เวสเทิร์นสะฮารา
เวสเทิร์นสะฮารา الصحراء الغربية (อาหรับ) aṣ-Ṣaḥrā’ al-Gharbīyah Taneẓroft Tutrimt (กลุ่มภาษาเบอร์เบอร์) Sáhara Occidental (สเปน) | |
---|---|
แผนที่เวสเทิร์นสะฮารา | |
พิกัด: 25°N 13°W / 25°N 13°W | |
ประเทศ |
|
เมืองใหญ่สุด | เอลอาอายุน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 266,000 ตร.กม. (103,000 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 538,755[1] คน |
• ความหนาแน่น | 2.03 คน/ตร.กม. (5.3 คน/ตร.ไมล์) |
(พ.ศ. 2560) | |
เขตเวลา | UTC+01:00 |
รหัส ISO 3166 | EH |
ภาษา | |
ศาสนา | อิสลาม |
สกุลเงิน |
|
เวสเทิร์นสะฮารา (อังกฤษ: Western Sahara; อาหรับ: الصحراء الغربية; เบอร์เบอร์: Taneẓroft Tutrimt; สเปน: Sáhara Occidental) เป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในภูมิภาคมาเกร็บ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดกับประเทศโมร็อกโก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศแอลจีเรีย ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศมอริเตเนีย ส่วนทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ประมาณ 266,000 ตารางกิโลเมตร (103,000 ตารางไมล์) เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีประชากรเบาบางที่สุดในโลก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทราย มีประชากรประมาณ 500,000 คน[2] เกือบร้อยละ 40 อาศัยอยู่ที่เอลอาอายุน ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเวสเทิร์นสะฮารา
เวสเทิร์นสะฮาราถูกสเปนปกครองจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังจากนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2506 เป็นต้นมา ซึ่งเกิดจากข้อเรียกร้องของโมร็อกโก[3] เป็นดินแดนที่มีประชากรและพื้นที่มากที่สุดที่อยู่ในรายชื่อนี้ ในปี 2508 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติครั้งแรกเกี่ยวกับเวสเทิร์นสะฮารา ในการขอให้สเปนให้เอกราชแก่ดินแดนนี้[4] หนึ่งปีต่อมามติใหม่ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อขอให้มีการลงประชามติโดยสเปนเกี่ยวกับการตัดสินใจด้วยตนเอง[5]
ในปี 2518 สเปนได้ยกเลิกการบริหารจัดการดินแดนนี้ไปสู่การจัดการบริหารร่วมโดยโมร็อกโก (ซึ่งได้เรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนนี้มาตั้งแต่ปี 2500)[6]และมอริเตเนีย[5] สงครามปะทุขึ้นระหว่างประเทศเหล่านี้กับขบวนการชาตินิยมซาห์ราวี แนวร่วมโปลิซาริโอซึ่งได้ประกาศให้ดินแดนนี้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีมีรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ในทินดูฟ แอลจีเรีย ต่อมา มอริเตเนียได้ถอนการอ้างสิทธิเหนือดินแดนในปี 2522 และในที่สุดโมร็อกโกก็ได้ควบคุมดินแดนส่วนใหญ่รวมทั้งเมืองสำคัญและทรัพยากรธรรมชาติ องค์การสหประชาชาติพิจารณาว่าแนวร่วมโปลิซาริโอเป็นตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายของชาวซาห์ราวีและยืนยันว่าชาวซาห์ราวีมีสิทธิในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง[7]
ในปี 2560 ไม่มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติใดให้การยอมรับอำนาจอธิปไตยของโมร็อกโกเหนือดินแดนเวสเทิร์นสะฮารา[8][9][10] อย่างไรก็ตาม หลายประเทศได้แสดงการสนับสนุนต่อการรับรองในอนาคตเกี่ยวกับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในฐานะดินแดนปกครองตนเองของราชอาณาจักร กล่าวโดยสรุป การผนวกดินแดนยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในประชาคมนานาชาติเนื่องจากมีกรณีพิพาทเรื่องของการผนวกดินแดนอื่น ๆ อีก (เช่น การผนวกดินแดนของรัสเซียในคาบสมุทรไครเมีย)
