โสกราตีส[1] หรือ ซอกราแตส (กรีก: Σωκράτης, [sɔː.krá.tɛːs]; อังกฤษ: Socrates; 4 มิถุนายน 470 ปีก่อนคริสตกาล — 7 พฤษภาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล)[2] เป็นนักปราชญ์ของกรีกโบราณและเป็นชาวเมืองเอเธนส์ ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก

โสกราตีส
(Σωκράτης)
เกิด470 ก่อนปีคริสตกาล, เอเธนส์
เสียชีวิต399 ก่อนปีคริสตกาล, เอเธนส์
ยุคปรัชญาโบราณ
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักกรีกคลาสิก, ปรัชญาโสกราตีส
ความสนใจหลัก
ญาณวิทยา, จริยศาสตร์
แนวคิดเด่น
วิธีของโสกราตีส, คำเยาะเย้ยของโสกราตีส
เป็นอิทธิพลต่อ
  • ปรัชญาทั่วโลกทั้งหมด
โสกราตีสเข้าปกป้อง Alcibiades ศิษย์ของตน ในสมรภูมิ Potidaea ภาพวาดโดย Pyotr Basin เมื่อ ค.ศ. 1828 จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์รัฐรัสเซีย

ประวัติ

แก้

โสกราตีสเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีผลงานการเขียนอะไร แต่ตัวตนและความคิดของเขายังคงอยู่ถึงปัจจุบันผ่านงานเขียนของบุคคลอย่าง อริสโตเติล (Aristotle) เพลโต (Plato) อริสโตฟานเนส (Aristophanes) หรือ ซีโนฟอน (Xenophon) นอกจากนั้นยังมีทั้งนักเขียน นักคิด และนักปราชญ์ที่เก็บเรื่องราวของโสกราตีส อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถรู้ว่าข้อมูลเรื่องเล่าถึงชีวิตของโสกราตีสนั้นจริงหรือเท็จได้อย่างแน่นอน

ตามธรรมเนียมโบราณ โสกราตีสนั้นเป็นลูกของโสโฟรนิกัส (Sophronicus) ผู้เป็นพ่อ และ แฟนาเรต (Phaenarete) ผู้เป็นแม่ โสกราตีสได้แต่งงานกับซานทิปป์ (Xanthippe) และมีลูกชายถึง 3 คน เมื่อเทียบกับสังคมสมัยนั้นซานทิปป์ถึงได้ว่าเป็นผู้หญิงอารมณ์ร้าย และโสกราตีสเองได้กล่าวว่าเพราะเขาสามารถใช้ชีวิตกับซานทิปป์ได้ เขาใช้ชีวิตกับมนุษย์คนใดก็ได้ เหมือนกับผู้ฝึกม้าที่สามารถทนกับม้าป่าได้ โสกราตีสได้เห็นและร่วมรบในสมรภูมิ และ ตามสิ่งที่เพลโตได้กล่าวว่า โสกราตีสได้รับเหรียญเกียรติยศสำหรับความกล้าหาญในสมรภูมิรบ

ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไม่กล่าวอย่างชัดเจนว่าโสกราตีสประกอบอาชีพใด ใน"ซิมโพเซียม" (Symposium) ซีโนฟอนกล่าวว่าโสกราตีสใช้ชีวิตกับการสนทนาปรัชญา โสกราตีสไม่น่าที่จะมีเงินมรดกจากครอบครัวเพราะบิดาของโสกราตีสเป็นเพียงศิลปิน และตามการบรรยายของพลาโต โสกราตีสไม่ได้รับเงินจากลูกศิษย์ อย่างไรก็ตามซีโนฟอนกล่าวใน "ซิมโพเซียม" ว่าโสกราตีสรับเงินจากลูกศิษย์ของเขา และอาริสโตฟานเนสก็เล่าว่าโสกราตีสได้เปิดโรงเรียนของตนเอง ข้อสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ โสกราตีสเลี้ยงชีพผ่านเพื่อนที่ร่ำรวยของเขา เช่น เอลซีไบเดส (Alcibiades)

การไต่สวนและเสียชีวิต

แก้
 
การตายของโสกราตีส โดยฌัก-หลุยส์ ดาวีด ค.ศ. 1887

โสกราตีสใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงในอาณาจักรเอเธนส์ จากจุดสูงสุดของอาณาจักรเอเธนส์ถึงยุคเสื่อมภายหลังการพ่ายแพ้ให้กับกรุงสปาร์ตา (Sparta) มีบุคคลสามคนสำคัญที่ยุให้ศาลสาธารณะของกรุงเอเธนส์ไต่สวนโสกราตีส โดยกล่าวหาว่าโสกราตีสเป็นผู้ที่สร้างความเสื่อมศรัทธาในศาสนา และเยาวชนในกรุงเอเธนส์ เรื่องราวทั้งหมดนี้สามารถอธิบายได้ เมื่อนึกถึงสถานการณ์ในเมืองเอเธนส์ภายหลังการพ่ายแพ้ให้กับสปาร์ตานั้น ชาวเมืองเอเธนส์ ผู้ยังเชื่อถือในเทพเจ้าผู้ปกป้องเมืองต่าง ๆ มองว่าการพ่ายแพ้ของเอเธนส์เป็นเพราะเทพเจ้าเอเธนา (Athena) ผู้เป็นเทพปกครองเมืองเอเธนส์นั้นประสงค์จะลงโทษเมืองเอเธนส์เพราะผู้คนในเมืองเสื่อมศรัทธาในศาสนา การที่โสกราตีสตั้งคำถามและสนทนาเกี่ยวกับปรัชญาจึงเท่ากับเป็นการทรยศชาติ จากการไส่ร้ายป้ายสีของอีกฝ่ายที่พยายามรวบอำนาจโดยการติดสินบน ใช้อำนาจทางการเมือง และการปล่อยข่าวเท็จ ต่อการตัดสินด้วยการลงคะแนนของสภาเอเทนส์ว่าให้ประหารโสกราตีส(สมัยนั้นยังไม่มีระบบศาลไต่สวนหรือการสืบสวนคดี) ก่อนถึงการประหารเพลโต้ใด้เข้าพบและใด้ขอให้หนีไปกับเขาด้วยแผนที่วางใว้แล้วแต่โซกราตีสใด้บอกกับเพลโต้ว่า ฉันยอมตายใด้แต่ฉันไม่อาจยอมให้ประชาธิปไตยตายเพิ่อรักษาชีวิต เขาเต็มใจเข้าสู่การประหารโดยการดื่มยาพิษและเสียชีวิตในที่สุด

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, 2548, หน้า 183
  2. Socrates. 1911 Encyclopaedia Britannica (1911)

ข้อมูล

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้