ประเทศบาร์เบโดส

(เปลี่ยนทางจาก บาร์เบโดส)

13°10′12″N 59°33′09″W / 13.17000°N 59.55250°W / 13.17000; -59.55250

บาร์เบโดส

ตราแผ่นดินของบาร์เบโดส
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"Pride and Industry"
ที่ตั้งของบาร์เบโดส
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บริดจ์ทาวน์
13°06′N 59°37′W / 13.100°N 59.617°W / 13.100; -59.617
ภาษาราชการอังกฤษ
ครีโอลเบจัน
กลุ่มชาติพันธุ์
(2010[1])
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐ
ซานดรา เมซัน
มีอา ม็อตต์ลีย์
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภานิติบัญญัติ
เป็นเอกราช
• จากสหราชอาณาจักร
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966
7 ธันวาคม ค.ศ. 1966
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021
พื้นที่
• รวม
439 ตารางกิโลเมตร (169 ตารางไมล์) (อันดับที่ 183)
น้อย
ประชากร
• 2019 ประมาณ
287,025[2] (อันดับที่ 182)
• สำมะโนประชากร 2010
277,821[3]
660 ต่อตารางกิโลเมตร (1,709.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 15)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2019 (ประมาณ)
• รวม
5.398 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
18,798 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2019 (ประมาณ)
• รวม
5.207 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
18,133 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.814[5]
สูงมาก · อันดับที่ 58
สกุลเงินดอลลาร์บาร์เบโดส ($) (BBD)
เขตเวลาUTC−4 (เวลามาตรฐานแอตแลนติก)
ขับรถด้านซ้าย[6]
รหัสโทรศัพท์+1 -246
โดเมนบนสุด.bb

บาร์เบโดส (อังกฤษ: Barbados) เป็นประเทศที่เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ทางตะวันออกของทะเลแคริบเบียนเล็กน้อย ที่ 13 องศาเหนือและ 59 องศาตะวันตก กินพื้นที่ 432 km2 (167 sq mi) และมีประชากรประมาณ 287,000 คน (ประมาณ ค.ศ. 2019)[3]

เกาะที่อยู่ใกล้บาร์เบโดสมากที่สุดคือเซนต์ลูเชีย และเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ซึ่งทั้ง 2 ประเทศตั้งอยู่ทางตะวันตก และเมื่อรวมกับบาร์เบโดสแล้ว เกาะเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (Lesser Antilles) ในภูมิภาคแคริบเบียน

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกยน ค.ศ. 1966 บาร์เบโดสได้กลายเป็นรัฐอิสระโดยสมบูรณ์ภายใต้สมาชิกภาพในเครือจักรภพโดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบ็ธที่ 2 เป็นพระราชินีแห่งบาร์เบโดส จนกระทั่งในวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐในเครือจักรภพ[7][8]

บาร์เบโดสเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วและสันติสุขที่มีคุณภาพชีวิตสูงมาก นอกจากนี้ บาร์เบโดสยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย[9]

ภูมิศาสตร์

แก้

บาร์เบโดสมีพื้นที่แผ่นดินประมาณ 430 ตารางกิโลเมตร (166 ตารางไมล์) และส่วนใหญ่มีพื้นที่ต่ำ มีบางส่วนที่สูงที่ตอนในของเกาะ พื้นที่ของบาร์เบโดสคาดว่ามาจากภูเขาไฟและประกอบด้วยหินปูนและหินปะการัง บรรยากาศของบาร์เบโดสเป็นกึ่งเขตร้อน โดยมีลมพัดมาจากมหาสมุทรแอตแลนติกตลอดเวลา และพื้นที่ที่ไม่มีการพัฒนาบางส่วนมีบึงและหนองน้ำบริเวณป่าชายเลน ส่วนอื่น ๆ ของตอนในของเกาะที่เป็นส่วนเกษตรกรรมของบาร์เบโดส มีไร่อ้อยขนาดใหญ่ประปราย และทุ่งเลี้ยงสัตว์ที่กว้างและลาดเอียงไม่มากที่สามารถมองเห็นทะเลได้

ประวัติศาสตร์

แก้

การเมืองการปกครอง

แก้

เดิมทีบาร์เบโดสเป็นรัฐในเครือจักรภพ การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านผู้สำเร็จราชการ จนกระทั่งวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 55 ปี ที่บาร์เบโดสได้รับเอกราชจากอังกฤษ บาร์เบโดสได้ปลดสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร จากการเป็นประมุข และเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ โดยประธานาธิบดีคนแรกคือ นางซานดรา เมสัน ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ตามมติของที่ประชุมสภาแห่งชาติ[10][11]

นิติบัญญัติ

แก้

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แบบ 2 สภา วุฒิสมาชิก (21 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี) สภาผู้แทนราษฎร (30 คน ด้วยการเลือกตั้งโดยตรงทุก 5 ปี)

บริหาร

แก้

ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาลและหัวหน้าคณะรัฐมนตรี พรรคการเมืองหลัก พรรค Barbados Labor Party, Democratic Labor Party, People's Empowerment Party

ตุลาการ

แก้

ฝ่ายตุลาการ ระบบกฎหมายมหาชนแบบอังกฤษ ใช้ศาลสูงสุด โดยมีคณะกรรมาธิการด้านตุลาการแต่ตั้งผู้พิพากษาอำนาจในการพิจารณาไต่สวน อยู่ภายใต้อำนาจของศาลสูงสุดแคริบเบียนตะวันออก ("en:Eastern Caribbean Supreme Court") โดยมีผู้พิพากษา 1 คน

