ไญยนิยม[1] หรือลัทธินอสติก (อังกฤษ: gnosticism; กรีก: γνῶσις gnōsis ความรู้; อาหรับ: الغنوصية‎) คือแนวคิดทางศาสนารูปแบบหนึ่งในสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ควรสละโลกวัตถุ เพื่อมุ่งเน้นเรื่องจิตวิญญาณ[2] แนวคิดเช่นนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อศาสนาสมัยโบราณ[3] ดังเห็นได้จากการถือพรต ถือพรหมจรรย์ เพื่อให้ถึงการหลุดพ้น การตรัสรู้ ความรอด การกลับไปรวมกับพระเป็นเจ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการปฏิบัติอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม

ไญยนิยมเริ่มปรากฏรูปแบบชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในบริบทของศาสนาคริสต์[4][5] ในอดีตนักวิชาการบางคนเชื่อว่าไญยนิยมเกิดขึ้นก่อนศาสนาคริสต์ และเป็นต้นกำเนิดของความเชื่อและการปฏิบัติหลายอย่างที่แพร่หลายอยู่แล้วในสมัยนั้น ทั้งในศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนายูดาห์แบบเฮลเลนิสต์ ศาสนาโรมันโบราณ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และลัทธิเพลโต แต่เมื่อค้นพบหอสมุดนักฮัมมาดี กลับไม่ปรากฏตำราไญยนิยม[6] จึงได้ข้อสรุปว่าไญยนิยมที่เป็นระบบ เป็นเอกภาพ เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2[7]

ลักษณะทั่วไป

แก้

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มความเชื่อนี้ ในบางกลุ่มสอนให้เกิดหรือเข้าถึงความรู้อย่างง่าย เพื่อให้เกิดความรอดของจิตวิญญาณ คริสเตียนสายไญยนิยมเป็นพวกที่ไม่เชื่อในเรื่องคำสอนของพระเยซูคริสต์แบบขนบที่ยึดถือในหมู่ชาวคริสเตียนสายก่อนสัมมาธรรม (proto orthodox) พวกเขาเชื่อการสำแดง ประสบการณ์ หรือความรู้พิเศษถึงพระเจ้า และเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงของพระเจ้าได้ และเอาความจริงเป็นเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ที่ควรแสวงหา อีกทั้งคริสเตียนยังเป็นผู้อารักขาความล้ำลึกของข่าวประเสริฐ ไญยนิยมยังเชื่อว่าโลกวัตถุเป็นสิ่งชัวร้ายที่สร้างโดย พระเจ้าของพันธสัญญาเดิมซึ่งไม่ใช่พระบิดาของพระเยซูคริสต์ พระเจ้าในพันธสัญญาเดิมเป็นพระเจ้าระดับต่ำ บางกลุ่มเชื่อว่าเป็นซาตาน บางกลุ่มเชื่อว่าเกิดจาก อดัม อาห์ริแมน (ซาตานในศาสนาโซโรเอสเตอร์) แต่พระเจ้าที่แท้และสูงสุดคือพระบิดาของพระเยซูคริสต์ ได้เข้ามาในโลกเพื่อไถ่คนสู่ความรอดพ้น โดยวิญญาณต้องได้รับการปลดปล่อยจากร่างกายผ่านทางการทรงไถ่ของพระเยซูคริสต์

ความเชื่อแบบไญยนิยมนี้แพร่หลายในคริสตจักรยุคแรก ควบคู่ไปกับความคิดแบบก่อนสัมมาธรรมนับแต่ปลายศตวรรษที่ 1 ซึ่งในช่วงหนึ่งร้อยห้าสิบปีแรกของคริสตจักรนั้น ไม่มีความคิดสายใดได้รับการยอมรับเป็นสายหลักของคริสตจักร หนึ่งในผู้นำคนสำคัญของคริสเตียนสายไญยนิยมนี้ คือวาเลนตินัสซึ่งเกิดที่อเล็กซานเดรียประมาณ ปี ค.ศ. 100 เชื่อกันว่าวาเลนตินัสเป็นสาวกทางความคิดของ ธุดาส (Theudas) และนักบุญเปาโล เขาเป็นนักวิชาการและผู้นำคริสตจักรที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในคริสตจักรที่อเล็กซานเดรีย ต่อมาเขาได้ย้ายมาที่โรมและได้รับการยอมรับที่คริสตจักรโรมเช่นกัน ถึงกับได้รับการเสนอชื่อเพื่อคัดเลือกเป็นบิชอปแห่งโรมในกลางศตวรรษที่ 2 แต่ไม่ได้รับเลือก เขาเดินทางไปสอนหนังสือที่ไซปรัสและเสียชีวิตที่นั่น ต่อมาเมื่อคริสตจักรสายก่อนสัมมาธรรมได้รับการยอมรับจากวงการคริสตจักรมากขึ้น และกลุ่มก่อนสัมมาธรรมนี้มองว่าวาเลตินัสว่าเป็นผู้สอนผิด ซึ่งนำไปสู่จุดเริ่มต้นของขนบประวัติศาสตร์คริสตจักรที่บันทึกว่า วาเลนตินัสเป็นผู้นำมิจฉาลัทธิที่สอนเรื่องไญยนิยมนับตั้งแต่ศตวรรษที่สอง ทั้งนี้ บิชอปไอเรเนียสเริ่มโจมตีลัทธิไญยนิยมว่าเป็นพวกนอกรีต นับแต่ปี ค.ศ.180 เป็นต้นมา ทำให้คริสเตียนสายไญยนิยมต้องอ่อนแอลงในที่สุดโดยค่อย ๆ สูญหาย และแตกสายไปผสานในศาสนาหรือความคิดอื่น ๆ

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ไญยนิยม กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง อดอฟ ฟอน ฮาร์นัค (Adolf von Harnack) กล่าวว่าความคิดเรื่องไญยนิยมเป็นพัฒนาการตั้งแต่เริ่มต้นภายในคริสตจักรเองซึ่งได้รับอิทธิพลจากปรัชญากรีกและความคิดต่าง ๆ ขณะนั้น ฮาร์นัคระบุว่า คริสเตียนสายไญยนิยมเป็นขบวนการศึกษาความรู้ของปัญญาชนในศตวรรษที่หนึ่งและสอง ซึ่งแม้แต่ผู้นำคริสตจักรบางคน เช่น เคลเมนต์ แห่งอเล็กซานเดรีย ก็ยังคิดว่าตนเองเป็นปัญญาชนแบบไญยนิยม กล่าวคือ มีความรู้ที่จำเพาะและผ่านทางญาณที่คนทั่วไปไม่รู้ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการปัจจุบันมองว่า ความหมายของ γνωσις (ความรู้) นี้ไม่ได้หมายถึงความรู้ หรือญานพิเศษอะไรตามที่ผู้นำคริสตจักรยุคแรกมักใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีไญยนิยม หากแต่หมายถึงระดับความลึกซื้งของฝ่ายจิตวิญญาณ และการอธิบายคำตรัสของพระเยซูคริสต์ไปในด้านอุปมาเท่านั้นเอง เช่น ขณะที่ มธ. 7:7 บันทึกคำกล่าวของพระเยซูคริสต์อย่างง่าย ๆ ว่า “จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จึงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน” นั้น กิตติคุณโธมัสข้อ 2 บันทึกละเอียดกว่านั้นว่า “ผู้ที่แสวงหา จะไม่หยุดการแสวงหาจนกว่าเขาจะได้พบ เมื่อเขาพบแล้ว เขาก็จะพบกับปัญหา เมื่อเขาพบกับปัญหา เขาจะพบกับความพิศวง แล้วเขาจะสามารถเอาปกครองทุกสิ่งได้” ซึ่งสะท้อนถึงความจริงของชีวิตคริสเตียนตลอดเวลา

ในความหมายของนอสติก

แก้

คำว่า ไญยนิยม แปลมาจากภาษาอังกฤษ Gnosticism ตัวจีไม่ออกเสียง รับมาจากภาษากรีก gnostikos แปลว่าให้เกิดการเรียนรู้ทางปัญญา นักบุญอีเรเนอุส ผู้ต่อต้านนอสติกในยุคแรก ๆ ได้ให้ความหมายของคำนี้ว่า เป็นบาปที่เกิดจากการเรียนรู้[8] ซึ่งได้รับการบันทึกไว้ในหนังสือเรื่อง การสืบสวนและล้มล้างแนวคิดที่ผิด ที่ไปเรียกกันอย่างผิด ๆ ว่าเป็นศาสตร์ความรู้ แม้กระทั่ง เปาโลอัครทูต ยังเขียนไว้ในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1 ว่า เรียกกันอย่างผิด ๆ ว่าเป็นศาสตร์ความรู้ ทิโมธี 6:20 คำว่านอสติกซึม จึงถูกใช้เรียกแทนคำว่า บาปก็ได้[9]

