ประเทศเอธิโอเปีย

ประเทศในแอฟริกาตะวันออก
(เปลี่ยนทางจาก เอธิโอเปีย)

พิกัดภูมิศาสตร์: 9°00′N 38°42′E / 9°N 38.7°E / 9; 38.7

เอธิโอเปีย (อังกฤษ: Ethiopia; อามารา: ኢትዮጵያ) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามารา: የኢትዮጵያ ፌዴራላዊ ዲሞክራሲያዊ ሪፐብሊክ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีใน พ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487

สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย

ชื่อในภาษาราชการ
  • อามารา:የኢትዮጵያ ፌዴራላዊ ዴሞክራሲያዊ ሪፐብሊክ
    Ye-Ītyōṗṗyā Fēdēralawī Dēmokirasīyawī Rīpebilīk
    โอโรโม:Rippabliikii Federaalawaa Dimokraatawaa Itiyoophiyaa
    โซมาลี:Jamhuuriyadda Dimuqraadiga Federaalka Itoobiya
    ตึกรึญญา:ፌዴራላዊ ዴሞክራሲያዊ ሪፐብሊክ ኢትዮጵያ
    Fēdēralawī Dēmokirasīyawī Rīpebilīki Ítiyop'iya
    อะฟาร์:Itiyoppiya Federaalak Demokraatik Rippeblikih
ตราแผ่นดินของเอธิโอเปีย
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของเอธิโอเปีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อาดดิสอาบาบา
9°1′N 38°45′E / 9.017°N 38.750°E / 9.017; 38.750
ภาษาราชการอะฟาร์
อามารา
โอโรโม
โซมาลี
ตึกรึญญา[1][2][3]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2007[5][6])
ศาสนา
(ค.ศ. 2016[7])
การปกครองสหพันธ์ สาธารณรัฐระบบรัฐสภา[8]
ซาห์เล เวิร์ก ซิวเด
อาบีย์ อาห์เม็ด
สภานิติบัญญัติสมัชชารัฐสภากลาง
สภาสหพันธ์
สภาผู้แทนราษฎร
การก่อตั้ง
• ก่อตั้งจักรวรรดิ
ค.ศ. 1270
7 พฤษภาคม ค.ศ. 1769
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1855
ค.ศ. 1904
9 พฤษภาคม ค.ศ. 1936
31 มกราคม ค.ศ. 1942
• เริ่มต้นการปกครองของเผด็จการทหารเดร์ก
12 กันยายน ค.ศ. 1974
28 พฤษภาคม ค.ศ. 1991
21 สิงหาคม ค.ศ. 1995
พื้นที่
• รวม
1,104,300[9] ตารางกิโลเมตร (426,400 ตารางไมล์) (อันดับที่ 26)
0.7
ประชากร
• 2021 ประมาณ
117,876,227[10] (อันดับที่ 12)
• สำมะโนประชากร 2007
73,750,932[6]
92.7 ต่อตารางกิโลเมตร (240.1 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 123)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2022 (ประมาณ)
• รวม
401 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 58)
3,407 ดอลลาร์สหรัฐ[12]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2022 (ประมาณ)
• รวม
122.591 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[12] (อันดับที่ 65)
1,040 ดอลลาร์สหรัฐ[12]
จีนี (ค.ศ. 2015)Negative increase 35.0[13]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.485[14]
ต่ำ · อันดับที่ 173
สกุลเงินBirr (ETB)
เขตเวลาUTC+3 (เวลาแอฟริกาตะวันออก)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+251
โดเมนบนสุด.et

