สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน

สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Islamic Republic of Afghanistan) เป็นสาธารณรัฐอิสลามที่ปกครองอัฟกานิสถานระหว่าง ค.ศ. 2004–2021 มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน มีอาณาเขต 652,000 ตารางกิโลเมตร มีกรุงคาบูลเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ มีประชากรประมาณ 39 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ปาทาน ทาจิก ฮาซาราและอุซเบก

สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน

  • جمهوری اسلامی افغانستان (ดารี)
  • Jumhūrī-yi Islāmī-yi Afġānistān
  • د افغانستان اسلامي جمهوریت (ปาทาน)
  • Da Afġānistān Islāmī Jumhoryat
2004–2021
คำขวัญلا إله إلا الله، محمد رسول الله
"ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ มุฮัมมะดุรเราะซูลุลลอฮ์"
"ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์" (ชะฮาดะฮ์)
เพลงชาติ
قلعه اسلام قلب اسیا
("ป้อมปราการอิสลาม หัวใจแห่งเอเชีย")
(ค.ศ. 2004–2006)
มิลลีซูรุด
سرود ملی
("เพลงชาติ")
(ค.ศ. 2006–2021)
ที่ตั้งของอัฟกานิสถาน
สถานะรัฐบาลพลัดถิ่นที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
คาบูล
33°N 66°E / 33°N 66°E / 33; 66
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐอิสลาม
ประธานาธิบดี 
• 2004–2014
ฮามิด การ์ไซ
• 2014–2021
อัชราฟ ฆานี
• 2021–ปัจจุบัน
อัมรุลลอฮ์ ศอเลฮ์ (รักษาการ)[a]
ผู้บริหารสูงสุด 
• 2014–2020
อับดุลลาฮ์ อับดุลลาฮ์
รองประธานาธิบดี[b] 
• 2004–2009
อะฮ์มัด ซิยา มัสอูด
• 2004–2014
กะรีม คะลีลี
• 2009–2014
โมฮัมเม็ด ฟะฮีม
• 2014[c]
ยูนุส กอนูนี
• 2014–2020
อับดุล รอชิด ดอสตุม
• 2014–2021
ซัรวาร์ ดานิช
• 2020–2021
อัมรุลลอฮ์ ศอเลฮ์
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สภาสูง
สภาล่าง
ยุคประวัติศาสตร์สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
7 ตุลาคม ค.ศ. 2001
26 มกราคม ค.ศ. 2004
29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020
15 สิงหาคม ค.ศ. 2021
พื้นที่
น้อย
2020652,864[1] ตารางกิโลเมตร (252,072 ตารางไมล์)
ประชากร
• 2020
31,390,200[2]
48.08 ต่อตารางกิโลเมตร (124.5 ต่อตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐอิสลามช่วงเปลี่ยนผ่านอัฟกานิสถาน
เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน
หน่วยต่อต้านปัญจศิระ

บริเวณนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาอย่างน้อย 50,000 ปี[3] จนมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอยู่ถาวรในบริเวณเมื่อ 9,000 ปีมาแล้ว ก่อนค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นอารยธรรมสินธุ อารยธรรมอ็อกซัสและอารยธรรมเฮลมันด์ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล[4] ชาวอินโด-อารยันย้ายเข้ามา ตามด้วยความเจริญของวัฒนธรรม Yaz I ยุคเหล็ก (ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน ค.ศ.) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมที่มีกล่าวถึงในคัมภีร์อเวสตะของศาสนาโซโรอัสเตอร์[5] บริวณนี้ได้ตกเป็นของเปอร์เซียในศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ไปจนถึงแม่น้ำสินธุ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาอำราจบุกครองดินแดนดังกล่าวในศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. อาณาจักรกรีก-แบ็กเทรียเป็นปลายตะวันออกสุดของอารยธรรมกรีก ต่อมาดินแดนนี้ถูกพิชิตโดยอินเดียสมัยราชวงศ์เมารยะ ทำให้ศาสนาพุทธและฮินดูแพร่หลายในพื้นที่นี้หลายศตวรรษ พระเจ้ากนิษกะแห่งจักรวรรดิกุษาณะมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายมหายานเข้าสู่ประเทศจีนและเอเชียกลาง หลังจากนั้นมีราชวงศ์ที่นับถือพุทธปกครองดินแดนแถบนี้มาอีกหลายราชวงศ์

ศาสนาอิสลามเข้าสู่บริเวณนี้ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 แต่มีการเผยแผ่ศาสนาอย่างจริงจังระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 12 และมีการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์อยู่อีกหลายครั้ง ประวัติศาสตร์การเมืองของรัฐอัฟกานิสถานสมัยใหม่เริ่มต้นจากราชวงศ์ Hotak ซึ่งประกาศเอกราชในอัฟกานิสถานตอนใต้ใน ค.ศ. 1709 ต่อมามีการตั้งอาณาจักรดูรานีใน ค.ศ. 1747 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อัฟกานิสถานเป็นรัฐกันชนใน "เกมใหญ่" ระหว่างจักรวรรดิบริติชและรัสเซีย[6][7]

