รัฐสมาชิกสหประชาชาติ
รัฐสมาชิกสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations member states) เป็นรัฐเอกราช 193 รัฐที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (UN) และเป็นตัวแทนที่เท่าเทียมกันในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[1]
โดยหลักการแล้วมีเพียงรัฐเอกราชเท่านั้นที่สามารถเป็นสมาชิกสหประชาชาติได้และในปัจจุบันรัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมดเป็นรัฐเอกราช แม้ว่ารัฐสมาชิก 5 รัฐ จะไม่ได้เป็นรัฐเอกราชขณะเข้าร่วมสหประชาชาติ แต่ต่อมาทั้ง 5 รัฐก็ได้รับเอกราชในระหว่าง ปี พ. ศ. 2489 ถึง พ.ศ. 2534
สมาชิกปัจจุบัน
แก้- หมายเหตุ: ประเทศสมาชิกที่มีพื้นหลัง และ มีตัวหนา คือสมาชิกดั้งเดิมของสหประชาชาติ
หมายเหตุ
แก้รัฐสังเกตการณ์และรัฐที่ไม่ใช่สมาชิก
แก้นอกจากรัฐสมาชิกแล้ว ยังมีรัฐสังเกตการณ์ถาวรที่ไม่ใช่สมาชิกอีกสองรัฐ ได้แก่ สันตะสำนักและรัฐปาเลสไตน์
- สันตะสำนักถืออำนาจอธิปไตยเหนือนครรัฐวาติกัน และรักษาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอีก 180 รัฐ โดยเป็นรัฐสังเกตการณ์ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1964 และได้รับสิทธิ์ในการเป็นรัฐสมาชิกทั้งหมด ยกเว้นการลงคะแนนเสียง ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2004[2]
- องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์เป็น "องค์การที่มิใช่รัฐ" เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974[3] ต่อมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ปาเลสไตน์ได้รับการยกระดับเป็น "รัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิก" ตามข้อมติที่ 67/19[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "What are Member States?". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-23. สืบค้นเมื่อ 2020-08-21.
- ↑ Resolution 314 session 58 Participation of the Holy See in the work of the United Nations on 2004-07-16
- ↑ Resolution 3237 session 29 Observer status for the Palestine Liberation Organization on 1974-11-22
- ↑ "General Assembly grants Palestine non-member observer State status at UN". United Nations News Centre. 29 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-12-03.