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

แบ่งการปกครองออกเป็น 11 เขต (parish) + 1 เมืองหลวง

ประชากรศาสตร์

แก้
 
ป้ายรถประจำทางในบาร์เบโดส
 
ผู้คนซื้อของในเมืองหลวงบริดจ์ทาวน์

จากสำมะโนประจำชาติ ค.ศ. 2010 ประเทศนี้มีประชากร 277,821 คน แบ่งออกเป็นผู้หญิง 144,803 คนและผู้ชาย 133,018 คน[12]

การคาดหมายคงชีพของพลเมืองบาร์เบโดส ข้อมูลเมื่อ 2020 อยู่ที่ 80 ปี โดยการคาดหมายคงชีพเฉลี่ยของผู้หญิงอยู่ที่ 83 ปีและของผู้ชายที่ 79 ปี (ค.ศ. 2020)[1] บาร์เบโดสและญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราศตวรรษิกชนต่อหัวสูงที่สุดในโลก[13]

ศาสนา

แก้
 
อาสนวิหารนักบุญไมเคิลและเทวทูตทั้งหมด บริดจ์ทาวน์

ศาสนาในบาร์เบโดส (2019)[14]

  แองกลิคัน (23.9%)
  ไม่มีศาสนา (อเทวนิยม, อไญยนิยม, เป็นต้น) (21%)
  เพนเทคอสต์ (19.5%)
  คริสต์นิกายอื่น ๆ เช่น แบพติสต์, มอราเวียน, มอร์มอน และพยานพระยะโฮวา (16.5%)
  เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ (5.9%)
  เมโทดิสต์ (4.2%)
  โรมันคาทอลิก (3.8%)
  Wesleyans (3.4%)
  คริสตจักรของพระเจ้า (2.4%)
  นาซารีน (3.2%)
  ศาสนาอื่น ๆ เช่นอิสลาม ยิว และราสตาฟาเรียน (3%)

ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุด โดยนิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุดคือแองกลิคัน (23.9% ของประชากรใน ค.ศ. 2019)[14] นิกายอื่น ๆ ที่มีผู้นับถือมากรองลงมาได้แก่โรมันคาทอลิก, เพนเทคอสต์ (19.5%), พยานพระยะโฮวา, เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ และสปิริชวลแบปติสต์[15] คริสตจักรแห่งอังกฤษเคยเป็นศาสนาประจำชาติจนกระทั่งรัฐสภาบาร์เบโดสยกเลิกมันหลังเป็นเอกราช[14][16] ใน ค.ศ. 2019 21% ของชาวบาร์เบโดสระบุว่าไม่นับถือศาสนา ทำให้เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 โดยเป็นรองแค่แองกลิคัน[17] ศาสนาาที่มีผู้นับถือน้อยได้แก่ฮินดู, อิสลาม บาไฮ[18] และยูดาห์[15]

รัฐนี้ถือเป็นฆราวาส โดยยอมรับเสรีภาพทางศาสนาหรือความเชื่อแก่ทั้งหมดตามรัฐธรรมนูญ[17]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Barbados CIA World Factbook
  2. United Nations. "World Population Prospects 2019".
  3. 3.0 3.1 "Barbados – General Information". GeoHive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2017. สืบค้นเมื่อ 16 December 2013.
  4. 4.0 4.1 "Report for Selected Countries and Subjects". www.imf.org.
  5. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  6. "Barbados". 29 August 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2007. (fco.gov.uk), updated 5 June 2006.
  7. Said-Moorhouse, Lauren; Foster, Max (2021-11-30). "Barbadians celebrate the birth of a republic and bid farewell to the Queen". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-30. สืบค้นเมื่อ 2022-01-29.
  8. Safi, Michael (30 November 2021). "Barbados parts way with Queen and becomes world's newest republic". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 November 2021.
  9. Belle, Nicole; Bramwell, Bill (1 August 2005). "Climate Change and Small Island Tourism: Policy Maker and Industry Perspectives in Barbados". Journal of Travel Research. 44: 34–38. doi:10.1177/0047287505276589. S2CID 154912745.
  10. admin (2021-06-19). "Home". GIS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  11. 11c0bb650b1c768dbdbee5a0208f6256.pdf (barbadosparliament.com)
  12. 2010 Population and Housing Census (PDF) (Report). Vol. 1. Barbados Statistical Service. September 2013. p. i. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 January 2017. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  13. Best, Tony (9 April 2005)"Bajan secrets to living long". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2007. สืบค้นเมื่อ 27 June 2006. . nationnews.com.
  14. 14.0 14.1 14.2 "Barbados 2019 International Religious Freedom Report" (PDF). US Department of State.
  15. 15.0 15.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Encylopedia Britannica- Barbados
  16. "375: Anglican Church Act". Laws of Barbados (PDF). Government of Barbados. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-14. สืบค้นเมื่อ 2021-11-04.
  17. 17.0 17.1 "Freedom of Thought Report: Barbados". Freedom of Thought Report. Humanists International. 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
  18. "Baha'u'llah". Bci.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2010. สืบค้นเมื่อ 4 July 2010.

อ่านเพิ่ม

แก้

วิดีโอ

แก้


แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ข้อมูลทั่วไป

แก้