พ.ศ. 2516
ปี
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1973)
พุทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช 1335 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2516 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1973 MCMLXXIII |
Ab urbe condita | 2726 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1422 ԹՎ ՌՆԻԲ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6723 |
ปฏิทินบาไฮ | 129–130 |
ปฏิทินเบงกอล | 1380 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2923 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 21 Eliz. 2 – 22 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2517 |
ปฏิทินพม่า | 1335 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7481–7482 |
ปฏิทินจีน | 壬子年 (ชวดธาตุน้ำ) 4669 หรือ 4609 — ถึง — 癸丑年 (ฉลูธาตุน้ำ) 4670 หรือ 4610 |
ปฏิทินคอปติก | 1689–1690 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3139 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1965–1966 |
ปฏิทินฮีบรู | 5733–5734 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2029–2030 |
- ศกสมวัต | 1895–1896 |
- กลียุค | 5074–5075 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11973 |
ปฏิทินอิกโบ | 973–974 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1351–1352 |
ปฏิทินอิสลาม | 1392–1393 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 48 (昭和48年) |
ปฏิทินจูเช | 62 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4306 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 62 民國62年 |
เวลายูนิกซ์ | 94694400–126230399 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี
เหตุการณ์
แก้มกราคม-มิถุนายน
แก้- 13 มกราคม – พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ เสด็จในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) เจ้าราชบุตรพระองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ และเป็นการพระราชทานเพลิงศพเจ้าประเทศราชครั้งสุดท้ายของประเทศไทย
- 27 มกราคม – การเข้าร่วมในสงครามเวียดนามของสหรัฐสิ้นสุดลง ด้วยการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส
- 24 กุมภาพันธ์ – ทีมฟุตบอลทีมชาตินิวซีแลนด์ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติโอเซียเนีย ครั้งที่ 1 ณ ประเทศนิวซีแลนด์
- 29 มีนาคม – ทหารสหรัฐ คนสุดท้ายเดินทางออกจากเวียดนาม
- 6 เมษายน – ยานไพโอเนียร์ 11 ขึ้นสู่อวกาศ
- 24 เมษายน – พรรคคอมมิวนิสต์ฟิลิปปินส์จัดตั้งแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ (ฟิลิปปินส์) เพื่อรวบรวมกลุ่มฝ่ายซ้ายต่อต้านรัฐบาล
- 5 พฤษภาคม – สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ ซึ่งขณะนั้นเป็นทีมจากดิวิชั่น 2 ของอังกฤษ พลิกล็อกชนะ สโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด ทีมจากดิวิชั่น 1 และแชมป์เก่า ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยเอฟเอคัพนัดชิงชนะเลิศ ด้วยสกอร์ 1-0 ที่สนามฟุตบอลเวมบลีย์ ประเทศอังกฤษ
- 10 พฤษภาคม – การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 วิ่งเลยทางวิ่งขณะลงจอดมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
- 14 พฤษภาคม – สถานีอวกาศสกายแล็บขององค์การนาซา ขึ้นสู่อวกาศจากแหลมคานาเวอรัล
- 17 พฤษภาคม – การพิจารณาคดีวอเตอร์เกตในวุฒิสภาสหรัฐ เริ่มขึ้น
- 31 พฤษภาคม – อินโดนีเซียจัดให้มีการลงมติเกี่ยวกับเอกราช ผลปรากฏว่าติมอร์ตะวันออกเลือกอยู่กับอินโดนีเซียแต่สหประชาชาติไม่ยอมรับผลการลงประชามตินี้
