ภาษาอาหรับเลบานอน

ภาษาอาหรับเลบานอน (Lebanese Arabic) เป็นสำเนียงของภาษาอาหรับที่ใช้พูดในเลบานอนและเป็นสำเนียงย่อยของภาษาอาหรับเลอวานต์ ชาวมาโรไนต์ในบริเวณนั้นถือว่าภาษาอาหรับเลบานอนเป็นภาษาเอกเทศ

ภาษาอาหรับเลบานอน
ประเทศที่มีการพูดเลบานอน
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการไม่มี
ผู้วางระเบียบไม่มี
รหัสภาษา
ISO 639-2ara
ISO 639-3apc

การเปลี่ยนแปลงจากภาษาอาหรับคลาสสิก แก้

ภาษาอาหรับเลบานอนมีลักษณะหลายอย่างที่ใกล้เคียงกับภาษาอาหรับสมัยใหม่ ประโยคที่ใช้เป็นแบบง่าย ไม่มีเครื่องหมายมาลาและการก การใช้กริยาโดยกำหนดตามจำนวนและเพศเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับประธานทุกตัว ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาฝรั่งเศสมากและกลุ่มผู้มีการศึกษามักแทรกภาษาฝรั่งเศสเข้าไปในบทสนทนาซึ่งเป็นผลมาจากการที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาก่อน ความแตกต่างจากภาษาอาหรับคลาสสิกทั้งด้านคำศัพท์และสัทวิทยามีดังต่อไปนี้

  • ในภาษาอาหรับ, "มองไปข้างใน" เป็น /ʊnðˤʊr fɪdːaːχɪl/, หรือเพศหญิง, /ʊnðˤʊri fɪdːaːχɪl/. ส่วนในภาษาอาหรับเลบานอนที่ใช้ในซีเรียและปาเลสไตน์กลายเป็น /ʃuːf ʒʊwːɛ/, หรือเพศหญิงเป็น, /ʃuːfi ʒʊwːɛ/.
  • การออกเสียงภาษาอาหรับมาตรฐานที่เป็นภาษาเขียนและภาษาอาหรับเลบานอนที่เป็นภาษาพูดมีความแตกต่างกัน: กาแฟ (قهوة), ออกเสียง/qahwa/ ในภาษาอาหรับมาตรฐานแต่ออกเสียงเป็น /ʔahwe/ ในภาษาอาหรับเลบานอน อักษร Qaaf ไม่ออกเสียง และ taa marbuta เป็นเสียง /e/
  • โดยทั่วไป Qaaf มักจะไม่ออกเสียงและมักถูกแทนที่ด้วยฮัมซะหฺหรือเสียง/อ/ เช่น /daqiːqa/ (นาที) เป็น /daʔiːʔa/.
  • มีเพียงชาวดรูซในเลบานอนที่ยังออกเสียง Qaaf ได้เช่นเดียวกับชาวดรูซในซีเรีย และอิสราเอล
  • ภาษาอาหรับเลบานอนยังคงรักษาเสียงสระประสม /aɪ/ และ /aʊ/, ซึ่งกลายเป็นเสียง /e/ และ/o/ ในสำเนียงอื่น ต่อมาเสียงนี้ได้เปลี่ยนไปอีก /e/ เป็น /ai/, /a/ และ /I ส่วน /o/ เป็น /au/ และ /u/
  • มีคำศัพท์ที่มาจากภาษาอื่นเช่นกันคือภาษาอราเมอิก ภาษากรีก ภาษาฝรั่งเศส และภาษาตุรกี

การเปลี่ยนรูปตัวสะกด แก้

ภาษาอาหรับเลบานอนมีการเขียนน้อย ยกเว้นในนิยายซึ่งมีการแสดงสำเนียงหรือบทกวีบางชนิดซึ่งไม่ใช้ภาษาอาหรับมาตรฐาน การตีพิมพ์เผยแพร่ในเลบานอน เช่นหนังสือพิมพ์ใช้ภาษาอาหรับมาตรฐาน การเขียนในภาษาอาหรับมีเพีงรูปแบบเดียว ในขณะที่มีการใช้ภาษาอาหรับแบบไม่เป็นทางการเช่นการสนทนาออนไลน์ อาจจะมีการผสมอักษรโรมันเข้าไป แต่การใช้อักษรโรมันในภาษาอาหรับไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย

อ้างอิง แก้

  • Spoken Lebanese. Maksoud N. Feghali, Appalachian State University. Parkway Publishers, 1999 (ISBN 1-887905-14-6)
  • Michel T. Feghali, Syntaxe des parlers arabes actuels du Liban, Geuthner, Paris, 1928.
  • Elie Kallas, 'Atabi Lebnaaniyyi. Un livello soglia per l'apprendimento del neoarabo libanese, Cafoscarina, Venice, 1995.
  • Angela Daiana Langone, Btesem ente lebneni. Commedia in dialetto libanese di Yahya Jaber, Università degli Studi La Sapienza, Rome, 2004.
  • Jérome Lentin, "Classification et typologie des dialectes du Bilad al-Sham", in Matériaux Arabes et Sudarabiques n. 6, 1994, 11-43.
  • Plonka Arkadiusz, L’idée de langue libanaise d’après Sa‘īd ‘Aql, Paris, Geuthner, 2004, ISBN 2-7053-3739-3
  • Plonka Arkadiusz, "Le nationalisme linguistique au Liban autour de Sa‘īd ‘Aql et l’idée de langue libanaise dans la revue «Lebnaan» en nouvel alphabet", Arabica, 53 (4), 2006, 423-471.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้