สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์

(เปลี่ยนทางจาก หมู่เกาะมาร์แชลล์)

9°N 168°E / 9°N 168°E / 9; 168

สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์

Republic of the Marshall Islands (อังกฤษ)
Aolepān Aorōkin M̧ajeļ (มาร์แชลล์)
ธงชาติหมู่เกาะมาร์แชลล์
ธงชาติ
Sealของหมู่เกาะมาร์แชลล์
Seal
คำขวัญJepilpilin ke ejukaa
ที่ตั้งของหมู่เกาะมาร์แชลล์
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มาจูโร
7°7′N 171°4′E / 7.117°N 171.067°E / 7.117; 171.067
ภาษาราชการภาษามาร์แชลล์และภาษาอังกฤษ
การปกครองสาธารณรัฐประชาธิปไตย
Hilda Heine
เอกราช
• จากสหรัฐ
21 ตุลาคม พ.ศ. 2529
พื้นที่
• รวม
181 ตารางกิโลเมตร (70 ตารางไมล์) (190)
น้อยมาก
ประชากร
• ก.ค. 2548 ประมาณ
61,963 (205)
• สำมะโนประชากร 2546
56,429
326 ต่อตารางกิโลเมตร (844.3 ต่อตารางไมล์) (28)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2544 (ประมาณ)
• รวม
115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (220)
1,600 ดอลลาร์สหรัฐ (195)
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.704[1]
สูง · 117
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)
เขตเวลาUTC+ 12
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
ไม่ใช้
รูปแบบวันที่ดด/วว/ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+692
รหัส ISO 3166MH
โดเมนบนสุด.mh

หมู่เกาะมาร์แชลล์ (อังกฤษ: Marshall Islands; มาร์แชลล์: Aelōn̄ in M̧ajeļ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ (Republic of the Marshall Islands; มาร์แชลล์: Aolepān Aorōkin M̧ajeļ) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศนาอูรูและประเทศคิริบาส ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศไมโครนีเซียและอยู่ทางใต้ของเกาะเวกของสหรัฐ

ภูมิศาสตร์

แก้

ประเทศประกอบด้วย 29 หมู่เกาะ และ 5 เกาะเดี่ยว หมู่เกาะและเกาะเดี่ยวที่สำคัญที่สุดแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ แนวเกาะราตัก (Ratak Chain) และ แนวเกาะราลิก (Ralik Chain) (หมายถึงแนวเกาะ "ดวงอาทิตย์ขึ้น" และ "ดวงอาทิตย์ตก") 2 ใน 3 ของประชากรอาศัยบนมาจูโร (เมืองหลวง) และ เอเบเย (Ebeye) หมู่เกาะทางด้านนอกมีคนอาศัยอยู่น้อย เนื่องจากไม่มีโอกาสทางการงานและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ

ภูมิอากาศร้อนชื้น มีฤดูฝนช่วงพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน มีไต้ฝุ่นเป็นครั้งคราว

ประวัติศาสตร์

แก้

ประกาศอิสรภาพ

แก้

ภายใต้ความตกลงร่วมกับสหรัฐ (Compact of Free Association) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2529 ทำให้สหรัฐยุติการปกครองหมู่เกาะมาร์แชลล์ในฐานะเป็นดินแดนในอารักขาของสหประชาชาติ โดยมีสถานะเป็นรัฐอิสระที่มีอธิปไตยปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2529 สามารถกำหนดนโยบายภายในและต่างประเทศ ยกเว้นด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงที่ยังอยู่ภายใต้อำนาจของสหรัฐซึ่งมีบทบาทให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ หมู่เกาะมาร์แชลล์เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2534

การเมืองการปกครอง

แก้

ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รัฐธรรมนูญเป็นแบบ Semi - Westminster โดยรวมเอา หลักการของทั้งรัฐธรรมนูญประเทศอังกฤษและสหรัฐ รัฐสภามีสองสภา

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

หมู่เกาะมาร์แชลล์แบ่งเป็นเขตทางนิติบัญญัติ 24 เขต ซึ่งเป็นไปตามเกาะและหมู่เกาะที่มีคนอาศัยอยู่ รายละเอียดอยู่ในภูมิศาสตร์

อะทอลล์ (Atoll) = หมู่เกาะปะการัง

เศรษฐกิจ

แก้

ความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐ เป็นหลักสำคัญของเศรษฐกิจ ศักยภาพทางเศรษฐกิจของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรในทะเล แร่ธาตุ และแหล่งท่องเที่ยว แต่เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากรที่มีคุณภาพ หมู่เกาะมาร์แชลล์จึงยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้เต็มที่

หมู่เกาะมาร์แชลล์ประสบปัญหาด้านการเงินมาตั้งแต่ปี 2534 รัฐบาลได้แก้ไขโดยออกพันธบัตรเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายและชำระหนี้สินซึ่งมีสูงถึง 143 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ทำให้เกิดภาวะวิกฤตขึ้นในปี 2539 รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น จึงต้องเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางการเมืองเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน

ในภาคเกษตรกรรม ผลผลิตทางเกษตรมักอยู่ที่ไร่ขนาดเล็ก มีบริเวณเพาะปลูกน้อย ดินไม่มีคุณภาพ และขาดเกษตรกรที่มีความชำนาญ ทำให้การเกษตรไม่พัฒนาเท่าที่ควร พืชผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ มะพร้าว มะเขือเทศ แตง ฯลฯ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก คือ งานหัตถกรรม ปลาที่ผ่านกระบวนการแปรรูป และ เนื้อมะพร้าวแห้ง

ด้านการประมง หมู่เกาะมาร์แชลล์มีทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาทูน่า เปลือกหอย และไข่มุกดำ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา บริษัทของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เข้าไปจับปลาทูน่าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม แม้จะมีวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ แต่หมู่เกาะมาร์แชลล์ก็ยังมีความต้องการที่จะนำเข้าปลากระป๋องเป็นจำนวนมากเช่นกัน

ประชากรศาสตร์

แก้

ส่วนใหญ่เป็นชาวไมโครนีเซียมีประมาณเท่ากับไมโครนีเซีย 0.1 เช่นกัน สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์

เชิงอรรถ

แก้


อ้างอิง

แก้
  1. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.

นามานุกรม

แก้

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้
  • Barker, H. M. (2004). Bravo for the Marshallese: Regaining Control in a Post-nuclear, Post-colonial World. Belmont, California: Thomson/Wadsworth.
  • Rudiak-Gould, P. (2009). Surviving Paradise: One Year on a Disappearing Island. New York: Union Square Press.
  • Niedenthal, J. (2001). For the Good of Mankind: A History of the People of Bikini and Their Islands. Majuro, Marshall Islands: Bravo Publishers.
  • Carucci, L. M. (1997). Nuclear Nativity: Rituals of Renewal and Empowerment in the Marshall Islands. DeKalb: Northern Illinois University Press.
  • Hein, J. R., F. L. Wong, and D. L. Mosier (2007). Bathymetry of the Republic of the Marshall Islands and Vicinity [Miscellaneous Field Studies; Map-MF-2324]. Reston, VA: U.S. Department of the Interior, U.S. Geological Survey.
  • Woodard, Colin (2000). Ocean's End: Travels Through Endangered Seas. New York: Basic Books. (Contains extended account of sea-level rise threat and the legacy of U.S. Atomic testing.)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

รัฐบาล

ข้อมูลทั่วไป

สื่อสารมวลชน

อื่นๆ