- 30 มิถุนายน – เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน 7 นาที 4 วินาที มองเห็นได้ในทวีปอเมริกาใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติก มีสุริยุปราคาเต็มดวงเพียง 7 ครั้งเท่านั้นในคริสต์สหัสวรรษที่ 2 ที่ยาวนานกว่า 7 นาที โดยครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่มีผู้สังเกตการณ์จากเครื่องบินคองคอร์ด ไล่ตามเงามืดของดวงจันทร์จนมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานถึง 74 นาที
กรกฎาคม-กันยายน
แก้- 17 กรกฎาคม – โมฮัมหมัด ซาร์ดาร ดาอูดข่าน ปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลของกษัตริย์ซาฮีร ชาห์ ประกาศตั้งสาธารณรัฐ ซาฮีร ชาห์ลี้ภัยไปอิตาลี
- 25 กรกฎาคม – สหภาพโซเวียต ส่งยานมาร์ส 5 ขึ้นสู่อวกาศ
- 11 กันยายน – พลเอก ออกุสโต ปิโนเชต์ ก่อรัฐประหารและก้าวขึ้นเป็นผู้นำรัฐบาลทหารในชิลี
- 15 กันยายน – เจ้าฟ้าชายคาร์ล กุสตาฟ มกุฎราชกุมารแห่งสวีเดน เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดน
- 24 กันยายน – เปิดการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ตุลาคม
แก้- 14 ตุลาคม – วันมหาวิปโยค: นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งประชาชน รวมตัวประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย เนื่องจากจอมพลถนอม กิตติขจร ใช้อำนาจเผด็จการ ก่อการปฏิวัติยึดอำนาจเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จัดตั้งรัฐบาลคณะปฏิวัติขึ้นปกครองประเทศ ทำให้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงจนกลายเป็นการจลาจลนองเลือด
- 15 ตุลาคม – จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร (3 ทรราช) ออกเดินทางไปนอกประเทศ จากนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่
- 17 ตุลาคม – เกิดภาวะขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรงทั่วโลก หลังมีการกักตุนน้ำมันในอาหรับ เพื่อต่อต้านหลายประเทศที่ให้การสนับสนุนอิสราเอล
- 20 ตุลาคม – สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงอุปรากรซิดนีย์ (Sydney Opera House) ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
พฤศจิกายน
แก้- 3 พฤศจิกายน – องค์การนาซาส่งยานมาริเนอร์ 10 ไปยังดาวพุธ (วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 กลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปสำรวจดาวพุธ)
- 16 พฤศจิกายน – โครงการสกายแล็บ: องค์การนาซาส่งสถานีอวกาศสกายแล็บ 4 ขึ้นจากแหลมคานาเวอรัล ฟลอริดา พร้อมนักบิน 3 คน ในภารกิจนาน 84 วัน
- 17 พฤศจิกายน – นักศึกษาในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ก่อการจลาจลต่อต้านเผด็จการทหาร
ธันวาคม
แก้- 3 ธันวาคม – โครงการไพโอเนียร์: ยานไพโอเนียร์ 10 ส่งภาพถ่ายระยะใกล้ภาพแรกของดาวพฤหัสบดีมาถึงโลก
- 15 ธันวาคม – สิทธิกลุ่มคนรักร่วมเพศ: สมาคมจิตเวชอเมริกัน นำการรักร่วมเพศออกจากคู่มือวินิจฉัยโรคจิต DSM-II
วันเกิด
แก้มกราคม
แก้- 4 มกราคม – ภาธร ศรีกรานนท์ นักดนตรีชาวไทย
- 9 มกราคม – ฌอน พอล นักร้องชาวจาเมกา
- 16 มกราคม – สมรักษ์ คำสิงห์ นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทย
- 20 มกราคม – สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม
- 26 มกราคม – เบรนดัน ร็อดเจอส์ ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวไอร์แลนด์เหนือ
กุมภาพันธ์
แก้- 3 กุมภาพันธ์ – แหวนเพชร ชูวัฒนะ นักมวยสากลชาวไทย
- 4 กุมภาพันธ์ – ออสการ์ เดอ ลา โฮยา นักมวยชาวอเมริกัน
- 12 กุมภาพันธ์ – ทารา สตรอง นักพากย์ชาวอเมริกัน-แคนาดา
- 16 กุมภาพันธ์ – คาธี ฟรีแมน นักกรีฑาชาวออสเตรเลีย
- 18 กุมภาพันธ์ – โกลด มาเกเลเล นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- 26 กุมภาพันธ์
- เอทีบี ดีเจและโปรดิวเซอร์ชาวเยอรมัน
- อูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ นักฟุตบอลชาวนอร์เวย์
มีนาคม
แก้- 1 มีนาคม - คัฑลียา มารศรี นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 13 มีนาคม – เอ็ดการ์ ดาวิดส์ นักฟุตบอลชาวเนเธอร์แลนด์
- 16 มีนาคม – ฮิเดกิ โทดากะ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- 23 มีนาคม – ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ นักร้อง นักแสดง และพิธีกรชาวไทย
- 24 มีนาคม
- ซากุระ ทันเกะ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น
- จิม พาร์สันส์ นักแสดงและนักแสดงตลกชาวอเมริกัน
- 26 มีนาคม – แลร์รี เพจ ผู้ประกอบการชาวอเมริกัน
- 28 มีนาคม – เอ็ดเวิร์ด ฟาตู นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552)
- 29 มีนาคม – มาร์ก โอเฟอร์มาร์ส นักฟุตบอลชาวเนเธอร์แลนด์
เมษายน
แก้- 5 เมษายน – ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน
- 10 เมษายน – โรแบร์ตู การ์ลุส นักฟุตบอลชาวบราซิล
- 14 เมษายน – เอเดรียน โบรดี นักแสดงชาวอเมริกัน
- 16 เมษายน – เอคอน แร็ปเปอรฺ์ นักร้อง นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ชาวเซเนกัล-อเมริกัน
- 20 เมษายน – ชาติชาย งามสรรพ์ นักแสดงชาวไทย
- 21 เมษายน – คะสึยุกิ โคะนิชิ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น
- 23 เมษายน – ธนะยศ จิวานนท์ นักร้องชายชาวไทย
- 25 เมษายน – โจมา แกมบัว นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์
พฤษภาคม
แก้- 1 พฤษภาคม – โอลิเวอร์ นอยวิลล์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- 8 พฤษภาคม – ฮิโระมุ อะระกะวะ ศิลปินมังงะชาวญี่ปุ่น
- 10 พฤษภาคม – รึชทือ เรชแบร์ นักฟุตบอลชาวตุรกี
- 18 พฤษภาคม – แคซ ฮะยะชิ นักมวยปล้ำอาชีพชาวญี่ปุ่น
- 20 พฤษภาคม – ณัฐิยา ศิรกรวิไล นักเขียนบทละครโทรทัศน์ชาวไทย
- 29 พฤษภาคม
- ธนัท ฉิมท้วม นักร้องและนักแสดงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
- สมมาส ราชสีมา นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 30 พฤษภาคม — แคท รัตกาล นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
มิถุนายน
แก้- 1 มิถุนายน
- อดัม การ์เซีย นักแสดงและนักร้องชาวออสเตรเลีย
- ไฮดี คลูม นางแบบชาวเยอรมัน
- 4 มิถุนายน – ขวัญฤดี กลมกล่อม นักแสดงชาวไทย
- 5 มิถุนายน – พัน พลุแตก นักแสดงตลก
- 7 มิถุนายน – นุสบา วานิชอังกูร นักแสดงชาวไทย
- 7 มิถุนายน – โหน่ง ชะชะช่า นักแสดงตลก
- 18 มิถุนายน – ยุมิ คะกะซุ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 19 มิถุนายน – ยูโกะ นะกะซะวะ นักร้องและนักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 26 มิถุนายน – บุญพิทักษ์ จิตต์กระจ่าง นักแสดงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 27 ตุลาคม พ.ศ. 2538)
กรกฎาคม
แก้- 1 กรกฎาคม – เสาหิน ส. ธนิกุล นักมวยสากลชาวไทย
- 4 กรกฎาคม – แก๊กต์ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 12 กรกฎาคม – กริสเตียน วีเอรี นักฟุตบอลชาวอิตาลี
- 13 กรกฎาคม – โรเบร์โต มาร์ตีเนซ ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวสเปน
- 15 กรกฎาคม – ไบรอัน ออสติน กรีน นักแสดงชาวอเมริกัน
- 20 กรกฎาคม
- เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์
- มนต์แคน แก่นคูน — นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 22 กรกฎาคม — ธีรภัทร์ สัจจกุล นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 23 กรกฎาคม – โมนิกา ลูวินสกี อดีตเจ้าหน้าที่ฝึกงานประจำทำเนียบขาวชาวอเมริกัน
- 25 กรกฎาคม – เควิน ฟิลลิปส์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 26 กรกฎาคม – เคต เบ็กคินเซล นักแสดงชาวอเมริกัน
- 27 กรกฎาคม – โชคชัย เจริญสุข นักร้องและนักแสดงชาวไทย
สิงหาคม
แก้- 2 สิงหาคม
- กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา นักแสดง นักร้อง และนางแบบชาวไทย
- ปราบดา หยุ่น นักเขียนชาวไทย
- 6 สิงหาคม – วีรา ฟาร์มิกา นักแสดงชาวอเมริกัน