ประวัติศาสตร์แก้ไข

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์เอธิโอเปีย

ยุคก่อนประวัติศาสตร์แก้ไข

เอธิโอเปียเป็นดินแดนที่ได้รับอารยธรรมจากอียิปต์และกรีกตั้งแต่สมัยเก่า

ประวัติศาสตร์แก้ไข

ยุคกลางแก้ไข

สุลต่านอัซซาแก้ไข

ดูบทความหลักที่: สุลต่านอัซซา และ ราชวงศ์มูไดโต

จักรวรรดิแก้ไข

ดูบทความหลักที่: จักรวรรดิเอธิโอเปีย

จักรพรรดิเมเนลิคถึงอัดวาแก้ไข

จักรพรรดิเฮลี เซลาสซีแก้ไข

ราชอาณาจักรอิตาลีโจมตีเอธิโอเปียเมื่อ พ.ศ. 2479 และเข้าครอบครองได้สำเร็จใน พ.ศ. 2484 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของเอธิโอเปีย เฮลี เซลาสซีที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งระบบรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. 2474

คอมมิวนิสต์แก้ไข

ดูบทความหลักที่: เดร็ก

ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 เกิดความแห้งแล้งอย่างต่อเนื่องจนเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ จักรพรรดิเซลาสซีสละราชบัลลังก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐเมื่อ พ.ศ. 2518 นอกจากนั้นยังเกิดสงครามภายในระหว่างกลุ่มการเมืองและเผ่าต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากซูดานและโซมาเลีย พ.ศ. 2521 เอธิโอเปียได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตจนรบชนะทหารโซมาเลีย และมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างกันเมื่อ พ.ศ. 2531

สาธารณรัฐประชาธิปไตยแก้ไข

การเมืองแก้ไข

เอธิโอเปียปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แบ่งการปกครองเป็น 9 รัฐ และ 2 เขตเป็นการปกครองพิเศษ ได้แก่ อาดดิสอาบาบา และเขตปกครองพิเศษไดร์ดาวา แม้เดิมเอธิโอเปียระบอบกษัตริย์ ในปี 2517 มีการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล และโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในปีต่อมา จากนั้นได้ปกครองประเทศด้วยสังคมนิยม และเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2534 แต่อย่างไรก็ตามก็ยังเกิดความวุ่นวายทางการเมืองอยู่เสมอ โดยรัฐบาลถูกกล่าวหาจากฝ่ายค้านว่าทุจริตการเลือกตั้ง

ฝ่ายบริหารได้แก่

  • ประธานาธิบดี เป็นประมุขประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยสภาผู้แทนราษฏร มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี
  • นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล มาจากการเสนอชื่อของพรรครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
  • ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่
  • สภาแห่งสหพันธรัฐมีลักษณะเดียวกับวุฒิสภา มี 112 ที่นั่ง
  • สภาผู้แทนราษฏร มี 547 ที่นั่ง

การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข

ประเทศเอธิโอเปียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เขตบริหาร (administrative countries-kililoch) แบ่งย่อยออกมาเป็น 68 เขต และ 2 นครอิสระ (chartered cities-astedader akababiwoch) ได้แก่

สภาพทางภูมิศาสตร์แก้ไข

มีสภาพเป็นหุบเขาสูงชันและที่ราบสูง ที่ตั้ง อยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออกบริเวณที่เรียกว่า จะงอยแอฟริกา (Horn of Africa)

เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

พื้นที่ 1,221,900 ตร.กม. (มีขนาดเป็น 2 เท่าของประเทศไทย)

เศรษฐกิจแก้ไข

เศรษฐกิจเอธิโอเปียยังพึ่งพารายได้จากภาคกสิกรรมเป็นหลัก แม้รัฐบาลจะได้ปฏิรูปที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากขาดการวางแผนที่ดี และการเพาะปลูกยังพึ่งพาแหล่งน้ำฝนตามธรรมชาติอยู่เกือบทั้งหมด มีปัญหาการชลประทานรวมทั้งวิธีการเพาะปลูกที่ล้าสมัย ในขณะเดียวกันภาคบริการของเอธิโอเปียก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติ โดยภาคส่วนที่มีอัตราการเติบโตสูงได้แก่การบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการคมนาคม รัฐบาลเอธิโอเปียมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสัตว์ป่า แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเอธิโอเปียยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีเท่าใดนัก และยังล้าหลังเคนยาอยู่มาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเอธิโอเปียประมาณปีละ 2 แสนคน

นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอิงแนวทางของธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ภายใต้กรอบนโยบาย Sustainable Development and Poverty Reduction Programme (SDPRP) ตามเงื่อนไขของ IMF และประเทศผู้บริจาคต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของนักลงทุน และบรรดาประเทศผู้บริจาคต่าง ๆ เนื่องจากการปฏิรูปเศรษฐกิจนำไปสู่ระบบเสรีเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป การแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังมีน้อย และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น ถนน และระบบสาธารณูปโภค ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนขนาดใหญ่

ความสำเร็จของการปฏิรูปเศรษฐกิจของเอธิโอเปียขึ้นอยู่กับความช่วยเหลือที่ได้รับจากประเทศผู้บริจาคเป็นสำคัญ ซึ่งในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ได้มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้ประเทศผู้บริจาคมีความห่วงกังวล เช่น การปราบปรามผู้ประท้วงฝ่ายค้านอย่างรุนแรง สงครามกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในโซมาเลีย และปัญหาชายแดนกับเอริเทรีย นอกจากนี้ กลุ่มกบฏ Ogaden National Liberation Front (ONLF) ยังได้โจมตีฐานขุดเจาะน้ำมันของจีนที่เมือง Ogaden เมื่อเดือนเมษายน 2550 ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติในเอธิโอเปียขาดความมั่นใจ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า เศรษฐกิจเอธิโอเปียจะเติบโตในอัตราร้อยละ 7.5 ในปี 2550-2551 มีบริษัทต่างชาติใหม่ ๆ เข้าไปลงทุนในเอธิโอเปีย เช่น Starbucks รวมทั้งการลงทุนการผลิตพลังงานชีวภาพก็เพิ่มขึ้นด้วย

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)แก้ไข

103.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายหัว (GDP per Capita)แก้ไข

1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

อัตราการเติบโตของ GDPแก้ไข

7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP แยกตามภาคการผลิตแก้ไข

ภาคการเกษตร 46.6% ภาคอุตสาหกรรม 14.6% ภาคการบริการ 38.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) อัตราการว่างงาน ไม่มีข้อมูล

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)แก้ไข

21.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

หนี้สาธารณะแก้ไข

44.4% จาก GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ผลผลิตทางการเกษตรแก้ไข

ธัญพืช ถั่ว กาแฟ เมล็ดน้ำมัน ฝ้าย น้ำตาลก้อน มันสำปะหลัง ต้นแกต ดอกไม้สด หนังสัตว์ โค กระบือ แกะ แพะ ปลา

อุตสาหกรรมแก้ไข

อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งทอ หนัง เคมีภัณฑ์ การผลิตโลหะ ซีเมนต์

ดุลบัญชีเดินสะพัดแก้ไข

-2.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

มูลค่าการส่งออกแก้ไข

3.163 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้าส่งออกที่สำคัญแก้ไข

กาแฟ ต้นแกต ทอง ผลิตภัณฑ์จากหนัง สิ่งมีชีวิต และต้นน้ำมัน

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก) ที่สำคัญแก้ไข

  1. จีน 12.2%
  2. เยอรมัน 14.2%
  3. เบลเยี่ยม 7.8%
  4. ซาอุดิอาระเบีย 6.8%
  5. สหรัฐอเมริกา 6.3%
  6. อิตาลี 5.1% (พ.ศ. 2554)

มูลค่าการนำเข้าแก้ไข

10.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้าที่สำคัญแก้ไข

อาหารและสิ่งมีชีวิต ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร เครื่องยนต์ยานพาหนะ ธัญพืช และสิ่งทอ

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญแก้ไข

  1. จีน 9.9%
  2. สหรัฐอเมริกา 7.6%
  3. ซาอุดิอาระเบีย 10%
  4. อินเดีย 4.6% (พ.ศ. 2554)

สกุลเงินแก้ไข

เอธิโอเปีย เบีย (Ethiopian Birr)

