ประเทศแอลจีเรีย
พิกัดภูมิศาสตร์: 28°N 2°E / 28°N 2°E
แอลจีเรีย (อังกฤษ: Algeria; อาหรับ: الجزائر) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย (อังกฤษ: People's Democratic Republic of Algeria; อาหรับ: الجمهورية الجزائرية الديمقراطية الشّعبية) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา หลังจากประเทศซูดานใต้ แยกออกจากประเทศซูดานมีอาณาเขตทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศตูนิเซีย ทางตะวันออกจรดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศไนเจอร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศมาลีและประเทศมอริเตเนีย และทางตะวันตกจรดประเทศโมร็อกโก รวมถึงหลายกิโลเมตรของพื้นที่ที่ยึดครองมาได้บางส่วน คือ เวสเทิร์นสะฮารา
ประเทศแอลจีเรียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ โดยรัฐธรรมนูญ ได้นิยามไว้ว่าแอลจีเรียเป็นประเทศ อิสลาม อาหรับ และอะมาซิก (เบอร์เบอร์) ชื่อประเทศแอลจีเรีย (Algeria) มาจากชื่อเมืองหลวงแอลเจียร์ ซึ่งมาจากคำภาษาอาหรับว่า อัลญะซาอิร (al-jazā’ir) ซึ่งแปลว่า "หมู่เกาะ" หมายถึงเกาะ 4 เกาะ ที่อยู่นอกชายฝั่งของเมือง ก่อนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2068
ประวัติศาสตร์แก้ไข
กลุ่มชนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานกลุ่มแรกคือชาวเบอร์เบอร์ จากนั้นจึงมีชาวฟินิเชียน ชาวโรมันและชาวอาหรับเข้ามา ต่อมา แอลจีเรียอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันในช่วง พ.ศ. 2061 - 2373 จากนั้นจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส แม้จะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมฝรั่งเศสมาก แต่ชาวอาหรับในแอลจีเรียคงทำสงครามแบบกองโจรต่อต้านฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง จนฝรั่งเศสยอมถอนตัวจากแอลจีเรีย โดยแอลจีเรียได้รับเอกราชเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 อาห์เม็ด เบลล์ เบลลา เป็นผู้นำในช่วง พ.ศ. 2505 - 2508 จากนั้นถูกคณะทหารปฏิวัติ พ.ศ. 2510 แอลจีเรียประกาศสงครามกับอิสราเอล และหันไปผูกมิตรกับสหภาพโซเวียต
ปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นเหตุให้ประชาชนก่อการจลาจลเมื่อ พ.ศ. 2531 รัฐบาลปราบปรามด้วยความรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตไป 500 คน พ.ศ. 2532 แอลจีเรียประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2562 เกิดการประท้วงประธานาธิบดีวัย 82 ปี ครั้งใหญ่ มีผู้เสียชีวิตรายเดียวจากโรคหัวใจล้มเหลว
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากรแก้ไข
ปี | ประชากร | ±% p.a. |
---|---|---|
1856 | 2,496 | — |
1872 | 2,416 | −0.20% |
1886 | 3,752 | +3.19% |
1906 | 4,721 | +1.16% |
1926 | 5,444 | +0.72% |
1931 | 5,902 | +1.63% |
1936 | 6,510 | +1.98% |
1948 | 7,787 | +1.50% |
1954 | 8,615 | +1.70% |
1966 | 12,022 | +2.82% |
1977 | 16,948 | +3.17% |
1987 | 23,051 | +3.12% |
1998 | 29,113 | +2.15% |
2008 | 34,080 | +1.59% |
2013 | 37,900 | +2.15% |
ที่มา: (1856–1872)[9] (1886–2008)[10] |
ประชากรส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาอาหรับ ชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ชาวเบอร์เบอร์ ภาษาในประเทศแอลจีเรีย มีภาษาอาหรับ เป็นภาษาราชการ ภาษาอื่นได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเบอร์เบอร์ ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจำชาติ มีศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ในสัดส่วนน้อย
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในแอลจีเรีย
ONS estimates for 2008 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อันดับ | ชื่อ | จังหวัด | ประชากร | ||||||
แอลเจียร์ ออราน |
1 | แอลเจียร์ | จังหวัดแอลเจียร์ | 4,988,145 | คอนสตันติน เซติฟ | ||||
2 | ออราน | จังหวัดออราน | 1,224,540 | ||||||
3 | คอนสตันติน | จังหวัดคอนสตันติน | 943,112 | ||||||
4 | เซติฟ | จังหวัดเซติฟ | 609,499 | ||||||
5 | อันนาบา | จังหวัดอันนาบา | 317,206 | ||||||
6 | บลิดา | จังหวัดบลิดา | 264,598 | ||||||
7 | บัตนา | จังหวัดบัตนา | 246,379 | ||||||
8 | เคลฟ | จังหวัดเคลฟ | 235,062 | ||||||
9 | ตเลมเซน | จังหวัดตเลมเซน | 221,231 | ||||||
10 | ซิดิเบลเอบเบส | จังหวัดซิดิเบลเอบเบส | 208,498 |
หมายเหตุแก้ไข
- ↑ ภาษาฝรั่งเศสแม้ว่ายังไมเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่ยังคงเป็นภาษาทั่วไปที่ประชากรส่วนใหญ่เข้าใจ
- ↑ The CIA World Factbook states that about 15% of Algerians, a minority, identify as Berber even though many Algerians have Berber origins. The Factbook explains that of the approximately 15% who identify as Berber, most live in the Kabylia region, more closely identify with Berber heritage instead of Arab heritage, and are Muslim.
