ประเทศมาลี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ประเทศมาลี (ฝรั่งเศส: Mali) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐมาลี (ฝรั่งเศส: République du Mali) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกาตะวันตก ประเทศมาลีมีพรมแดนทางเหนือจดประเทศแอลจีเรีย ทางตะวันออกจดประเทศไนเจอร์ ทางใต้จดประเทศบูร์กินาฟาโซและประเทศโกตดิวัวร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศกินี และทางตะวันตกจดประเทศเซเนกัลและประเทศมอริเตเนีย มีพื้นที่ 1,240,000 กม.² และประชากร 18.5 ล้านคน เมืองหลวง คือ กรุงบามาโก มาลีแบ่งการปกครองเป็นแปดเขต และมีพรมแดนที่เป็นเส้นตรงทางเหนืออยู่ลึกเข้าไปใจกลางทะเลทรายซาฮารา ส่วนทางใต้ของประเทศเป็นที่ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ มีแม่น้ำไนเจอร์และแม่น้ำเซเนกัลไหลผ่าน โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศมีศูนยฺกลางอยู่ที่เกษตรกรรมและการประมง ทรัพยากรธรรมชาติบางส่วนของมาลีมีทองคำ ยูเรเนียม ปศุสัตว์และเกลือ ราวครึ่งหนึ่งของประชากรมีชีวิตอยู่ใต้เส้นยากจนนานาชาติที่ 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน[9]
สาธารณรัฐมาลี | |
---|---|
คำขวัญ: หนึ่งชนชาติ หนึ่งเป้าหมาย หนึ่งศรัทธา (Un peuple, un but, une foi) | |
ที่ตั้งของ ประเทศมาลี (สีเขียว) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | บามาโก 12°39′N 8°0′W / 12.650°N 8.000°W |
ภาษาราชการ | ภาษาบัมบารา และอีก 12 ภาษา[1] |
การปกครอง | สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดีแบบเดี่ยวภายใต้คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง[2] |
Assimi Goïta (ชั่วคราว) | |
Choguel Kokalla Maïga (รักษาการ)[3] | |
ประกาศเอกราชจากประเทศฝรั่งเศส | |
• ประกาศ | 22 กันยายน พ.ศ. 2503 |
พื้นที่ | |
• รวม | 1,240,192 ตารางกิโลเมตร (478,841 ตารางไมล์) (23) |
1.6 | |
ประชากร | |
• 2563 ประมาณ | 20,250,833[4] (59) |
• สำมะโนประชากร พฤศจิกายน 2561 | 19,329,841[5] |
11.7 ต่อตารางกิโลเมตร (30.3 ต่อตารางไมล์) (215) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2561 (ประมาณ) |
• รวม | $44.329 พันล้าน[6] |
• ต่อหัว | $2,271[6] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2561 (ประมาณ) |
• รวม | $17.407 พันล้าน[6] |
• ต่อหัว | $891[6] |
จีนี (2553) | 33.0[7] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2562) | 0.434[8] ต่ำ · 184 |
สกุลเงิน | ฟรังก์ซีเอฟเอ (CFA franc) (XOF) |
เขตเวลา | UTC0 |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+0 |
รหัสโทรศัพท์ | 223 |
โดเมนบนสุด | .ml |
ประเทศมาลีปัจจุบันเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิแอฟริกาตะวันตกสามแห่งซึ่งควบคุมการค้าข้ามซาฮารา คือ จักรวรรดิกานา จักรวรรดิมาลี (อันเป็นที่มาของชื่อมาลี) และจักรวรรดิซองไฮ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศสเข้าควบคุมมาลีและทำให้เป็นส่วนหนึ่งของซูดานของฝรั่งเศส (French Sudan) ซึ่งขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ สาธารณรัฐชาวซูดาน และเข้าร่วมกับเซเนกัลใน พ.ศ. 2502 และได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2503 ในฐานะสหพันธรัฐมาลี ไม่นานหลังจากนั้น หลังเซเนกัลถอนตัวจากสหพันธรัฐ สาธารณรัฐชาวซูดานได้ประกาศตนเป็นสาธารณรัฐมาลีอันมีเอกราช หลังการปกครองแบบพรรคเดียวอันยาวนาน รัฐประหาร พ.ศ. 2534 ได้นำไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการสถาปนามาลีเป็นรัฐประชาธิปไตยระบบหลายพรรค วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 กลุ่มนายทหารอ่อนอาวุโสยึดการควบคุมทำเนียบประธานาธิบดีของประเทศและประกาศยุบรัฐบาลและระงับรัฐธรรมนูญ[10] วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555 กบฏขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติอาซาวัด (MNLA) ประกาศการแยกรัฐอาซาวัดใหม่ออกจากมาลี[11]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ประเทศมาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ดินแดน (régions) และ 1 เขต (district) ได้แก่
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.dailysabah.com/world/africa/malis-new-constitution-drops-french-as-official-language
- ↑ "Mali junta defies mediators with 5-year transition plan". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-17.
- ↑ "Mali appoints interim replacement for ill civilian prime minister". Al Jazeera. 22 August 2022.
- ↑ "UNdata | record view | Total population, both sexes combined (thousands)". data.un.org. Retrieved 18 April 2020.
- ↑ "Mali preliminary 2018 census". Institut National de la Statistique. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2010. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "Mali". International Monetary Fund.
- ↑ "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 2 March 2011.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ Human Development Indices, Table 3: Human and income poverty, p. 35. Retrieved on 1 June 2009
- ↑ "New York Times"
- ↑ Lydia Polgreen and Alan Cowell, "Mali Rebels Proclaim Independent State in North" "New York Times" April 6, 2012 http://www.nytimes.com/2012/04/07/world/africa/mali-rebels-proclaim-independent-state-in-north.html?_r=1&adxnnl=1&adxnnlx=1333728086-ZXpwSz3KFqUnA4lteq4j4w