- 9 สิงหาคม – ฟีลิปโป อินซากี นักฟุตบอลชาวอิตาลี
- 11 สิงหาคม – เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง นักฟุตบอลชายชาวไทย
- 16 สิงหาคม - ไธรา ฟอน เวสเทิร์นฮาเกน
- 19 สิงหาคม – เจ้าหญิงเมตเต-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์
- 20 สิงหาคม
- ทรงยศ สุขมากอนันต์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- ปฏิวัติ เรืองศรี นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 21 สิงหาคม –
- เซอร์เกย์ บริน ผู้ประกอบการชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย
- นีโคไล วาลูเอฟ นักมวยสากลและนักการเมืองชาวรัสเซีย
- 22 สิงหาคม – ศรราม เทพพิทักษ์ นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 24 สิงหาคม – เกรย์ ดีไลล์ นักพากย์ชาวอเมริกัน
กันยายน
แก้- 3 กันยายน – อัษฎา พานิชกุล นักแสดงชาวไทย
- 4 กันยายน – เจสัน เดวิด แฟรงก์ นักแสดงและนักศิลปะป้องกันตัวชาวอเมริกัน
- 6 กันยายน
- เกร็ก รูเชดสกี นักเทนนิสชาวอังกฤษ
- การ์โล กูดีชีนี นักฟุตบอลชาวอิตาลี
- 11 กันยายน – ซู โหย่วเผิง นักร้องและนักแสดงชาวไต้หวัน
- 12 กันยายน – พอล วอล์กเกอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556)
- 13 กันยายน
- เศกพล อุ่นสำราญ นักร้องและนักดนตรีชาวไทย
- ฟาบีโอ กันนาวาโร นักฟุตบอลชาวอิตาลี
- 14 กันยายน
- แอนดรูว์ ลินคอล์น นักแสดงชาวอังกฤษ
- นาส แร็ปเปอร์ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน
- 15 กันยายน – เจ้าชายดาเนียล ดยุกแห่งเวสเตร์เยิตลันด์
- 18 กันยายน
- เจมส์ มาร์สเดน นักแสดงชาวอเมริกัน
- มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ผู้ประกอบการชาวแอฟริกาใต้
- 19 กันยายน
- พสิษฐ์ ธนชัยบุญยรัตน์ – นักร้องชาวไทย
ตุลาคม
แก้- 3 ตุลาคม – เนฟ แคมป์เบิล นักแสดงชาวแคนาดา
- 4 ตุลาคม – คริส พาร์กส์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- 10 ตุลาคม
- วีระศักดิ์ ขอบเขต ผู้ประกาศข่าวชาวไทย
- มาริโอ โลเปซ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 11 ตุลาคม – ทะเกะชิ คะเนะชิโระ นักแสดงชาวไต้หวัน-ญี่ปุ่น
- 13 ตุลาคม – นะนะโกะ มะสึชิมะ นักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 22 ตุลาคม
- ดีโล บราวน์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- อิจิโร ซุซุกิ นักเบสบอลชาวญี่ปุ่น
- 26 ตุลาคม – ทะกะโอะ โยะชิดะ นักมวยปล้ำอาชีพชาวญี่ปุ่น
- 28 ตุลาคม – มอนเทล วอนเทเวียส พอร์เตอร์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- 29 ตุลาคม – รอแบร์ ปีแร็ส นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- 30 ตุลาคม – อดัม โคปแลนด์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดา
พฤศจิกายน
แก้- 1 พฤศจิกายน
- วิชชุดา สวนสุวรรณ นักแสดงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2536)
- ไอศวรรยา ราย นักแสดงชาวอินเดีย
- 3 พฤศจิกายน – มิก ทอมสัน นักดนตรีชาวอเมริกัน
- 5 พฤศจิกายน – จอห์นนี เดมอน นักเบสบอลชาวอเมริกัน
- 9 พฤศจิกายน – นิก ลาเชย์ นักร้องชาวอเมริกัน
- 21 พฤศจิกายน – นพชัย ชัยนาม นักแสดงชาวไทย
- 23 พฤศจิกายน – เจ้าหญิงโซเฟีย ดัชเชสแห่งกาลาเบรีย
- 25 พฤศจิกายน – วินรวีร์ ใหญ่เสมอ นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 29 พฤศจิกายน – ไรอัน กิกส์ นักฟุตบอลชาวเวลส์
- 30 พฤศจิกายน – เจสัน เรโซ นักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดา
ธันวาคม
แก้- 2 ธันวาคม
- โมนิกา เซเลส นักเทนนิสชาวฮังการี-ยูโกสลาเวีย
- อุเทน พรหมมินทร์ นักร้องชาวไทย
- 4 ธันวาคม – ไทรา แบงส์ นางแบบและพิธีกรชาวอเมริกัน
- 8 ธันวาคม
- โกะโร อินะงะกิ นักร้องและนักแสดงชาวญี่ปุ่น
- เฉลิม ปานเกิด นักแสดงตลกชาวไทย
- คอรีย์ เทย์เลอร์ นักร้องชาวอเมริกัน