ตั้งแต่ที่สหประชาชาติผลักดันให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในปี 2534 สองในสามของดินแดน(รวมถึงส่วนใหญ่ของชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก)[11] ถูกปกครองโดยรัฐบาลโมร็อกโกซึ่งได้รับการสนับสนุนแบบลับ ๆ จากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ขณะที่ส่วนที่เหลือถูกปกครองโดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแอลจีเรีย[12] ในระดับนานาชาติ ประเทศต่าง ๆ เช่น รัสเซียอยู่ในฐานะที่คลุมเครือและเป็นกลางในการอ้างสิทธิของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ก็ได้กดดันให้ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในการแก้ปัญหาอย่างสันติ ทั้งโมร็อกโกและโปลิซาริโอต่างพยายามที่จะเพิ่มแรงสนับสนุนในการรับรองดินแดนอย่างเป็นทางการจากชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะชาติจากแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา แนวร่วมโปลิซาริโอได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีจาก 37 ประเทศ และยังเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกาต่อไป ขณะที่โมร็อกโกได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศในแอฟริกาหลายแห่ง และส่วนใหญ่จากโลกมุสลิมและสันนิบาตอาหรับ[13] ตลอดสองทศวรรษหลัง การยอมรับที่มีต่อทั้งสองฝ่ายขยายเพิ่มและถดถอยลงตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก[ต้องการอ้างอิง]
ภูมิศาสตร์
แก้เวสเทิร์นสะฮารา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือระหว่างมอริเตเนียและโมร็อกโก และยังมีพรมแดนติดกับแอลจีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนที่แห้งแล้งและไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยที่สุดในโลก ทอดตัวยาวเลียบไปตามชายฝั่งมีทะเลทรายที่ราบเรียบและสูงสลับกันไปโดยเฉพาะทางตอนเหนือไปจนถึงเทือกเขาขนาดเล็กที่สูงประมาณ 600 เมตร (2,000 ฟุต) ทางด้านตะวันออก
ในขณะที่บริเวณดังกล่าวอาจประสบกับภาวะน้ำท่วมในช่วงฤดูใบไม้ผลิ แต่ก็ไม่มีลำธารที่ไหลอย่างต่อเนื่อง ในบางครั้งกระแสอากาศนอกชายฝั่งที่เย็นสามารถทำให้เกิดหมอกและน้ำค้างหนาได้ ขณะที่บนฝั่งจะประสบกับความร้อนในฤดูร้อนที่สูงมาก อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 43 องศาเซลเซียส (109 องศาฟาเรนไฮต์) - 45 องศาเซลเซียส (113 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม ในช่วงฤดูหนาว กลางวันก็ยังคงร้อนถึงร้อนมากอยู่อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ 25 องศาเซลเซียส (77 องศาฟาเรนไฮต์) ถึง 30 องศาเซลเซียส (86 องศาฟาเรนไฮต์) แต่ทางตอนเหนือของดินแดน เทอร์โมมิเตอร์อาจวัดอุณหภูมิลงไปได้ถึง 0 องศาเซลเซียส (32 องศาฟาเรนไฮต์) ในตอนกลางคืนซึ่งภายนอกอาจกลายเป็นน้ำแข็งได้ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น
-
เวสเทิร์นสะฮารา ในแอฟริกา
-
ภูมิประเทศของเวสเทิร์นสะฮารา
ประวัติศาสตร์
แก้ประวัติศาสตร์ในยุคแรก
แก้การตั้งถิ่นฐานในยุคแรกของเวสเทิร์นสะฮารา อยู่ในบริเวณแกตูลี (Gaetuli) ตั้งแต่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ แหล่งข้อมูลในสมัยโรมันกล่าวถึงดินแดนที่อยู่อาศัยโดยชาวออโตลู แกตูเลี่ยน (Gaetulian Autololes) หรือชาวเผ่าดาราเด แกตูเลี่ยน (Gaetulian Daradae) มรดกของชาวเบอร์เบอร์ยังคงเห็นได้ชัดจากชื่อสถานที่ เช่นเดียวกับชื่อชนเผ่า