ในสงครามอังกฤษ-อัฟกันครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1839–1842) กองทัพบริติชจากอินเดียเข้าควบคุมอัฟกานิสถานได้ แต่สุดท้ายเป็นฝ่ายแพ้ หลังสงครามอังกฤษ-อัฟกันครั้งที่สามใน ค.ศ. 1919 อัฟกานิสถานจึงปลอดจากอิทธิพลของต่างชาติ และได้เป็นราชาธิปไตยภายใต้พระเจ้าอมานุลเลาะห์ แต่ใน ค.ศ. 1973 มีการโค่นล้มระบอบกษัตริย์เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ ใน ค.ศ. 1978 หลังมีรัฐประหารครั้งที่สอง อัฟกานิสถานกลายเป็นรัฐสังคมนิยม และถูกโซเวียตบุกในสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถานในคริสต์ทศวรรษ 1980 ต่อกบฏมุญาฮิดีน หลังโซเวียตถอนกำลังออกไป กลุ่มตอลิบานซึ่งเป็นพวกอิสลามมูลวิวัติได้เข้ายึดประเทศใน ค.ศ. 1996 และปกครองประเทศเป็นระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ และมีประวัติลิดรอนสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรีอย่างรุนแรง กลุ่มนี้ถูกโค่นจากอำนาจหลังสหรัฐบุกครองใน ค.ศ. 2001 แต่ยังควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้ เนื่องจากรัฐบาลใหม่ของอัฟกานิสถานต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางทหารและเศรษฐกิจจากสหรัฐมาก ทำให้มีการเรียกอัฟกานิสถานว่าเป็นรัฐบริวารของสหรัฐ[8] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 กลุ่มตอลิบานเริ่มการรุกหลังสหรัฐเริ่มถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน กลุ่มตอลิบานได้ยึดหัวเมืองในจังหวัดต่าง ๆ ก่อนเข้ายึดกรุงคาบูลได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2021[9] ประธานาธิบดีอัชราฟ ฆานีลี้ภัยออกนอกประเทศ ขณะที่อัมรุลลอฮ์ ศอเลฮ์แต่งตั้งตนเองเป็นรักษาการแทนประธานาธิบดี และจัดตั้งฝ่ายต่อต้านที่มีฐานในหุบเขาปัญจศิระเพื่อสู้รบกับกลุ่มตอลิบาน[10]

ในสมัยที่อัฟกานิสถานเป็นสาธารณรัฐอิสลามซึ่งใช้ระบบประธานาธิบดี ประเทศยังมีระดับการก่อการร้าย ความยากจน ภาวะทุพโภชนาการเด็กและการฉ้อราษฎร์บังหลวงสูง เศรษฐกิจมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 96 ของโลก โดยมีจีดีพีมูลค่า 72,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มีจีดีพีต่อหัวต่ำมาก อยู่อันดับที่ 169 จาก 186 ประเทศใน ค.ศ. 2018

หมายเหตุ

แก้
  1. ศอเลฮ์ประกาศตนเองเป็นผู้รักษาการประธานาธิบดีในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2021
  2. ประเทศอัฟกานิสถานมีรองประธานาธิบดีสองตำแหน่ง คือรองประธานาธิบดีคนแรกและรองประธานาธิบดีคนที่ 2
  3. 31 มีนาคมถึง 29 กันยายน

อ้างอิง

แก้
  1. Central Statistics Office Afghanistan
  2. Central Statistics Office Afghanistan, 2020.
  3. Afghanistan – John Ford Shroder, University of Nebraska. Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2004. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
  4. Dyson, Tim (2018), A Population History of India: From the First Modern People to the Present Day, Oxford University Press, pp. 4–5, ISBN 978-0-19-882905-8; Fisher, Michael H. (2018), An Environmental History of India: From Earliest Times to the Twenty-First Century, Cambridge University Press, p. 33, ISBN 978-1-107-11162-2
  5. Mallory, J.P.; Adams, Douglas Q. (1997). Encyclopedia of Indo-European Culture (illustrated ed.). Taylor & Francis. p. 310. ISBN 1884964982.
  6. Tomsen, Peter (2014), The Wars of Afghanistan, pp. 41–2, ISBN 978-1610392624
  7. Rashid, Ahmed (2000), Taliban, p. 187, ISBN 1-86064-417-1
  8. Ladwig, Walter C. (2017). The Forgotten Front: Patron-Client Relationships in Counter Insurgency. Cambridge University Press. p. 302. ISBN 9781107170773. สืบค้นเมื่อ 2018-05-15. As with their Cold War counterparts, it was erroneous for American policymakers to believe that the governments of contemporary client states, such as Iraq, Afghanistan, and Pakistan, necessarily shared their desire to defeat radical Islamic insurgents by adhering to the prescriptions of U.S. counterinsurgency doctrine.
  9. Zucchino, David (August 15, 2021). "Kabul's Sudden Fall to Taliban Ends U.S. Era in Afghanistan". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 17, 2021.
  10. O'Donnell, Tim (August 17, 2021). "What's happening in Afghanistan's last anti-Taliban holdout". สืบค้นเมื่อ August 18, 2021.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ถัดไป
รัฐอิสลามช่วงเปลี่ยนผ่านอัฟกานิสถาน   สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน
(2004 – 2021)
  เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน