สมเด็จพระราชินีอึนตอมบี พระราชชนนี
| ||||||||||||||
|
สมเด็จพระราชินีอึนตอมบี พระราชชนนี หรือพระนามาภิไธยเดิมว่า อึนตอมบี ตวาลา (อักษรโรมัน: Ntfombi Tfwala; พระราชสมภพ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1949) เป็นพระราชชนนีหรือตามธรรมเนียมสวาซีจะเรียกว่า นางพญาช้าง (Ndlovukati) ในสมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3 แห่งเอสวาตินี เป็นผู้ปกครองร่วมของเอสวาตินีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และเคยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระราชโอรสช่วงปี 2526–2529[1]
สองปีก่อนการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีซอบูซาที่ 2 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชินีเจลีเว (Queen Dzeliwe) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนกว่าเจ้าชายมาคอเซตีเว (Prince Makhosetive) ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระราชินีอึนตอมบี (Ntombi) จะบรรลุนิติภาวะพระชันษา 21 ปีบริบูรณ์ แต่หนึ่งปีต่อมาสมเด็จพระราชินีอึนตอมบีได้ยึดอำนาจจากสมเด็จพระราชินีเจลีเว และจะตั้งให้สมเด็จพระราชินีอึนตอมบีมีพระอิสริยยศเป็นนางพญาช้าง[2] หลังจากนั้นสมเด็จพระราชินีเจลีเวทรงถูกกักบริเวณในพระตำหนักในปี 2526 เก้าวันต่อมาเจ้าชายซอซีซา ดลามีนี (Sozisa Dlamini) จึงปกครองสวาซิแลนด์ และทรงแต่งตั้งสมเด็จพระราชินีอึนตอมบีขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของเจ้าชายมาคอเซตีเว
สามปีต่อมาเจ้าชายมาคอเซตีเวที่มีพระชันษา 18 ปี ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สถาปนาตนเองเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3 (Mswati III) ได้แต่งตั้งสมเด็จพระราชินีอึนตอมบีเป็นพระราชชนนีหรือนางพญาช้างลำดับต่อมา แต่ก็ปกครองอาณาจักรร่วมกับพระมารดาในลักษณะพระมหากษัตริย์คู่จึงถึงปัจจุบัน[3] โดยให้เหตุผลว่าสมเด็จพระราชชนนีคือจิตวิญญาณและผู้นำแห่งรัฐ ส่วนองค์พระมหากษัตริย์ถือเป็นผู้บริหารประเทศ[4][5][6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Genealogy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-19. สืบค้นเมื่อ 2017-03-03.
- ↑ Magongo, Ellen Mary. Kingship and Transition in Swaziland, 1973–1988[ลิงก์เสีย]. Master of Arts in History dissertation. University of South Africa. November 2009.
- ↑ นิติ ภวัครพันธุ์. สุกัญญา เบาเนิด. "วันชาติมอญ : ทบทวนแนวคิดมานุษยวิทยาเรื่อง "รัฐ"" รัฐจากมุมมองของชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน), 2551, หน้า 114
- ↑ Swaziland's 40th anniversary bash hits sour note
- ↑ "Key Facts about Swaziland". Television New Zealand. Reuters. 19 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ Swazi queen flies out after king falls ill
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อึนตอมบี ตวาลา