การตั้งถิ่นฐานในช่วงแรกของเวสเทิร์นสะฮาราของชนเผ่าอื่น ๆ อาจรวมถึงชาวบาฟูร์ (Bafour)[14] และชาวเซเรอร์ ชาวบาฟูร์ต่อมาถูกแทนที่หรือถูกดูดกลืนโดยกลุ่มคนที่พูดภาษาเบอร์เบอร์ ซึ่งในที่สุดก็รวมเป็นหนึ่งเดียวกับการอพยพของชาวอาหรับเผ่าเบนี ฮัสซัน (Beni Ḥassān)
การเข้ามาของศาสนาอิสลามในคริสศตวรรษที่ 8 มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของภูมิภาคมาเกร็บ การค้าขายพัฒนาขึ้นและดินแดนนี้เป็นเส้นทางหนึ่งสำหรับคาราวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเมือง มาร์ราคิช (Marrakesh) และ ภูมิภาคทอมบอคตู (Tombouctou) ในประเทศมาลี
ในคริสศตวรรษที่ 11 ชาวอาหรับมาคิล (the Maqil Arabs) ประมาณ 200 คน ได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในโมร็อกโก (ส่วนใหญ่ในบริเวณลำห้วยดรา (the Draa River valley), บริเวณแม่น้ำมูลูยา (Moulouya River), บริเวณเมืองทาฟิลาลท์ (Tafilalt) และ ทาอูรีท์ (Taourirt)[15] ในช่วงยุคสุดท้ายของอาณาจักรอัลโมฮัด กาหลิบ (Almohad Caliphate) ชาว เบนี ฮัสซัน ชนเผ่าย่อยเผ่าหนึ่งของพวกมาคิลถูกขอร้องโดยผู้ปกครองท้องถิ่นชาวซูส์ (Sous) เพื่อให้มาระงับจลาจล พวกเขาเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณปราสาทซูส์ (Sous Ksours) และปกครองเมืองต่าง ๆ เช่น ทารูแดนท์ (Taroudant)[15] ในช่วงการปกครองของราชวงศ์มารินีด ชาวเบนี ฮัสซันก่อการกบฏขึ้น แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับสุลต่านและได้หลบหนีออกไปทางแม่น้ำซากวัย เอล-ฮัมราที่แห้งแล้ง (the Saguia el-Hamra river)[15][16] หลังจากนั้น ชาวเบนี ฮัสซันก็ต้องทำสงครามกับชาวเบอร์เบอร์เร่ร่อนเผ่าหนึ่งในทะเลทรายสะฮารา ที่ชื่อ เผ่าลัมตูน่า (Lamtuna) อยู่เสมอ ประมาณห้าศตวรรษผ่านไป กระบวนการที่ซับซ้อนของการผสมผสานทางวัฒนธรรมและการผสมผสานในที่ต่าง ๆ ในภูมิภาคมาเกร็บและแอฟริกาเหนือทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองเบอร์เบอร์บางเผ่าได้ปะปนไปกับชนเผ่าอาหรับมาคิล ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของโมร็อกโกและมอริเตเนีย
จังหวัดของสเปน
แก้ชาวสเปนเริ่มสนใจในบริเวณสะฮาราเพื่อใช้ในการทำท่าเรือเพื่อการค้าทาส โดยในช่วงทศวรรษที่ 1700 สเปนได้เปลี่ยนกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนชายฝั่งทะเลสะฮาราไปสู่การจับปลาเชิงพาณิชย์[17] หลังจากมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างมหาอำนาจอาณานิคมในยุโรปในการประชุมที่เบอร์ลินเมื่อปี 2427 เกี่ยวกับขอบข่ายอาณานิคมในแอฟริกา สเปนได้ยึดอำนาจควบคุมเวสเทิร์นสะฮาราและจัดตั้งเป็นอาณานิคมของสเปน[18] หลังจากปี 2482 และการปะทุขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สองทำให้พื้นที่นี้ถูกปกครองโดยโมร็อกโกของสเปน จากผลดังกล่าวทำให้ อาห์เหม็ด เบลบาเชอร์ ฮัสคูรี (Ahmed Belbachir Haskouri) หัวหน้าคณะรัฐมนตรี เลขาธิการรัฐบาลโมร็อกโกของสเปน ได้ร่วมมือกันกับชาวสเปนเพื่อเลือกผู้ว่าการในดินแดนนั้น บรรดาผู้มีอิทธิพลในสะฮาราซึ่งอยู่ในสถานะที่สำคัญ เช่น สมาชิกของตระกูล มา เอล ไอนาอิน (Maa El Ainain family) ได้เสนอรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าการคนใหม่ เบลบาเชอร์ ได้รับเลือกให้อยู่รายชื่อนี้พร้อมด้วยข้าราชการชั้นสูงของสเปน ในช่วงงานเฉลิมฉลองประจำปีของการประสูติศาสดามุฮัมมัด บรรดาผู้มีอิทธิพลเหล่านี้ก็ได้แสดงความเคารพต่อกาหลิบเพื่อแสดงความซื่อสัตย์ต่อราชวงศ์โมร็อกโก
