หมู่เกาะโซโลมอน

หมู่เกาะโซโลมอน (อังกฤษ: Solomon Islands) เป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศปาปัวนิวกินี และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 990 เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกัน 28,000 ตารางกิโลเมตร

หมู่เกาะโซโลมอน

Solomon Islands (อังกฤษ)
Coat of Armsของหมู่เกาะโซโลมอน
Coat of Arms
คำขวัญTo Lead is to Serve
ที่ตั้งของหมู่เกาะโซโลมอน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โฮนีอารา
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
Sir David Vunagi
Manasseh Sogavare
เอกราช
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2521
พื้นที่
• รวม
28,450 ตารางกิโลเมตร (10,980 ตารางไมล์) (อันดับที่ 141)
3.2%
ประชากร
• ก.ค. 2548 ประมาณ
478,000 (อันดับที่ 166)
17 ต่อตารางกิโลเมตร (44.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 188)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 1.317 พันล้าน
$ 2,145
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 1.273 พันล้าน
$ 2,074
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.567[1]
ปานกลาง · (อันดับที่ 151)
สกุลเงินดอลลาร์หมู่เกาะโซโลมอน (SBD)
เขตเวลาUTC+11
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+677
โดเมนบนสุด.sb

ประวัติศาสตร์ แก้

หมู่เกาะโซโลมอน สันนิษฐานว่ามีคนอาศัยอยู่คนเกาะนี้มาแล้วเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว หมู่เกาะนี้ถูกค้นพบเมื่อปี 1568 โดยชาวสเปนชื่อ กัปตันAlvaro de Mendana หลังจากนั้นมาเกาะโซโลมอน ก็ไม่มีใครเข้าไปเลยเป็นเวลากว่า 200 ปี

ในปี 1886 ประเทศอังกฤษ กับ เยอรมนี ได้มีการแบ่งแยกดินแดนของเกาะโซโลมอน แต่ต่อมาภายหลังประเทศ สหราชอาณาจักรอังกฤษได้เป็นผู้ถือครองเกาะแห่งนี้แต่เพียงผู้เดียว

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โซโลมอนเป็นที่หมายปองของคู่สงคราม เพราะเป็นจุดพักระหว่างทางของการขนส่งสินค้าในมหาสมุทรแปซิฟิค และ มีทะเลล้อมรอบ จึงรบเพียงแค่ทางเรือ และ ทางอากาศ โดยมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และ อุดมสมบูรณ์จึงได้ชื่อว่า Pearl of Pacific (ไข่มุกแห่งแปซิฟิค) โดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้บุกรุกเข้ามาในเกาะนี้ช่วงต้นของสงคราม แต่กองทัพสหราชอาณาจักรก็สามารถยึดครองดินแดนกลับมาได้อีกครั้งในปี 1945 ในปี 1976 เกาะแห่งนี้กลายเป็นดินแดนที่สามารถปกครองตนเองได้และได้รับเอกราช ในวันที่ 7 กรกฎาคม 1978 และได้เข้าเป็นภาคีสหประชาชาติเมื่อ 19 กันยายน 1978

การเมืองการปกครอง แก้

นิติบัญญัติ แก้

อำนาจนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาแห่งชาติ ซึ่งเป็นสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภา 30-50 คน โดยกระจายอำนาจ แบ่งเป็น 4 ภาค แต่ละภาคมีสภาปกครองท้องถิ่น 8 แห่ง สมาชิกสภาปกครองท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

หมู่เกาะโซโลมอนแบ่งเป็น 9 จังหวัด (provinces) และ 1 เขตเมืองหลวง*:

เศรษฐกิจ แก้

เศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นหลัก ประมาณร้อยละ 90 ของจำนวนประชากร มีอาชีพกสิกรรม ทำป่าไม้ และประมง มีรายได้จากการส่งออกประมาณปีละ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอนพยายามชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เข้าไปร่วมทุนในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การผลิตไม้แปรรูปเพื่อส่งออก การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น รัฐบาลได้วางกฎเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมการ ลงทุน โดยการลดภาษีการค้า ยกเว้นภาษีวัตถุดิบและเครื่องจักรกลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเวลา 5 ปี และไม่มีข้อห้ามสำหรับการส่งผลกำไรออกนอกประเทศ

ประชากรศาสตร์ แก้

เชื้อชาติ แก้

ประกอบด้วยชาวเมลานีเซียซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีชาวไมโครนีเซีย ยุโรปและเอเชียเล็กน้อย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอังกลิเคน ร้อยละ 34 โรมันคาทอลิก ร้อยละ 19 และอีวันเจลิคอน ร้อยละ 24

อ้างอิง แก้

  1. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
การศึกษา
ด้านการท่องเที่ยว
  •   คู่มือการท่องเที่ยว Solomon Islands จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)