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Constitution of Algeria, Art. 11". El-mouradia.dz. language: France and Arabic (government language); people of Algeria speak Arabic and Berber. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2012. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013.
- ↑ "Constitution of Algeria; Art. 11". Apn-dz.org. 28 November 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2013. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "The World Factbook – Africa – Algeria". CIA. สืบค้นเมื่อ 20 Mar 2021.
- ↑ "Démographie" [Demography] (PDF). Office National des Statistiques (ภาษาฝรั่งเศส). 18 May 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2020. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "World Economic Outlook Database". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 22 October 2021.
- ↑ "Distribution of Family Income – Gini Index". The World Factbook. Central Intelligence Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2007. สืบค้นเมื่อ 1 September 2009.
- ↑ "GINI index (World Bank estimate)". data.worldbank.org. World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2018. สืบค้นเมื่อ 24 February 2019.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ Kamel Kateb (2001). Européens, "indigènes" et juifs en Algérie (1830–1962). INED. p. 30. ISBN 978-2-7332-0145-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015.
- ↑ "Armature Urbaine" (PDF). V° Recensement Général de la Population et de l'Habitat – 2008. Office National des Statistiques. September 2011. p. 82. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 September 2013.
บรรณานุกรมแก้ไข
- Ageron, Charles-Robert (1991). Modern Algeria – A History from 1830 to the Present. Translated from French and edited by Michael Brett. London: Hurst. ISBN 978-0-86543-266-6.
- Aghrout, Ahmed; Bougherira, Redha M. (2004). Algeria in Transition – Reforms and Development Prospects. Routledge. ISBN 978-0-415-34848-5.
- Bennoune, Mahfoud (1988). The Making of Contemporary Algeria – Colonial Upheavals and Post-Independence Development, 1830–1987. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-30150-3.
- Fanon, Frantz (1966; 2005 paperback). The Wretched of the Earth. Grove Press. ASIN B0007FW4AW, ISBN 978-0-8021-4132-3.
- Horne, Alistair (1977). A Savage War of Peace: Algeria 1954–1962. Viking Adult. ISBN 978-0-670-61964-1, ISBN 978-1-59017-218-6 (2006 reprint)
- Laouisset, Djamel (2009). A Retrospective Study of the Algerian Iron and Steel Industry. New York City: Nova Publishers. ISBN 978-1-61761-190-2.
- Roberts, Hugh (2003). The Battlefield – Algeria, 1988–2002. Studies in a Broken Polity. London: Verso Books. ISBN 978-1-85984-684-1.
- Ruedy, John (1992). Modern Algeria – The Origins and Development of a Nation. Bloomington: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34998-9.
- Stora, Benjamin (2001). Algeria, 1830–2000 – A Short History. Ithaca, New York: Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-3715-1.
- Sidaoui, Riadh (2009). "Islamic Politics and the Military – Algeria 1962–2008". Religion and Politics – Islam and Muslim Civilisation. Farnham: Ashgate Publishing. ISBN 0-7546-7418-5.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
วิกิตำรา Wikijunior:Countries A–Zมีหน้าในหัวข้อ Algeria |
- People's Democratic Republic of Algeria Official government website (ในภาษาอาหรับและฝรั่งเศส)
- Portal of the First Ministry Portal of the First Ministry (ในภาษาอาหรับและฝรั่งเศส)
- Algeria. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ประเทศแอลจีเรีย แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- ประเทศแอลจีเรีย ที่เว็บไซต์ Curlie
- Algeria profile from the BBC News
- Algeria Atlas Map (PDF) (Map). United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR). April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 December 2016. สืบค้นเมื่อ 9 December 2016.
- ency education ency education (ในภาษาอาหรับ)
- Wikimedia Atlas of Algeria
- Key Development Forecasts for Algeria from International Futures
- EU Neighbourhood Info Centre: Algeria
บทความเกี่ยวกับประเทศ ดินแดน หรือเขตการปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |