ภาษาปาทาน
ภาษาปาทาน (ฮินดูสตานี: Paṭhānī;[2] ปาทาน: پښتو) เป็นภาษาแม่ของชาวปาทาน (Pashtun) ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศอัฟกานิสถานและแคว้นทางตะวันตกของประเทศปากีสถาน
ปาทาน | |
---|---|
پښتو, pax̌tō | |
ออกเสียง | [ˈpəʂt̪oː, ˈpəçt̪oː, ˈpʊxt̪oː] |
ประเทศที่มีการพูด | อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน |
ภูมิภาค | อัฟกานิสถาน: ทางใต้และตะวันออก และบางแคว้นทางเหนือ; ปากีสถาน: แคว้นทางตะวันตก |
จำนวนผู้พูด | ประมาณ 40 ล้านคน[1] (2550) |
ตระกูลภาษา | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อัฟกานิสถาน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ps |
ISO 639-2 | pus |
ISO 639-3 | มีหลากหลาย: pus — ภาษาปาทานทั่วไป pst — ภาษาปาทานกลาง pbu — ภาษาปาทานเหนือ pbt — ภาษาปาทานใต้ |
ไวยากรณ์แก้ไข
ภาษาปาทานเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม นามและคำคุณศัพท์ผันตามเพศ (ชาย/หญิง) จำนวน (เอกพจน์/พหูพจน์) และการก (กรรมตรง/กรรมรอง) การกกรรมตรงใช้กับประธาน และกรรมที่ถูกกระทำโดยตรงในปัจจุบัน การกกรรมรองมักใช้ตามหลังบุพบทและใชในอดีตสำหรับประธานของสกรรมกิริยา ไม่มีคำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะ แต่แทนที่ด้วยคำว่า นี่/นั่น ระบบของคำกริยาซับซ้อนมาก มีกาลต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ปัจจุบันกาลธรรมดา มีเงื่อนไขหรือสมมติ อดีตกาลธรรมดา อดีตกาลกำลังกระทำ ปัจจุบันกาลสมบูรณ์ ภาษาปาทานเป็นภาษาประเภทสัมพันธการก
ภาษาปาทานเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน คำศัพท์ส่วนใหญ่จึงมีกำเนิดเกี่ยวข้องกับภาษาใกล้เคียง หลังจากศาสนาอิสลามเข้ามาสู่อัฟกานิสถาน ทำให้ภาษาปาทานได้รับอิทธิพลรวมทั้งคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย
หลังจากเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ภาษาปาทานเขียนด้วยอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในอินเทอร์เน็ต มีการใช้อักษรละตินเขียนภาษาปาทานมากขึ้น ภาษาปาทานมีอักษรหลายตัวที่ไม่มีในอักรเปอร์เซียอาหรับ เช่นเสียงม้วนลิ้นของ t, d, r, n จะใช้อักษรอาหรับมาตรฐาน ت د ر และ ن รวมกับพันดิกอยู่ข้างใต้ซึ่งคล้ายวงกลมเล็ก ๆ และยังมีอักษร ge และ xin ซึ่งใช้อักษรอาหรับมาตรฐาน ر และ س เติมจุดทั้งข้างบนและข้างล่าง
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Nationalencyklopedin "Världens 100 största språk 2007" The World's 100 Largest Languages in 2007 (39 million)
- ↑ India. Office of the Registrar General (1961). Census of India, 1961: Gujarat. Manager of Publications. pp. 142, 166, 177.