Maghreb Union) [...].
  4. Branine, Mohamed (2011). Managing Across Cultures: Concepts, Policies and Practices. p. 437. The Magrebian countries or the Arab countries of western North Africa (Algeria, Libya, Mauritania, Morocco and Tunisia) [...].
  • Ankerl, Guy (2000). Global communication without universal civilization. INU societal research. Vol. Vol.1: Coexisting contemporary civilizations : Arabo-Muslim, Bharati, Chinese, and Western. Geneva: INU Press. ISBN 2-88155-004-5. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้