สัญลักษณ์เงินแก้ไข

ETB

อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราแก้ไข

(ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราได้ที่นี่)

ประชากรแก้ไข

กลุ่มชาติพันธุ์แก้ไข

และชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกร้อยละ 11[15][16]

ศาสนาแก้ไข

จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี พ.ศ. 2550 พบว่าชาวเอธิโอเปียร้อยละ 62.8 นับถือศาสนาคริสต์ (ในจำนวนนี้เป็นผู้นับถือนิกายเอธิโอเปียนคอปติกออร์ทอดอกซ์ร้อยละ 43.5 และนิกายอื่น ๆ ร้อยละ 19.3), ร้อยละ 33.9 นับถือศาสนาอิสลาม, ร้อยละ 2.6 นับถือความเชื่อดั้งเดิม และร้อยละ 0.6 นับถือศาสนาอื่น ๆ [15]

วัฒนธรรมแก้ไข

ในวันที่เป็นชนเผ่าจะมีความเป็นเอกลักษณ์ซึ่งดูได้จากหลังคาที่นำมาทำขอหมู่บ้านต่าง ๆ เอธิโอเปียเป็นแหล่งกำเนิดมนุษย์ยุคแรก แต่ไม่ใช่อาณาจักรแรก เพราะยังคงไม่มีความเจริญทางปัญญา แต่มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์ขึ้นเก่าแก่ที่สุดในโลก การตั้งชื่อคนแบบเอธิโอเปียนำมาใช้เช่นเดียวกับในประเทศพม่าคือ ใช้ชื่อพ่อหรือปู่แทนนามสกุล (ในเอธิโอเปียไม่มีการล้อชื่อพ่อ[ต้องการอ้างอิง] แม่จึงใช้แทนนามสกุลได้) การนับวันในเอธิโอเปียใช้ปฏิทินแบบเอธิเปีย ภาษาประจำชาติของเอธิโอเปียคือภาษาอามาราซึ่งเป็นภาษาแรก ๆ ที่มีระบบการเขียนในแอฟริกา

อ้างอิงแก้ไข

  1. "Ethiopia to Add 4 more Official Languages to Foster Unity". Ventures Africa. 4 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2020. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  2. "Ethiopia is adding four more official languages to Amharic as political instability mounts". Nazret. Nazret. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  3. Shaban, Abdurahman. "One to five: Ethiopia gets four new federal working languages". Africa News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  4. "Ethiopian Constitution".
  5. "Table 2.2 Percentage distribution of major ethnic groups: 2007" (PDF). Summary and Statistical Report of the 2007 Population and Housing Census Results. Population Census Commission. p. 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 March 2009. สืบค้นเมื่อ 14 December 2020.
  6. 6.0 6.1 "Country Level". 2007 Population and Housing Census of Ethiopia. CSA. 13 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2019. สืบค้นเมื่อ 18 January 2013.
  7. "Ethiopia- The World Factbook". www.cia.gov/the-world-factbook/. Central Intelligence Agency (CIA). สืบค้นเมื่อ 19 July 2021.
  8. "Zenawism as ethnic-federalism" (PDF).
  9. "CIA World Factbook – Rank Order – Area". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2 February 2008.
  10. "Ethiopia Population 2021 (Demographics, Maps, Graphs)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  11. "GDP, PPP (current international $) - Ethiopia, October 2020". WorldBank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 1 April 2020.
  12. 12.0 12.1 12.2 "World Economic Outlook Database, October 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  13. "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  14. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  15. 15.0 15.1 Berhanu Abegaz, Ethiopia: A Model Nation of MinoritiesPDF (51.7 KB) . Retrieved 6 April 2006. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "bx" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  16. Embassy of Ethiopia, Washington, DC เก็บถาวร 2008-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 6 April 2006.

ข้อมูลทั่วไปแก้ไข

อ่านเพิ่มแก้ไข

  • Keller, Edmond (1991). Revolutionary Ethiopia From Empire to People's Republic. Indiana University Press. ISBN 9780253206466.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข