ประเทศกาบอง
สาธารณรัฐกาบอง République Gabonaise (ฝรั่งเศส) | |
---|---|
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ลีเบรอวีล 0°23′N 9°27′E / 0.383°N 9.450°E |
ภาษาราชการ | ภาษาฝรั่งเศส |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว เผด็จการทหาร |
บริส ออลีกี (รักษาการ) | |
แรมง อึนดง ซีมา (รักษาการ) | |
เอกราช | |
• จากฝรั่งเศส | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2503 |
พื้นที่ | |
• รวม | 267,667 ตารางกิโลเมตร (103,347 ตารางไมล์) (76) |
3.76% | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 1,979,786[1] (146) |
7.9 ต่อตารางกิโลเมตร (20.5 ต่อตารางไมล์) (216) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2018 (ประมาณ) |
• รวม | 3.8280 หมื่นล้านดอลลาร์[2] |
• ต่อหัว | 18,647 ดอลลาร์<[2] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2018 (ประมาณ) |
• รวม | 1.7212 หมื่นล้านดอลลาร์[2] |
• ต่อหัว | 8,384 ดอลลาร์<[2] |
จีนี (2017) | 38[3] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2019) | 0.703[4] สูง · 119 |
สกุลเงิน | ฟรังก์เซฟา (XAF) |
เขตเวลา | UTC+1 (WAT) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+1 |
รหัสโทรศัพท์ | +241 |
โดเมนบนสุด | .ga |
กาบอง (ฝรั่งเศส: Gabon) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกาบอง (ฝรั่งเศส: République Gabonaise) เป็นประเทศในตอนกลางของภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับอิเควทอเรียลกินี แคเมอรูน สาธารณรัฐคองโก และอ่าวกินี
กาบองปกครองโดยประธานาธิบดีที่สถาปนาตนเองขึ้นสู่อำนาจนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2503 กาบองได้นำระบบหลายพรรคการเมืองและรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ที่ทำให้เกิดกระบวนการการเลือกตั้งที่โปร่งใสยิ่งขึ้น รวมทั้งเกิดการปฏิรูปสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ กาบองมีจำนวนประชากรไม่มาก แต่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนเอกชนต่างชาติ ทำให้กาบองกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคนี้
ภูมิอากาศ
แก้อากาศร้อนชื้นแถบเส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิสูงและฝนตกชุก มีฤดูแล้งยาวนานตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกันยายน หลังจากนั้นเป็นฤดูฝนช่วงสั้น ๆ และจะเป็นฤดูแล้งอีกครั้งตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ และเป็นฤดูฝนอีกครั้งฝนตกโดยเฉลี่ยประมาณ 510 มิลลิเมตรต่อปี
ประวัติศาสตร์
แก้เดิมดินแดนกาบองในสมัยอาณานิคมฝรั่งเศส เป็นส่วนหนึ่งในดินแดนแอฟริกาศูนย์สูตรของสหพันธ์แอฟริกาตะวันตก ในปี พ.ศ. 2501 กาบองได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง และ ได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2504 โดยมีนาย ลียง เอ็มบา เป็นประธานาธิบดีคนแรก ในปี พ.ศ. 2507 ได้เกิดการรัฐประหารขึ้น แต่ด้วยความช่วยเหลือของฝรั่งเศส โดยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตามเดิมจนกระทั่งเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2510
นาย Albert-Bernard Bongo (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โอมา บองโก อนดิมบา) รองประธานาธิบดี ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสให้เข้ารับตำแหน่งแทน และจัดตั้งระบบการปกครองแบบพรรคการเมืองเดียว โดยมีพรรคประชาธิปไตยกาบอง (PDG : Parti democratique gabonais) เป็นพรรครัฐบาล ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโอมาร์ บองโก อองดิมบา ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งซ้ำในปี พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2529 โดยไม่มีคู่แข่ง
ในปี พ.ศ. 2533 ภายใต้แรงกดดันจากกลุ่มต่าง ๆ ภายในประเทศ รัฐบาลกาบองได้จัดให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงเป็นระบบการเมืองแบบหลายพรรค อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปไตยกาบองของประธานาธิบดีบองโก ยังคงได้รับเสียงข้างมากในสภาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2536 นายบองโก ยังคงได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับเลือกตั้งซ้ำในปี พ.ศ. 2541
ในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเพิ่มระยะเวลาให้ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งจากเดิมวาระละ 5 ปี เป็นวาระละ 7 ปี และมีการแต่งตั้งตำแหน่งรองประธานาธิบดีขึ้นมาอีกครั้ง และในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งโดยยกเลิกการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี ซึ่งทำให้นายบองโก มีสิทธิ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 และชนะการเลือกตั้ง โดยนับเป็นการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 6 และถือเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในแอฟริกา
