ประเทศกายอานา

(เปลี่ยนทางจาก กายอานา)

5°00′N 58°45′W / 5°N 58.75°W / 5; -58.75

สาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา

Co-operative Republic of Guyana (อังกฤษ)
ตราแผ่นดินของกายอานา
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"หนึ่งกลุ่มชน หนึ่งชาติ หนึ่งโชคชะตา"
(อังกฤษ: One People, One Nation, One Destiny)
ที่ตั้งของ ประเทศกายอานา  (เขียว) ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)
ที่ตั้งของ ประเทศกายอานา  (เขียว)

ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
จอร์จทาวน์
6°46′N 58°10′W / 6.767°N 58.167°W / 6.767; -58.167
ภาษาราชการอังกฤษ
ภาษาพื้นเมือง 10 ภาษา
ภาษาท้องถิ่นครีโอลกายอานา
ภาษาอื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2012)[1]
ศาสนา
(ค.ศ. 2012)[1]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภาที่มีประธานาธิบดีมีอำนาจบริหารที่เป็นอิสระจากสภานิติบัญญัติ สาธารณรัฐธรรมนูญ [2]
อิรฟาน อะลี
มาร์ก ฟิลลิปส์
มันซูร์ นาดีร์
Roxane George-Wiltshire (รักษาการ)
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ก่อตั้ง
ค.ศ. 1667–1814
ค.ศ. 1814–1966
26 พฤษภาคม ค.ศ. 1966
• สาธารณรัฐ
23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1970
6 ตุลาคม ค.ศ. 1980
พื้นที่
• รวม
214,970 ตารางกิโลเมตร (83,000 ตารางไมล์) (อันดับที่ 83)
8.4
ประชากร
• ค.ศ. 2019 ประมาณ
743,700[3] (อันดับที่ 164)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2012
747,884[4]
3.502 ต่อตารางกิโลเมตร (9.1 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 232)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 18.357 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 152)
เพิ่มขึ้น 23,258 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 64)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 7.255 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 153)
เพิ่มขึ้น 9,192 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 74)
จีนี (ค.ศ. 2007)positive decrease 44.6[6]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.682[7]
ปานกลาง · อันดับที่ 122
สกุลเงินดอลลาร์กายอานา (GYD)
เขตเวลาUTC-4 (เวลามาตรฐานแอตแลนติก)
รูปแบบวันที่วว-ดด-ปปปป
ไฟบ้าน220 โวลต์–50 เฮิรตซ์
110 โวลต์–60 เฮิรตซ์
ขับรถด้านซ้าย
รหัสโทรศัพท์+592
โดเมนบนสุด.gy

กายอานา (อังกฤษ: Guyana) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา[8] (Co-operative Republic of Guyana)[9] เป็นประเทศที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ประกอบไปด้วยภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคกีอานา พรมแดนด้านตะวันออกจรดประเทศซูรินาม พรมแดนด้านใต้ติดกับประเทศบราซิล พรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศเวเนซุเอลา และด้านเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีปัญหาพิพาทเรื่องพรมแดนกับเวเนซุเอลา เช่นเดียวกันกับพรมแดนด้านใต้ส่วนใหญ่ที่ติดกับซูรินาม (ตลอดแนวชายฝั่งตอนบนของแม่น้ำโกรันไตน์)

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ศัพท์ Guyana มาจากคำว่า Guiana ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของภูมิภาคที่เคยรวมกายอานา (บริติชกีอานา), ซูรินาม (ดัตช์กีอานา), เฟรนช์เกียนา และบางส่วนของโคลอมเบีย, เวเนซุเอลา และบราซิล ตาม พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คำว่า Guyana มาจากภาษาอเมรินเดียนพื้นเมืองภาษาหนึ่งและแปลว่า "ดินแดนที่มีน้ำมาก"[10][11] ส่วนวลี สาธารณรัฐสหกรณ์ ในชื่อทางการของประเทศสื่อถึงลัทธิสังคมนิยมแบบสหกรณ์

ภูมิศาสตร์

แก้

ประเทศกายอานาตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 1 องศาถึง 9 องศาเหนือและลองจิจูดที่ 56 องศาถึง 62 องศาตะวันตก

ประเทศกายอานาสามารถแบ่งภูมิภาคตามธรรมชาติได้ถึง 5 ภูมิภาค; ประชากรส่วนมากอาศัยตามที่ราบสูงลูกฟูกและที่ราบต่ำชายทะเลที่อุดมสมบูรณ์ตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ไวท์เบลทฺที่อยู่ในประเทศเป็นแหล่งสะสมแร่ของกายอานา ป่าฝนหนาทึบบริเวณทางใต้ของประเทศ ทุ่งหญ้าแบบสะวันนาทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ และที่ราบภายในทุ่งหญ้าสะวันนาที่ประกอบด้วยภูเขาที่ค่อย ๆ สูงขึ้นไปทางชายแดนของประเทศบราซิล

