ประเทศเอสวาตีนี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
เอสวาตีนี (สวาซี: eSwatini, ออกเสียง: [ɛswa̯tˈiːni]; อังกฤษ: Eswatini) หรือ สวาซิแลนด์ (อังกฤษ: Swaziland) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเอสวาตีนี[3] (สวาซี: Umbuso weSwatini; อังกฤษ: Kingdom of Eswatini) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้านขนาดใหญ่ คือ แอฟริกาใต้และโมซัมบิก
ราชอาณาจักรเอสวาตีนี Umbuso weSwatini (สวาซี) Kingdom of Eswatini (อังกฤษ) | |
---|---|
คำขวัญ: Siyinqaba (พวกเราคือป้อมปราการ) | |
![]() ที่ตั้งของ ประเทศเอสวาตีนี (น้ำเงิน) – ในทวีปแอฟริกา (ฟ้า & เทาเข้ม) | |
เมืองหลวง และ ใหญ่สุด | อึมบาบานี 26°30′S 31°30′E / 26.500°S 31.500°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 26°30′S 31°30′E / 26.500°S 31.500°E |
ภาษาราชการ | ภาษาสวาซีและภาษาอังกฤษ |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์ |
• พระมหากษัตริย์ | สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3 |
• นายกรัฐมนตรี | ว่าง |
เอกราช จากสถานะรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร | |
• ประกาศ | 4 กันยายน พ.ศ. 2511 |
พื้นที่ | |
• รวม | 17,364 ตารางกิโลเมตร (6,704 ตารางไมล์) (154) |
0.9 | |
ประชากร | |
• 2559 ประมาณ | 1,343,098 (154) |
• สำมะโนประชากร 2544 | 1,173,900 |
59 ต่อตารางกิโลเมตร (152.8 ต่อตารางไมล์) (135) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 11.335 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 9,882 |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 4.030 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 3,513 |
จีนี (2015) | ![]() สูง |
HDI (2019) | ![]() ปานกลาง · 138th |
สกุลเงิน | ลีลังเกนี (SZL) |
เขตเวลา | UTC+2 |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | 268 |
โดเมนบนสุด | .SZ |
ประวัติศาสตร์แก้ไข
ชนชาติสวาซีเป็นชนเผ่างูนี เดิมอาศัยอยู่ทางแอฟริกากลาง ชนชาติสวาซีหรือเผ่างูนี ได้เคลื่อนย้ายลงมาทางแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของราชอาณาจักรเอสวาตีนีในปัจจุบันประมาณปี ค.ศ. 1750 ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอึงวาเนที่ 3 จึงได้ถือว่ากษัตริย์พระองค์นี้เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชอาณาจักรเอสวาตีนีปัจจุบัน โดยครองราชย์อยู่จนถึงปี ค.ศ. 1780 เมื่อชนชาติเอสวาตีนีอพยพลงมาอาศัยมาในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศนี้ ใหม่ ๆ ได้เกิดข้อขัดแย้งในการแย่งดินแดนกับชนเผ่าซูลู ซึ่งมีความเข้มแข็งกว่าชนเผ่าสวาซี
ต่อมาเมื่อมีการขุดพบทองคำในภูมิภาคนี้เมื่อปี ค.ศ. 1879 จึงมีคนผิวขาวจากยุโรปอพยพเข้าไปแสวงโชคกันมากและยึดดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเมืองขึ้น เอสวาตีนีได้ตกเป็นเมืองขึ้นของคนผิวขาวเชื้อสายดัตช์ ซึ่งได้ครองดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ปัจจุบันด้วย ในขณะนั้นเรียกว่า Boer Republic of Transvaal ต่อมาคนเชื้อสายอังกฤษได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้และได้ทำสงครามชนะคนเชื้อสายดัช (Boer) เมื่อปี ค.ศ. 1903 เอสวาตีนีจึงกลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษหรือเป็น British High Commission Territory เอสวาตีนีได้รับเอกราชเมื่อ 6 กันยายน ค.ศ. 1968 ซึ่งภายหลังจากที่ได้รับเอกราช เอสวาตีนีเคยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของประเทศตะวันตก โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีพรรคการเมืองหลายพรรคและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกตั้ง
ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1973-1977 สมเด็จพระราชาธิบดีซอบูซาที่ 2 แห่งราชวงศ์ดลามีนี ได้ทรงปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงการปกครองของเอสวาตีนี โดยได้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจการปกครองให้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และห้ามการจัดตั้งพรรคการเมือง นอกจากนี้ ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศเอสวาตีนีซึ่งใช้ปกครองประเทศสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงนำแนวทางการปกครองประเทศแบบตะวันตกผสมผสานกับการปกครองตามประเพณีดั้งเดิมเข้าด้วยกัน ปัจจุบันสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ซึ่งมีอิทธิพลเหนือราชอาณาจักรเอสวาตีนีพยายามกดดันให้เอสวาตีนีเปลี่ยนเปลงการปกครองเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ก่อนการสวรรคตของพระเจ้าซอบูซาที่ 2 ในปี ค.ศ. 1982 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระมเหสีเจลีเว (Queen Dzeliwe) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนกว่าเจ้าชายมาคอเซตีเว (Prince Makhosetive) ซึ่งประสูติแต่พระสนมอึนตอมบี (Ntombi) จะบรรลุนิติภาวะพระชันษา 21 ปีบริบูรณ์ แต่หนึ่งปีต่อมาพระสนมอึนตอมบีได้ยึดอำนาจจากพระมเหสี หลังจากนั้นอีกสามปีเจ้าชายมาคอเซตีเวที่มีพระชันษา 18 ปี ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าอึมสวาตีที่ 3 (Mswati III) แต่ก็ปกครองอาณาจักรร่วมกับพระมารดาในลักษณะพระมหากษัตริย์คู่จึงถึงปัจจุบัน[4]
การเมืองแก้ไข
เมื่อเอสวาตีนีเป็นประเทศเอกราชแล้ว ก็มีการปกครองปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ในปี 2520 สมเด็จพระราชาธิบดีซอบูซาที่ 2 (Sobhuza II) ทรงเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตราบถึงทุกวันนี้ แต่หลังการสวรรคตของกษัตริย์ซอบูซาที่ 2 ได้มีการสถาปนาพระเจ้าอึมสวาตีที่ 3 ซึ่งมีพระมารดาคือพระสนมอึนตอมบีเป็นผู้ปกครองร่วม ทำให้เกิดการแบ่งอำนาจในลักษณะที่เรียกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์คู่ (Dual Monarchy)[4] ซึ่งมีโครงสร้างการเมืองที่รวมศูนย์กลางอยู่ที่กษัตริย์, พระมารดา และเหล่าเชื้อพระวงศ์ และพระญาติที่เป็นเพศชายของทั้งสองพระองค์[4] กษัตริย์มีพระราชอำนาจเหนือระบบศาลและการทหาร รวมไปถึงอำนาจในการแบ่งปันที่ดินแก่ราษฎรทั่วประเทศ แต่อำนาจเหล่านี้จะถูกต้องตามกฎหมายและมีความชอบธรรมได้ก็ต่อเมื่อได้ความร่วมมือจากพระมารดา[4]
การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข
เอสวาตีนีแบ่งการปกครองใหญ่เป็น 4 จังหวัด คือ
- จังหวัดโฮโฮ (Hhohho)
- จังหวัดลูบอมโบ (Lubombo)
- จังหวัดมันซีนี (Manzini)
- จังหวัดชีเซลเวนี (Shiselweni)
ภูมิศาสตร์แก้ไข
มีลักษณะเป็นที่ราบสูงและภูเขา
เศรษฐกิจแก้ไข
เศรษฐกิจของเอสวาตีนีเป็นเศรษฐกิจขั้นปฐมภูมิ พึ่งพิงภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ประชาชนอยู่ในภาคการเกษตรกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจของเอสวาตีนียังผูกพันอยู่กับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นอย่างมาก โดยประมาณร้อยละ 80 ของสินค้านำเข้าจากแอฟริกาใต้ และร้อยละ 30 ของสินค้าส่งออกของเอสวาตีนีส่งไปยังแอฟริกาใต้ นอกจากนั้น ระบบการเงินและการคลังรวมทั้งระบบภาษีศุลกากรของเอสวาตีนีก็ผูกพันกับแอฟริกาใต้
ประชากรแก้ไข
มีประชากรทั้งหมด 1,032,000 คน เป็นชาวแอฟริกันเป็นส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 81.6[ต้องการอ้างอิง] ของประชากรสามารถอ่านออกเขียนได้
วัฒนธรรมแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Swaziland – Country partnership strategy FY2015–2018". World Bank. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "ราชวงศ์สุดท้ายของแอฟริกาเปลี่ยนชื่อประเทศจากสวาซิแลนด์เป็นเอสวาตีนี". reuters. reuters. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2561. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 นิติ ภวัครพันธุ์. สุกัญญา เบาเนิด. วันชาติมอญ:ทบทวนแนวคิดมานุษยวิทยาเรื่อง "รัฐ". จาก รัฐจากมุมมองของชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน), 2551. หน้า 114
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ประเทศเอสวาตีนี |