ศาสนาโซโรอัสเตอร์

ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (อังกฤษ: Zoroastrianism, เปอร์เซีย: دین زرتشتی, อักษรโรมัน: Din-e Zartoshti) หรือ มาซดะยัสนา (Mazdayasna, อเวสตะ: 𐬨𐬀𐬰𐬛𐬀𐬌𐬌𐬀𐬯𐬥𐬀, อักษรโรมัน: mazdaiiasna) เป็นศาสนาและปรัชญาศาสนาอิหร่านโบราณอย่างหนึ่ง ตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์หลักทางศาสนาที่เรียกว่าอเวสตะ ผู้ที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ยกย่องเทพแห่งปัญญาที่ไม่มีใครสร้างและเมตตากรุณาให้เป็นผู้สูงสุดในจักรวาล นักวิชาการมีความคิดเห็นแตกต่างกันไปว่าเป็นศาสนาเอกเทวนิยม[1] หรือศาสนาพหุเทวนิยม[2] หรือศาสนาอติเทวนิยม[3] หรือเป็นทั้งสามแบบผสมกัน[4] เคยเป็นศาสนาแห่งรัฐจักรวรรดิอะคีเมนิด พาร์เธีย และแซสซานิด ประมาณจำนวนศาสนิกโซโรอัสเตอร์ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ระหว่างประมาณ 145,000 คนเมื่อประมาณ ค.ศ. 2000 ถึง 2.6 ล้านคนในการประมาณหลัง ๆ

ฟาร์วาฮาร์ สัญลักษณ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์

ศาสนาโซโรอัสเตอร์เกิดในภูมิภาคตะวันตกของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ เมื่อนักปรัชญาศาสนา ซาราธุสตรา (โซโรอัสเตอร์ (Ζωροάστηρ)) ปรับปรุงเทพเจ้าทั้งหลาย (pantheon) ของเปอร์เซียช่วงต้นให้ง่ายขึ้น[5] เป็นสองฝ่ายค้านกันคือ Spenta Mainyu (อเวสตะ: 𐬯𐬞𐬆𐬧𐬙𐬀 𐬨𐬀𐬌𐬥𐬌𐬌𐬎, "วิสัยจิตก้าวหน้า") และ Angra Mainyu (อเวสตะ: 𐬀𐬢𐬭𐬀⸱𐬨𐬀𐬌𐬥𐬌𐬌𐬎, "วิสัยจิตทำลายล้าง" ) ภายใต้พระผู้เป็นเจ้าพระองค์เดียว อาหุรามัสดา (Ahura Mazda, อเวสตะ: 𐬀𐬵𐬎𐬭𐬋 𐬨𐬀𐬰𐬛𐬃, "ภูมิปัญญาสว่าง")[6]

ความคิดของโซโรอัสเตอร์นำสู่ศาสนาทางการซึ่งใช้ชื่อของเขาเมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล และมีอิทธิพลต่อศาสนาอื่นต่อมาซึ่งรวมศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และไญยนิยม[7]

อ้างอิง

แก้
  1. Boyce 1979
  2. Skjærvø 2005
  3. Skjærvø 2005, p. 15 with footnote 1.
  4. Hintze 2014: "The religion thus seems to involve monotheistic, polytheistic and dualistic features simultaneously."
  5. Boyce 1979, pp. 6–12.
  6. M. Boyce. "AHURA MAZDĀ". Encyclopædia Iranica. pp. 684–687. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019.
  7. Hinnel, John R. (1997). The Penguin Dictionary of Religion. Penguin Books UK. ISBN 978-0-14-051261-8.

บรรณานุกรม

แก้
  • Boyce, Mary (1979). Zoroastrians: Their Religious Beliefs and Practices. London: Routledge. ISBN 978-0-415-23903-5. (note to catalogue searchers: the spine of this edition misprints the title "Zoroastrians" as "Zoroastians", and this may lead to catalogue errors; there is a second edition published in 2001 with the same ISBN)
  • Hintze, Almut (2014). "Monotheism the Zoroastrian Way" (PDF). Journal of the Royal Asiatic Society. 24 (2): 225–49. doi:10.1017/S1356186313000333.
  • Skjærvø, Prods Oktor (2005). "Introduction to Zoroastrianism" (PDF). Iranian Studies at Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019.