ลักษณะที่เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ทางปัญญาแบบไญยนิยม

  • 1. ความคิดระยะไกลสูงสุดถึงแหล่งเอกของพระเจ้า โดยนิยามด้วยความหลากหลายของคำต่าง ๆ เช่น เพลโรมา บีทอส
  • 2. แนะนำให้เห็นถึงบ่อเกิดของชีวิตที่สูงส่งต่อไปหรือที่เรียกว่า กัลป์ ซึ่งแม้มีขนาดอนันต์แต่เล็กมากในสายตาของพระเจ้า การกระจายพลังงานชีวิตแบบก้าวหน้านี้บ่อยครั้งมีการตัดสินเปรียบเทียบแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยเลือกแหล่งที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามมักมีความไม่แน่นอนเหมือนลอนผ้า ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยธรรมชาติ
  • 3. แนะนำให้เห็นถึงลักษณะที่แตกต่างระหว่าง พระผู้สร้าง กับ โดมีอูเกอร์ อันหนึ่งเป็นภาพลวงตา อีกอันหนึ่งออกไปจากแหล่งเดียวหรือมีแหล่งที่มา พระเจ้าที่สองนี้เป็นรองพระเจ้าหรือพระเจ้าในชั้นที่ด้อยกว่าหรือพระเจ้าลวงตา ซึ่งพระเจ้าผู้สร้างนี้โดยปกติก็จะเป็น โดมีอูรเกอร์ (ในทางเทคนิคคำว่า โดมีอูรเกอร์ กรีก: dēmiourgos, δημιουργός ใช้เรียก ช่าง หรือ ผู้มีฝีมือ) ความเชื่อนี้อยู่ในลัทธิเพลโต[10]

โดมีอูเกอร์ เป็นผู้สร้างเมตตาของจักรวาล ทำให้เกิดจักรวาลที่มีเมตตาได้เท่าที่ข้อจำกัดจะอนุญาตไว้ ต่อมารายละเอียดของความปรารถนาที่จะมีเมตตาดั่งสิงโต ถูกอธิบายโดยรูปแบบปรัชญาของ โสกราตีส โดยสร้างเป็นศิลปะของงูที่มีหัวเป็นสิงโต รูปปั้นนี้ถูกเรียกว่า อัลดาปาโอ[11] หรือ ซามาเอล (แอราเมอิก: sæmʻa-ʼel) หรือ ซาคลาส (ซีเรีย: sækla) ซึ่งบางครั้ง โดมีอูเกอร์ ทำเหมือนไม่รับรู้พระเจ้า หรือไปจนถึงต่อต้านพระเจ้าไปเลยก็มี ซึ่งในกรณีหลังเป็นเหมือนคนที่มุ่งร้าย

โดมีอูเกอร์ ที่อยู่ฝ่ายเดียวกับพระเจ้าเรียกว่า อากอน ซึ่งเขาทำหน้าที่ประธานในอาณาจักร ในบางกรณีอุปสรรคคือหาวิญญาณที่เป็นพวกเดียวกัน[11]

ประมาณกันว่าโลกที่สร้างขึ้นนั้นไม่ค่อยสมบูรณ์และค่อนไปทางผิดพลาด แต่ถือว่าดีพอสมควรเท่าที่เกณฑ์ตั้งต้นอนุญาตไว้[12]

ไญยนิยมกับพุทธศาสนา

แก้

ครูสอนศาสนาชื่อ ซีจิอานอส ได้ไปถึงอินเดียประมาณปี ค.ศ. 50 และได้ซื้อหนังสือเรื่อง หลักคำสอนเรื่องสองสิ่ง[13] นักบุญอีเรเนอุส ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ ซีจิอานอสได้ไปพบว่า "ที่นั่นมีบางอย่างนอกเหนือจากหนึ่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่ และเพื่อที่จะพูดว่า กิจการทุกอย่างของทุกสิ่งล้วนมาจากสองแหล่งหรือสองสิ่งเสมอ"

