ประเทศเลบานอน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
33°50′N 35°50′E / 33.833°N 35.833°E
สาธารณรัฐเลบานอน ٱلْجُمْهُورِيَّةُ ٱللُّبْنَانِيَّةُ (อาหรับ) République libanaise (ฝรั่งเศส) | |
---|---|
ที่ตั้งของประเทศเลบานอน (สีเขียว) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | เบรุต 33°54′N 35°32′E / 33.900°N 35.533°E |
ภาษาราชการ | อาหรับ[nb 1] |
ฝรั่งเศส | |
ภาษาท้องถิ่น | อาหรับเลบานอน |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2021[1]) |
|
ศาสนา (ประมาณการ[nb 4]) |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภาที่มีการกระจายอำนาจทางการเมืองตามสังกัดศาสนา[8] |
ว่าง | |
นะญีบ มีกอตี | |
นะบีฮ์ บัรรี | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
ก่อตั้ง | |
1 กันยายน ค.ศ. 1920 | |
23 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 | |
• ประกาศเอกราช | 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 |
• สิ้นสุดการเป็นอาณัติฝรั่งเศส | 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 |
17 เมษายน ค.ศ. 1946 | |
24 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 | |
30 เมษายน ค.ศ. 2005 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 10,452 ตารางกิโลเมตร (4,036 ตารางไมล์) (อันดับที่ 161) |
1.8 | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2022 ประมาณ | 5,296,814[9] (อันดับที่ 122) |
560 ต่อตารางกิโลเมตร (1,450.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 21) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 78.910 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] |
• ต่อหัว | 11,561 ดอลลาร์สหรัฐ[10] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 19.008 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] |
• ต่อหัว | 2,785 ดอลลาร์สหรัฐ[10] |
จีนี (ค.ศ. 2011) | 31.8[11] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021) | 0.706[12] สูง · อันดับที่ 112 |
สกุลเงิน | ปอนด์เลบานอน (LBP) |
เขตเวลา | UTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก) |
ขับรถด้าน | ขวามือ[13] |
รหัสโทรศัพท์ | +961[14] |
โดเมนบนสุด | .lb |
เลบานอน (อังกฤษ: Lebanon; อาหรับ: لُبْنَان; ฝรั่งเศส: Liban) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (อังกฤษ: Republic of Lebanon, Lebanese Republic; อาหรับ: ٱلْجُمْهُورِيَّةُ ٱللُّبْنَانِيَّةُ; ฝรั่งเศส: République libanaise) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟามส์" (Shebaa Farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟามส์" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาติ
ประวัติศาสตร์
แก้เลบานอนอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1943 หลังจากนั้น เลบานอนได้พัฒนาประเทศจนสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเงินศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้นับตั้งแต่อดีตไว้ได้ อย่างไรก็ดี ในช่วง ค.ศ. 1975 – 1991 เลบานอนตกอยู่ภายใต้ภาวะสงครามกลางเมือง มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาหรับและกลุ่มคริสเตียนในเลบานอน ในที่สุด ทุกฝ่ายสามารถหาข้อยุติและร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูประเทศหลังจากภาวะสงครามกลางเมืองอีกครั้ง
ซีเรียเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเลบานอนมากที่สุด โดยเฉพาะด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ โดยซีเรียได้ส่งกองกำลังรักษาความสงบอยู่ในเลบานอนประมาณ 30,000 คน และจากความสัมพันธ์ที่แนบแน่นดังกล่าว ทำให้กรณีพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างซีเรีย เลบานอนกับอิสราเอลไม่มีความคืบหน้า
การเมืองการปกครอง
แก้เลบานอนมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
บริหาร
แก้ฝ่ายบริหารประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี 16 นาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
นิติบัญญัติ
แก้รัฐสภาแห่งชาติ (National Assembly) มีสมาชิก 128 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี (ประธานรัฐสภาแห่งชาติควรเป็นมุสลิมนิกาย Shi’a)
ตุลาการ
แก้ฝ่ายตุลาการมี 4 ศาล ได้แก่ ศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับพลเรือนและการพาณิชย์ 3 ศาล และศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับคดีอาญาอีก 1 ศาล
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เลบานอนแบ่งเป็น 6 เขตผู้ว่า หรือ มุฮาฟาซอต (mohafazat, เอกพจน์ มุฮาฟาเซาะห์ - mohafazah) ซึ่งแบ่งเป็นเขตย่อยลงไปอีก 25 เขต หรือ อักฎิยะห์ (Aqdya, เอกพจน์ - กอฎออ์ [qadaa]) , และแบ่งเป็นเทศบาลต่าง ๆ ที่รวมหลายเมืองหรือหมู่บ้าน (เมืองหลวงของเขตผู้ว่าจะเป็นตัวเอน)
เขตผู้ว่าเบรุต (Beirut Governorate) :
เขตผู้ว่าภูเขาเลบานอน (Governorate of Mount Lebanon) :
- บาบดา (Baabda) (บาบดา [Baabda])
- อเลย์ (Aley) (อเลย์ [Aley])
- เมตน์ (Metn) (จเดเดห์ [Jdeideh])
- เคเซอร์วัน (Keserwan) (จูนิเยะห์ [Jounieh])
- ชูฟ (Chouf) (เบเตดดีน [Beiteddine])
- จเบล (Jbeil) (บิบลอส [Byblos])
เขตผู้ว่าเลบานอนเหนือ (Governorate of North Lebanon) :
- ตรีโปลี (Tripoli) (ตรีโปลี [Tripoli])
- อัคคาร์ (Akkar) (ฮัลบา [Halba])
- ซการ์ตา (Zgharta) (ซการ์ตา [Zgharta] / เอห์เดน [Ehden])
- บชาร์ริ (Bsharri) (บชาร์ริ [Bsharri])
- บาตรูน (Batroun) (บาตรูน [Batroun])
- คูรา (Koura) (อัมยูน [Amyoun])
- มานเยห์-ดานน์เยห์ (Manyeh-Dannyeh) (มานเยห์ [Manyeh] / เซร์ดดานน์เยห์ [Seirddanyeh])
เขตผู้ว่าเบกา (Governorate of Beqaa) :
- ซาห์เลห์ (Zahleh) (ซาห์เลห์ [Zahleh])
- บะอัลเบค (Baalbek) (บะอัลเบค [Baalbek])
- เฮอร์เมล (Hermel) (เฮอร์เมล [Hermel])
- ราชายา (Rashaya) (ราชายา [Rashaya])
- เบกาตะวันตก (Western Beqaa) (เจบเจนนีน [Jebjennine]/ ซากบีน [Saghbine])
เขตผู้ว่าเลบานอนใต้ (Governorate of South Lebanon) :
- ซีดอนหรือไซดา (Sidon, Saida) (ซีดอน [Sidon])
- เจซซีน (Jezzine) (เจซซีน [Jezzine])
- ไทร์ (Tyre) (ไทร์ [Tyre])
เขตผู้ว่านาบาตีเยะห์ (Governorate of Nabatyeh) :
ประชากร
แก้ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ
ศาสนา
แก้ศาสนาอิสลามร้อยละ 10 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 90[15]
หมายเหตุ
แก้- ↑ มาตราที่ 11 ของรัฐธรรมนูญเลบานอนระบุว่า: "ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางการ กฎหมายจะกำหนดกรณีที่สามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสได้" ดู: ภาษาฝรั่งเศสในประเทศเลบานอน
- ↑ หมายเหตุ: ชาวเลบานอนหลายคนไม่ระบุตนเองเป็น "ชาวอาหรับ" แต่ระบุว่าเป็นลูกหลานของชาวคานาอันโบราณและพอใจที่จะเรียกตนเองว่าเป็น "ชาวฟินีเชีย" มากกว่า
- ↑ หมายเหตุ: ชาวดรูซส่วนใหญ่ไม่ระบุตนเองเป็นมุสลิม แต่รัฐบาลเลบานอนจัดให้ชาวดรูซเป็นหนึ่งในกลุ่มมุสลิมทั้ง 5 ในเลบานอน (ซุนนี, ชีอะฮ์, ดรูซ, อะละวี และอิสมาอีลียะฮ์)
- ↑ เนื่องจากเรื่องศาสนาและลัทธิเป็นประเด็นอ่อนไหว ทำให้ไม่มีสำมะโนระดับชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1932 ปัจจุบันมีลัทธิศาสนาที่ได้รับการยอมรับในระดับรัฐ 18 ลัทธิ ได้แก่ มุสลิม 4 ลัทธิ, คริสต์ 12 ลัทธิ, ดรูซ 1 ลัทธิ และยิว 1 ลัทธิ
อ้างอิง
แก้- ↑ "Lebanon - the World Factbook". 23 September 2021.