ภูเขาที่สูงที่สุดมีชื่อว่าภูเขาอายันกันนามีความสูง 2,042 เมตร เขาโรไรมาส่วนหนึ่งของเทือกเขาพากาไรมาเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่าง 3 ประเทศระหว่างบราซิล กายอานา และเวเนซุเอลา นอกจากนี้กายอานายังมีภูเขาไฟและน้ำตกหลายแห่งเช่นน้ำตกไกย์เอตูร์ซึ่งเชื่อว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในโลก[12]

การเมือง

แก้

ฝ่ายบริหาร

แก้

ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม จากตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมืองระบบบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้งขั้นต้น ซึ่งจะมีขึ้นทุก ๆ 5 ปี (ไม่จำกัดวาระ)

ฝ่ายนิติบัญญัติ

แก้

ระบบสภาเดียว (Unicameral National Assembly) สมาชิกจำนวน 65 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี นอกจากนี้ ประธานาธิบดียังเป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้ไม่เกิน 4 คน เลขาธิการรัฐสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอีก 2 คน

ฝ่ายตุลาการ

แก้

ศาลสูงสุด (Supreme Court of Judicature) ประกอบด้วย High Court (ศาลสูง) และ Court of Appeal (ศาลอุทธรณ์) โดยให้สิทธิ์ในการอุทธรณ์ครั้งสุดท้ายไปยัง Caribbean Court of Justice (CCJ)

ระบบกฎหมาย

แก้

ระบบกฎหมายจารีตประเพณี มีรากฐานมาจากกฎหมายของอังกฤษ โดยได้รับอิทธิพลจากระบบประมวลกฎหมายโรมัน-ดัตช์ (Roman-Dutch Civil Law)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Compedium 2: Population Composition. Bureau of Statistics, Guyana. July 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 25 August 2018.
  2. "Article Preamble, Section Preamble". Constitution of the Cooperative Republic of Guyana. 20 February 1980.
  3. "Demography, Social & Vital Statistics". statisticsguyana.gov.gy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2020. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
  4. Guyana 2012 Census เก็บถาวร 6 สิงหาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน GeoHive– Guyana. Retrieved 2 August 2012.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "World Economic Outlook Database, April 2021". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  6. "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 4 August 2021.
  7. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  8. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  9. "Independent States in the World". state.gov.
  10. "Guyana". Oxford Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-07. สืบค้นเมื่อ 9 May 2015.
  11. "Guyana". Oxford Dictionaries. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2015.
  12. Rowe, Mark (14 November 2004). "South America: Do the continental: The best of what's new; spectacular waterfalls, forgotten cities, pre-Inca trails". The Independent. p. Features, page 3. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Brock, Stanley E. (1999). All the Cowboys Were Indians (Commemorative, illustrated (reprint of Jungle Cowboy) ed.). Lenoir City, TN: Synergy South, Inc. ISBN 978-1-892329-00-4. OCLC 51089880. สืบค้นเมื่อ 7 January 2010.
  • Brock, Stanley E. (1972). Jungle Cowboy (illustrated ed.). London: Robert Hale Ltd. ISBN 978-0-7091-2972-1. OCLC 650259. สืบค้นเมื่อ 7 January 2010.
  • Donald Haack, Bush Pilot in Diamond Country
  • Hamish MacInnes, Climb to the Lost World (1974)
  • Andrew Salkey, Georgetown Journal (1970)
  • Marion Morrison, Guyana (Enchantment of the World Series)
  • Bob Temple, Guyana
  • Noel C. Bacchus, Guyana Farewell: A Recollection of Childhood in a Faraway Place
  • Marcus Colchester, Guyana: Fragile Frontier
  • Matthew French Young, Guyana: My Fifty Years in the Guyanese Wilds
  • Margaret Bacon, Journey to Guyana
  • Father Andrew Morrison SJ, Justice: The Struggle For Democracy in Guyana 1952–1992
  • Daly, Vere T. (1974). The Making of Guyana. Macmillan. ISBN 978-0-333-14482-4. OCLC 1257829. สืบค้นเมื่อ 7 January 2010.
  • D. Graham Burnett, Masters of All They Surveyed: Exploration, Geography and a British El Dorado
  • Ovid Abrams, Metegee: The History and Culture of Guyana
  • Waugh, Evelyn (1934). Ninety-two days: The account of a tropical journey through British Guiana and part of Brazil. New York: Farrar & Rinehart. OCLC 3000330. สืบค้นเมื่อ 7 January 2010.
  • Gerald Durrell, Three Singles To Adventure
  • Cheddi Jagan. The West on Trial: My Fight for Guyana's Freedom
  • Cheddi Jagan. My Fight For Guyana's Freedom: With Reflections on My Father by Nadira Jagan-Brancier.
  • Colin Henfrey, Through Indian Eyes: A Journey Among the Indian Tribes of Guiana.
  • Stephen G. Rabe, US Intervention in British Guiana: A Cold War Story.
  • Charles Waterton, Wanderings in South America.
  • David Attenborough, Zoo Quest to Guiana (Lutterworth Press, London: 1956).
  • John Gimlette, Wild Coast: Travels on South America's Untamed Edge, 2011.
  • Clementi, Cecil (1915). The Chinese in British Guiana (PDF). Georgetown, British Guiana: The Argosy Company Limited. สืบค้นเมื่อ 27 October 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้