ปัจจุบัน ประธานาธิบดีโอมา บองโก อองดิมบา เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย ที่คลิกนิกแห่งหนึ่งในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในวัย 73 ปี โดยทางการกาบองได้ประกาศไว้อาลัยแก่การเสียชีวิตของนายบองโก เป็นเวลา 30 วัน และกำหนดให้ประธานวุฒิสภานาง Rose Francine Rogombe ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีและจัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วัน ในชั้นนี้ สถานการณ์ในกรุงลิเบรอวีลยังอยู่ในความสงบไม่เกิดเหตุวุ่นวายตามที่มีการคาดไว้แต่อย่างใด
ความพยายามรัฐประหารในประเทศกาบอง พ.ศ. 2562
แก้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ได้มีความพยายามรัฐประหารที่นำโดยทหาร เพื่อต่อต้านประธานาธิบดี อาลี บองโก ออนดิมบา[5]
การเมืองการปกครอง
แก้บริหาร
แก้กาบองมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และ เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลและเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยการหารือกับประธานาธิบดี โดยเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกาตะวันตก
นิติบัญญัติ
แก้ในปี พ.ศ. 2533 กาบองเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้มีระบบการเมืองหลายพรรค รัฐสภาของกาบองเป็นระบบสภาคู่ โดยสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 120 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งทั่วไป และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี ในส่วนของวุฒิสภาจำนวน 91 ที่นั่ง (ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538) เลือกจากสมาชิกสภาท้องถิ่น และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี
เศรษฐกิจ
แก้ภาพรวม
แก้- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 12.90 พันล้าน USD (ไทย: 317.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- รายได้ประชาชาติต่อหัว 8,624.17 ดอลลาร์สหรัฐ (ไทย: 4,719.8 ดอลลาร์สหรัฐ)
- การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.0 (ไทย: ร้อยละ 7.8)
- อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 4.0 (ไทย: ร้อยละ 3.3)
- เงินทุนสำรอง 1.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทย: 185.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- อุตสาหกรรมที่สำคัญ การกลั่นปิโตรเลียม แมงกานีส เหมืองทอง เคมีภัณฑ์ ซ่อมเรือ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ ไม้ซุง ไม้อัด ซีเมนต์
- ทรัพยากรธรรมชาติ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ เพชร ไนโอเบียม แมงกานีส ยูเรเนียม ทอง ไม้ แร่เหล็ก พลังงานน้ำ
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ ไม้ซุง แมงกานีส ยูเรเนียม
- สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ อาหาร เคมีภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
- ส่งออกไป รัสเซีย สหรัฐอเมริกา จีน ฝรั่งเศส
- นำเข้าจาก ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา จีน เบลเยียม อิตาลี แคเมอรูน เนเธอร์แลนด์
- หน่วยเงินตรา ฟรังก์เซฟา (CFA Franc) (1 บาท = 15.07 ฟรังก์เซฟา) (สถานะ ณ วันที่ 20 มิ.ย. 54)
เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญประเทศหนึ่งของไทยในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก โดยระหว่างปี 2537–2540 ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า และไทยเพิ่งจะมาได้เปรียบดุลการค้าในช่วงปี 2541–2542
สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว ปูนซิเมนต์ รองเท้าและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ผ้าปักและลูกไม้ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก และสินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Report for Selected Countries and Subjects". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 20 January 2019.
- ↑ "GINI index (World Bank estimate)". data.worldbank.org. World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 21, 2019. สืบค้นเมื่อ มกราคม 20, 2019.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Soldiers in Gabon try to seize power in failed coup attempt". Bnonews.com. January 7, 2019. สืบค้นเมื่อ January 7, 2019.
บรรณานุกรม
แก้- Ghazvinian, John (2008). Untapped: The Scramble for Africa's Oil. Orlando: Harcourt. ISBN 978-0-15-101138-4.
- Rich, Jeremy (2007). A Workman Is Worthy of His Meat: Food and Colonialism in the Gabon Estuary. Lincoln: University of Nebraska Press. ISBN 978-0-8032-0741-7.
- Shaxson, Nicholas (2007). Poisoned Wells: The Dirty Politics of African Oil. New York: Palgrave Macmillan. ISBN 978-1-4039-7194-4.
- Warne, Sophie (2003). Bradt Travel Guide: Gabon and São Tomé and Príncipe. Guilford, CT: Chalfont St. Peter. ISBN 1-84162-073-4.
- Yates, Douglas A. (1996). The Rentier State in Africa: Oil Rent Dependency and Neo-colonialism in the Republic of Gabon. Trenton, NJ: Africa World Press. ISBN 0-86543-520-0.