- ↑ "Lebanon 2017 International Religious Freedom Report" (PDF). United States Department of State. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
- ↑ "International Religious Freedom Report 2008: Lebanon". United States Department of State. 19 September 2008. สืบค้นเมื่อ August 22, 2021.
- ↑ "International Religious Freedom Report 2010: Lebanon". United States Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2010. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
- ↑ "International Religious Freedom Report for 2012: Lebanon". United States Department of State. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
- ↑ Meguerditchian, Van (15 February 2013). "Minority sects demand greater representation in Parliament". The Daily Star Lebanon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2021. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
- ↑ Haddad, Antoine (September 2006). "Evangelicals in Lebanon". Evangelical Times. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
- ↑ "The Lebanese Constitution" (PDF). Presidency of Lebanon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 January 2012. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
- ↑ "Lebanon". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022. (Archived 2022 edition)
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "Lebanon". World Economic Outlook Database, October 2021. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
- ↑ "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
- ↑ "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ "Driving in Lebanon". adcidl.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013.
- ↑ Lebanon. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ↑ CIA Worldfactbook 2001
ผลงานอ้างอิง
แก้- Morris, Benny (April 2008). 1948: A History of the First Arab-Israeli War. Yale University Press. ISBN 978-0-300-12696-9.
ข้อมูลทั่วไป
แก้- Arkadiusz, Plonka. L’idée de langue libanaise d’après Sa‘īd ‘Aql, Paris, Geuthner, 2004 (French) ISBN 2-7053-3739-3
- Firzli, Nicola Y. Al-Baath wa-Lubnân [Arabic only] ("The Baath and Lebanon"). Beirut: Dar-al-Tali'a Books, 1973
- Fisk, Robert. Pity the Nation: The Abduction of Lebanon. New York: Nation Books, 2002.
- Glass, Charles, "Tribes with Flags: A Dangerous Passage Through the Chaos of the Middle East", Atlantic Monthly Press (New York) and Picador (London), 1990 ISBN 0-436-18130-4
- Gorton, TJ and Feghali Gorton, AG. Lebanon: through Writers' Eyes. London: Eland Books, 2009.
- Hitti Philip K. History of Syria Including Lebanon and Palestine, Vol. 2 (2002) (ISBN 1-931956-61-8)
- Norton, Augustus R. Amal and the Shi'a: Struggle for the Soul of Lebanon. Austin and London: University of Texas Press, 1987.
- Sobelman, Daniel. New Rules of the Game: Israel and Hizbollah After the Withdrawal From Lebanon, Jaffee Center for Strategic Studies, Tel-Aviv University, 2004.
- Riley-Smith, Jonathan. The Oxford Illustrated History of the Crusades. New York: Oxford University Press, 2001.
- Salibi, Kamal. A House of Many Mansions: The History of Lebanon Reconsidered. Berkeley: University of California Press, 1990.
- Schlicht, Alfred. The role of Foreign Powers in the History of Syria and Lebanon 1799–1861 in: Journal of Asian History 14 (1982)
- Georges Corm, Le Liban contemporain. Histoire et société (La découverte, 2003 et 2005)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Official Government of Lebanon information site
- Lebanon. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ประเทศเลบานอน แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- แม่แบบ:ArabDecision
- ประเทศเลบานอน ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Lebanon