เมื่อเวลาผ่านไป การปกครองอาณานิคมของสเปนเริ่มคลี่คลายลงด้วยกระแสทั่วไปของการมอบเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดินแดนหรือรัฐในอารักขาในแอฟริกาเหนือและในบริเวณตอนล่างของทะเลทรายสะฮาราเริ่มจะได้รับเอกราชจากมหาอำนาจในทวีปยุโรป การให้เอกราชของสเปนเป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่แรงกดดันทางด้านการเมืองและสังคมภายในของสเปนนั้นเกิดขึ้นในช่วงท้ายของการปกครองของฟรันซิสโก ฟรังโก มันเป็นแนวความคิดที่นิยมไปทั่วโลกที่มีต่อการให้เอกราช สเปนจึงเริ่มที่จะปลดตัวเองออกจากดินแดนอาณานิคมที่เหลืออยู่ ในปี 2517-2518 รัฐบาลได้ออกคำมั่นสัญญาว่าจะลงประชามติเกี่ยวกับการให้เอกราชในเวสเทิร์นสะฮารา
ในเวลาเดียวกัน โมร็อกโกและมอริเตเนียซึ่งมีข้อเรียกร้องทางประวัติศาสตร์และแข่งกันอ้างถึงอธิปไตยเหนือดินแดน โต้แย้งว่าดินแดนดังกล่าวถูกแบ่งแยกออกโดยมหาอำนาจอาณานิคมของยุโรป แอลจีเรียซึ่งมีพรมแดนติดกับดินแดนนี้ ยังคงมองข้อเรียกร้องเหล่านั้นโดยมีข้อกังขาเนื่องจากเป็นคู่แข่งกับโมร็อกโกมาอย่างยาวนาน หลังจากการพิจารณาในเรื่องกระบวนการปลดปล่อยอาณานิคมโดยสหประชาชาติ รัฐบาลแอลจีเรียภายใต้การนำของ อูอารี บูเมเดียน (Houari Boumédiènne) ในปี 2518 ก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแนวร่วมโปลิซาริโอ (Polisario Front) ซึ่งคัดค้านการเรียกร้องสิทธิของโมร็อกโกและมอริเตเนียและเรียกร้องอิสรภาพให้แก่เวสเทิร์นสะฮารา
สหประชาชาติพยายามที่จะระงับข้อพิพาทเหล่านี้ผ่านภารกิจในการไปเยือนเมื่อปลายปี 2518 รวมทั้งคำตัดสินจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) อาจยอมรับได้ว่าเวสเทิร์นสะฮารามีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับโมร็อกโกและมอริเตเนีย แต่ประชากรในดินแดนนี้ก็มีสิทธิในการตัดสินใจการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 โมร็อกโกได้เริ่มปฏิบัติการกรีนมาร์ช (the Green March) ในเวสเทิร์นสะฮารา ชาวโมร็อกโกที่ปลอดอาวุธจำนวน 350,000 คน มารวมกันที่เมือง ทาร์ฟายา (Tarfaya) ในโมร็อกโกตอนใต้และรอสัญญาณจากสมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโกเพื่อข้ามพรมแดนในการเดินขบวนอย่างสันติ แต่เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ในวันที่ 31 ตุลาคมกองกำลังโมร็อกโกได้บุกเวสเทิร์นสะฮาราทางตอนเหนือไปแล้ว[19]
การเรียกร้องเอกราช
แก้ในช่วงปลายสมัยการปกครองของนายพลฟรังโก และหลังจากปฏิบัติการกรีนมาร์ช รัฐบาลสเปนได้ลงนามในข้อตกลงไตรภาคีร่วมกับโมร็อกโกและมอริเตเนียในการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการถ่ายโอนดินแดนเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2518 ข้อตกลงนี้จะแบ่งการปกครองออกเป็นสองฝ่าย ทั้งโมร็อกโกและมอริเตเนียจะแบ่งกันครอบครองดินแดน โมร็อกโกจะครอบครองดินแดนทางตอนเหนือประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่ในฐานะจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก และมอริเตเนียจะครอบครองดินแดนในส่วนที่สามในฐานะจังหวัด Tiris al-Gharbiyya สเปนจะยุติบทบาทของตัวเองในสะฮาราของสเปนใน 3 เดือน และจะส่งคนของตัวเองที่ยังเหลืออยู่กลับประเทศ[20]
การผนวกดินแดนของโมร็อกโกและมอริเตเนียถูกต่อต้านโดยกลุ่มแนวร่วมโปลิซาริโอ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแอลจีเรีย[21] ในปี 2522 เริ่มเกิดสงครามกองโจรขึ้น มอริเตเนียถอนตัวออกจากแรงกดดันของกลุ่มโปลิซาริโอนี้ซึ่งรวมไปถึงการวางระเบิดในเมืองหลวงและเป้าหมายทางเศรษฐกิจอื่น ๆ โมร็อกโกจึงได้ขยายการครอบครองไปยังดินแดนที่เหลือแทน จากนั้น โมร็อกโกจึงเริ่มจะสะสมกองโจรมากขึ้นโดยการตั้งค่ายขึ้นมากลางทะเลทรายอย่างกว้างใหญ่ (หรือที่เรียกกันว่า กำแพงพรมแดนหรือกำแพงโมร็อกโก) เพื่อป้องกันนักรบกองโจร[22] ความเป็นศัตรูกันยุติลงในข้อตกลงหยุดยิงเมื่อปี 2534 ซึ่งได้รับการควบคุมโดยภารกิจรักษาสันติภาพ (MINURSO) ภายใต้ข้อกำหนด Settlement Plan ของสหประชาชาติ