เมื่อซีจีอานอสเสียชีวิต นักเรียนของเขาที่ชื่อเทอราบินธัสได้เดินทางไปที่ปาเลสไตน์ ยูเดีย และ บาบิโลน โดยเรียกชื่อตัวเองว่า พุทธะ เพื่อแสดงตนและเพื่อเชื่อมโยงปรัชญาของตนให้เข้ากับพุทธศาสนา[14] ต่อมาหนังสือของเทอราบินธัสถูกส่งต่อให้กับพระมาณี ซึ่งได้ใช้ความรู้นี้นำไปเผยแพร่ในศาสนามาณีกี[15]

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 545
  2. On the complexity of gnosticism, see Larry W. Hurtado (2005). Lord Jesus Christ: Devotion to Jesus in Earliest Christianity. Wm. B. Eerdmans Publishing. pp. 519–561.
  3. John Hinnel (1997). The Penguin Dictionary of Religion. Penguin Books UK.
  4. Adolf von Harnack (1885) defined it as "the acute Hellenization of Christianity". Moritz Friedländer (1898) advocated Hellenistic Jewish origins, and Wilhelm Bousset (1907) advocated Persian origins.
  5. Karen L. King, What is Gnosticism? (2005) "Bousset held that Gnosticism was a pre-Christian religion, existing alongside of Christianity. It was an Oriental product, anti-Jewish and un-Hellenic... "
  6. James M. Robinson, one of the chief scholars on Gnosticism said at the 1978 International Conference on Gnosticism at Yale "At this stage we have not found any Gnostic texts that clearly antedate the origin of Christianity." cited in Edwin Yamauchi, "Pre-Christian Gnosticism, the New Testament and Nag Hammadi in recent debate," in Themelios 10.1 (Sept 1984): 22–27.
  7. To this end Paul Trebilco cites the following in his article "Christian Communities In Western Asia Minor Into The Early Second Century: Ignatius And Others As Witnesses Against Bauer" in JETS 49.1: E.M. Yamauchi, “Gnosticism and Early Christianity,” in W. E. Helleman, บ.ก. (1994). Hellenization Revisited: Shaping a Christian Response Within the Greco-Roman World. University Press of America. p. 38. ; Karen L. King (2003). What is Gnosticism?. Cambridge, MA: Belknap Press of Harvard University Press. p. 175.; C. Markschies (2003). Gnosis: An Introduction. London: T&T Clark. pp. 67–69.; cf. H. Koester (1982). Introduction to the New Testament, Vol 2: History and Literature of Early Christianity. Walter de Gruyter. p. 286.; For discussions of “Gnosticism” see Yamauchi, “Gnosticism” 29–61; M. A. Williams (1996). Rethinking "Gnosticism": An Argument for Dismantling a Dubious Category. Princeton University Press.; Gerd Theissen (1999). A Theory of Primitive Christian Religion. London: SCM Press. pp. 231–39..
  8. Stephen Charles Haar Simon Magus: the first gnostic? p231
  9. Birger Albert Pearson Gnosticism and Christianity in Roman and Coptic Egypt 2004 p210 "As Bentley Layton points out, the term Gnosticism was first coined by Henry More (1614-1687) in an expository work on the seven letters of the Book of Revelation.29 More used the term Gnosticisme to describe the heresy in Thyatira."
  10. "Demiurge". Catholic Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 2009-02-12.
  11. 11.0 11.1 "The Apocryphon of John". The Gnostic Society Library. สืบค้นเมื่อ 2009-02-12.
  12. "Valentinian Monism". The Gnostic Society Library. สืบค้นเมื่อ 2009-02-12.
  13. Opera, non antea collecta et partem nunc primum e mss. in lucem edita graece et latine, Hippolytus (Romanus), 1716, pp. 190-192
  14. "But Terebinthus, his disciple in this wicked error, inherited his money and books and heresy, and came to Palestine, and becoming known and condemned in Judaea he resolved to pass into Persia: but lest he should be recognised there also by his name he changed it and called himself Buddas." Cyril of Jerusalem, Catechetical Lecture no. 6, sections 23, available at Catholic Encyclopedia Online
  15. Cyril of Jerusalem, Catechetical Lecture no. 6, sections 22 - 24, available at Catholic Encyclopedia Online

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ไญยนิยม