ประเทศมอริเตเนีย

(เปลี่ยนทางจาก มอริเตเนีย)

มอริเตเนีย (อังกฤษ: Mauritania; อาหรับ: موريتانيا, ออกเสียง: [muː.rɪ.tæː.ni]; กลุ่มภาษาเบอร์เบอร์: Agawej หรือ Cengit; Pulaar: 𞤃𞤮𞤪𞤭𞤼𞤢𞤲𞤭; โวลอฟ: Gànnaar; Serer: Ganaar) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย (อังกฤษ: Islamic Republic of Mauritania; อาหรับ: الجمهورية الإسلامية الموريتانية) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ มีชายฝั่งบนมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศเซเนกัล ทางตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศมาลี ทางตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศแอลจีเรีย และมีพรมแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับพื้นที่ที่ประเทศโมร็อกโกยึดครอง คือเวสเทิร์นสะฮารา เมื่อพิจารณาตามพื้นที่แล้ว มอริเตเนียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ในแอฟริกาและใหญ่เป็นอันดับที่ 28 ของโลก และร้อยละ 90 ของอาณาเขตตั้งอยู่ในทะเลทรายสะฮารา ประชากรส่วนใหญ่ประมาณ 4.3 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นทางตอนใต้ของประเทศ โดยประมาณหนึ่งในสามกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศคือนูอากช็อต ซึ่งตั้งอยู่ริมชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก

สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย

الجمهورية الإسلامية الموريتانية (อาหรับ)
ตราของมอริเตเนีย
ตรา
คำขวัญ"ศักดิ์ศรี ภราดรภาพ ความยุติธรรม"
(อาหรับ: شرف، إخاء، عدل)
ที่ตั้งของ ประเทศมอริเตเนีย  (น้ำเงิน) ในทวีปแอฟริกา  (ฟ้า)
ที่ตั้งของ ประเทศมอริเตเนีย  (น้ำเงิน)

ในทวีปแอฟริกา  (ฟ้า)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
นูอากช็อต
18°09′N 15°58′W / 18.150°N 15.967°W / 18.150; -15.967
ภาษาราชการอาหรับ
ภาษาพูด
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
อิสลามนิกายซุนนี
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐอิสลามระบบกึ่งประธานาธิบดี
มุฮัมมัด วะลัด อัลฆ็อซวานี
Mokhtar Ould Djay
Mohamed Ould Meguett
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
เอกราช
• สถาปนาสาธารณรัฐ
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958
• เอกราชจากฝรั่งเศส
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
12 กรกฎาคม ค.ศ. 1991
พื้นที่
• รวม
1,030,000 ตารางกิโลเมตร (400,000 ตารางไมล์)[2] (อันดับที่ 28)
0.03
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
4,301,018[3]
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2013
3,537,368[2]
3.4 ต่อตารางกิโลเมตร (8.8 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
18,117 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 134)
4,563 ดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 140)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
5,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 154)
1,309 ดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 149)
จีนี (ค.ศ. 2014)positive decrease 32.6[5]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)Steady 0.556[6]
ปานกลาง · อันดับที่ 158
สกุลเงินอูกียะฮ์ (MRU)
เขตเวลาUTC (เวลามาตรฐานกรีนิช)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+222
โดเมนบนสุด.mr
  1. มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญระบุว่า "ภาษาประจำชาติคือภาษาอาหรับ, ภาษาปูลาร์, ภาษาโซนิงเก และภาษาโวลอฟ; ภาษาราชการคือภาษาอาหรับ"

ประเทศมอริเตเนียตั้งชื่อตามราชอาณาจักรมอเรเตเนีย (Mauretania) ของชาวเบอร์เบอร์ยุคเก่า ซึ่งตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือภายในภูมิภาคอัลมัฆริบ ชาวเบอร์เบอร์ครอบครองมอริเตเนียโดยเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ชาวอาหรับภายใต้การนำของหัวหน้าศาสนาอิสลามแห่งเมยยาดได้ยึดครองพื้นที่นี้ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยนำเอาศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมอาหรับ และภาษาอาหรับมาใช้ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มอริเตเนียตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสโดยเป็นส่วนหนึ่งของแอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1960 แต่ตั้งแต่นั้นมาก็ประสบกับรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำอีกและยุคเผด็จการทหาร การรัฐประหารครั้งล่าสุดใน ค.ศ. 2008 นำโดยนายพลมุฮัมหมัด อูลด์ อับดุลอาซิซ[7] เขารับสืบทอดตำแหน่งโดยมุฮัมมัด วะลัด อัลฆ็อซวานี หลังการเลือกตั้ง ค.ศ. 2019 ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติครั้งแรกของมอริเตเนียนับตั้งแต่ได้รับเอกราช[8]

มอริเตเนียเป็นส่วนหนึ่งของโลกอาหรับทั้งในด้านวัฒนธรรมและการเมือง เป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับและใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลาม และประชากรเกือบทั้งหมดเป็นชาวมุสลิมนิกายซุนนี แม้จะมีอัตลักษณ์อาหรับแพร่หลาย แต่สังคมมอริเตเนียก็มีหลากหลายเชื้อชาติ[9] กลุ่มชาติพันธุ์สองกลุ่มในมอริเตเนียสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรมอาหรับ-เบอร์เบอร์ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30 ของประชากรประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ในสะฮารา

แม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย รวมถึงแร่เหล็กและปิโตรเลียม แต่มอริเตเนียก็ยังคงยากจน พื้นฐานเศรษฐกิจมาจากเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และการประมงเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วประเทศมอริเตเนียถูกมองว่ามีประวัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ย่ำแย่ และถูกตำหนิเป็นพิเศษต่อการคงอยู่ของความเป็นทาสในฐานะสถาบันในสังคมมอริเตเนีย โดยประมาณร้อยละ 10–20 ของชาวมอริเตเนียตกเป็นทาสใน ค.ศ. 2012 ถึงแม้ว่าจะได้มีการเลิกทาสใน ค.ศ. 1981[10][11]

ประวัติศาสตร์

แก้

ประวัติศาสตร์มอริเตเนียเริ่มต้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีอาณาจักรที่มีชื่อว่าราชอาณาจักรมอเรเตเนียของชาวเบอร์เบอร์ในยุคเก่า[12]

อ้างอิง

แก้
  1. "The World Factbook – Africa – Mauritania". CIA. สืบค้นเมื่อ 24 Dec 2020.
  2. 2.0 2.1 "1: Répartition spatiale de la population" (PDF). Recensement Général de la Population et de l'Habitat (RGPH) 2013 (Report) (ภาษาฝรั่งเศส). National Statistical Office of Mauritania. July 2015. p. v. สืบค้นเมื่อ 20 December 2015.[ลิงก์เสีย]
  3. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Mauritania". International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2020.
  5. "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  6. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
  7. Diagana, Kissima (23 June 2019). "Ruling party candidate declared winner of Mauritania election". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2022. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
  8. "First peaceful transfer of power in Mauritania's presidential polls". RFI (ภาษาอังกฤษ). 2019-06-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2021-07-27.
  9. "Mauritania - The World Factbook". www.cia.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-27.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  11. "Mauritania". United States Department of State (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.
  12. Newton, Alex, History of West Africa (1988)