- 10 ธันวาคม – อรรถพร ธีมากร นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 15 ธันวาคม – มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี นักการเมืองชาวไทย
- 16 ธันวาคม – กุมารทอง ป.ปลื้มกมล นักมวยสากลชาวไทย
- 24 ธันวาคม – สเตเฟนี เมเยอร์ นักเขียนชาวอเมริกัน
วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 22 มกราคม – ลินดอน บี. จอห์นสัน ประธานาธิบดีคนที่ 36 แห่งสหรัฐอเมริกา (เกิด 27 สิงหาคม พ.ศ. 2451)
- 24 มกราคม – มะซะโอะ โอะบะ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2492)
- 26 มกราคม – เอดเวิร์ด จี. โรบินสัน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 12 ธันวาคม พ.ศ. 2436)
มีนาคม
แก้- 6 มีนาคม – เพิร์ล เอส. บัค นักเขียนชาวอเมริกัน (เกิด 26 มิถุนายน พ.ศ. 2435)
เมษายน
แก้- 8 เมษายน – ปาโบล ปีกัสโซ ศิลปินชาวสเปน (เกิด 25 ตุลาคม พ.ศ. 2424)
พฤษภาคม
แก้- 21 พฤษภาคม – จารุพัตรา ศุภชลาศัย (ประสูติ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2447)
มิถุนายน
แก้- 9 มิถุนายน – เอริช ฟอน มันชไตน์ ผู้บังคับบัญชากองทหารชาวเยอรมัน (เกิด 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430)
กรกฎาคม
แก้- 20 กรกฎาคม
- บรูซ ลี นักแสดงและผู้เชี่ยวชาญศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวชาวจีน-อเมริกัน (เกิด 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483)
- โรเบิร์ต สมิธสัน ศิลปินชาวอเมริกัน (2 มกราคม พ.ศ. 2481)
สิงหาคม
แก้- 6 สิงหาคม – ฟุลเคนเซียว บาติสตา ประธานาธิบดีคนที่ 9 และ 12 ของประเทศคิวบา (เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2444)
- 16 สิงหาคม – เซลมัน แวกส์มัน นักชีวเคมีชาวอเมริกันเชื้อสายยูเครน (เกิด 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2431)
- 31 สิงหาคม – จอห์น ฟอร์ด ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437)
กันยายน
แก้- 2 กันยายน – เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน นักเขียนชาวอังกฤษ (เกิด 3 มกราคม พ.ศ. 2435)
- 15 กันยายน – สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน (พระราชสมภพ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2425)
- 23 กันยายน – ปาโบล เนรูดา กวีชาวชิลี (เกิด 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2447)
- 29 กันยายน – ดับเบิลยู. เอช. ออเดน กวีชาวอังกฤษ (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450)
ธันวาคม
แก้- 3 ธันวาคม – หม่อมเจ้าพัฒนายุคุณวรรณ ดิศกุล (ประสูติ 8 มกราคม พ.ศ. 2441)
- 18 ธันวาคม – เดวิด เบนกูเรียน นายักรัฐมนตรีคนที่ 1 และ 3 ของประเทศอิสราเอล (เกิด 16 ตุลาคม พ.ศ. 2429)
- 20 ธันวาคม – บ็อบบี ดาริน นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2479)
- 23 ธันวาคม – เจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายเนเธอร์แลนด์ (เกิด 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448)
ปีนี้ในบันเทิงคดี
แก้- 14 มีนาคม - วันเกิด โมริ ชิน ตัวละครจากเรื่องซามูไรทรูปเปอร์
- 9 มิถุนายน - วันเกิด ดาเตะ เซจิ ตัวละครจากเรื่องซามูไรทรูปเปอร์
- 15 สิงหาคม - วันเกิด ซานาดะ เรียว ตัวละครจากเรื่องซามูไรทรูปเปอร์
- 1 กันยายน - วันเกิด ชู เร ฟาน ตัวละครจากเรื่องซามูไรทรูปเปอร์
- 10 ตุลาคม - วันเกิด ฮาชิบะ โทมะ ตัวละครจากเรื่องซามูไรทรูปเปอร์
รางวัล
แก้- สาขาเคมี – Ernst Otto Fischer, Geoffrey Wilkinson
- สาขาวรรณกรรม – แพทริค วิคเตอร์ มาร์ตินเดล ไวท์
- สาขาสันติภาพ – เฮนรี เอ. คิสซิงเกอร์, Lê Ðức Thọ
- สาขาฟิสิกส์ – Leo Esaki, Ivar Giaever, Brian David Josephson
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – คาร์ล ฟอน ฟริสช์, คอนราด โลเรนซ์, นิโกลาส์ ทินเบอร์เกน
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Wassily Leontief