อ้างอิง
แก้- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ Department of Economic and Social Affairs Population Division (2009). "World Population Prospects, Table A.1" (PDF). 2008 revision. United Nations. สืบค้นเมื่อ 12 March 2009.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Mariano Aguirre, Vers la fin du conflit au Sahara occidental, Espoirs de paix en Afrique du Nord Latine in: Le Monde diplomatique, Novembre 1997
- ↑ United Nations General Assembly (16 December 1965). "RESOLUTIONS ADOPTED BY THE GENERAL ASSEMBLY DURING ITS TWENTIETH SESSION, resolution 2072 (XX), QUESTION OF IFNI AND SPANISH SAHARA".
- ↑ 5.0 5.1 "Milestones in the Western Sahara conflict". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2012.
- ↑ González Campo, Julio. "Documento de Trabajo núm. 15 DT-2004. Las pretensiones de Marruecos sobre los territorios españoles en el norte de África (1956–2002)" (PDF) (ภาษาสเปน). es:Real Instituto Elcano. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016.
- ↑ "United Nations General Assembly Resolution 34/37, The Question of Western Sahara". undocs.org (ภาษาอังกฤษ). United Nations. 21 November 1979. A/RES/34/37. สืบค้นเมื่อ 28 March 2017.
- ↑ "Report of the Secretary-General on the situation concerning Western Sahara (paragraph 37, p. 10)" (PDF). March 2, 1993. สืบค้นเมื่อ October 4, 2014.
- ↑ http://www.wsrw.org/a105x1410
- ↑ http://www.scilj.se/news/international-law-allows-the-recognition-of-western-sahara/
- ↑ มีเพียงส่วนของชายฝั่งในบริเวณพื้นที่เล็ก ๆ ทางด้านทิศใต้ รวมไปถึงคาบสมุทร ราส นูอาดิบู เท่านั้นที่ไม่ได้ถูกปกครองโดยโมร็อกโก
- ↑ Baehr, Peter R. The United Nations at the End of the 1990s. 1999, page 129.
- ↑ Arabic News, Regional-Morocco, Politics (17 December 1998). "Arab League Withdraws Inaccurate Moroccan maps". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ] - ↑ Handloff, Robert. "The West Sudanic Empires". Federal Research Division of the Library of Congress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 3 September 2009.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 History of Ibn Khaldun Volume 6, pp80-90 by ibn Khaldun
- ↑ "Rawd al-Qirtas, Ibn Abi Zar
- ↑ Besenyo, Janos. Western Sahara. Publikon, 2009, P. 49.
- ↑ "ICE Conflict Case ZSahara". .american.edu. 17 March 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 13 November 2011.
- ↑ János, Besenyő (2009). Western Sahara (PDF). Pécs: Publikon Publishers. ISBN 978-963-88332-0-4.
- ↑ Tomás Bárbulo, "La historia prohibida del Sáhara Español," Destino, Imago mundi, Volume 21, 2002, Page 292
- ↑ "Algeria Claims Spanish Sahara Is Being Invaded". The Monroe News-Star. 1 January 1976. สืบค้นเมื่อ 19 October 2016 – โดยทาง Newspapers.com.
- ↑ McNeish, Hannah (5 June 2015). "Western Sahara's Struggle for Freedom Cut Off By a Wall". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 17 October 2016.